Book,Page,LineNumber,Text
11,0014,001,"รูปออกตั้ง วิ. ว่า ติฏฺยเต-ติ านํ, (เตน อันเขา) ย่อมยืน เหตุนั้น"
11,0014,002,ชื่อว่า ความยืน.
11,0014,003,นิสชฺชา เป็น นิ บทหน้า สิทฺ ธาตุ ในความจม ลง ณฺย ปัจจัย
11,0014,004,ลบ ณ แห่ง ณฺย เสียแล้วแปลงที่สุดธาตุคือ ทฺ กับ ย เป็น ชฺช เป็น
11,0014,005,"รูปอิตถีลิงค์ แยกรูปออกตั้ง วิ. ว่า นิสีทยเต-ติ นิสชฺชา, (เตน อัน"
11,0014,006,เขา) ย่อมนั่ง เหตุนั้น ชื่อว่า ความนั่ง.
11,0014,007,สยนํ เป็น สี ธาตุ ลง ยุ ปัจจัย แล้วแปลง ยุ เป็น อน พฤทธิ์
11,0014,008,อี ที่ สี เป็น เอ แล้วเอาเป็น อย แยกรูปออกตั้ง วิ. ว่า สยเต-ติ สยนํ
11,0014,009,(เตน อันเขา) ย่อมนอน เหตุนั้น ชื่อว่า ความนอน.
11,0014,010,สำหรับรูปวิเคราะห์ในภาวสาธนะนี้ ตั้งได้ ๓ วิธี คือ :-
11,0014,011,ใช้ประกอบเป็นกิริยาอาขยาต เป็นรูปภาววาจก ๑
11,0014,012,ใช้ปรกอบเป็นนามกิตก์ เป็นรูปภาวสาธนะ ๑
11,0014,013,ใช้ประกอบเป็นกิริยากิตก์ เป็นรูปภาววาจก ๑
11,0014,014,สำหรับรูปวิเคราะห์ ที่เป็นกิริยาอาขยาต พึงดูตัวอย่างข้างต้น
11,0014,015,ส่วนรูปวิเคราะห์ที่ใช้ประกอบเป็นนามกิตก์ มักใช้คงรูปตามเดิม เช่น
11,0014,016,คมนํ ตั้ง วิ. ว่า คมนํ คมนํ. ความไป ชื่อว่า คมนํ (ความไป).
11,0014,017,านํ ตั้ง วิ. ว่า านํ านํ. ความยืน ชื่อว่า านํ (ความยืน).
11,0014,018,นิสชฺชา ตั้ง วิ. ว่า นิสชฺชา นิสชฺชา. ความนั่ง ชื่อว่า นิสชฺชา
11,0014,019,(ความนั่ง) หรือจะให้ประกอบ ยุ ปัจจัย ตั้ง วิ. ว่า นิสีทนํ นิสชฺชา
11,0014,020,ดังนี้ก็ได้ แล้วแต่จะเห็นควร.