Book,Page,LineNumber,Text 11,0026,001,วิเคราะห์ คือแยกให้เห็นรูปเดิมของศัพท์นั้น ๆ เสียก่อน จึงจะ 11,0026,002,สำเร็จรูปเป็นสาธนะได้ ทั้งที่เป็นนามนามและคุณนาม เพราะฉะนั้น 11,0026,003,ปัจจัยทั้ง ๓ พวกดังที่กล่าวมาแล้ว ซึ่งทานจัดไว้เป็นเครื่องหมายรูป 11,0026,004,และสาธนะนั้น จึงจำต้องมีการตั้งวิเคราะห์ด้วยกันทุกตัว ตามหน้าที่ 11,0026,005,และอำนาจที่ปัจจัยนั้น ๆ จะพึงมีได้อย่างไร ซึ่งจะได้แสดงดังต่อไป 11,0026,006,นี้:- 11,0026,007,วิเคราะห์ในเกิดปัจจัย 11,0026,008,กฺวิ ปัจจัย 11,0026,009,ปัจจัยตัวนี้ เมื่อลงประกอบกับธาตุแล้ว โดยมากมักลงทิ้งเสีย 11,0026,010,ไม่ปรากฏรูปให้เห็น จึงเป็นการยากที่จะสังเกตได้ แต่ก็มีหลักพอที่ 11,0026,011,จะกำหนดรู้ได้บ้าง คือ :- 11,0026,012,๑. ใช้ลงในธาตุที่มีบทอื่นนำหน้าเสมอ. 11,0026,013,๒. ถ้าลงในธาตุตัวเดียวคงไว้ ไม่ลบธาตุ. 11,0026,014,๓. ถ้าลงในธาตุสองตัวขึ้นไป ลบที่สุดธาตุ. 11,0026,015,๔. เฉพาะ วิทฺ ธาตุ ไม่ลบที่สุดธาตุ แต่ต้องลง อู อาคม 11,0026,016,๑. ที่ว่า ใช้ลงในธาตุที่มีบทอื่นนำหน้าเสมอ นั้น หมายความ 11,0026,017,ว่า ธาตุที่จะใช้ลงปัจจัยนี้ ต้องมีศัพท์อื่นเป็นบทหน้าของธาตุ คือเป็น 11,0026,018,นามนามบ้าง คุณนามบ้าง สัพพนามบ้าง อุปสัคบ้าง นิบาตบ้าง. 11,0026,019,ก. นามนามเป็นบทหน้า เช่น ภุชโค สัตว์ไปด้วยขนด 11,0026,020,(พญานาค ) ภุช บทหน้า คมฺ ธาตุ ลง กฺวิ และลบที่สุดธาตุเสีย