Book,Page,LineNumber,Text 13,0042,001,"บทประธานได้ (กิริยาอนฺต มาน ปัจจัย), และเรียกบทประธานว่า" 13,0042,002,ลิงคัตถะ. แต่ในที่นี้กิริยา ตฺวา ปัจจัย ที่วางไว้ในที่สุด ไม่เป็น 13,0042,003,วิเสสนะของบทประธาน เพราะโดยรูปก็เป็นรูปของพากย์นั่นเอง แต่ 13,0042,004,"แทนที่จะวางกิริยาในพากย์ไว้ในที่สุด กลับวางกิริยา ตฺวา ปัจจัยไว้," 13,0042,005,น่าจะเป็นเพราะเหตุนี้ จึงต้องตั้งชื่อบทกิริยานั้นใหม่ว่า กิริยาปธานนัย 13,0042,006,"คือจัดเป็นกิริยาที่เป็นประธาน คือกิริยาใหญ่, ส่วนบทประธานซึ่ง" 13,0042,007,เป็นกัตตา เรียกชื่อเหมือนกัตตาในกิริยาในพากย์ และน่าจัดเป็นชั้น 13,0042,008,พากยางค์ ชนิดที่เป็นตอนหนึ่งจากพากย์ (ไม่ใช่ตอนหนึ่ง ๆ ของ 13,0042,009,พากย์) เพราะตั้งเป็นประโยคของตนต่างหาก เช่นเดียวกับพากยางค์ 13,0042,010,ลิงคัตถะ. 13,0042,011,[ ๒ ] เพราะเหตุไร ท่านจึงวางกิริยา ตฺวา ปัจจัย ไว้ในที่สุด 13,0042,012,"ข้อความ, ปัญหานี้ตอนได้จากการสังเกตตัวอย่างที่ท่านใช้, กล่าวโดยย่อ" 13,0042,013,ว่า ท่านใช้ในข้อความที่กล่าวรวม ๆ แยก ๆ ซึ่งจะต้องแบ่งประโยค 13,0042,014,ออกเป็นหลายท่อน น่าเป็นเพราะเหตุนี้ จึงวางกิริยา ตฺวา ปัจจัยไว้ 13,0042,015,"ในที่สุดข้อความของท่อนที่กล่าวรวม หรือกล่าวแยก, ซึ่งในท่อนที่สุด" 13,0042,016,ก็คงใช้กิริยาในพากย์นั่นเอง. ท่อนที่วางกิริยา ตฺวา ปัจจัยไว้ในที่สุดนั้น 13,0042,017,จึงเป็นเหมือนอนุประโยค. 13,0042,018,[ ๓ ] ในข้อความที่กล่าวรวม ๆ แยก ๆ นั้นวางกิริยา ตฺวา ปัจจัย 13,0042,019,ไว้ ในตอนไหน สังเกตได้จากที่ท่านใช้ดังต่อไปนี้ :- 13,0042,020,ก. รวม - แยก: ในข้อความหลายท่อน ท่อนต้นกล่าวรวม 13,0042,021,"ท่อนหลังกล่าวแยก, วางกิริยา ตฺวา ปัจจัยไว้ในที่สุดของท่อนที่กล่าว"