Book,Page,LineNumber,Text
11,0004,001,ดังตัวอย่างนี้ เราจะเห็นได้แล้วว่า คำว่า ทานํ คำเดียว อาจ
11,0004,002,แปลความหมายได้หลายนัย ดังแสดงมาฉะนี้.
11,0004,003,ศัพท์ที่ปัจจัยปรุงแต่งเป็นกิริยากิตก์
11,0004,004,ศัพท์ต่าง ๆ ที่ปัจจัยในกิตก์ปรุงให้สำเร็จรูปเป็นกิริยาศัพท์แล้ว
11,0004,005,กิริยาศัพท์นั้น ๆ ก็ย่อมมีความหมายแตกต่างกันออกไปตามปัจจัยนั้นๆ
11,0004,006,เช่นเดียวกับศัพท์ที่ปัจจัยปรุงให้สำเร็จรูปเป็นนามศัพท์ ในส่วนกิริยา
11,0004,007,"ศัพท์นี้ ดังที่ทานยกคำว่า ""ทำ"" ขึ้นมาเป็นอุทาหรณ์ ย่อมอาจหมาย"
11,0004,008,ความไปได้ต่าง ๆ ด้วยอำนาจปัจจัย ดังจะแสดงให้เห็นต่อไป คำว่า
11,0004,009,""" ทำ "" ออกมาจากศัพท์ธาตุ ""กรฺ"" ถ้าใช้เป็นศัพท์บอกผู้ทำ ก็"
11,0004,010,"เป็นกัตตุวาจก, บอกสิ่งที่เขาทำ ก็เป็นกัมมวาจก, บอกอาการที่ทำ ก็"
11,0004,011,เป็นภาววาจก (ไม่กล่าวถึงกัตตา และ กัมม). บอกผู้ใช้ให้ทำ ก็เป็น
11,0004,012,"เหตุกัตตุวาจก, บอกสิ่งที่เขาใช้ให้ทำ ก็เป็นเหตุกัมมวาจก."
11,0004,013,๑. บอกผู้ทำที่เป็นกัตตุวาจกนั้น คือเมื่อนำปัจจัยปรุงธาตุแผนก
11,0004,014,กัตตุวาจกมาประกอบเข้า เช่น อนฺต หรือ มาน ปัจจัยเป็นต้น ก็ได้รูป
11,0004,015,"เป็นกัตตุวาจก เช่น กรฺ ธาตุ ลง อนฺต ปัจจัย ได้รูปเป็น กโรนฺโต,"
11,0004,016,"กโรนฺตา, กโรนฺตํ. แปลว่า ""ทำอยู่ เมื่อทำ "" ตามรูปลิงค์ของตัว"
11,0004,017,ประธาน เมื่อต้องการจะแต่งให้เป็นประโยคตามในแบบ ก็ต้องหาตัว
11,0004,018,"กัตตาผู้ทำ ในที่นี้บ่งถึงนายช่าง ก็ต้องใช้ศัพท์ว่า ""วฑฺฒกี"" ตัว"
11,0004,019,"กรรมบ่งถึงเรือน ก็ต้องให้คำว่า "" ฆรํ"" ตัวคุณนามที่เพิ่มเข้ามาแสดง"
11,0004,020,"ถึงอาการที่นายช่างทำ คือ งามจริง ก็ใช้คำว่า ""อติวิยโสภํ"" ซึ่ง"
11,0004,021,แสดงความวิเศษของการกระทำว่า ทำได้งามจริง ท่านเรียกว่ากิริยา-