Book,Page,LineNumber,Text
12,0016,001,ฆ. ตอนที่เรียกว่า พากย์ ในพากย์ทั้ง ๓ ที่ยกมาตัดนั้น แท้จริง
12,0016,002,ก็เป็นตอนหนึ่งของพากย์ (พากยาค์) แต่เป็นตอนที่สุดของพากย์
12,0016,003,ท่านใช้กิริยาคุมพากย์ จึงเรียกว่าพากย์.
12,0016,004,ทางแห่งการศึกษาวากย สัมพันธ์
12,0016,005,(๑๔๙) การศึกษาวิธีประกอบคำพูดเข้าเป็นพากย์ มี ๒ ทางคือ
12,0016,006,กำหนดพากย์ที่เรียงไว้แล้วให้รู้ว่าบทไหนเข้ากับบทไหน ซึ่งเรียกว่า
12,0016,007,สัมพันธ์ทาง ๑. เรียงผูกคำพูดให้เป็นพากย์เองให้ต้องตามแบบอย่าง
12,0016,008,ทาง ๑. ใน ๒ ทางนั้น ควรเรียนทรงสัมพันธ์ ให้เห็นเป็นตัวอย่าง
12,0016,009,ไว้ก่อนแล้ว จึงเรียนแต่งเอง เช่นนี้ การศึกษาจะได้สะดอกดี ก่อน
12,0016,010,แต่เรียนสัมพันธ์ ควรรู้จักแบบสัมพันธ์ไว้ก่อน.
12,0016,011,อธิบาย: [ ๑ ] การศึกษาวากยสัมพันธ์มี ๒ ทาง คือเรียน
12,0016,012,สัมพันธ์ ๑ เรียนผูกคำพูดให้เป็นพากย์เองให้ต้องตามแบบอย่าง คือ
12,0016,013,เรียนแต่ภาษาบาลี ๑. ทางที่ ๒ เป็นการศึกษาวายกสัมพันธ์โดยตรง.
12,0016,014,ส่วนทางที่ ๑ เป็นอุปกรณ์เครื่องสนับสนุน เพราะเมื่อเรียนรู้สัมพันธ์
12,0016,015,แล้ว ในเวลาแต่หนังสือ ย่อมเรียงเข้าได้ถูกต้อง. ส่วนในการแปล
12,0016,016,หนังสือจำเรียนสัมพันธ์แท้ มิฉะนั้นจะไม่รู้ว่าบทไหนเนื่องหรือเข้า
12,0016,017,กับบทไหน เมื่อไม่รู้ ก็จับความไม่ได้ แปลไม่ถูก. ทั้งนี้เพราะ
12,0016,018,ภาษาบาลีมีวิธีเรียงคำพูดต่างภาษาไทย.
12,0016,019,[ ๒] ในภาษาไทย เรียงคำพูดที่ ๑-๒ ไปตามความ จึงไม่สู้
12,0016,020,เห็นความสำคัญของสัมพันธ์. ส่วนภาษาบาลีไม่เรียงอย่างนั้น แต่
12,0016,021,เรียงวิธีวากยสัมพันธ์อีกส่วนหนึ่ง. ถ้าจะแปลคำที่ ๑-๒ ตามลำดับ