Book,Page,LineNumber,Text 45,0032,001,กถาว่าด้วยความประพฤติถ่อมตน* 45,0032,002,"[๒๘๖] ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาว่า "" ความเป็นผู้มีใจอ่อนน้อม" 45,0032,003,คือความเป็นผู้ประพฤติถ่อมตน ชื่อว่า นิวาตะ ( ความประพฤติถ่อม 45,0032,004,ตน ). บุคคลประกอบแล้วด้วยความเป็นผู้ประพฤติถ่อมตนใด เป็นผู้ 45,0032,005,ขจัดมานะเสียได้ ขจัดความกระด้างเสียได้ เป็นผู้เช่นกับด้วยท่อนผ้า 45,0032,006,สำหรับเช็คเท้า เสมอด้วยโคผู้ตัวเขาหัก และเป็นผู้เสมอด้วยงูพิษที่ถูก 45,0032,007,ถอนเขี้ยวแล้ว มีวาจาอ่อนหวาน มีวาจานิ่มนวล มีวาจาน่าปลื้มใจ 45,0032,008,นี้ชื่อว่า นิวาต. 45,0032,009,[๒๘๗] ส่วนในอรรถกถาปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย ท่าน 45,0032,010,"กล่าวว่า "" ( พระอริยสาวกทั้งหลายย่อมเสพ ) บุคคลผู้ประพฤติ" 45,0032,011,"ถ่อมตน. """ 45,0032,012,"ฎีกาปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกายนั้นว่า "" ซึ่งบุคคลผู้มีความนอบ-" 45,0032,013,"น้อมเป็นปกติ. """ 45,0032,014,"อรรถกถากุลทูสกสิกขาบทว่า "" บทว่า สณฺหา ความว่า" 45,0032,015,ละเอียด คือ ฉลาดเพื่อจะน้อมเข้าไปสู่ชนผู้เป็นอุบาสก ในฐานะ 45,0032,016,"อันควรอย่างนี้ว่า "" แม่ พ่อ พี่สาว. บทว่า สขิลา ได้แก่ ประกอบ" 45,0032,017,ด้วยความละมุนละม่อม. คำว่า สุขสมฺภาสา นี้ เป็นคำกล่าวถึงเหตุ 45,0032,018,แห่งคำก่อน. จริงอยู่ พระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ มีถ้อยคำไพเราะ 45,0032,019, 45,0032,020,* พระมหาเฉย ยโส ป. ธ. ๗ วัดสัมพันธวงศ์. ( บัดนี้เป็นพระเทพปัญญามุนี ) แปล. 45,0032,021,๑. ปรมัตถโชติกา ขุททกปาฐวัณณนา. ๑๕๙. ๒. มโน. ปู. ๓/๒๘. ๓. สมนฺต. ๒/๑๓๘.