|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
08,0024,001,วจนะในวิภัตติทั้ง ๗ หมวด เช่น <B>เสหิ</B> แปลว่า ของตน ได้ในคาถา
|
|
08,0024,002,ธรรมบทว่า <B>เสหิ กมฺเมหิ ทุมฺเมโธ อคฺคิทฑฺโฒว ตปฺปติ </B> คนมี
|
|
08,0024,003,ปัญญาทรามย่อมเดือดร้อน ดุจถูกไฟไหม้ เพราะกรรมของตน ดังนี้
|
|
08,0024,004,แปลงเป็น <B>สก </B>ก็มี เมื่อแปลงแล้วแจกตามแบบ <B>อ</B> การันต์ในปุํลิงค์
|
|
08,0024,005,ใช้ได้ทั้งสองวจนะด้วย <B>สก</B> ที่แปลงมาจาก <B>สยํ</B> มีที่ใช้มากกว่า <B>ส</B>.
|
|
08,0024,006,<B>อตฺต</B> ศัพท์นี้มีอยู่ตามลำพัง ต้องแจกอย่างศัพท์พิเศษดังปรากฏในแบบ
|
|
08,0024,007,เมื่อเข้าสมาสกับศัพท์อื่นแล้วต้องแจกตามแบบ <B>อ</B> การันต์ในปุํลิงค์
|
|
08,0024,008,โดยมาก.
|
|
08,0024,009,<B>อตฺต ส สก</B> ทั้งสามนี้แปลว่าตนเหมือนกัน แต่นำไปใช้ในที่
|
|
08,0024,010,ต่างกันกว้างแคบกว่ากัน <B>อตฺต</B> โดยมากใช้เป็นบทนามนาม คือเพียง
|
|
08,0024,011,เป็นบทประธานเท่านั้น ถึงคราวใช้เป็น <B>วิกติกตฺตา</B> ก็ใช้อย่างนามนาม
|
|
08,0024,012,ไม่มีผิดอะไร ส่วน <B>ส</B> หรือ <B>สก</B> นั้น โดยมากใช้เป็นบทคุณ เพื่อ
|
|
08,0024,013,แสดงลักษณะของนามไว้ราบรัดเข้า คือแสดงว่า ของสิ่งนั้นต้องเป็น
|
|
08,0024,014,ของตนจริง ๆ เมื่อแสดงลักษณะของนามนามบทใด ก็ต้องลิงค์ วจนะ
|
|
08,0024,015,วิภัตติ เสมอกันกับนามผู้เป็นเจ้าของทุกแห่งไป.
|
|
08,0024,016,<B>อตฺต</B> เมื่อติดต่อศัพท์อื่น ท่านให้แปลง <B>ต </B>ที่สุดศัพท์เป็น <B>ร</B>
|
|
08,0024,017,สำเร็จรูป <B>อตฺร</B> เช่น <B>อตฺรโช</B> แปลว่า อันว่าบุตรเกิดในตน หรือ
|
|
08,0024,018,<B>อตฺรชํ</B> เกิดในตน ทั้งนี้ปรากฏอยู่ในคาถาธรรมบท ภาค ๖ หน้า ๑๙
|
|
08,0024,019,"ว่า <B>อตฺตนา หิ กตํ ปาปํ อตฺรชํ อตฺตสมฺภวํ, อภิมตฺภติ ทุมฺเมธํ,"
|
|
08,0024,020,"วชิรํ วมฺหยํ มณึ, </B>ดังนี้เป็นหลักอ้าง."
|
|
|