|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
09,0017,001,จะแปลว่ารถของม้าก็ไม่ได้ เพราะม้าไม่ได้เป็นเจ้าของรถ จะแปลว่ารถ
|
|
09,0017,002,ในม้าก็ไม่ได้ รถใกล้ม้า ที่ม้า ความก็ยังไม่สนิท เพราะฉะนั้น ท่านจึง
|
|
09,0017,003,ยอมให้ใช้บทอื่นในรูปวิเคราะห์ เพื่อให้อายตนิบาต คือการต่อเชื่อม
|
|
09,0017,004,กันสนิท คำที่เพิ่มมาในรูปวิเคราะห์นี้ เมื่อเข้าสมาสแล้วให้ลบเสีย
|
|
09,0017,005,เรียกว่า มัชเฌโลป คือลบท่ามกลาง แม้ในสมาสอื่นก็มีคำที่เติมแล้ว
|
|
09,0017,006,ลบเสียเหมือกัน คำที่เติมเพื่อให้ความเต็มในรูปวิเคราะห์เช่นนี้ ถึง
|
|
09,0017,007,แม้จะลบเสียในเมื่อเข้าสมาสแล้วก็ดี เจ้าของแห่งภาษาหรือผู้ที่เข้าใจ
|
|
09,0017,008,ภาษานั้น ย่อมรู้ความหมายกันได้อย่างชัดเจน ดังภาษาไทยเรา คำว่า
|
|
09,0017,009,รถม้า ก็เช่นกัน เป็นคำพูดที่ยังไม่เต็มความ แต่เข้าใจกันได้ว่ารถอัน
|
|
09,0017,010,เทียมด้วยม้า ฉะนั้น ศัพท์ว่า อสฺสรโถ จึงมีศัพท์ที่เป็น มัชเฌโลป
|
|
09,0017,011,อยู่ด้วย ความจึงเข้ากันสนิท ในที่นี้ต้องใช้ ยุตฺต ซึ่งแปลว่า เทียม
|
|
09,0017,012,แล้ว เข้าท่ามกลาง ประกอบวิภัตติ วจนะ ลิงค์ ให้เหมือนกับ รโถ
|
|
09,0017,013,อันเป็นตัวประธาน ดังนี้ อสฺเสน ยุตฺโต รโถ=อสฺสรโถ รถอันเขา
|
|
09,0017,014,เทียมแล้วด้วยม้า.
|
|
09,0017,015,จะแสดงอุทาหรณ์แห่งตัปปุริสะ เพื่อเป็นเครื่องประกอบความ
|
|
09,0017,016,เข้าใจของนักศึกษาโดยสังเขป.
|
|
09,0017,017,ทุติยาตัปปุริสะ
|
|
09,0017,018,สุขํ ปตฺโต สุขปฺปตฺโต (ปุริโส) บุรุษถึงแล้วซึ่งสุข.
|
|
09,0017,019,วิสงฺขารํ คตํ วิสงฺขารคตํ (จิตฺตํ) จิตถึงแล้วซึ่งวิสังขาร.
|
|
09,0017,020,ตติยาตัปปุริสะ
|
|
09,0017,021,โมเหน (สมฺปยุตฺตํ) จิตฺตํ โมหจิตฺตํ จิตสัมปยุตแล้วโดยโมหะ.
|
|
|