|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
09,0022,001,๒. อุปสัค หรือ นิบาต เป็นตัวประธานในบทปลง.
|
|
09,0022,002,๓. บทหลังต้องเป็นนปุํสกลิงค์.
|
|
09,0022,003,๔. บทหลังต้องเป็นเอกวจนะ.
|
|
09,0022,004,เมื่อพร้อมด้วยลักษณะ ๔ อย่างนี้แล้ว พึงเข้าใจเถิดว่า เป็น
|
|
09,0022,005,อัพยยีภาวสมาสแท้ ก็แลอัพยยีภาวสมาสนี้ แบ่งเป็น ๒ อย่างตามชื่อ
|
|
09,0022,006,ของอัพยยศัพท์ คือ :-
|
|
09,0022,007,๑. <B>อุปสคฺคปุพฺพก</B> มีอุปสัคอยู่ข้างหน้า
|
|
09,0022,008,๒. <B> นิปาตปุพฺพก</B> มีนิบาตอยู่ข้างหน้า
|
|
09,0022,009,การตั้งวิเคราะห์ในสมาสนี้ รูปวิเคราะห์ท่านใช้นามศัพท์อื่น ที่
|
|
09,0022,010,มีเนื้อความคล้ายคลึงกันกับอัพยยศัพท์ ที่จะนำมาเป็นบทปลง และ
|
|
09,0022,011,เรียงไว้ข้างหลัง บทเดียวบ้าง หลายบทบ้าง ถ้าบทเดียวได้ความ
|
|
09,0022,012,เท่ากับอัพยยศัพท์ก็ใช้บทเดียว ถ้าไม่ได้ความก็ใช้หลายบท จนได้
|
|
09,0022,013,ความเท่ากันกับบทปลง ไม่ใช่แต่บทนามอย่างเดียวเท่านั้น ที่ใช้ใน
|
|
09,0022,014,รูปวิเคราะห์ แม้บทกิริยาก็ใช้ประกอบกับอุปสัคในรูปวิเคราะห์ได้ เมื่อ
|
|
09,0022,015,เข้าสมาสคงไว้แต่อุปสัค.
|
|
09,0022,016,อนึ่ง ถ้าอัพยยศัพท์นั้น ๆ มุ่งความเป็นตัวประธานได้ ก็ใช้
|
|
09,0022,017,อัพยยศัพท์นั้นเป็นตัวประธานในรูปวิเคราะห์ เรียงไว้ข้างหลัง แต่
|
|
09,0022,018,เมื่อเข้าสมาสแล้ว กลับไปไว้ข้างหน้า. ต่อนี้จะแสดง อุ. แห่งอัพยยี-
|
|
09,0022,019,ภาวสมาสทั้ง ๒ นั้นเป็นลำดับไป.
|
|
09,0022,020,อุปสคฺคปุพพก มีวิธีวิเคราะห์ ๒ คือ :-
|
|
09,0022,021,ก. อย่างที่ใช้นามอื่นบทเดียวเป็นประธานในรูปวิเคราะห์ อุ.
|
|
|