question_id
int32 1
4k
| article_id
int32 665
954k
| context
stringlengths 75
87.2k
| question
stringlengths 11
135
| answers
sequence |
---|---|---|---|---|
3,752 | 39,734 | โอซากะ โอซากะ () เป็นเมืองที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 และมีประชากรมากเป็นอันดับ 3 ของประเทศญี่ปุ่น และยังเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในสามนครเคฮันชิง ตั้งอยู่ในภาคคันไซบนเกาะฮนชู ในเขตจังหวัดโอซากะ เป็นหนึ่งในไม่กี่เมืองที่มีสถานะเป็นนครโดยข้อบัญญัติรัฐบาลญี่ปุ่น นครโอซากะมีประชากรทั้งหมดประมาณ 2.7 ล้านคน แต่ในช่วงเวลาทำงานจะเพิ่มขึ้นเป็น 3.7 ล้านคน ซึ่งเป็นรองเพียงแต่โตเกียวเท่านั้น อัตราส่วนประชากรกลางวันต่อกลางคืนเท่ากับ 141 เปอร์เซ็นต์ นครตั้งอยู่ที่ปากแม่น้ำโยะโดะ อ่าวโอซากะ และทะเลเซะโตะ โอซากะเป็นเป็นเมืองสำคัญทางประวัติศาสตร์ ทั้งการค้าและวัฒนธรรมเมืองหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น มีสมญาว่า ครัวของชาติ () เพราะเป็นศูนย์กลางการค้าข้าวของญี่ปุ่นตั้งแต่สมัยเอะโดะ และปัจจุบันเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมเมืองหนึ่งในประเทศญี่ปุ่นประวัติศาสตร์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ถึงยุคโคะฟุง ประวัติศาสตร์. ยุคก่อนประวัติศาสตร์ถึงยุคโคะฟุง. หลักฐานการตั้งถิ่นฐานในเขตโอซากะ คือ บริเวณแหล่งประวัติศาสตร์โมริโนะมิยะ (森の宮遺跡 Morinomiya iseki) มีการค้นพบสุสานหอยนางรมและโครงกระดูกมนุษย์ในสมัย 500-600 ปีก่อนคริสตกาล เชื่อกันว่า บริเวณที่ชื่ออุเอะฮงมิยะในทุกวันนี้น่าจะเป็นคาบสมุทรและมีทะเลในแผ่นดินทางตะวันออก ในสมัยยะโยะอิ มีการค้นพบการตั้งถิ่นฐานถาวรเป็นครั้งแรก ในบริเวณที่ราบของโอซากะ โดยยึดการปลูกข้าวเป็นอาชีพหลัก ในยุคโคะฟุง โอซากะได้รับการพัฒนาเป็นท่าเรือเชื่อมต่อดินแดนทางตะวันตกของญี่ปุ่น มีการค้นพบสุสานที่บริเวณพื้นที่ราบของโอซากะจำนวนมาก เป็นหลักฐานของความมั่นคงทางการเมือง นำไปสู่การสร้างประเทศในเวลาต่อมายุคอะซุกะและยุคนะระ ยุคอะซุกะและยุคนะระ. ในปี พ.ศ. 1188 จักรพรรดิโคโตะกุได้สร้างพระราชวังชื่อ นะนิวะ นะงะระ-โทะโยะซะงิ ขึ้นที่โอซากะ และได้เนรมิตให้พื้นที่แห่งนี้เป็นเมืองหลวง(กรุงนะนิวะ) พื้นที่แห่งนี้ได้กลายเป็นเมืองใหม่ในสมัยนั้นและมีชื่อว่า นะนิวะ และชื่อนี้ก็ยังมีการใช้กันในปัจจุบัน เป็นการเรียกชื่อใจกลางของโอซากะว่า นะนิวะ(浪速) และกร่อนมาเป็น นัมบะ (難波) ในทุกวันนี้ แม้จะมีการย้ายเมืองหลวงไปที่อะซุกะ (ในจังหวัดนะระในปัจจุบัน) ในปี พ.ศ. 1198 นะนิวะก็ยังเป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อทั้งทางบกและทางทะเลระหว่างยะมะโตะ (จังหวัดนะระ) เกาหลี และ จีน ในปี พ.ศ. 1287 นะนิวะได้กลายมาเป็นเมืองหลวงอีกครั้งหนึ่งตามคำสั่งของจักรพรรดิโชมุ แต่ได้เป็นเมืองหลวงถึงปี พ.ศ. 1288 ราชสำนักก็ย้ายกลับไปที่เฮโจ (ปัจจุบันคือ นะระ) อีกครั้ง ในปลายยุคนะระ ท่าเรือจึงค่อยๆกลายเป็นที่พักอาศัยของชาวเดินเรือ แต่ยังคงมีความคึกคักตามบริเวณแม่น้ำ คลอง และเส้นทางการคมนาคมทางบกไปยังกรุงเฮอัน (ปัจจุบันคือ เคียวโตะ) และเมืองอื่น ๆยุคเฮอันถึงยุคเอะโดะ ยุคเฮอันถึงยุคเอะโดะ. ในปี พ.ศ. 2039 มีการก่อตั้งศาสนาพุทธ นิกายโจโดะชินชู โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่อิชิยะมะฮงกันจิ บนพื้นที่ส่วนหนึ่งของพระราชวังนะนิวะ ไดเมียวโอะดะ โนะบุนะงะ หนึ่งในสามผู้รวมประเทศญี่ปุ่นเริ่มโอบล้อมวัดในปี พ.ศ. 2113 หลังจากอีกสิบปี พระในวัดก็ยอมจำนน และวัดก็ถูกทำลายลงอย่างราบคาบ ไดเมียวโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ จึงได้สร้างปราสาทโอซากะขึ้นแทนในที่แห่งนั้น โอซากะเป็นพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญของญี่ปุ่นมาอย่างยาวนาน มีประชากรที่เป็นชนชั้นพ่อค้าในสัดส่วนที่สูง โดยในยุคเอะโดะ (พ.ศ. 2146 - พ.ศ. 2410) โอซากะเติบโตไปเป็นเมืองใหญ่ของญี่ปุ่นและกลับมาเป็นเมืองท่าที่คึกคักอีกครั้ง วัฒนธรรมของโอซากะมีความเกี่ยวข้องกับภาพอุกิโยะ อันเป็นภาพวาดที่มีชื่อเสียงในยุคเอะโดะ โดยในปี พ.ศ. 2323 โอซากะเป็นแหล่งวัฒนธรรม มีชื่อเสียงด้านการแสดงของโรงละครคะบุกิและละครหุ่นบุนระกุ ในปี พ.ศ. 2380 โอชิโอะ เฮฮะชิโร ซามูไรชั้นผู้น้อย ได้นำกลุ่มชาวนาก่อการกบฏขึ้นเพื่อประท้วงผู้ปกครองเมืองที่เฉยเมยต่อคนจนและครอบครัวที่ตกต่ำในพื้นที่เหล่านี้ พื้นที่เมืองเกือบ 1 ใน 4 ถูกเผาทำลายจากการกบฏในครั้งนั้น ก่อนที่เจ้าหน้าที่จากโชกุนจะปราบกบฏลงได้ และโอชิโอะก็ตัดสินใจปลิดชีพตัวเองในเวลาต่อมา รัฐบาลโชกุนเปิดให้โอซากะเป็นเมืองที่เปิดรับการค้ากับต่างประเทศเช่นเดียวกับเฮียวโงะ (ปัจจุบันคือ โคเบะ) ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2411 ก่อนการฟื้นฟูเมจิเพียงเล็กน้อยโอซากะยุคใหม่ โอซากะยุคใหม่. กฤษฎีการัฐบาลได้ก่อตั้งโอซากะให้เป็นเมืองที่มีการปกครองพิเศษ ในฐานะเมืองอันตั้งขึ้นโดยข้อบังคับ ในปี พ.ศ. 2432 มีพื้นที่เริ่มต้น 15 ตารางกิโลเมตร คือบริเวณเขตชูโอะและนิชิในปัจจุบัน ต่อมา เมืองได้ขยายตัวจนมีพื้นที่ 222 ตารางกิโลเมตรอย่างในปัจจุบัน โอซากะเป็นศูนย์กลางทางอุตสาหกรรมอย่างชัดเจนในช่วงการพัฒนาเศรษฐกิจตามระบบทุนนิยมของญี่ปุ่น การเติบโตของอุตสาหกรรมนี้ทำให้ชาวเกาหลีหลายคนอพยพเข้ามาตั้งตัว ระบอบการปกครองจึงเป็นแบบผสมโดยให้ความสำคัญด้านการส่งเสริมอุตสาหกรรมและการพัฒนาเมืองไปสู่ความเจริญ อัตราการรู้หนังสือเพิ่มขึ้น และระบบการศึกษาขยายตัวอย่างรวดเร็ว เกิดเป็นกลุ่มชนชั้นกลางที่รู้หนังสือและมีความชื่นชอบในงานศิลปะ แต่ในอีกมุมหนึ่งของการเจริญเติบโต โอซากะก็มีสลัม คนว่างงาน และคนจน เช่นเดียวกับในยุโรปและอเมริกา เทศบาลนครโอซากะจึงจัดตั้งระบบจ่ายเงินช่วยเหลือเพื่อเยียวยาคนจนขึ้น โดยใช้แบบฉบับมาจากอังกฤษ ผู้ร่างนโยบายของโอซากะได้ให้ความสำคัญกับการสร้างครอบครัวและการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการต่อสู้กับความยากจน ซึ่งเป็นวิธีการที่จะช่วยลดงบประมาณของนโยบายเปลี่ยนแปลงเมืองไปสู่ความร่ำรวย อย่างไรก็ตาม โอซากะก็เสียหายอย่างหนักจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อกองทัพอเมริกันได้ทิ้งระเบิดใส่พื้นที่ต่างๆของโอซากะในช่วงปีสุดท้ายของสงคราม ประชาชนไร้ที่อยู่อาศัยและอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายอย่างหนัก แต่เมืองก็กลับคืนสู่สภาพเดิมได้อย่างรวดเร็วหลังสิ้นสุดสงคราม และกลับมาเป็นเมืองศูนย์กลางด้านอุตสาหกรรมและวัฒนธรรมได้อีกครั้งอย่างรวดเร็วที่มาของชื่อ ที่มาของชื่อ. "โอซากะ" หมายถึง เนินเขาใหญ่ ในสมัยก่อน โอซากะเป็นที่รู้จักกันในชื่อ นะนิวะ และไม่มีใครทราบแน่ชัดว่าเปลี่ยนเป็นโอซากะตั้งแต่เมื่อใด แต่มีหลักฐานพบการเรียกชื่อเมืองว่าโอซากะจากข้อความที่ปรากฏในหนังสือ ปี ค.ศ. 1496 ในสมัยก่อน โอซากะ เขียนเป็นคันจิว่า 大坂 แต่คันจิตัวหลังมักอ่านผิดเป็น 士反 ซึ่งมีความหมายว่า กบฏซามูไร เป็นความหมายที่ไม่ค่อยจะดีนัก ในสมัยปฏิรูปเมจิ ปี ค.ศ. 1870 จึงได้มีการเปลี่ยนคันจิของโอซากะใหม่เป็น 大阪 และใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน และคันจิตัวหลัง คือ 阪 (อ่านออกเสียงแบบอนโยมิว่า ฮัน) ก็ใช้กันอย่างกว้างขวางว่ามีความหมายถึงนครโอซากะ และจังหวัดโอซากะเท่านั้นสภาพทางภูมิศาสตร์และภูมิอากาศภูมิศาสตร์ สภาพทางภูมิศาสตร์และภูมิอากาศ. ภูมิศาสตร์. นครโอซากะตั้งอยู่ที่ปากแม่น้ำทางตะวันตกของแม่น้ำโยะโดะ ริมอ่าวโอซากะ ล้อมรอบด้วยเมืองเล็กกว่าสิบเมืองในจังหวัดโอซากะ มีพื้นที่คิดเป็นร้อยละ 13 ของจังหวัดโอซากะ โดยสมัยก่อตั้งเมืองในปี 1880 เมืองแบ่งออกเป็นสองเขตเท่านั้นคือ ชูโอะ และ นิชิ มีพื้นที่เพียง 15.27 ตารางกิโลเมตร และปัจจุบัน เมืองเติบโตจนมีพื้นที่ 222.30 ตารางกิโลเมตร โดยการเติบโตที่รวดเร็วที่สุดเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1925 เมื่อเมืองได้มีการขยายพื้นที่ออกไปอีก 126.01 ตารางกิโลเมตร จุดที่สูงที่สุดของนครโอซากะอยู่ในเขตสึรุมิ ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 37.5 เมตร และจุดที่ต่ำที่สุด อยู่ที่เขตนิชิโยะโดะงะวะ ความสูงต่ำกว่าระดับน้ำทะเล 2.2 เมตรภูมิอากาศ ภูมิอากาศ. โอซากะ เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น (CFA ตามระบบการแบ่งภูมิอากาศของเคิปเปน) มี 4 ฤดูกาลแบ่งแยกกันชัดเจน ในหน้าหนาวในอากาศหนาว อุณหภูมิลดลงต่ำสุดในเดือนมกราคม เฉลี่ย 9.3 องศาเซลเซียส โอซากะเป็นเมืองที่ไม่ค่อยจะมีหิมะตกในช่วงฤดูหนาว ส่วนในฤดูใบไม้ผลิ มีอากาศเย็น แต่จะค่อยๆร้อนและชื้นมากขึ้น จนเข้าสู่ช่วงฤดูฝนในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมถึงต้นเดือนกรกฎาคม จากนั้น หน้าร้อนจะมีอากาศร้อนและชื้น ในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม อุณหภูมิเฉลี่ยในช่วงกลางวันอยู่ที่ 35 องศาเซลเซียส ขณะที่อุณหภูมิเฉลี่ยในช่วงกลางคืนอยู่ที่ 25 องศาเซลเซียส ฤดูใบไม้ร่วงที่นครโอซากะค่อนข้างเย็น โดยช่วงต้นฤดูจะคล้ายกับฤดูร้อน และปลายฤดูจะคล้ายกับฤดูหนาวทิวทัศน์ของเมืองใจกลางเมือง ทิวทัศน์ของเมือง. ใจกลางเมือง. ใจกลางของโอซากะแบ่งคร่าว ๆ ออกเป็น 2 ส่วนคือ คิตะ (北 แปลว่า เหนือ) กับ มินะมิ (南 แปลว่า ใต้) และทั้งสองส่วนนี้เชื่อมต่อกันด้วยเส้นทางมิโดซึจิ บริเวณคิตะล้อมรอบไปด้วยพื้นที่ธุรกิจและค้าปลีกในย่านอุเมะดะ ส่วนบริเวณมินะมิหมายรวมถึงย่านช็อปปิ้งอย่างนัมบะ ชินไซบะชิ และโดทมโบะริ มีแหล่งบันเทิงตั้งอยู่มากมายที่สะพานโดทมโบะริ รวมทั้งสัญลักษณ์ปูยักษ์ที่มีชื่อเสียง ป้ายไฟกุลิโกะ สวนสามเหลี่ยม และหมู่บ้านอเมริกา ส่วนบริเวณระหว่างคิตะกับมินะมิก็มีโยะโดะยะบะชิและฮมมาชิที่เป็นแหล่งธุรกิจดั้งเดิม มีสถานที่ราชการ สำนักงานของธนาคารใหญ่ๆ ตั้งอยู่มากมาย ส่วนบริเวณพื้นที่ธุรกิจแห่งใหม่ของโอซากะจะอยู่ที่บริเวณอุทยานธุรกิจโอซากะใกล้กับปราสาทโอซากะ นอกจากนี้ ยังมีย่านธุรกิจสำคัญอื่นๆตั้งอยู่ที่บริเวณสถานีเทนโนจิและสถานีเคียวบะชิ 808 สะพานแห่งนะนิวะ คือคำกล่าวแสดงความเป็นเอกลักษณ์ของโอซากะในยุคโบราณ โดยตัวเลข 808 นี้เป็นสัญลักษณ์ของแนวคิดที่ว่า"นับไม่ได้"แม้ในสมัยเอะโดะ โอซากะจะมีสะพานเพียงแค่ประมาณ 200 แห่งก็ตาม และเนื่องจากโอซากะเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยแม่น้ำ คลอง สะพานแต่ละแห่งจึงมีชื่อ และบริเวณเหล่านั้นก็มักเรียกตามชื่อของสะพานไปด้วย แม้ว่าคลองบางแห่งจากถูกถม แต่ก็ยังมีอีกหลายแห่งที่ยังหลงเหลืออยู่ ในปี พ.ศ. 2468 โอซากะมีสะพานอยู่ประมาณ 1629 แห่ง บางคลองบางแห่งก็ถูกถมไปจนเหลือสะพานเพียงแค่ 872 แห่ง โดยในจำนวนนี้ อยู่ในความรับผิดชอบดูแลของนครโอซากะ 760 แห่งประชากร ประชากร. จากการสำมะโนประชากรในปี พ.ศ. 2548 โอซากะมีผู้อยู่อาศัย 2,628,811 คน เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2543 จำนวน 30,037 คน คิดเป็นร้อยละ 1.2 แบ่งเป็น 1,280,325 ครัวเรือน หรือประมาณครัวเรือนละ 2.1 คน ความหนาแน่นประชากรอยู่ที่ 11,836 คนต่อตารางกิโมตร โดยเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่คันโต พ.ศ. 2466 ทำให้ประชาชนชาวญี่ปุ่นอพยพมาอยู่โอซากะจำนวนมากในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2463-2473 จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2473 เมืองมีประชากร 2,453,573 คน กลายเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่นแซงหน้าโตเกียวที่มีประชากร 2,070,913 คนในขณะนั้น และในปี พ.ศ. 2483 โอซากะมีประชากรสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ที่ 3,252,340 คน ส่วนช่วงหลังสงคราม นครโอซากะมีประชากรสูงสุดที่ 3,156,222 คน ในปี พ.ศ. 2508 และค่อย ๆ ลดลงไปเนื่องจากประชาชนเริ่มทะยอยย้ายออกไปอยู่ตามเขตชานเมือง ชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในนครโอซากะมีจำนวนที่ลงทะเบียนไว้ 99,775.5 คน โดยมีกลุ่มใหญ่คือ เกาหลี 71,015 คน และจีน 11,848 คนสำเนียง สำเนียง. สำเนียงที่พูดกันโดยทั่วไปในโอซากะคือ สำเนียงโอซากะ อันเป็นหนึ่งในตระกูล สำเนียงคันไซ ลักษณะที่โดดเด่นคือ การลงท้ายประโยคด้วยคำว่า เฮง แทนคำว่า ไน ในประโยคปฏิเสธของภาษาทางการการแบ่งเขตปกครอง การแบ่งเขตปกครอง. เขต (区) ในนครโอซากะมีทั้งหมด 24 เขตได้แก่เศรษฐกิจ เศรษฐกิจ. ผลิตภัณฑ์มวลรวมของนครโอซากะในปีงบประมาณ 2547 อยู่ที่ 21.3 ล้านล้านเยน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 1.2 ตัวเลขนี้คิดเป็นร้อยละ 55 ของผลผลิตที่ได้จากจังหวัดโอซากะ และคิดเป็นร้อยละ 26.5 ของแถบคันไซ สามอุตสาหกรรมหลักของโอซากะคือ การพาณิชย์ การบริการ การผลิต ในปี พ.ศ. 2547 มีสัดส่วนร้อยละ 30, 26 และ 11 ตามลำดับ รายได้ต่อหัวของเมืองอยู่ที่ 3.3 ล้านเยน สูงกว่าค่าเฉลี่ยของจังหวัดโอซากะร้อยละ 10 ขณะที่บริษัทมาสเตอร์การ์ดรายงานว่า โอซากะเป็นเมืองเศรษฐกิจอันดับ 19 ของโลก และเป็นหัวใจสำคัญของระบบเศรษฐกิจของโลก ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศในส่วนของโอซากะและโคเบะอยู่ที่ 341 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นับเป็นเมืองปากแม่น้ำที่มีผลผลิตมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลกเช่นเดียวกับปารีสและลอนดอน ตามประวัติศาสตร์แล้ว โอซากะเป็นศูนย์กลางการค้าของญี่ปุ่นมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยเฉพาะในยุคกลางและก่อนยุคใหม่ โดยในปี พ.ศ. 2468 มีการก่อตั้งบริษัทหลักทรัพย์โนมูระ อันเป็นบริษัทโบรกเกอร์หุ้นบริษัทแรกของญี่ปุ่น จนกระทั่งปัจจุบัน โอซากะก็ยังเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนฟิวเจอร์สที่สำคัญของโลก แม้จะมมีบริษัทหลายแห่งได้ย้ายสำนักงานหลักไปอยู่ที่โตเกียว แต่ก็มีบริษัทใหญ่หลายแห่งที่สำนักงานใหญ่ยังตั้งอยู่ที่โอซากะ เช่น พานาโซนิค ชาร์ป และซันโย และเมื่อเร็วๆนี้ นายกเทศมนตรีจุนิชิ เซะกิ ได้เริ่มโครงการดึงดูดการลงทุนทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ ศูนย์แลกเปลี่ยนหลักทรัพย์โอซากะ ตั้งอยู่ที่นครโอซากะ เน้นความสำคัญด้านการแลกเปลี่ยนอนุพันธ์ เช่น ฟิวเจอร์สนิกเกอิ 225 นอกจากนี้ การควบรวมกับ JASDAQ ก็ช่วยให้การแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ของโอซากะกลายเป็นแหล่งก่อตั้งบริษัทแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น จากการศึกษาของสหรัฐอเมริกา โอซากะเป็นเมืองที่มีค่าครองชีพแพงที่สุดเป็นอันดับสองของโลกสำหรับคนต่างด้าว เป็นรองเพียงแค่โตเกียวการคมนาคมการคมนาคมทางอากาศ การคมนาคม. การคมนาคมทางอากาศ. โอซากะ มีท่าอากาศยานที่สำคัญสองแห่งคือ- ท่าอากาศยานนานาชาติคันไซ (KIX) เป็นท่าอากาศยานสำหรับเที่ยวบินระหว่างประเทศ และเที่ยวบินในประเทศบางเที่ยวบิน เป็นแหล่งของการขนส่งสินค้า ท่าอากาศยานแห่งนี้สร้างขึ้นจากการถมทะเลในบริเวณอ่าวโอซากะ มีรถประจำทางและรถไฟให้บริเวณรับส่งระหว่างเมืองและชานเมืองที่สำคัญ - ท่าอากาศยานนานาชาติโอซากะ (ITM) ตั้งอยู่ที่บริเวณรอยต่อของเมืองอิตะมิและเมืองโทะโยะนะกะ เป็นท่าอากาศยานสำหรับเที่ยวบินภายในประเทศ และการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศบางเส้นทาง รวมทั้งเป็นท่าอากาศยานสำหรับรับรองแขกพิเศษจากต่างประเทศการคมนาคมทางทะเล การคมนาคมทางทะเล. ท่าเรือโอซากะเป็นแหล่งกระจายสินค้าที่สำคัญเคียงคู่กับท่าเรือโคเบะเรือโดยสาร เรือโดยสาร. ท่าเรือโดยสารนานาชาติโอซากะจะเชื่อมต่อในวงที่ไกลกว่าท่าเรือของโตเกียวเนื่องจากมีข้อได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ เรือโดยสารระหว่างประเทศที่ออกจากโอซากะจะเดินทางไป เซี่ยงไฮ้ เทียนจิน เกาหลี และไต้หวัน ส่วนเรือโดยสารในประเทศจะเชื่อมต่อกับคิตะคีวชู คะโงะชิมะ มิยะซะกิ และ โอะกินะวะการขนส่งทางเรือ การขนส่งทางเรือ. ท่าเรือในแถบโอซากะและโคเบะนำเข้าและส่งออกสินค้าวัตถุดิบจากทั่วโลก โดยไม่มีท่าใดโดดเด่นกว่ากัน ประกอบไปด้วย ท่าเรือโอซากะ ท่าเรือโคเบะ ท่าเรือซะไก และท่าเรือฮิเมะจิท่าเรือพี่น้องท่าเรือพี่น้อง. - ซานฟรานซิสโก, สหรัฐอเมริกา (ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1967) - เมลเบิร์น, ออสเตรเลีย (ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1974) - เลออาฟวร์, ฝรั่งเศส (ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980) - เซี่ยงไฮ้, จีน (ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1981) - บัลปาราอีโซ, ชิลี (ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1983) - คานปูร์, อินเดีย (ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1996) - ปูซาน, เกาหลีใต้ (ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1985) - นครโฮจิมินห์ , เวียดนาม (ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1994)การขนส่งทางราง การขนส่งทางราง. แถบนครโอซากะมีการเชื่อมต่อทางระบบรางที่หนาแน่น โดยมีสถานีหลักอยู่ที่ อุเมดะ นัมบะ เทนโนจิ เคียวบะชิ และ โยะโดะยะบะชิรถไฟความเร็วสูง รถไฟความเร็วสูง. บริษัทเจอาร์เซนทรัลและเจอาร์เวสต์ ให้บริการรถไฟความเร็วสูงซันโย ชิงกันเซ็งและโทไกโด ชิงกันเซ็ง โดยมีสถานีชินโอซากะเป็นสถานีรถไฟชิงกันเซ็งในโอซากะ สถานีเชื่อมต่อกับสถานีโอซากะในอุเมะดะโดยรถไฟเจอาร์ รถไฟชิงกันเซ็งทุกขบวนจะหยุดที่สถานีชินโอซากะแห่งนี้รถไฟสัญจร รถไฟสัญจร. บริษัทเจอาร์เวสต์แและบริษัทรถไฟเอกชนให้บริการรถไฟเชื่อมต่อระหว่างโอซะกับเขตชานเมือง โดยรถไฟของเจอาร์เวสต์จะให้บริการในชื่อรถไฟเครือข่ายมหานคร โดยมีสถานีใหญ่อยู่ตามเส้นทางรถไฟวงกลมของโอซากะ นอกจากนี้ ยังมีบริษัทรถไฟเอกชนอย่าง รถไฟฟ้าเคฮัน รถไฟฮันกีว รถไฟฟ้าฮันชิง รถไฟคินเตะสึ และรถไฟฟ้านันไก ร่วมให้บริการรับส่งผู้โดยสารในเขตเคียวโตะ โคเบะ โอซากะ นะระ โยะชิโนะ อิเสะ และนะโงะยะ รวมถึงวะกะยะมะ และท่าอากาศยานนาชาชาติคันไซอีกด้วยรถไฟใต้ดิน รถไฟใต้ดิน. ระบบรถไฟใต้ดินของโอซากะเป็นส่วนหนึ่งของระบบคมนาคมของโอซากะ โดยรถไฟใต้ดินของโอซากะนี้ได้รับการจัดอันดับให้เป็นรถไฟที่มีผู้ใช้มากที่สุดเป็นอันดับ 8 ของโลก รับส่งผู้โดยสารกว่า 912 ล้านคนต่อปี (ระบบรถไฟของโอซากะรับส่งผู้โดยสารกว่า 4 พันล้านคนต่อปี)รถประจำทาง รถประจำทาง. รถประจำทางให้บริการในเขตเทศบาลนครโอซากะ และยังมีการให้บริการจากกลุ่มบริษัทฮันคีว ฮันชิน และคินเทตสึ ในพื้นที่ให้บริการรถไฟของแต่ละบริษัทด้วย ทำให้การคมนาคมในเมืองค่อนข้างครอบคลุม ค่าโดยสารของรถประจำทางอยู่ที่ประมาณ 200 เยนวัฒนธรรมและวิถีชีวิตแหล่งซื้อสินค้าและอาหาร วัฒนธรรมและวิถีชีวิต. แหล่งซื้อสินค้าและอาหาร. โอซากะเป็นแหล่งค้าส่งและค้าปลีกขนาดใหญ่ มีร้านค้าส่ง 25,228 ร้านและร้านค้าปลีก 34,707 ร้านในปี พ.ศ. 2547 ร้านค้าส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเขตชูโอะ (10,468 ร้าน) และเขตคิตะ (6,335 ร้าน) มีร้านค้าหลายรูปแบบตั้งแต่โชเตงไก(商店街)แบบดั้งเดิมไปจนถึงห้างสรรพสินค้าบนดินและใต้ดิน โชเตงไกเป็นรูปแบบของร้านแบบดั้งเดิมที่พบได้ทั่วญี่ปุ่น และโอซากะมีโชเตงไกที่ยาวที่สุดในโลกอยู่ที่ เทนจินบะชิ ความยาว 2.6 กิโลเมตร ขายสินค้าหลากหลายตั้งแต่ของใช้ภายในบ้าน เสื้อผ้า ตลอดจนอาหารเลี้ยงสัตว์ พื้นที่สินค้าอีกแห่งหนึ่งที่สำคัญคือ เดนเดนทาวน์ เป็นแหล่งรวมสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และการ์ตูน/อะนิเมะที่สำคัญของโอซากะ คล้ายกับย่านอะกิฮะบะระของโตเกียว ส่วนย่านอุเมะดะเป็นแหล่งรวมห้างสรรพสินค้าและห้างโยะโดะบะชิคาเมร่า อันเป็นห้างสรรพสินค้าด้านอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าชื่อดังของญี่ปุ่น โอซากะ ขึ้นชื่อในเรื่องของเมืองอาหาร ทั้งอาหารญี่ปุ่นและจากนานชาติ โดยนักเขียนอย่างไมเคิล บูธ และฟรองซัวส์ ไซมอน นักวิจารณ์อาหารชื่อดังของหนังสือพิมพ์เลอฟิกาโร บอกว่า โอซากะเป็นเมืองหลวงด้านอาหารของโลก ผู้ที่ชื่นชอบอาหารโอซากะคงจะเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า "เคียวโตะซื้อเสื้อผ้าขนหมดตัว โอซากะซื้ออาหารจนหมดตัว" อาหารที่มีชื่อเสียงของโอซากะคือ โอะโคะโนะมิยะกิ ทะโกะยะกิ อุดง และโอชิซูชิ แหล่งช็อปปิ้งแหล่งอื่นๆของโอซากะได้แก่- หมู่บ้านอเมริกา - สินค้าสำหรับวัยรุ่น - โดทมโบะริ - ส่วนหนึ่งของนัมบะและจัดเป็นใจกลางเมือง - นัมบะ - พื้นที่ซื้อขายสินค้าหลัก ๆ ท่องเที่ยว และร้านอาหาร - ชินไซบะชิ - ของประดับ เสื้อผ้า และห้างสรรพสินค้า - อุเมะดะ - โรงภาพยนตร์ เครื่องสำอาง และห้างสรรพสินค้าเทศกาลประจำปี เทศกาลประจำปี. เทศกาลที่มีชื่อเสียงที่สุดงานหนึ่งของโอซากะ คือ เทศกาลเทนจิน จัดขึ้นในวันที่ 24 และ 25 กรกฎาคมกีฬา กีฬา. โอซากะเป็นเมืองของทีมกีฬาที่มีชื่อเสียงหลายทีม ได้แก่- โอริกซ์ บัฟฟาโลส์ - ทีมเบสบอล เล่นอยู่ที่เคียวเซราโดม โอซากะ - ฮันชิน ไทเกอร์ส - ทีมเบสบอลที่มีชื่อเสียง ตั้งอยู่ที่สนามโคชิเอ็ง จังหวัดเฮียวโงะ และเล่นเกมในบ้านบางนัดที่สนามเคียวเซราโดม โอซากะ เช่นกัน - กัมบะ โอซากะ - สโมสรฟุตบอลที่มีชื่อเสียงระดับเอเชีย ในฤดูกาล 2013 เล่นอยู่ในเจลีก ดิวิชัน 2 เคยสร้างประวัติศาสตร์คว้าแชมป์ฟุตบอลระดับเอเชียอย่างเอเอฟซี แชมเปียนส์ลีก ก่อนจะได้อันดับที่ 3 ในการรายการฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก - เซเรซโซ โอซากะ - สโมสรฟุตบอล ในฤดูกาล 2013 เล่นอยู่ในเจลีก ดิวิชัน 1 - โอซากะ เอเวสซา - ทีมบาสเกตบอลระดับบีเจลีก เคยคว้าแชมป์สมัยก่อตั้งลีกได้ 3 สมัย - คินเทตสึ ไลเนอร์ส - ทีมรักบี้ เล่นอยู่ในลีกสูงสุดของญี่ปุ่น นอกจากนี้ โอซากะยังมีจัดทัวร์นาเมนต์ซูโม่เป็นประจำทุกปี ที่โรงพลศึกษาจังหวัดโอซากะ ในชื่อ ซังกัตสึบะโชะ (三月場所 sangatsu basho)สถานที่ที่น่าสนใจสวนสนุกสถานที่ที่น่าสนใจ. สวนสนุก. - ยูนิเวอร์แซลสตูดิโอส์ประเทศญี่ปุ่น - พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำไคยูกัง - ตั้งอยู่ที่อ่าวโอซากะ มีสัตว์น้ำกว่า 35,000 ชนิดจัดแสดงอยู่ใน 14 แทงก์ จัดเป็นพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก - ชิงช้าสวรรค์เทมโปซัง - สวนสัตว์เทนโนจิ - HEP Five - ห้างสรรพสินค้าย่านอุเมะดะที่มีชิงช้าสวรรค์ที่โด่งดัง - อุเมะดะสกาย - ตึกแฝดสูง 173 เมตร ที่เชื่อมกันด้วยทางเดินลอยฟ้าเพื่อชมวิวแบบ 360 องศา เป็นมุมถ่ายรูปที่มีชื่อเสียงสวนสาธารณะสวนสาธารณะ. - สวนนะกะโนะชิมะ - สวนปราสาทโอซากะ - สวนเทนโนจิ - สวนซุมิโยะชิ - อุตสึโบะ - สวนนะไงวัด ศาลเจ้า และสถานที่ทางประวัติศาสตร์วัด ศาลเจ้า และสถานที่ทางประวัติศาสตร์. - ปราสาทโอซากะ - ศาลเจ้าซังโค - วัดชิเทนโนจิ - วัดพุทธที่เก่าแก่ที่สุดในญี่ปุ่นใน พ.ศ. 1136 - ศาลเจ้าซุมิโยะชิ ไทชะ - ศาลเจ้าชินโตที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น สร้างในปี พ.ศ. 754แหล่งบันเทิงแหล่งบันเทิง. - โดทมโบะริ - แหล่งท่องเที่ยว อาหาร เป็นสัญลักษณ์ของโอซากะ - นัมบะและชินไซบะชิ - ตั้งอยู่ที่เขตชูโอะ มักเรียกรวมว่าบริเวณมินะมิ เป็นถนนช็อปปิง ร้านอาหาร บาร์ และแหล่งเที่ยวกลางคืนที่ไม่รู้จบ - ชินเซะไก - อีกสัญลักษณ์หนึ่งของโอซากะ แหล่งอาหาร เครื่องดื่ม มีหอคอยซือเตนคะคุ และขายคะชิคะสึราคาย่อมเยา - เดนเดนทาวน์ - แหล่งขายเครื่องใช้ไฟฟ้า อะนิเมะ เทียบเท่ากับอะกิฮะบะระของโตเกียวการศึกษา การศึกษา. นครโอซากะให้บริการการศึกษาตั้งแต่ระดับประถมศึกษาจนถึงมัธยมศึกษาตอนต้น ส่วนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย อยู่ในการควบคุมดูแลของคณะกรรมการการศึกษาจังหวัดโอซากะ โอซากะเป็นเมืองที่มีมหาวิทยาลัยและโรงเรียนมัธยมปลายจำนวนมาก มีจำนวนวิทยาเขตมากมายตั้งอยู่กระจายโดยทั่วไป แต่โดยส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ในเขตชานเมือง โดยมีมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในจังหวัดโอซากะ ดังต่อไปนี้- มหาวิทยาลัยโอซากะ (Osaka University) - มหาวิทยาลัยคันไซ (Kansai University) - มหาวิทยาลัยโอซากะซิตี้ (Osaka City University) - สถาบันเทคโนโลยีโอซากะ (Osaka Institute of Technology) - Osaka University of Economics - Morinomiya University of Medical Sciences - Osaka Jogakuin College - Osaka Seikei University - Osaka University of Arts, Minamikawachi District, Osaka - Osaka University of Comprehensive Children education - Osaka University of Education - Soai University - Tokiwakai Gakuen Universityความสัมพันธ์กับต่างประเทศเมืองแฝดและเมืองพี่น้อง ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ. เมืองแฝดและเมืองพี่น้อง. เมืองแฝดและเลืองพี่น้องของโอซากะมีดังนี้- ซานฟรานซิสโก, สหรัฐอเมริกา (ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1957) - เซาเปาโล, บราซิล(ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1969) - ชิคาโก, สหรัฐอเมริกา (ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1973) - เซี่ยงไฮ้, จีน(ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1974) - เมลเบิร์น, ออสเตรเลีย(ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1974) - เซนต์ปีเตอร์เบิร์ก, รัสเซีย(ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1979) - มิลาน, อิตาลี(ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1981) - ฮัมบูร์ก, เยอรมนี(ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1989)ความร่วมมือทางธุรกิจ ความร่วมมือทางธุรกิจ. พันธมิตรความร่วมมือทางธุรกิจของนครโอซากะ มีดังนี้- ออกแลนด์ , นิวซีแลนด์ - กรุงเทพมหานคร, ไทย - นครโฮจิมินห์, เวียดนาม - ฮ่องกง - จาการ์ตา, อินโดนีเซีย - กัวลาลัมเปอร์, มาเลเซีย - มะนิลา, ฟิลิปปินส์ - เมลเบิร์น, ออสเตรเลีย - มุมไบ, อินเดีย - โซล, เกาหลีใต้ - เซี่ยงไฮ้, จีน - สิงคโปร์ - เทียนจิน, จีน
| เมืองที่ใหญ่ที่สุดในสามนครเคฮันชิงของประเทศญี่ปุ่นคือเมืองใด | {
"answer": [
"โอซากะ"
],
"answer_begin_position": [
86
],
"answer_end_position": [
92
]
} |
3,753 | 39,734 | โอซากะ โอซากะ () เป็นเมืองที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 และมีประชากรมากเป็นอันดับ 3 ของประเทศญี่ปุ่น และยังเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในสามนครเคฮันชิง ตั้งอยู่ในภาคคันไซบนเกาะฮนชู ในเขตจังหวัดโอซากะ เป็นหนึ่งในไม่กี่เมืองที่มีสถานะเป็นนครโดยข้อบัญญัติรัฐบาลญี่ปุ่น นครโอซากะมีประชากรทั้งหมดประมาณ 2.7 ล้านคน แต่ในช่วงเวลาทำงานจะเพิ่มขึ้นเป็น 3.7 ล้านคน ซึ่งเป็นรองเพียงแต่โตเกียวเท่านั้น อัตราส่วนประชากรกลางวันต่อกลางคืนเท่ากับ 141 เปอร์เซ็นต์ นครตั้งอยู่ที่ปากแม่น้ำโยะโดะ อ่าวโอซากะ และทะเลเซะโตะ โอซากะเป็นเป็นเมืองสำคัญทางประวัติศาสตร์ ทั้งการค้าและวัฒนธรรมเมืองหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น มีสมญาว่า ครัวของชาติ () เพราะเป็นศูนย์กลางการค้าข้าวของญี่ปุ่นตั้งแต่สมัยเอะโดะ และปัจจุบันเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมเมืองหนึ่งในประเทศญี่ปุ่นประวัติศาสตร์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ถึงยุคโคะฟุง ประวัติศาสตร์. ยุคก่อนประวัติศาสตร์ถึงยุคโคะฟุง. หลักฐานการตั้งถิ่นฐานในเขตโอซากะ คือ บริเวณแหล่งประวัติศาสตร์โมริโนะมิยะ (森の宮遺跡 Morinomiya iseki) มีการค้นพบสุสานหอยนางรมและโครงกระดูกมนุษย์ในสมัย 500-600 ปีก่อนคริสตกาล เชื่อกันว่า บริเวณที่ชื่ออุเอะฮงมิยะในทุกวันนี้น่าจะเป็นคาบสมุทรและมีทะเลในแผ่นดินทางตะวันออก ในสมัยยะโยะอิ มีการค้นพบการตั้งถิ่นฐานถาวรเป็นครั้งแรก ในบริเวณที่ราบของโอซากะ โดยยึดการปลูกข้าวเป็นอาชีพหลัก ในยุคโคะฟุง โอซากะได้รับการพัฒนาเป็นท่าเรือเชื่อมต่อดินแดนทางตะวันตกของญี่ปุ่น มีการค้นพบสุสานที่บริเวณพื้นที่ราบของโอซากะจำนวนมาก เป็นหลักฐานของความมั่นคงทางการเมือง นำไปสู่การสร้างประเทศในเวลาต่อมายุคอะซุกะและยุคนะระ ยุคอะซุกะและยุคนะระ. ในปี พ.ศ. 1188 จักรพรรดิโคโตะกุได้สร้างพระราชวังชื่อ นะนิวะ นะงะระ-โทะโยะซะงิ ขึ้นที่โอซากะ และได้เนรมิตให้พื้นที่แห่งนี้เป็นเมืองหลวง(กรุงนะนิวะ) พื้นที่แห่งนี้ได้กลายเป็นเมืองใหม่ในสมัยนั้นและมีชื่อว่า นะนิวะ และชื่อนี้ก็ยังมีการใช้กันในปัจจุบัน เป็นการเรียกชื่อใจกลางของโอซากะว่า นะนิวะ(浪速) และกร่อนมาเป็น นัมบะ (難波) ในทุกวันนี้ แม้จะมีการย้ายเมืองหลวงไปที่อะซุกะ (ในจังหวัดนะระในปัจจุบัน) ในปี พ.ศ. 1198 นะนิวะก็ยังเป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อทั้งทางบกและทางทะเลระหว่างยะมะโตะ (จังหวัดนะระ) เกาหลี และ จีน ในปี พ.ศ. 1287 นะนิวะได้กลายมาเป็นเมืองหลวงอีกครั้งหนึ่งตามคำสั่งของจักรพรรดิโชมุ แต่ได้เป็นเมืองหลวงถึงปี พ.ศ. 1288 ราชสำนักก็ย้ายกลับไปที่เฮโจ (ปัจจุบันคือ นะระ) อีกครั้ง ในปลายยุคนะระ ท่าเรือจึงค่อยๆกลายเป็นที่พักอาศัยของชาวเดินเรือ แต่ยังคงมีความคึกคักตามบริเวณแม่น้ำ คลอง และเส้นทางการคมนาคมทางบกไปยังกรุงเฮอัน (ปัจจุบันคือ เคียวโตะ) และเมืองอื่น ๆยุคเฮอันถึงยุคเอะโดะ ยุคเฮอันถึงยุคเอะโดะ. ในปี พ.ศ. 2039 มีการก่อตั้งศาสนาพุทธ นิกายโจโดะชินชู โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่อิชิยะมะฮงกันจิ บนพื้นที่ส่วนหนึ่งของพระราชวังนะนิวะ ไดเมียวโอะดะ โนะบุนะงะ หนึ่งในสามผู้รวมประเทศญี่ปุ่นเริ่มโอบล้อมวัดในปี พ.ศ. 2113 หลังจากอีกสิบปี พระในวัดก็ยอมจำนน และวัดก็ถูกทำลายลงอย่างราบคาบ ไดเมียวโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ จึงได้สร้างปราสาทโอซากะขึ้นแทนในที่แห่งนั้น โอซากะเป็นพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญของญี่ปุ่นมาอย่างยาวนาน มีประชากรที่เป็นชนชั้นพ่อค้าในสัดส่วนที่สูง โดยในยุคเอะโดะ (พ.ศ. 2146 - พ.ศ. 2410) โอซากะเติบโตไปเป็นเมืองใหญ่ของญี่ปุ่นและกลับมาเป็นเมืองท่าที่คึกคักอีกครั้ง วัฒนธรรมของโอซากะมีความเกี่ยวข้องกับภาพอุกิโยะ อันเป็นภาพวาดที่มีชื่อเสียงในยุคเอะโดะ โดยในปี พ.ศ. 2323 โอซากะเป็นแหล่งวัฒนธรรม มีชื่อเสียงด้านการแสดงของโรงละครคะบุกิและละครหุ่นบุนระกุ ในปี พ.ศ. 2380 โอชิโอะ เฮฮะชิโร ซามูไรชั้นผู้น้อย ได้นำกลุ่มชาวนาก่อการกบฏขึ้นเพื่อประท้วงผู้ปกครองเมืองที่เฉยเมยต่อคนจนและครอบครัวที่ตกต่ำในพื้นที่เหล่านี้ พื้นที่เมืองเกือบ 1 ใน 4 ถูกเผาทำลายจากการกบฏในครั้งนั้น ก่อนที่เจ้าหน้าที่จากโชกุนจะปราบกบฏลงได้ และโอชิโอะก็ตัดสินใจปลิดชีพตัวเองในเวลาต่อมา รัฐบาลโชกุนเปิดให้โอซากะเป็นเมืองที่เปิดรับการค้ากับต่างประเทศเช่นเดียวกับเฮียวโงะ (ปัจจุบันคือ โคเบะ) ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2411 ก่อนการฟื้นฟูเมจิเพียงเล็กน้อยโอซากะยุคใหม่ โอซากะยุคใหม่. กฤษฎีการัฐบาลได้ก่อตั้งโอซากะให้เป็นเมืองที่มีการปกครองพิเศษ ในฐานะเมืองอันตั้งขึ้นโดยข้อบังคับ ในปี พ.ศ. 2432 มีพื้นที่เริ่มต้น 15 ตารางกิโลเมตร คือบริเวณเขตชูโอะและนิชิในปัจจุบัน ต่อมา เมืองได้ขยายตัวจนมีพื้นที่ 222 ตารางกิโลเมตรอย่างในปัจจุบัน โอซากะเป็นศูนย์กลางทางอุตสาหกรรมอย่างชัดเจนในช่วงการพัฒนาเศรษฐกิจตามระบบทุนนิยมของญี่ปุ่น การเติบโตของอุตสาหกรรมนี้ทำให้ชาวเกาหลีหลายคนอพยพเข้ามาตั้งตัว ระบอบการปกครองจึงเป็นแบบผสมโดยให้ความสำคัญด้านการส่งเสริมอุตสาหกรรมและการพัฒนาเมืองไปสู่ความเจริญ อัตราการรู้หนังสือเพิ่มขึ้น และระบบการศึกษาขยายตัวอย่างรวดเร็ว เกิดเป็นกลุ่มชนชั้นกลางที่รู้หนังสือและมีความชื่นชอบในงานศิลปะ แต่ในอีกมุมหนึ่งของการเจริญเติบโต โอซากะก็มีสลัม คนว่างงาน และคนจน เช่นเดียวกับในยุโรปและอเมริกา เทศบาลนครโอซากะจึงจัดตั้งระบบจ่ายเงินช่วยเหลือเพื่อเยียวยาคนจนขึ้น โดยใช้แบบฉบับมาจากอังกฤษ ผู้ร่างนโยบายของโอซากะได้ให้ความสำคัญกับการสร้างครอบครัวและการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการต่อสู้กับความยากจน ซึ่งเป็นวิธีการที่จะช่วยลดงบประมาณของนโยบายเปลี่ยนแปลงเมืองไปสู่ความร่ำรวย อย่างไรก็ตาม โอซากะก็เสียหายอย่างหนักจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อกองทัพอเมริกันได้ทิ้งระเบิดใส่พื้นที่ต่างๆของโอซากะในช่วงปีสุดท้ายของสงคราม ประชาชนไร้ที่อยู่อาศัยและอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายอย่างหนัก แต่เมืองก็กลับคืนสู่สภาพเดิมได้อย่างรวดเร็วหลังสิ้นสุดสงคราม และกลับมาเป็นเมืองศูนย์กลางด้านอุตสาหกรรมและวัฒนธรรมได้อีกครั้งอย่างรวดเร็วที่มาของชื่อ ที่มาของชื่อ. "โอซากะ" หมายถึง เนินเขาใหญ่ ในสมัยก่อน โอซากะเป็นที่รู้จักกันในชื่อ นะนิวะ และไม่มีใครทราบแน่ชัดว่าเปลี่ยนเป็นโอซากะตั้งแต่เมื่อใด แต่มีหลักฐานพบการเรียกชื่อเมืองว่าโอซากะจากข้อความที่ปรากฏในหนังสือ ปี ค.ศ. 1496 ในสมัยก่อน โอซากะ เขียนเป็นคันจิว่า 大坂 แต่คันจิตัวหลังมักอ่านผิดเป็น 士反 ซึ่งมีความหมายว่า กบฏซามูไร เป็นความหมายที่ไม่ค่อยจะดีนัก ในสมัยปฏิรูปเมจิ ปี ค.ศ. 1870 จึงได้มีการเปลี่ยนคันจิของโอซากะใหม่เป็น 大阪 และใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน และคันจิตัวหลัง คือ 阪 (อ่านออกเสียงแบบอนโยมิว่า ฮัน) ก็ใช้กันอย่างกว้างขวางว่ามีความหมายถึงนครโอซากะ และจังหวัดโอซากะเท่านั้นสภาพทางภูมิศาสตร์และภูมิอากาศภูมิศาสตร์ สภาพทางภูมิศาสตร์และภูมิอากาศ. ภูมิศาสตร์. นครโอซากะตั้งอยู่ที่ปากแม่น้ำทางตะวันตกของแม่น้ำโยะโดะ ริมอ่าวโอซากะ ล้อมรอบด้วยเมืองเล็กกว่าสิบเมืองในจังหวัดโอซากะ มีพื้นที่คิดเป็นร้อยละ 13 ของจังหวัดโอซากะ โดยสมัยก่อตั้งเมืองในปี 1880 เมืองแบ่งออกเป็นสองเขตเท่านั้นคือ ชูโอะ และ นิชิ มีพื้นที่เพียง 15.27 ตารางกิโลเมตร และปัจจุบัน เมืองเติบโตจนมีพื้นที่ 222.30 ตารางกิโลเมตร โดยการเติบโตที่รวดเร็วที่สุดเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1925 เมื่อเมืองได้มีการขยายพื้นที่ออกไปอีก 126.01 ตารางกิโลเมตร จุดที่สูงที่สุดของนครโอซากะอยู่ในเขตสึรุมิ ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 37.5 เมตร และจุดที่ต่ำที่สุด อยู่ที่เขตนิชิโยะโดะงะวะ ความสูงต่ำกว่าระดับน้ำทะเล 2.2 เมตรภูมิอากาศ ภูมิอากาศ. โอซากะ เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น (CFA ตามระบบการแบ่งภูมิอากาศของเคิปเปน) มี 4 ฤดูกาลแบ่งแยกกันชัดเจน ในหน้าหนาวในอากาศหนาว อุณหภูมิลดลงต่ำสุดในเดือนมกราคม เฉลี่ย 9.3 องศาเซลเซียส โอซากะเป็นเมืองที่ไม่ค่อยจะมีหิมะตกในช่วงฤดูหนาว ส่วนในฤดูใบไม้ผลิ มีอากาศเย็น แต่จะค่อยๆร้อนและชื้นมากขึ้น จนเข้าสู่ช่วงฤดูฝนในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมถึงต้นเดือนกรกฎาคม จากนั้น หน้าร้อนจะมีอากาศร้อนและชื้น ในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม อุณหภูมิเฉลี่ยในช่วงกลางวันอยู่ที่ 35 องศาเซลเซียส ขณะที่อุณหภูมิเฉลี่ยในช่วงกลางคืนอยู่ที่ 25 องศาเซลเซียส ฤดูใบไม้ร่วงที่นครโอซากะค่อนข้างเย็น โดยช่วงต้นฤดูจะคล้ายกับฤดูร้อน และปลายฤดูจะคล้ายกับฤดูหนาวทิวทัศน์ของเมืองใจกลางเมือง ทิวทัศน์ของเมือง. ใจกลางเมือง. ใจกลางของโอซากะแบ่งคร่าว ๆ ออกเป็น 2 ส่วนคือ คิตะ (北 แปลว่า เหนือ) กับ มินะมิ (南 แปลว่า ใต้) และทั้งสองส่วนนี้เชื่อมต่อกันด้วยเส้นทางมิโดซึจิ บริเวณคิตะล้อมรอบไปด้วยพื้นที่ธุรกิจและค้าปลีกในย่านอุเมะดะ ส่วนบริเวณมินะมิหมายรวมถึงย่านช็อปปิ้งอย่างนัมบะ ชินไซบะชิ และโดทมโบะริ มีแหล่งบันเทิงตั้งอยู่มากมายที่สะพานโดทมโบะริ รวมทั้งสัญลักษณ์ปูยักษ์ที่มีชื่อเสียง ป้ายไฟกุลิโกะ สวนสามเหลี่ยม และหมู่บ้านอเมริกา ส่วนบริเวณระหว่างคิตะกับมินะมิก็มีโยะโดะยะบะชิและฮมมาชิที่เป็นแหล่งธุรกิจดั้งเดิม มีสถานที่ราชการ สำนักงานของธนาคารใหญ่ๆ ตั้งอยู่มากมาย ส่วนบริเวณพื้นที่ธุรกิจแห่งใหม่ของโอซากะจะอยู่ที่บริเวณอุทยานธุรกิจโอซากะใกล้กับปราสาทโอซากะ นอกจากนี้ ยังมีย่านธุรกิจสำคัญอื่นๆตั้งอยู่ที่บริเวณสถานีเทนโนจิและสถานีเคียวบะชิ 808 สะพานแห่งนะนิวะ คือคำกล่าวแสดงความเป็นเอกลักษณ์ของโอซากะในยุคโบราณ โดยตัวเลข 808 นี้เป็นสัญลักษณ์ของแนวคิดที่ว่า"นับไม่ได้"แม้ในสมัยเอะโดะ โอซากะจะมีสะพานเพียงแค่ประมาณ 200 แห่งก็ตาม และเนื่องจากโอซากะเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยแม่น้ำ คลอง สะพานแต่ละแห่งจึงมีชื่อ และบริเวณเหล่านั้นก็มักเรียกตามชื่อของสะพานไปด้วย แม้ว่าคลองบางแห่งจากถูกถม แต่ก็ยังมีอีกหลายแห่งที่ยังหลงเหลืออยู่ ในปี พ.ศ. 2468 โอซากะมีสะพานอยู่ประมาณ 1629 แห่ง บางคลองบางแห่งก็ถูกถมไปจนเหลือสะพานเพียงแค่ 872 แห่ง โดยในจำนวนนี้ อยู่ในความรับผิดชอบดูแลของนครโอซากะ 760 แห่งประชากร ประชากร. จากการสำมะโนประชากรในปี พ.ศ. 2548 โอซากะมีผู้อยู่อาศัย 2,628,811 คน เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2543 จำนวน 30,037 คน คิดเป็นร้อยละ 1.2 แบ่งเป็น 1,280,325 ครัวเรือน หรือประมาณครัวเรือนละ 2.1 คน ความหนาแน่นประชากรอยู่ที่ 11,836 คนต่อตารางกิโมตร โดยเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่คันโต พ.ศ. 2466 ทำให้ประชาชนชาวญี่ปุ่นอพยพมาอยู่โอซากะจำนวนมากในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2463-2473 จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2473 เมืองมีประชากร 2,453,573 คน กลายเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่นแซงหน้าโตเกียวที่มีประชากร 2,070,913 คนในขณะนั้น และในปี พ.ศ. 2483 โอซากะมีประชากรสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ที่ 3,252,340 คน ส่วนช่วงหลังสงคราม นครโอซากะมีประชากรสูงสุดที่ 3,156,222 คน ในปี พ.ศ. 2508 และค่อย ๆ ลดลงไปเนื่องจากประชาชนเริ่มทะยอยย้ายออกไปอยู่ตามเขตชานเมือง ชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในนครโอซากะมีจำนวนที่ลงทะเบียนไว้ 99,775.5 คน โดยมีกลุ่มใหญ่คือ เกาหลี 71,015 คน และจีน 11,848 คนสำเนียง สำเนียง. สำเนียงที่พูดกันโดยทั่วไปในโอซากะคือ สำเนียงโอซากะ อันเป็นหนึ่งในตระกูล สำเนียงคันไซ ลักษณะที่โดดเด่นคือ การลงท้ายประโยคด้วยคำว่า เฮง แทนคำว่า ไน ในประโยคปฏิเสธของภาษาทางการการแบ่งเขตปกครอง การแบ่งเขตปกครอง. เขต (区) ในนครโอซากะมีทั้งหมด 24 เขตได้แก่เศรษฐกิจ เศรษฐกิจ. ผลิตภัณฑ์มวลรวมของนครโอซากะในปีงบประมาณ 2547 อยู่ที่ 21.3 ล้านล้านเยน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 1.2 ตัวเลขนี้คิดเป็นร้อยละ 55 ของผลผลิตที่ได้จากจังหวัดโอซากะ และคิดเป็นร้อยละ 26.5 ของแถบคันไซ สามอุตสาหกรรมหลักของโอซากะคือ การพาณิชย์ การบริการ การผลิต ในปี พ.ศ. 2547 มีสัดส่วนร้อยละ 30, 26 และ 11 ตามลำดับ รายได้ต่อหัวของเมืองอยู่ที่ 3.3 ล้านเยน สูงกว่าค่าเฉลี่ยของจังหวัดโอซากะร้อยละ 10 ขณะที่บริษัทมาสเตอร์การ์ดรายงานว่า โอซากะเป็นเมืองเศรษฐกิจอันดับ 19 ของโลก และเป็นหัวใจสำคัญของระบบเศรษฐกิจของโลก ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศในส่วนของโอซากะและโคเบะอยู่ที่ 341 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นับเป็นเมืองปากแม่น้ำที่มีผลผลิตมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลกเช่นเดียวกับปารีสและลอนดอน ตามประวัติศาสตร์แล้ว โอซากะเป็นศูนย์กลางการค้าของญี่ปุ่นมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยเฉพาะในยุคกลางและก่อนยุคใหม่ โดยในปี พ.ศ. 2468 มีการก่อตั้งบริษัทหลักทรัพย์โนมูระ อันเป็นบริษัทโบรกเกอร์หุ้นบริษัทแรกของญี่ปุ่น จนกระทั่งปัจจุบัน โอซากะก็ยังเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนฟิวเจอร์สที่สำคัญของโลก แม้จะมมีบริษัทหลายแห่งได้ย้ายสำนักงานหลักไปอยู่ที่โตเกียว แต่ก็มีบริษัทใหญ่หลายแห่งที่สำนักงานใหญ่ยังตั้งอยู่ที่โอซากะ เช่น พานาโซนิค ชาร์ป และซันโย และเมื่อเร็วๆนี้ นายกเทศมนตรีจุนิชิ เซะกิ ได้เริ่มโครงการดึงดูดการลงทุนทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ ศูนย์แลกเปลี่ยนหลักทรัพย์โอซากะ ตั้งอยู่ที่นครโอซากะ เน้นความสำคัญด้านการแลกเปลี่ยนอนุพันธ์ เช่น ฟิวเจอร์สนิกเกอิ 225 นอกจากนี้ การควบรวมกับ JASDAQ ก็ช่วยให้การแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ของโอซากะกลายเป็นแหล่งก่อตั้งบริษัทแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น จากการศึกษาของสหรัฐอเมริกา โอซากะเป็นเมืองที่มีค่าครองชีพแพงที่สุดเป็นอันดับสองของโลกสำหรับคนต่างด้าว เป็นรองเพียงแค่โตเกียวการคมนาคมการคมนาคมทางอากาศ การคมนาคม. การคมนาคมทางอากาศ. โอซากะ มีท่าอากาศยานที่สำคัญสองแห่งคือ- ท่าอากาศยานนานาชาติคันไซ (KIX) เป็นท่าอากาศยานสำหรับเที่ยวบินระหว่างประเทศ และเที่ยวบินในประเทศบางเที่ยวบิน เป็นแหล่งของการขนส่งสินค้า ท่าอากาศยานแห่งนี้สร้างขึ้นจากการถมทะเลในบริเวณอ่าวโอซากะ มีรถประจำทางและรถไฟให้บริเวณรับส่งระหว่างเมืองและชานเมืองที่สำคัญ - ท่าอากาศยานนานาชาติโอซากะ (ITM) ตั้งอยู่ที่บริเวณรอยต่อของเมืองอิตะมิและเมืองโทะโยะนะกะ เป็นท่าอากาศยานสำหรับเที่ยวบินภายในประเทศ และการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศบางเส้นทาง รวมทั้งเป็นท่าอากาศยานสำหรับรับรองแขกพิเศษจากต่างประเทศการคมนาคมทางทะเล การคมนาคมทางทะเล. ท่าเรือโอซากะเป็นแหล่งกระจายสินค้าที่สำคัญเคียงคู่กับท่าเรือโคเบะเรือโดยสาร เรือโดยสาร. ท่าเรือโดยสารนานาชาติโอซากะจะเชื่อมต่อในวงที่ไกลกว่าท่าเรือของโตเกียวเนื่องจากมีข้อได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ เรือโดยสารระหว่างประเทศที่ออกจากโอซากะจะเดินทางไป เซี่ยงไฮ้ เทียนจิน เกาหลี และไต้หวัน ส่วนเรือโดยสารในประเทศจะเชื่อมต่อกับคิตะคีวชู คะโงะชิมะ มิยะซะกิ และ โอะกินะวะการขนส่งทางเรือ การขนส่งทางเรือ. ท่าเรือในแถบโอซากะและโคเบะนำเข้าและส่งออกสินค้าวัตถุดิบจากทั่วโลก โดยไม่มีท่าใดโดดเด่นกว่ากัน ประกอบไปด้วย ท่าเรือโอซากะ ท่าเรือโคเบะ ท่าเรือซะไก และท่าเรือฮิเมะจิท่าเรือพี่น้องท่าเรือพี่น้อง. - ซานฟรานซิสโก, สหรัฐอเมริกา (ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1967) - เมลเบิร์น, ออสเตรเลีย (ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1974) - เลออาฟวร์, ฝรั่งเศส (ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980) - เซี่ยงไฮ้, จีน (ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1981) - บัลปาราอีโซ, ชิลี (ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1983) - คานปูร์, อินเดีย (ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1996) - ปูซาน, เกาหลีใต้ (ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1985) - นครโฮจิมินห์ , เวียดนาม (ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1994)การขนส่งทางราง การขนส่งทางราง. แถบนครโอซากะมีการเชื่อมต่อทางระบบรางที่หนาแน่น โดยมีสถานีหลักอยู่ที่ อุเมดะ นัมบะ เทนโนจิ เคียวบะชิ และ โยะโดะยะบะชิรถไฟความเร็วสูง รถไฟความเร็วสูง. บริษัทเจอาร์เซนทรัลและเจอาร์เวสต์ ให้บริการรถไฟความเร็วสูงซันโย ชิงกันเซ็งและโทไกโด ชิงกันเซ็ง โดยมีสถานีชินโอซากะเป็นสถานีรถไฟชิงกันเซ็งในโอซากะ สถานีเชื่อมต่อกับสถานีโอซากะในอุเมะดะโดยรถไฟเจอาร์ รถไฟชิงกันเซ็งทุกขบวนจะหยุดที่สถานีชินโอซากะแห่งนี้รถไฟสัญจร รถไฟสัญจร. บริษัทเจอาร์เวสต์แและบริษัทรถไฟเอกชนให้บริการรถไฟเชื่อมต่อระหว่างโอซะกับเขตชานเมือง โดยรถไฟของเจอาร์เวสต์จะให้บริการในชื่อรถไฟเครือข่ายมหานคร โดยมีสถานีใหญ่อยู่ตามเส้นทางรถไฟวงกลมของโอซากะ นอกจากนี้ ยังมีบริษัทรถไฟเอกชนอย่าง รถไฟฟ้าเคฮัน รถไฟฮันกีว รถไฟฟ้าฮันชิง รถไฟคินเตะสึ และรถไฟฟ้านันไก ร่วมให้บริการรับส่งผู้โดยสารในเขตเคียวโตะ โคเบะ โอซากะ นะระ โยะชิโนะ อิเสะ และนะโงะยะ รวมถึงวะกะยะมะ และท่าอากาศยานนาชาชาติคันไซอีกด้วยรถไฟใต้ดิน รถไฟใต้ดิน. ระบบรถไฟใต้ดินของโอซากะเป็นส่วนหนึ่งของระบบคมนาคมของโอซากะ โดยรถไฟใต้ดินของโอซากะนี้ได้รับการจัดอันดับให้เป็นรถไฟที่มีผู้ใช้มากที่สุดเป็นอันดับ 8 ของโลก รับส่งผู้โดยสารกว่า 912 ล้านคนต่อปี (ระบบรถไฟของโอซากะรับส่งผู้โดยสารกว่า 4 พันล้านคนต่อปี)รถประจำทาง รถประจำทาง. รถประจำทางให้บริการในเขตเทศบาลนครโอซากะ และยังมีการให้บริการจากกลุ่มบริษัทฮันคีว ฮันชิน และคินเทตสึ ในพื้นที่ให้บริการรถไฟของแต่ละบริษัทด้วย ทำให้การคมนาคมในเมืองค่อนข้างครอบคลุม ค่าโดยสารของรถประจำทางอยู่ที่ประมาณ 200 เยนวัฒนธรรมและวิถีชีวิตแหล่งซื้อสินค้าและอาหาร วัฒนธรรมและวิถีชีวิต. แหล่งซื้อสินค้าและอาหาร. โอซากะเป็นแหล่งค้าส่งและค้าปลีกขนาดใหญ่ มีร้านค้าส่ง 25,228 ร้านและร้านค้าปลีก 34,707 ร้านในปี พ.ศ. 2547 ร้านค้าส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเขตชูโอะ (10,468 ร้าน) และเขตคิตะ (6,335 ร้าน) มีร้านค้าหลายรูปแบบตั้งแต่โชเตงไก(商店街)แบบดั้งเดิมไปจนถึงห้างสรรพสินค้าบนดินและใต้ดิน โชเตงไกเป็นรูปแบบของร้านแบบดั้งเดิมที่พบได้ทั่วญี่ปุ่น และโอซากะมีโชเตงไกที่ยาวที่สุดในโลกอยู่ที่ เทนจินบะชิ ความยาว 2.6 กิโลเมตร ขายสินค้าหลากหลายตั้งแต่ของใช้ภายในบ้าน เสื้อผ้า ตลอดจนอาหารเลี้ยงสัตว์ พื้นที่สินค้าอีกแห่งหนึ่งที่สำคัญคือ เดนเดนทาวน์ เป็นแหล่งรวมสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และการ์ตูน/อะนิเมะที่สำคัญของโอซากะ คล้ายกับย่านอะกิฮะบะระของโตเกียว ส่วนย่านอุเมะดะเป็นแหล่งรวมห้างสรรพสินค้าและห้างโยะโดะบะชิคาเมร่า อันเป็นห้างสรรพสินค้าด้านอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าชื่อดังของญี่ปุ่น โอซากะ ขึ้นชื่อในเรื่องของเมืองอาหาร ทั้งอาหารญี่ปุ่นและจากนานชาติ โดยนักเขียนอย่างไมเคิล บูธ และฟรองซัวส์ ไซมอน นักวิจารณ์อาหารชื่อดังของหนังสือพิมพ์เลอฟิกาโร บอกว่า โอซากะเป็นเมืองหลวงด้านอาหารของโลก ผู้ที่ชื่นชอบอาหารโอซากะคงจะเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า "เคียวโตะซื้อเสื้อผ้าขนหมดตัว โอซากะซื้ออาหารจนหมดตัว" อาหารที่มีชื่อเสียงของโอซากะคือ โอะโคะโนะมิยะกิ ทะโกะยะกิ อุดง และโอชิซูชิ แหล่งช็อปปิ้งแหล่งอื่นๆของโอซากะได้แก่- หมู่บ้านอเมริกา - สินค้าสำหรับวัยรุ่น - โดทมโบะริ - ส่วนหนึ่งของนัมบะและจัดเป็นใจกลางเมือง - นัมบะ - พื้นที่ซื้อขายสินค้าหลัก ๆ ท่องเที่ยว และร้านอาหาร - ชินไซบะชิ - ของประดับ เสื้อผ้า และห้างสรรพสินค้า - อุเมะดะ - โรงภาพยนตร์ เครื่องสำอาง และห้างสรรพสินค้าเทศกาลประจำปี เทศกาลประจำปี. เทศกาลที่มีชื่อเสียงที่สุดงานหนึ่งของโอซากะ คือ เทศกาลเทนจิน จัดขึ้นในวันที่ 24 และ 25 กรกฎาคมกีฬา กีฬา. โอซากะเป็นเมืองของทีมกีฬาที่มีชื่อเสียงหลายทีม ได้แก่- โอริกซ์ บัฟฟาโลส์ - ทีมเบสบอล เล่นอยู่ที่เคียวเซราโดม โอซากะ - ฮันชิน ไทเกอร์ส - ทีมเบสบอลที่มีชื่อเสียง ตั้งอยู่ที่สนามโคชิเอ็ง จังหวัดเฮียวโงะ และเล่นเกมในบ้านบางนัดที่สนามเคียวเซราโดม โอซากะ เช่นกัน - กัมบะ โอซากะ - สโมสรฟุตบอลที่มีชื่อเสียงระดับเอเชีย ในฤดูกาล 2013 เล่นอยู่ในเจลีก ดิวิชัน 2 เคยสร้างประวัติศาสตร์คว้าแชมป์ฟุตบอลระดับเอเชียอย่างเอเอฟซี แชมเปียนส์ลีก ก่อนจะได้อันดับที่ 3 ในการรายการฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก - เซเรซโซ โอซากะ - สโมสรฟุตบอล ในฤดูกาล 2013 เล่นอยู่ในเจลีก ดิวิชัน 1 - โอซากะ เอเวสซา - ทีมบาสเกตบอลระดับบีเจลีก เคยคว้าแชมป์สมัยก่อตั้งลีกได้ 3 สมัย - คินเทตสึ ไลเนอร์ส - ทีมรักบี้ เล่นอยู่ในลีกสูงสุดของญี่ปุ่น นอกจากนี้ โอซากะยังมีจัดทัวร์นาเมนต์ซูโม่เป็นประจำทุกปี ที่โรงพลศึกษาจังหวัดโอซากะ ในชื่อ ซังกัตสึบะโชะ (三月場所 sangatsu basho)สถานที่ที่น่าสนใจสวนสนุกสถานที่ที่น่าสนใจ. สวนสนุก. - ยูนิเวอร์แซลสตูดิโอส์ประเทศญี่ปุ่น - พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำไคยูกัง - ตั้งอยู่ที่อ่าวโอซากะ มีสัตว์น้ำกว่า 35,000 ชนิดจัดแสดงอยู่ใน 14 แทงก์ จัดเป็นพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก - ชิงช้าสวรรค์เทมโปซัง - สวนสัตว์เทนโนจิ - HEP Five - ห้างสรรพสินค้าย่านอุเมะดะที่มีชิงช้าสวรรค์ที่โด่งดัง - อุเมะดะสกาย - ตึกแฝดสูง 173 เมตร ที่เชื่อมกันด้วยทางเดินลอยฟ้าเพื่อชมวิวแบบ 360 องศา เป็นมุมถ่ายรูปที่มีชื่อเสียงสวนสาธารณะสวนสาธารณะ. - สวนนะกะโนะชิมะ - สวนปราสาทโอซากะ - สวนเทนโนจิ - สวนซุมิโยะชิ - อุตสึโบะ - สวนนะไงวัด ศาลเจ้า และสถานที่ทางประวัติศาสตร์วัด ศาลเจ้า และสถานที่ทางประวัติศาสตร์. - ปราสาทโอซากะ - ศาลเจ้าซังโค - วัดชิเทนโนจิ - วัดพุทธที่เก่าแก่ที่สุดในญี่ปุ่นใน พ.ศ. 1136 - ศาลเจ้าซุมิโยะชิ ไทชะ - ศาลเจ้าชินโตที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น สร้างในปี พ.ศ. 754แหล่งบันเทิงแหล่งบันเทิง. - โดทมโบะริ - แหล่งท่องเที่ยว อาหาร เป็นสัญลักษณ์ของโอซากะ - นัมบะและชินไซบะชิ - ตั้งอยู่ที่เขตชูโอะ มักเรียกรวมว่าบริเวณมินะมิ เป็นถนนช็อปปิง ร้านอาหาร บาร์ และแหล่งเที่ยวกลางคืนที่ไม่รู้จบ - ชินเซะไก - อีกสัญลักษณ์หนึ่งของโอซากะ แหล่งอาหาร เครื่องดื่ม มีหอคอยซือเตนคะคุ และขายคะชิคะสึราคาย่อมเยา - เดนเดนทาวน์ - แหล่งขายเครื่องใช้ไฟฟ้า อะนิเมะ เทียบเท่ากับอะกิฮะบะระของโตเกียวการศึกษา การศึกษา. นครโอซากะให้บริการการศึกษาตั้งแต่ระดับประถมศึกษาจนถึงมัธยมศึกษาตอนต้น ส่วนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย อยู่ในการควบคุมดูแลของคณะกรรมการการศึกษาจังหวัดโอซากะ โอซากะเป็นเมืองที่มีมหาวิทยาลัยและโรงเรียนมัธยมปลายจำนวนมาก มีจำนวนวิทยาเขตมากมายตั้งอยู่กระจายโดยทั่วไป แต่โดยส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ในเขตชานเมือง โดยมีมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในจังหวัดโอซากะ ดังต่อไปนี้- มหาวิทยาลัยโอซากะ (Osaka University) - มหาวิทยาลัยคันไซ (Kansai University) - มหาวิทยาลัยโอซากะซิตี้ (Osaka City University) - สถาบันเทคโนโลยีโอซากะ (Osaka Institute of Technology) - Osaka University of Economics - Morinomiya University of Medical Sciences - Osaka Jogakuin College - Osaka Seikei University - Osaka University of Arts, Minamikawachi District, Osaka - Osaka University of Comprehensive Children education - Osaka University of Education - Soai University - Tokiwakai Gakuen Universityความสัมพันธ์กับต่างประเทศเมืองแฝดและเมืองพี่น้อง ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ. เมืองแฝดและเมืองพี่น้อง. เมืองแฝดและเลืองพี่น้องของโอซากะมีดังนี้- ซานฟรานซิสโก, สหรัฐอเมริกา (ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1957) - เซาเปาโล, บราซิล(ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1969) - ชิคาโก, สหรัฐอเมริกา (ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1973) - เซี่ยงไฮ้, จีน(ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1974) - เมลเบิร์น, ออสเตรเลีย(ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1974) - เซนต์ปีเตอร์เบิร์ก, รัสเซีย(ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1979) - มิลาน, อิตาลี(ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1981) - ฮัมบูร์ก, เยอรมนี(ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1989)ความร่วมมือทางธุรกิจ ความร่วมมือทางธุรกิจ. พันธมิตรความร่วมมือทางธุรกิจของนครโอซากะ มีดังนี้- ออกแลนด์ , นิวซีแลนด์ - กรุงเทพมหานคร, ไทย - นครโฮจิมินห์, เวียดนาม - ฮ่องกง - จาการ์ตา, อินโดนีเซีย - กัวลาลัมเปอร์, มาเลเซีย - มะนิลา, ฟิลิปปินส์ - เมลเบิร์น, ออสเตรเลีย - มุมไบ, อินเดีย - โซล, เกาหลีใต้ - เซี่ยงไฮ้, จีน - สิงคโปร์ - เทียนจิน, จีน
| ในสมัยก่อน เมืองโอซากะประเทศญี่ปุ่นเป็นที่รู้จักกันในชื่อใด | {
"answer": [
"นะนิวะ"
],
"answer_begin_position": [
5088
],
"answer_end_position": [
5094
]
} |
3,754 | 906,473 | ยัน อิงเงินฮุส ยัน อิงเงินฮุส (, ; 8 ธันวาคม ค.ศ. 1730 – 7 กันยายน ค.ศ. 1799) เป็นนักสรีรวิทยา นักชีววิทยา และนักเคมีชาวดัตช์ เป็นผู้ค้นพบการสังเคราะห์ด้วยแสง และพบว่าพืชมีการหายใจระดับเซลล์เช่นเดียวกับสัตว์ประวัติ ประวัติ. ยัน อิงเงินฮุสเกิดในปี ค.ศ. 1730 ที่เมืองเบรดาในสาธารณรัฐดัตช์ เมื่ออายุได้ 16 ปี เขาเข้าเรียนด้านการแพทย์ที่มหาวิทยาลัยเลอเฟินและเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยไลเดิน ในปี ค.ศ. 1755 เขากลับไปทำงานเป็นแพทย์ที่เมืองเบรดา หลังบิดาของอิงเงินฮุสเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1764 เขาเดินทางไปทั่วยุโรปเพื่อศึกษาต่อ อิงเงินฮุสเรียนการปลูกฝีป้องกันโรคฝีดาษกับจอห์น พริงเกิลในอังกฤษ ต่อมาในปี ค.ศ. 1767 เขาประสบความสำเร็จในการปลูกฝีให้ชาวเมืองฮาร์ตฟอร์ดเชอร์กว่า 700 คน ปีต่อมา จักรพรรดินีมาเรีย เทเรซาแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ทรงทราบข่าวการรักษาของพริงเกิลและสนพระทัยในการปลูกฝี พริงเกิลจึงเสนอให้อิงเจิลเฮาส์เดินทางไปออสเตรีย การปลูกฝีให้แก่พระราชวงศ์ของจักรพรรดินีมาเรีย เทเรซาเป็นไปได้ด้วยดี ทำให้อิงเงินฮุสได้รับตำแหน่งแพทย์ประจำพระองค์ อิงเงินฮุสมีผลงานต่าง ๆ เช่น ในปี ค.ศ. 1779 เขาพบว่าเมื่อมีแสงแดด พืชจะปล่อยก๊าซชนิดหนึ่งออกมา แต่จะหยุดกระบวนการนี้เมื่อไม่มีแสงแดด ต่อมาเขาพบว่าก๊าซดังกล่าวคือออกซิเจน อิงเงินฮุสยังพบภายหลังว่าเมื่อไม่มีแสงแดด พืชจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา กระบวนการดังกล่าวรู้จักในชื่อการสังเคราะห์ด้วยแสง ต่อมาในปี ค.ศ. 1785 อิงเงินฮุสสังเกตเห็นการเคลื่อนที่ที่ไม่เป็นระเบียบของฝุ่นถ่านหินในแอลกอฮอล์ ต่อมาปรากฏการณ์นี้เรียกว่าการเคลื่อนที่แบบบราวน์ ด้านชีวิตส่วนตัว อิงเงินฮุสแต่งงานกับแอกาทา มารีอา แจ็กควินในปี ค.ศ. 1755 เขาเสียชีวิตที่เมืองคาล์น ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ในปี ค.ศ. 1799 ในปี ค.ศ. 2017 กูเกิล ดูเดิล ฉลองวันเกิดปีที่ 287 ให้แก่อิงเงินฮุส
| ผู้ค้นพบการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชคือใคร | {
"answer": [
"ยัน อิงเงินฮุส"
],
"answer_begin_position": [
104
],
"answer_end_position": [
118
]
} |
3,755 | 71,989 | เทือกเขาอาฮักการ์ เทือกเขาอาฮักการ์ () เทือกเขาอาฮักการ์ตั้งอยู่บริเวณภาคใต้ของประเทศแอลจีเรีย ใจกลางทะเลทรายซาฮารา ซึ่งห่างจากเมืองเอลจีเรียเมืองหลวงไปทางใต้กว่า 1500 กิโลเมตร เทือกเขาอาฮักการ์ตั้งอยู่บนที่ราบสูงทัสซิลีซึ่งมีความสูงเฉลี่ย 2000 เมตร เทือกเขามีลักษณะประกอบไปด้วยหินแปรอายุกว่า 2000 ล้านปี และเป็นส่วนหนึ่งของหินพื้นที่เก่าแก่ของทวีปแอฟริกา ซึ่งมีเขาบางยอดเป็นแก่นภูเขาไฟซึ่งเป็นส่วนที่เหลือจากการกัดกร่อน มียอดเขาตาฮัตเป็นจุดสูงสุดสูงกว่า 2,918 เมตร และเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในแอลจีเรีย
| เทือกเขาอาฮักการ์ในประเทศแอลจีเรียตั้งอยู่บนทะเลทรายใด | {
"answer": [
"ซาฮารา"
],
"answer_begin_position": [
199
],
"answer_end_position": [
205
]
} |
3,756 | 71,989 | เทือกเขาอาฮักการ์ เทือกเขาอาฮักการ์ () เทือกเขาอาฮักการ์ตั้งอยู่บริเวณภาคใต้ของประเทศแอลจีเรีย ใจกลางทะเลทรายซาฮารา ซึ่งห่างจากเมืองเอลจีเรียเมืองหลวงไปทางใต้กว่า 1500 กิโลเมตร เทือกเขาอาฮักการ์ตั้งอยู่บนที่ราบสูงทัสซิลีซึ่งมีความสูงเฉลี่ย 2000 เมตร เทือกเขามีลักษณะประกอบไปด้วยหินแปรอายุกว่า 2000 ล้านปี และเป็นส่วนหนึ่งของหินพื้นที่เก่าแก่ของทวีปแอฟริกา ซึ่งมีเขาบางยอดเป็นแก่นภูเขาไฟซึ่งเป็นส่วนที่เหลือจากการกัดกร่อน มียอดเขาตาฮัตเป็นจุดสูงสุดสูงกว่า 2,918 เมตร และเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในแอลจีเรีย
| ยอดเขาตาฮัต ยอดเขาสูงที่สุดในประเทศแอลจีเรียตั้งอยู่บนเทือกเขาใด | {
"answer": [
"อาฮักการ์"
],
"answer_begin_position": [
116
],
"answer_end_position": [
125
]
} |
3,757 | 932,141 | รายพระนามพระมหากษัตริย์บูกันดา กาบากา คือพระอิสริยยศของพระมหากษัตริย์ แห่งราชอาณาจักรบูกันดาพระมหากษัตริย์บูกันดา พระมหากษัตริย์บูกันดา. มีหลักฐานปรากฏว่าตำแหน่งนี้เริ่มมีในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14ราชวงศ์อาบาลาซานเกเยแห่งบูกันดาราชวงศ์อาบาลาซานเกเยแห่งบูกันดา. 1. คาโต กินตู, ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 14 2. ชวาที่ 1, กลางศตวรรษที่ 14 3. กิเมรา, c.1374-c.1404 4. ทีเทมโบ, c.1404-c.1434 5. คิกกาลา, c.1434-c.1464 and c.1484-c.1494 6. คิยิมบา, c.1464-c.1484 7. คายิมา, c.1494-c.1524 8. นากิบิงเง, c.1524-c.1554 สมัยว่างกษัตริย์, c.1554-c.1555 9. มูลอนโด, c.1555-1564 10. เจมบา, c.1564-c.1584 11. ซูนาที่ 1, c.1584-c.1614 12. เซกามาอันยา, c.1614-c.1634 13. คิมบักเว, c.1634-c.1644 14. คาเตเรกกา, c.1644-c.1674 15. มูเตบิที่ 1, c.1674-c.1680 16. จูโก, c.1680-c.1690 17. คาเยมบา, c.1690-c.1704 18. เทบันเดเก, c.1704-c.1724 19. อึนดาวูลา, c.1724-c.1734 20. คางูลู, c.1734-c.1736 21. คิคูลเว, c.1736-c.1738 22. มาวันดา. c.1738-c.1740 23. อึมวังกาที่ 1, c.1740-c.1741 24. นามุกกาลา, c.1741-c.1750 25. คยาบักกู, c.1750-c.1780 26. เจจุนจู, c.1780-c.1797 27. เซมากูกิโร, c.1797-c.1814 28. คามาอันยา, 1814 - 1832 29. ซูนาที่ 2, 1832 - 1856 30. มูเตซาที่ 1, 1856 - 1884 31. อึมวังกาที่ 2, 1884 - 1888 and 1889 - 1897 32. กิเววา, 1888 - 1888 33. คาเลมา, 1888 - 1889 34. ดาอูดี ชวาที่ 2, 1897 - 1939 35. มูเตซาที่ 2, 1939 - 1969 สมัยว่างกษัตริย์ 1969 - 1993 36. มวันดา มูเตบิที่ 2, 1993 - ปัจจุบัน
| พระอิสริยยศของพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรบูกันดาเรียกว่าอะไร | {
"answer": [
"กาบากา"
],
"answer_begin_position": [
136
],
"answer_end_position": [
142
]
} |
3,758 | 846,489 | เงือกน้อย เงือกน้อย (เดนมาร์ก: Den lille havfrue; อังกฤษ: The Little Mermaid) เป็นเรื่องที่เทพนิยายที่เขียนขึ้นโดยผู้เขียนชาวเดนมาร์ก ฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์เซน เกี่ยวกับนางเงือกสาวที่เต็มใจที่จะยอมสละชีวิตในทะเลและเอกลักษณ์ของเธอในฐานะนางเงือกเพื่อให้ได้จิตวิญญาณของมนุษย์
| นักเขียนชาวเดนมาร์กคนใดเป็นผู้เขียนเทพนิยายเรื่องเงือกน้อย หรือ The Little Mermaid | {
"answer": [
"ฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์เซน"
],
"answer_begin_position": [
218
],
"answer_end_position": [
245
]
} |
3,759 | 533,050 | อัน จุง-กึน อัน จุง-กึน () เกิดเมื่อ 2 กันยายน พ.ศ. 2422 เป็นผู้นำคนหนึ่งของเกาหลีที่ต่อต้านการยึดครองของญี่ปุ่นโดยเป็นสมาชิกระดับหัวหน้าของกองทัพฝ่ายขวาเกาหลีและเป็นผู้สังหารข้าหลวงใหญ่คนแรกของญี่ปุ่นที่มาประจำที่เกาหลี จุง-กึนเกิดเมื่อ พ.ศ. 2422 ที่จังหวัดฮวงแช ได้รับการศึกษาตามแบบจีน จากนั้นมาเรียนที่โรงเรียนชอนจู เมื่อสำเร็จการศึกษา เขาทำธุรกิจค้าถ่านหินและประสบความสำเร็จ ญี่ปุ่นได้เข้ามาเป็นผู้อารักขาเกาหลีเมื่อ พ.ศ. 2448 และแต่งตั้งให้ อิโต ฮิโระบุมิ (伊藤博文) มาเป็นข้าหลวงใหญ่ ช่วงเวลาเดียวกันนั้น จุง-กึนได้จัดตั้งโรงเรียนโทนุยเพื่อเป็นแหล่งสอนวัฒนธรรมและความรักชาติ นโยบายของฮิโระบุมิในการเข้ามาเป็นข้าหลวงใหญ่นั้นเต็มไปด้วยความแข็งกร้าวและบีบบังคับให้พระเจ้าโกจงสละราชสมบัติให้พระโอรสคือพระเจ้าซุนจงใน พ.ศ. 2450 ทำให้ชาวเกาหลีลุกฮือขึ้นต่อต้าน ญี่ปุ่นได้ปราบปรามอย่างรุนแรงจนชาวเกาหลีถูกสังหารไปกว่าหมื่นคน จำนวนหนึ่งต้องอพยพหนีไปยังแมนจูเรียและรัสเซีย ฮิโระบุมิลาออกจากตำแหน่งข้าหลวงใหญ่ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2452 หลังจากนั้น เขาได้เดินทางไปตรวจราชการที่แมนจูเรียเพื่อเจรจากับตัวแทนจากรัสเซียซึ่งชาวเกาหลีระแวงว่าจะมีการเจรจาเรื่องการผนวกเกาหลีด้วย จุง-กึนได้ปลอมตัวไปยังแมนจูเรียและยิงฮิโระบุมิเสียชีวิตเมื่อ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2452 เขาถูกจับกุมทันทีโดยฝ่ายรักษาความปลอดภัยของรัสเซีย เขาถูกดำเนินคดีในฐานะนายทหารของกองทัพต่อต้านแห่งเกาหลี ไม่ใช่อาชญากร ถูกสั่งประหารชีวิตเมื่อ 26 มีนาคม พ.ศ. 2452 หลังจากนั้นอีก 5 เดือน ญี่ปุ่นก็ผนวกเกาหลีเป็นอาณานิคม
| ชาวเกาหลีผู้สังหารข้าหลวงใหญ่คนแรกของญี่ปุ่นที่มาประจำที่เกาหลีมีชื่อว่าอะไร | {
"answer": [
"อัน จุง-กึน"
],
"answer_begin_position": [
86
],
"answer_end_position": [
97
]
} |
3,760 | 59,033 | หลวงสุขุมนัยประดิษฐ (ประดิษฐ์ สุขุม) หลวงสุขุมนัยประดิษฐ หรือ ประดิษฐ์ สุขุม (1 พฤษภาคม พ.ศ. 2447 - 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2510) เป็นเลขาธิการคนแรกของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) อดีตอธิบดีกรมโฆษณาการ เป็นผู้ก่อตั้ง การกีฬาแห่งประเทศไทย และการแข่งขันกีฬาแหลมทอง ซึ่งปัจจุบันคือกีฬาซีเกมส์ นอกจากนี้เป็นผู้ร่วมก่อตั้งวงดนตรีสุนทราภรณ์ หลวงสุขุมนัยประดิษฐ สำเร็จการศึกษาสาขาบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยบอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงสุขุมนัยประดิษฐ ในเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2470 ขณะอายุได้ 23 ปี ในการทำงานราชการ หลวงสุขุมนัยประดิษฐเป็นผู้วางรากฐานสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) โดยดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการ ก.พ. คนแรก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2471 และได้ดำรงตำแหน่งนี้อย่างยาวนาน จนกระทั่งเกษียณอายุราชการเมื่อปี พ.ศ. 2507 รวมเป็นระยะเวลาถึงกว่า 35 ปี หลวงสุขุมนัยประดิษฐเป็นหนึ่งในผู้ปฏิบัติงานเสรีไทย อยู่ในสหรัฐอเมริการะหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยดูแลเกี่ยวกับด้านการโฆษณาและการกระจายเสียงทางวิทยุ และต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นอธิบดีกรมโฆษณาการเมื่อปี พ.ศ. 2488 หลวงสุขุมนัยประดิษฐถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2510 สิริอายุได้ 63 ปีประวัติ ประวัติ. หลวงสุขุมนัยประดิษฐ เกิดเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2447 ที่จังหวัดสงขลา เป็นบุตรคนที่ 7 ของมหาอำมาตย์นายกเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) และท่านผู้หญิงตลับ (สกุลเดิม "ณ ป้อมเพชร") ชื่อเดิมของหลวงสุขุมนัยประดิษฐ คือ “ประดิษฐ์” นั้น สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเป็นผู้ประทานให้ โดยตั้งให้คล้องกับพระนามเดิมของพระองค์ คือ “ดิศวรกุมาร”- หลวงสุขุมนัยประดิษฐ มีพี่น้องร่วมมารดาดังนี้1. พระยาสุขุมนัยวินิต ( สวาสดิ์ สุขุม ) 2. คุณไสว สุขุม 3. คุณแปลก สุขุม 4. หลวงพิสิษฐ์สุขุมการ ( ประพาส สุขุม ) 5. พระพิศาลสุขุมวิท ( ประสบ สุขุม ) 6. นายประสาท สุขุม 7. หลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ 8. นายประวัติ สุขุม 9. คุณเล็ก สุขุม 10. คุณหญิงประจวบ สุขุม(2453-2540:87 ปี) ภริยา เจ้าพระยารามราฆพ- นอกจากนี้ยังมีพี่น้องต่างมารดาดังนี้ 2. หม่อมประยูร โสณกุล ณ อยุธยา ใน พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร 3. คุณประยงค์ สุขุม 4. คุณประนอม ณ นคร 5. พลตำรวจตรีนิตย์ สุขุม 6. คุณปอง นิติพน 7. คุณประณีต ณ นคร ท่านได้ทำการสมรสครั้งแรกกับคุณล้วน ( รัตนา ) สุขุม และต่อมากับคุณเพิ่มศิริ มีบุตร-ธิดา ดังรายนามต่อไปนี้1. นางสุมน กรรณสูต 2. นางประจง สารกิจปรีชา 3. นายประเดิม สุขุม 4. นางประพาฬ รัตนกนก 5. นางสาวสำเนา สุขุม 6. นางสินี ช่วงสุวนิช 7. นางประดิษฐา พรรธนะแพทย์ 8. นางสาวประดับ สุขุม 9. นางปราณี การ์เนียร์ 10. นางสาวปาริชาติ สุขุม 11. นางนฤพร เกรซ 12. นางกิตติมา สังข์เกษมประวัติการศึกษา ประวัติการศึกษา. หลวงสุขุมนัยประดิษฐเข้าศึกษาครั้งแรกที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง จนถึงชั้นมัธยมปีที่ 4 ขณะอายุได้ 13 ปี จึงไปศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเดินทางด้วยเรือชื่อ “กัวลา” พร้อมกับพี่ชายซึ่งต่อมาคือพระพิศาลสุขุมวิท ในครั้งนั้นมีผู้ร่วมเดินทางเที่ยวเดียวกันที่สำคัญคือ น.ส.สังวาลย์ ตะละภัฏ ซึ่งต่อมาคือสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หลวงสุขุมนัยประดิษฐได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนกันเนอรี (Gunnery School) ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำที่มีชื่อเสียงของรัฐคอนเนคติกัต สหรัฐอเมริกา และได้เป็นนักกีฬาตัวแทนโรงเรียนหลายประเภทจนถึงนายกสภานักเรียน และได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าใหญ่ของโรงเรียน หลังจากนั้นได้เข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยบอสตันจนสำเร็จการศึกษาด้านบริหารธุรกิจ- สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนมหาดเล็กหลวง (โรงเรียนวชิราวุธ) - สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนกันเนอรี (Gunnery School) รัฐคอนเนคติกัต ประเทศสหรัฐอเมริกา - สำเร็จการศึกษาสูงสุด สาขา Business Administration จาก มหาวิทยาลัยบอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกาประวัติการทำงานประวัติการทำงาน. - เลขานุการสภาการฝิ่น - เลขานุการส่วนพระองค์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์ (15 ธันวาคม พ.ศ. 2468 - 27 เมษายน พ.ศ. 2474) - เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) คนแรก - อธิบดีกรมโฆษณาการ - รองประธานการกีฬาแห่งชาติ - ผู้ก่อตั้งองค์การกีฬาแห่งประเทศไทย (อ.ส.ก.ท.) และดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการคนแรก - ผู้ริเริ่มจัดการแข่งขันกีฬาแหลมทอง ซึ่งต่อมาคือกีฬาซีเกมส์ - ผู้ดำเนินการให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ กีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 5 ในปี พ.ศ. 2509ผลงานด้านการกีฬา ผลงานด้านการกีฬา. หลวงสุขุมนัยประดิษฐเป็นอดีตนักกีฬาอเมริกันฟุตบอล บาสเกตบอล และเบสบอลชั้นแนวหน้าของสถาบัน ตั้งแต่ยังศึกษาที่โรงเรียน Gunnery เคยได้รับเสื้อสามารถ และได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งบริหารองค์กรกีฬา เมื่อสำเร็จการศึกษากลับมารับราชการที่ประเทศไทย หลวงสุขุมนัยประดิษฐได้มีส่วนสำคัญในการพัฒนาวงการกีฬาสากลของประเทศไทย โดยเป็นผู้ริเริ่มให้มีการจัดการแข่งขันกีฬาแหลมทอง หรือเซียพเกมส์ (South East Asian Peninsula Games - SEAP Games) ขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเมื่อวันที่ 12–17 ธันวาคม พ.ศ. 2502 และมีการจัดการแข่งขันต่อมาจนกระทั่งเป็นกีฬาซีเกมส์ในปัจจุบัน หลวงสุขุมนัยประดิษฐได้รับการเสนอชื่อเข้าเป็นกรรมการโอลิมปิกสากล และต่อมาเป็นผู้ดำเนินการให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 5 ที่กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 9–16 ธันวาคม พ.ศ. 2509 นอกจากนี้ยังเป็นผู้ก่อตั้งองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย (อ.ส.ก.ท.) ขึ้นเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2507 และได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการคนแรก ซึ่งปัจจุบันคือการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.)ผลงานด้านดนตรี ผลงานด้านดนตรี. หลวงสุขุมนัยประดิษฐเป็นประธานชมรมดนตรีแห่งประเทศไทย ซึ่งต่อมาได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นสมาคม เป็นผู้ก่อตั้งวงดนตรีกรมโฆษณาการ และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งวงสุนทราภรณ์ นอกจากนี้ยังมีผลงานประพันธ์ทำนองเพลงร่วมกับครูแก้ว อัจฉริยะกุล ซึ่งเป็นผู้ประพันธ์คำร้อง นำมาบรรเลงโดยวงสุนทราภรณ์ จำนวน 7 เพลง ได้แก่- คนึงครวญ - สิ้นรักสิ้นสุข - ไม่อยากจากเธอ - เกาะสวาท - เมื่อไหร่จะให้พบ - รักไม่ลืม - ชายไร้เชิงการดำรงตำแหน่งอื่นๆการดำรงตำแหน่งอื่นๆ. - เป็นกัปตันทีมฟุตบอลโรงเรียน Gunnery ชนะเลิศการแข่งขันกีฬาฟุตบอลระหว่างโรงเรียน - เป็นกัปตันทีมบาสเก็ตบอลและเบสบอลของโรงเรียน Gunnery - ได้รับโหวตจากนักศึกษาให้ดำรงตำแหน่งเกียรติยศของโรงเรียน Gunnery หลายตำแหน่ง คือ- เป็น President student Council , President Senior Class - เป็น Vice President ของ Athletic Association หรือ นายกองค์กรกีฬา - เป็น Business Manager of Dramatic Association - เป็น President of Daita Beta Society - เป็น Assistant Business Manager of Stray Shot - เป็นนักกีฬาอเมริกันฟุตบอล ทีมมหาวิทยาลัยบอสตัน - ได้รับเลือกเป็น Editor-in-Chiet (บรรณาธิการ) ของหนังสือ Syllabus หนังสือพิมพ์ Year Book ของมหาวิทยาลัยบอสตัน - ประธานกรรมการสภาบริหารมูลนิธิการศึกษาฟุลไบร์ท - ประธานกรรมการทุนการศึกษาเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ ฯพณฯ จอห์น อี พิวรีฟอยเครื่องราชอิสริยาภรณ์เครื่องราชอิสริยาภรณ์. - เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ - เครื่องราชอิสริยาภรณ์ First Class North Star จากประเทศสวีเดน เมื่อเดือน มกราคม พ.ศ. 2489
| ใครคือผู้ก่อตั้งการกีฬาแห่งประเทศไทย และการแข่งขันกีฬาแหลมทองหรือกีฬาซีเกมส์ในปัจจุบัน | {
"answer": [
"หลวงสุขุมนัยประดิษฐ"
],
"answer_begin_position": [
146
],
"answer_end_position": [
165
]
} |
3,761 | 59,033 | หลวงสุขุมนัยประดิษฐ (ประดิษฐ์ สุขุม) หลวงสุขุมนัยประดิษฐ หรือ ประดิษฐ์ สุขุม (1 พฤษภาคม พ.ศ. 2447 - 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2510) เป็นเลขาธิการคนแรกของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) อดีตอธิบดีกรมโฆษณาการ เป็นผู้ก่อตั้ง การกีฬาแห่งประเทศไทย และการแข่งขันกีฬาแหลมทอง ซึ่งปัจจุบันคือกีฬาซีเกมส์ นอกจากนี้เป็นผู้ร่วมก่อตั้งวงดนตรีสุนทราภรณ์ หลวงสุขุมนัยประดิษฐ สำเร็จการศึกษาสาขาบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยบอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงสุขุมนัยประดิษฐ ในเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2470 ขณะอายุได้ 23 ปี ในการทำงานราชการ หลวงสุขุมนัยประดิษฐเป็นผู้วางรากฐานสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) โดยดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการ ก.พ. คนแรก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2471 และได้ดำรงตำแหน่งนี้อย่างยาวนาน จนกระทั่งเกษียณอายุราชการเมื่อปี พ.ศ. 2507 รวมเป็นระยะเวลาถึงกว่า 35 ปี หลวงสุขุมนัยประดิษฐเป็นหนึ่งในผู้ปฏิบัติงานเสรีไทย อยู่ในสหรัฐอเมริการะหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยดูแลเกี่ยวกับด้านการโฆษณาและการกระจายเสียงทางวิทยุ และต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นอธิบดีกรมโฆษณาการเมื่อปี พ.ศ. 2488 หลวงสุขุมนัยประดิษฐถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2510 สิริอายุได้ 63 ปีประวัติ ประวัติ. หลวงสุขุมนัยประดิษฐ เกิดเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2447 ที่จังหวัดสงขลา เป็นบุตรคนที่ 7 ของมหาอำมาตย์นายกเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) และท่านผู้หญิงตลับ (สกุลเดิม "ณ ป้อมเพชร") ชื่อเดิมของหลวงสุขุมนัยประดิษฐ คือ “ประดิษฐ์” นั้น สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเป็นผู้ประทานให้ โดยตั้งให้คล้องกับพระนามเดิมของพระองค์ คือ “ดิศวรกุมาร”- หลวงสุขุมนัยประดิษฐ มีพี่น้องร่วมมารดาดังนี้1. พระยาสุขุมนัยวินิต ( สวาสดิ์ สุขุม ) 2. คุณไสว สุขุม 3. คุณแปลก สุขุม 4. หลวงพิสิษฐ์สุขุมการ ( ประพาส สุขุม ) 5. พระพิศาลสุขุมวิท ( ประสบ สุขุม ) 6. นายประสาท สุขุม 7. หลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ 8. นายประวัติ สุขุม 9. คุณเล็ก สุขุม 10. คุณหญิงประจวบ สุขุม(2453-2540:87 ปี) ภริยา เจ้าพระยารามราฆพ- นอกจากนี้ยังมีพี่น้องต่างมารดาดังนี้ 2. หม่อมประยูร โสณกุล ณ อยุธยา ใน พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร 3. คุณประยงค์ สุขุม 4. คุณประนอม ณ นคร 5. พลตำรวจตรีนิตย์ สุขุม 6. คุณปอง นิติพน 7. คุณประณีต ณ นคร ท่านได้ทำการสมรสครั้งแรกกับคุณล้วน ( รัตนา ) สุขุม และต่อมากับคุณเพิ่มศิริ มีบุตร-ธิดา ดังรายนามต่อไปนี้1. นางสุมน กรรณสูต 2. นางประจง สารกิจปรีชา 3. นายประเดิม สุขุม 4. นางประพาฬ รัตนกนก 5. นางสาวสำเนา สุขุม 6. นางสินี ช่วงสุวนิช 7. นางประดิษฐา พรรธนะแพทย์ 8. นางสาวประดับ สุขุม 9. นางปราณี การ์เนียร์ 10. นางสาวปาริชาติ สุขุม 11. นางนฤพร เกรซ 12. นางกิตติมา สังข์เกษมประวัติการศึกษา ประวัติการศึกษา. หลวงสุขุมนัยประดิษฐเข้าศึกษาครั้งแรกที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง จนถึงชั้นมัธยมปีที่ 4 ขณะอายุได้ 13 ปี จึงไปศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเดินทางด้วยเรือชื่อ “กัวลา” พร้อมกับพี่ชายซึ่งต่อมาคือพระพิศาลสุขุมวิท ในครั้งนั้นมีผู้ร่วมเดินทางเที่ยวเดียวกันที่สำคัญคือ น.ส.สังวาลย์ ตะละภัฏ ซึ่งต่อมาคือสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หลวงสุขุมนัยประดิษฐได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนกันเนอรี (Gunnery School) ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำที่มีชื่อเสียงของรัฐคอนเนคติกัต สหรัฐอเมริกา และได้เป็นนักกีฬาตัวแทนโรงเรียนหลายประเภทจนถึงนายกสภานักเรียน และได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าใหญ่ของโรงเรียน หลังจากนั้นได้เข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยบอสตันจนสำเร็จการศึกษาด้านบริหารธุรกิจ- สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนมหาดเล็กหลวง (โรงเรียนวชิราวุธ) - สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนกันเนอรี (Gunnery School) รัฐคอนเนคติกัต ประเทศสหรัฐอเมริกา - สำเร็จการศึกษาสูงสุด สาขา Business Administration จาก มหาวิทยาลัยบอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกาประวัติการทำงานประวัติการทำงาน. - เลขานุการสภาการฝิ่น - เลขานุการส่วนพระองค์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์ (15 ธันวาคม พ.ศ. 2468 - 27 เมษายน พ.ศ. 2474) - เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) คนแรก - อธิบดีกรมโฆษณาการ - รองประธานการกีฬาแห่งชาติ - ผู้ก่อตั้งองค์การกีฬาแห่งประเทศไทย (อ.ส.ก.ท.) และดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการคนแรก - ผู้ริเริ่มจัดการแข่งขันกีฬาแหลมทอง ซึ่งต่อมาคือกีฬาซีเกมส์ - ผู้ดำเนินการให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ กีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 5 ในปี พ.ศ. 2509ผลงานด้านการกีฬา ผลงานด้านการกีฬา. หลวงสุขุมนัยประดิษฐเป็นอดีตนักกีฬาอเมริกันฟุตบอล บาสเกตบอล และเบสบอลชั้นแนวหน้าของสถาบัน ตั้งแต่ยังศึกษาที่โรงเรียน Gunnery เคยได้รับเสื้อสามารถ และได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งบริหารองค์กรกีฬา เมื่อสำเร็จการศึกษากลับมารับราชการที่ประเทศไทย หลวงสุขุมนัยประดิษฐได้มีส่วนสำคัญในการพัฒนาวงการกีฬาสากลของประเทศไทย โดยเป็นผู้ริเริ่มให้มีการจัดการแข่งขันกีฬาแหลมทอง หรือเซียพเกมส์ (South East Asian Peninsula Games - SEAP Games) ขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเมื่อวันที่ 12–17 ธันวาคม พ.ศ. 2502 และมีการจัดการแข่งขันต่อมาจนกระทั่งเป็นกีฬาซีเกมส์ในปัจจุบัน หลวงสุขุมนัยประดิษฐได้รับการเสนอชื่อเข้าเป็นกรรมการโอลิมปิกสากล และต่อมาเป็นผู้ดำเนินการให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 5 ที่กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 9–16 ธันวาคม พ.ศ. 2509 นอกจากนี้ยังเป็นผู้ก่อตั้งองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย (อ.ส.ก.ท.) ขึ้นเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2507 และได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการคนแรก ซึ่งปัจจุบันคือการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.)ผลงานด้านดนตรี ผลงานด้านดนตรี. หลวงสุขุมนัยประดิษฐเป็นประธานชมรมดนตรีแห่งประเทศไทย ซึ่งต่อมาได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นสมาคม เป็นผู้ก่อตั้งวงดนตรีกรมโฆษณาการ และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งวงสุนทราภรณ์ นอกจากนี้ยังมีผลงานประพันธ์ทำนองเพลงร่วมกับครูแก้ว อัจฉริยะกุล ซึ่งเป็นผู้ประพันธ์คำร้อง นำมาบรรเลงโดยวงสุนทราภรณ์ จำนวน 7 เพลง ได้แก่- คนึงครวญ - สิ้นรักสิ้นสุข - ไม่อยากจากเธอ - เกาะสวาท - เมื่อไหร่จะให้พบ - รักไม่ลืม - ชายไร้เชิงการดำรงตำแหน่งอื่นๆการดำรงตำแหน่งอื่นๆ. - เป็นกัปตันทีมฟุตบอลโรงเรียน Gunnery ชนะเลิศการแข่งขันกีฬาฟุตบอลระหว่างโรงเรียน - เป็นกัปตันทีมบาสเก็ตบอลและเบสบอลของโรงเรียน Gunnery - ได้รับโหวตจากนักศึกษาให้ดำรงตำแหน่งเกียรติยศของโรงเรียน Gunnery หลายตำแหน่ง คือ- เป็น President student Council , President Senior Class - เป็น Vice President ของ Athletic Association หรือ นายกองค์กรกีฬา - เป็น Business Manager of Dramatic Association - เป็น President of Daita Beta Society - เป็น Assistant Business Manager of Stray Shot - เป็นนักกีฬาอเมริกันฟุตบอล ทีมมหาวิทยาลัยบอสตัน - ได้รับเลือกเป็น Editor-in-Chiet (บรรณาธิการ) ของหนังสือ Syllabus หนังสือพิมพ์ Year Book ของมหาวิทยาลัยบอสตัน - ประธานกรรมการสภาบริหารมูลนิธิการศึกษาฟุลไบร์ท - ประธานกรรมการทุนการศึกษาเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ ฯพณฯ จอห์น อี พิวรีฟอยเครื่องราชอิสริยาภรณ์เครื่องราชอิสริยาภรณ์. - เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ - เครื่องราชอิสริยาภรณ์ First Class North Star จากประเทศสวีเดน เมื่อเดือน มกราคม พ.ศ. 2489
| หลวงสุขุมนัยประดิษฐเป็นผู้ร่วมก่อตั้งวงดนตรีใดของไทย | {
"answer": [
"สุนทราภรณ์"
],
"answer_begin_position": [
438
],
"answer_end_position": [
448
]
} |
3,762 | 156,829 | ฌ็อง นูแวล ฌ็อง นูแวล (; 12 สิงหาคม พ.ศ. 2488 — ) สถาปนิกชาวฝรั่งเศสที่มีชื่อเสียงระดับโลก เจ้าของรางวัลพริตซ์เกอร์ ทางสถาปัตยกรรมแห่งปี ค.ศ. 2008ประวัติ ประวัติ. ฌ็อง นูแวล เกิดเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ที่เมืองฟูว์แมล จังหวัดลอเตการอน ประเทศฝรั่งเศส เป็นบุตรชายของนายโรแชร์ และนางเรอเน นูแวล ที่เป็นครูทั้งคู่ ครอบครัวของนูแวลต้องย้ายถิ่นฐานบ่อยครั้งเมื่อบิดาของเขาได้ตำแหน่งผู้อำนวยการการศึกษาประจำเขตปกครอง บิดามารดาของนูแวลสนับสนุนให้เขาเรียนคณิตศาสตร์ และภาษา แต่เมื่อเขาอายุย่างเข้า 16 ปี ก็เริ่มหลงใหลในศิลปะ เมื่อได้เรียนวาดรูปกับคุณครูท่านหนึ่ง ที่บอกว่าครอบครัวของนูแวลสนับสนุนให้บุตรชายเรียนไปทางด้านการศึกษาหรือไม่ก็วิศวกรรม แต่ก็ยอมประนีประนอมให้เขาเรียนสถาปัตยกรรมได้ เพราะเห็นว่ามีความเสี่ยงน้อยกว่าการเรียนศิลปะ นูแวลสอบเอ็นทรานซ์เข้าโรงเรียนวิจิตรศิลป์แห่งเมืองบอร์โดไม่ผ่าน เขาจึงย้ายเข้ากรุงปารีส และได้ชนะเลิศการสอบคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนศิลปะชั้นสูงแห่งชาติ จากปี ค.ศ. 1960 ถึง 1970 นูแวลเลี้ยงชีพด้วยการเป็นผู้ช่วยสถาปนิกของโกลด ปาร็อง และปอล วีรีลีโอ ผู้ซึ่งภายในระยะเวลาเพียงปีเดียว ได้เลื่อนตำแหน่งให้นูแวลขึ้นเป็นผู้จัดการโครงการก่อสร้างอพาร์ตเมนต์คอมเพล็กซ์ขนาดใหญ่ นูแวลได้สมรสกับออดีล ฟีลียง นักสร้างภาพยนตร์ และมีบุตรชายด้วยกันสองคน คนโตชื่อแบร์ทร็อง เป็นนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ระดับ post-doctorate ปัจจุบันทำงานให้กับมหาวิทยาลัยแห่งเมืองชิบะ ประเทศญี่ปุ่น ส่วนปีแยร์ ลูกชายคนรองเป็นนักผลิตละครเวทีและนักออกแบบให้กับบริษัทของตนเองที่ชื่อว่า Factoid นูแวลมีบุตรสาวหนึ่งคน (ซาร่า) กับแคทรีน ริชาร์ด ภรรยาคนที่สอง ปัจจุบัน นูแวลอยู่กินกับมีอา ฮักก์ สถาปนิกชาวสวีเดนผู้ซึ่งทำงานที่สำนักงานสถาปนิก Habiter Autrement (HA) ในกรุงปารีสผลงาน ผลงาน. หลังจากที่ได้โครงการก่อสร้างสถาบันโลกอาหรับ และโครงการปรับปรุงห้างสรรพสินค้าฟอรั่ม เลส์อาล ได้สิ้นสุดลงในปีค.ศ. 2004 นูแวลได้เปิดตัวอาคารพิพิธภัณฑ์แห่งเก บร็องลีย์เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 2006 ที่กรุงปารีส และได้เป็นผลงานเลื่องชื่อชิ้นล่าสุดในเมืองหลวงของประเทศฝรั่งเศส ในช่วงต้นปี ค.ศ. 2006 บริษัทเนสต์เล่ ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ภายใต้การบริหารของนายเนลลี เวนเจอร์ ได้นำเสนอรูปแบบบรรจุหีบห่อช็อกโกแลตแบบใหม่ ภายใต้ยี่ห้อ ไกเยอร์ ที่เป็นผลงานออกแบบของฌ็อง นูแวล ชาวสวิสที่คุ้นเคยกับห่อกระดาษ ไม่ตอบรับห่อพลาสติกดีเท่าที่ควร เนื่องจากมันไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และแสดงภาพลักษณ์ฟุ่มเฟือยกว่าห่อที่ทำจากกระดาษที่เป็นวุสดุห่อแบบดั้งเดิมของผลิตภัณฑ์ ร้านค้าปลีกเดนแนร์ได้ทำให้เรื่องนี้บานปลายด้วยการปฏิเสธการวางจำหน่ายช็อกโกแลตนี้ และกล่าวหาว่าบริษัทขายผลิตภัณฑ์นี้แพงกว่าเดิม ปลายปี ค.ศ. 2006 บริษัทเนสต์เล่ได้ประกาศยกเลิกหีบห่อบรรจุที่ออกแบบโดยฌ็อง นูแวล วันที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 2008 ฌ็อง นูแวล ได้รางวัลพริตซ์เกอร์ จากผลงานตลอดชีวิตโดยรวมที่โดดเด่น และได้รับคำชมเชยจาก โธมัส พริตซ์เกอร์ ว่า "มีการคิดค้นที่แปลกใหม่และกล้าหาญ และตั้งข้อสงสัยกับรูปแบบที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป และยังก้าวพ้นขอบเขตการสร้างสรรค์ผลงานของตนเอง" แฟรนไชส์ใหม่ของพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ สาขาอาบูดาบี ตั้งอยู่บนเกาะ Saadiyat ซึ่งเป็นเกาะที่สร้างโดยมนุษย์ และได้ฌ็อง นูแวล เป็นผู้ออกแบบให้ ว่ากันว่าการลงนามในครั้งนี้จะทำให้ฝรั่งเศสร่ำรวยขึ้นอีก 700 ล้านยูโร โดย 400 ล้านยูโรคิดเป็นค่าลิขสิทธิ์ในการใช้ชื่อลูฟวร์ ฝรั่งเศสวางแผนจะนำเงินนี้มาปรับปรุงพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ในกรุงปารีส
| สถาปนิกชาวฝรั่งเศสคนใดได้รับรางวัลพริตซ์เกอร์ ทางสถาปัตยกรรมแห่งปีค.ศ. 2008 | {
"answer": [
"ฌ็อง นูแวล"
],
"answer_begin_position": [
96
],
"answer_end_position": [
106
]
} |
3,763 | 7,879 | นาตาลี เกลโบวา นาตาลี เกลโบวา (; ) นางงามจักรวาลในปี พ.ศ. 2548 ที่จัดขึ้นในกรุงเทพมหานคร นาตาลี เกลโบวา เป็นผู้เข้าประกวดคนที่สองจากประเทศแคนาดาที่ได้รับเลือกเป็นนางงามจักรวาล และยังเป็นทูตรักษาภาพลักษณ์ของ สิงห์ คอร์เปอเรชั่น หอแว่น และ เครื่องสำอาง บีเอสซีประวัติ ประวัติ. เกิด 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524 ที่เมืองทุปเซ่ ประเทศรัสเซีย อายุ ปี เติบโตที่เมืองโทรอนโต ประเทศแคนาดา เธอจบการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยไรเยอร์สัน (Ryerson University) มีความสามารถเล่นเปียโนดนตรีคลาสสิก และเล่นยิมนาสติกผลงานในประเทศไทย ผลงานในประเทศไทย. ภายหลังการประกวดนางงามจักรวาล การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยว่าจ้างให้นาตาลี เกลโบวา เป็นตัวแทนเผยแพร่วัฒนธรรมของประเทศไทย เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว มีการถ่ายภาพยนตร์โฆษณาพร้อมกับครอบครัวของนาตาลี เผยแพร่วัฒนธรรมการไหว้ ออกเผยแพร่ในประเทศต่างๆ สินค้าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปว่าจ้างนาตาลีเป็นนางแบบโฆษณา และพิมพ์รูปนาตาลีบนหีบห่อบะหมี่ทุกชิ้น ทั้งที่ขายในประเทศไทย และส่งออกไปต่างประเทศ ตั้งแต่กรกฎาคม พ.ศ. 2549 นาตาลี เกลโบวา เป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ ให้กับ บริษัท สิงห์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด โดยเซ็นสัญญา 1 ปี จากนั้น นาตาลีใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทยเป็นส่วนใหญ่ โดยใช้ชื่อเล่นว่า ฟ้า และทำธุรกิจผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพและความงาม โดยเปิดบริษัทชื่อ บริษัทฟ้า เกลโบวา อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัดครอบครัว ครอบครัว. สมรสกับ ภราดร ศรีชาพันธุ์ นักเทนนิสชื่อดังของไทยเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 และกำหนดแต่งงานวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ที่โรงแรมโอเรียนเต็ล แต่ปัจจุบันได้เลิกรากันแล้ว ปัจจุบันคบหากับ ดีน เคลลี่ จูเนียร์ แฟนหนุ่มต่างชาติ และตั้งครรภ์มีกำหนดคลอดเดือนเมษายน 2559 |ปัจจุบันมีบุตรแล้ว บุตรสาวชื่อ น้องมายา คลอดเมื่อวันที่
| นางงามจักรวาลปีพ.ศ. 2548 คือใคร | {
"answer": [
"นาตาลี เกลโบวา"
],
"answer_begin_position": [
100
],
"answer_end_position": [
114
]
} |
3,764 | 7,879 | นาตาลี เกลโบวา นาตาลี เกลโบวา (; ) นางงามจักรวาลในปี พ.ศ. 2548 ที่จัดขึ้นในกรุงเทพมหานคร นาตาลี เกลโบวา เป็นผู้เข้าประกวดคนที่สองจากประเทศแคนาดาที่ได้รับเลือกเป็นนางงามจักรวาล และยังเป็นทูตรักษาภาพลักษณ์ของ สิงห์ คอร์เปอเรชั่น หอแว่น และ เครื่องสำอาง บีเอสซีประวัติ ประวัติ. เกิด 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524 ที่เมืองทุปเซ่ ประเทศรัสเซีย อายุ ปี เติบโตที่เมืองโทรอนโต ประเทศแคนาดา เธอจบการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยไรเยอร์สัน (Ryerson University) มีความสามารถเล่นเปียโนดนตรีคลาสสิก และเล่นยิมนาสติกผลงานในประเทศไทย ผลงานในประเทศไทย. ภายหลังการประกวดนางงามจักรวาล การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยว่าจ้างให้นาตาลี เกลโบวา เป็นตัวแทนเผยแพร่วัฒนธรรมของประเทศไทย เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว มีการถ่ายภาพยนตร์โฆษณาพร้อมกับครอบครัวของนาตาลี เผยแพร่วัฒนธรรมการไหว้ ออกเผยแพร่ในประเทศต่างๆ สินค้าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปว่าจ้างนาตาลีเป็นนางแบบโฆษณา และพิมพ์รูปนาตาลีบนหีบห่อบะหมี่ทุกชิ้น ทั้งที่ขายในประเทศไทย และส่งออกไปต่างประเทศ ตั้งแต่กรกฎาคม พ.ศ. 2549 นาตาลี เกลโบวา เป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ ให้กับ บริษัท สิงห์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด โดยเซ็นสัญญา 1 ปี จากนั้น นาตาลีใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทยเป็นส่วนใหญ่ โดยใช้ชื่อเล่นว่า ฟ้า และทำธุรกิจผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพและความงาม โดยเปิดบริษัทชื่อ บริษัทฟ้า เกลโบวา อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัดครอบครัว ครอบครัว. สมรสกับ ภราดร ศรีชาพันธุ์ นักเทนนิสชื่อดังของไทยเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 และกำหนดแต่งงานวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ที่โรงแรมโอเรียนเต็ล แต่ปัจจุบันได้เลิกรากันแล้ว ปัจจุบันคบหากับ ดีน เคลลี่ จูเนียร์ แฟนหนุ่มต่างชาติ และตั้งครรภ์มีกำหนดคลอดเดือนเมษายน 2559 |ปัจจุบันมีบุตรแล้ว บุตรสาวชื่อ น้องมายา คลอดเมื่อวันที่
| นาตาลี เกลโบวา เป็นผู้เข้าประกวดคนที่เท่าใดจากประเทศแคนาดาที่ได้รับเลือกเป็นนางงามจักรวาล | {
"answer": [
"สอง"
],
"answer_begin_position": [
211
],
"answer_end_position": [
214
]
} |
3,765 | 836,167 | บุญรอดบริวเวอรี บุญรอดบริวเวอรี () บริษัทผู้ผลิตเบียร์และเครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์รายใหญ่ของไทยและเอเชียก่อตั้งขึ้นโดย พระยาภิรมย์ภักดี (บุญรอด เศรษฐบุตร) ต้นตระกูลภิรมย์ภักดี โดยเบียร์ไทยอาทิ เบียร์สิงห์, เบียร์ลีโอ, อีสานเบียร์, ไทเบียร์ นอกจากนี้ยังผลิตน้ำดื่มตราสิงห์ ใน พ.ศ. 2476 พระยาภิรมย์ภักดีได้ก่อตั้งบริษัท บุญรอด บริวเวอรี ขึ้นเป็นบริษัทผู้ผลิตเบียร์รายแรกของประเทศไทยซึ่งทางบริษัทได้ผลิตเบียร์ออกมาหลายยี่ห้อเช่น ตราสิงห์ , ตราว่าว , ตราพระปรางค์ , ตรารถ , ตรากุญแจและตราหมีโดยในงานของสโมสรคณะราษฎรเมื่อ พ.ศ. 2477 พระยาภิรมย์ภักดีได้นำเบียร์สดของบริษัทมาให้ผู้คนในงานได้ชิมปรากฏว่าได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีทำให้มีการสั่งจองเบียร์จากทางบริษัทโดยเฉพาะตราสิงห์ได้รับความนิยมมากกว่ายี่ห้อออื่น ๆ ทำให้ทางบริษัทบุญรอดตัดสินใจหยุดผลิตเบียร์ยี่ห้ออื่นเหลือเพียงตราสิงห์เท่านั้น
| ใครคือผู้ก่อตั้งบริษัทบุญรอดบริวเวอรี ผู้ผลิตเบียร์และเครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์ของไทย | {
"answer": [
"พระยาภิรมย์ภักดี"
],
"answer_begin_position": [
207
],
"answer_end_position": [
223
]
} |
3,766 | 836,167 | บุญรอดบริวเวอรี บุญรอดบริวเวอรี () บริษัทผู้ผลิตเบียร์และเครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์รายใหญ่ของไทยและเอเชียก่อตั้งขึ้นโดย พระยาภิรมย์ภักดี (บุญรอด เศรษฐบุตร) ต้นตระกูลภิรมย์ภักดี โดยเบียร์ไทยอาทิ เบียร์สิงห์, เบียร์ลีโอ, อีสานเบียร์, ไทเบียร์ นอกจากนี้ยังผลิตน้ำดื่มตราสิงห์ ใน พ.ศ. 2476 พระยาภิรมย์ภักดีได้ก่อตั้งบริษัท บุญรอด บริวเวอรี ขึ้นเป็นบริษัทผู้ผลิตเบียร์รายแรกของประเทศไทยซึ่งทางบริษัทได้ผลิตเบียร์ออกมาหลายยี่ห้อเช่น ตราสิงห์ , ตราว่าว , ตราพระปรางค์ , ตรารถ , ตรากุญแจและตราหมีโดยในงานของสโมสรคณะราษฎรเมื่อ พ.ศ. 2477 พระยาภิรมย์ภักดีได้นำเบียร์สดของบริษัทมาให้ผู้คนในงานได้ชิมปรากฏว่าได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีทำให้มีการสั่งจองเบียร์จากทางบริษัทโดยเฉพาะตราสิงห์ได้รับความนิยมมากกว่ายี่ห้อออื่น ๆ ทำให้ทางบริษัทบุญรอดตัดสินใจหยุดผลิตเบียร์ยี่ห้ออื่นเหลือเพียงตราสิงห์เท่านั้น
| บริษัทผู้ผลิตเบียร์รายแรกของประเทศไทยได้แก่บริษัทใด | {
"answer": [
"บุญรอดบริวเวอรี"
],
"answer_begin_position": [
90
],
"answer_end_position": [
105
]
} |
3,767 | 32,548 | คลองผดุงกรุงเกษม คลองผดุงกรุงเกษม () เป็นคลองรอบพระนครชั้นนอก ขุดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ขุดเมื่อ พ.ศ. 2394 ทรงพิจารณาเห็นว่าบ้านเมืองเจริญขึ้น ผู้คนก็มากกว่าเมื่อเริ่มสร้างกรุง ควรขยับขยายพระนครออกไป จึงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ว่าที่สมุหพระกลาโหมเป็นแม่กอง เจ้าหมื่นไวยวรนาถเป็นกงสีจ้างจีนขุดคลองพระนครออกไปอีกชั้นหนึ่ง โดยขุดถัดจากคลองรอบกรุงออกไปทางชานพระนคร เริ่มขุดจากปากคลองริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณวัดเทวราชกุญชร (วัดสมอแครง) ย่านเทเวศร์ มีแนวขนานไปกับคลองคูเมืองเดิม ผ่านย่านหัวลำโพง ตัดผ่านคลองมหานาคไปทะลุแม่น้ำเจ้าพระยาอีกด้านหนึ่งบริเวณวัดแก้วแจ่มฟ้า สี่พระยา คลองนี้ขุดเสร็จในปี พ.ศ. 2395 ได้รับพระราชทานชื่อว่า "คลองผดุงกรุงเกษม" คลองนี้ตัดผ่านคลองมหานาค บริเวณสี่แยกมหานาค ซึ่งเป็นย่านการค้าที่สำคัญ ผ่านบริเวณหัวลำโพงในปัจจุบัน ผ่านวัดมหาพฤฒาราม (เดิมเรียกว่า วัดท่าเกวียน) ในสมัยที่ทำการขุดมีขนาดกว้าง 20 เมตร ลึก 3 เมตร ยาว 5.5 กิโลเมตรสะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษม สะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษม. สะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษมที่สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามให้คล้องจองกันทั้งหมด- สะพานเทเวศรนฤมิตร - อยู่บนถนนสามเสน บริเวณใกล้ทางแยกเทเวศร์ เป็นย่านการค้าเก่า - สะพานวิศุกรรมนฤมาน - อยู่ระหว่างถนนประชาธิปไตยกับถนนนครราชสีมา ตรงทางแยกประชาเกษม (ทางแยกเมล์แดง) ใกล้เคียงกับคุรุสภาและวัดมกุฏกษัตริยาราม - สะพานมัฆวานรังสรรค์ - อยู่บนถนนราชดำเนินนอก บริเวณทางแยกมัฆวาน สถานที่สำคัญได้แก่ ที่ทำการองค์การสหประชาชาติประจำประเทศไทย กระทรวงศึกษาธิการ และทำเนียบรัฐบาล - สะพานเทวกรรมรังรักษ์ - อยู่บนถนนนครสวรรค์ บริเวณทางแยกเทวกรรม ย่านนางเลิ้งเป็นชุมชนเก่าแก่ อยู่ใกล้วัดโสมนัสวิหารและทำเนียบรัฐบาล - สะพานจตุรภักตร์รังสฤษดิ์ หรือ "สะพานขาว" อยู่บนถนนหลานหลวง ทางแยกสะพานขาว ใกล้กับตลาดมหานาค สะพานอื่นๆ ที่ไม่ได้สร้างในสมัยนั้น และไม่ได้มีชื่อคล้องจอง- สะพานพิทยเสถียร - สะพานกษัตริย์ศึก (สะพานยศเส) - สะพานเจริญสวัสดิ์
| คลองผดุงกรุงเกษมในไทยเป็นคลองรอบพระนครชั้นนอก ขุดขึ้นในรัชสมัยใด | {
"answer": [
"พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"
],
"answer_begin_position": [
167
],
"answer_end_position": [
201
]
} |
3,768 | 315,157 | พระมะเหลเถไถ พระมะเหลเถไถ เป็นกลอนบทละครที่ประพันธ์โดยคุณสุวรรณ ที่ประพันธ์ขึ้นตามจินตนาการและแต่งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 มีความแปลกที่แต่งขึ้นเป็นภาษาบ้าง ไม่เป็นภาษาบ้างปะปนกันไปแต่ต้นจนปลาย แต่ใครอ่านก็เข้าใจความได้ตลอดเรื่อง ถูกกล่าวหาในสมัยนั้นว่าแต่งเมื่อ “เสียจริต” หรือ “มีสติฟุ้งซ่านผิดปกติ” เป็นเรื่องแปลกในวงการกวียุคนั้น ส่วนใหญ่วางถ้อยคำที่ไม่เป็นภาษาไว้ใน 3 คำท้ายวรรคทุกวรรค กระบวนการแต่งกลอนบทละครก็ดำเนินไปตามธรรมเนียมการแต่งตามแบบฉบับของบทละคร มีการระบุชื่อเพลงที่ใช้ในการขับร้อง ขึ้นกลอนด้วยคำว่า “เมื่อนั้น” “บัดนั้น” “มาจะกล่าวบทไป” มีบทสระสรงแต่งองค์ทรงเครื่องของตัวละคร มีบทพรรณนาธรรมชาติ มีบทเกี้ยวพาราสี บทชมนาง เป็นต้น เนื้อเรื่องกล่าวถึง พระมะเหลเถไถ โอรส ท้าวโปลากะปาหงัน และ นางตาลากะปาลัน แห่งเมืองกะโปลา เมื่อพระมเหลเถไถประพาสป่าพระอินทร์อุ้มสมจนได้นางตะแลงแกง พระธิดา ท้าวมะไล เป็นชายา ขณะที่เดินทางกลับ เกิดรบชิงนางกับเจ้ายักษ์มาลาก๋อย ผลงานนี้สร้างชื่อเสียงแก่คุณสุวรรณเป็นอย่างมาก จนทำให้เป็นที่รู้จักทั้งในหมู่หญิงชาววังและชนชั้นสูงทั่วไป โดยบทละครทั้งพระมะเหลเถไถและอุณรุทร้อยเรื่อง ได้รับการตีพิมพ์ในสมุดที่เรียกว่า เรื่องพระมะเหลเถไถเรื่อง 1 กับอุณรุทร้อยเรื่อง บทละครเรื่องนี้ยังเป็นวรรณกรรมที่วิพากษ์งานวรรณกรรมด้วยกันด้วย โดยล้อเลียนวรรณคดีแบบฉบับโดยเฉพาะบทละครใน เป็นที่สังเกตว่า คุณสุวรรณเลือกใช้คำที่ไม่มีความหมายในภาษาไทยมาใส่ในบทละครเป็นจำนวนมาก แต่ผู้อ่านยังสามารถเข้าใจเนื้อเรื่องจากบริบทแวดล้อมได้ การวิพากษ์ในส่วนนี้ คือ การใช้ภาษาชวามลายูในบทพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนา เนื่องจากบทประพันธ์เรื่องนี้ รัชกาลที่ 2 ทรงสรรคำและปรับคำจากภาษาชวามลายูมาใช้ในบทละครเป็นจำนวนมาก ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ นิราชพระมเหลเถไถ เพื่อล้อบทละครเรื่องนี้
| พระมะเหลเถไถ เป็นกลอนบทละครไทยที่ประพันธ์ใคร | {
"answer": [
"คุณสุวรรณ"
],
"answer_begin_position": [
141
],
"answer_end_position": [
150
]
} |
3,769 | 315,157 | พระมะเหลเถไถ พระมะเหลเถไถ เป็นกลอนบทละครที่ประพันธ์โดยคุณสุวรรณ ที่ประพันธ์ขึ้นตามจินตนาการและแต่งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 มีความแปลกที่แต่งขึ้นเป็นภาษาบ้าง ไม่เป็นภาษาบ้างปะปนกันไปแต่ต้นจนปลาย แต่ใครอ่านก็เข้าใจความได้ตลอดเรื่อง ถูกกล่าวหาในสมัยนั้นว่าแต่งเมื่อ “เสียจริต” หรือ “มีสติฟุ้งซ่านผิดปกติ” เป็นเรื่องแปลกในวงการกวียุคนั้น ส่วนใหญ่วางถ้อยคำที่ไม่เป็นภาษาไว้ใน 3 คำท้ายวรรคทุกวรรค กระบวนการแต่งกลอนบทละครก็ดำเนินไปตามธรรมเนียมการแต่งตามแบบฉบับของบทละคร มีการระบุชื่อเพลงที่ใช้ในการขับร้อง ขึ้นกลอนด้วยคำว่า “เมื่อนั้น” “บัดนั้น” “มาจะกล่าวบทไป” มีบทสระสรงแต่งองค์ทรงเครื่องของตัวละคร มีบทพรรณนาธรรมชาติ มีบทเกี้ยวพาราสี บทชมนาง เป็นต้น เนื้อเรื่องกล่าวถึง พระมะเหลเถไถ โอรส ท้าวโปลากะปาหงัน และ นางตาลากะปาลัน แห่งเมืองกะโปลา เมื่อพระมเหลเถไถประพาสป่าพระอินทร์อุ้มสมจนได้นางตะแลงแกง พระธิดา ท้าวมะไล เป็นชายา ขณะที่เดินทางกลับ เกิดรบชิงนางกับเจ้ายักษ์มาลาก๋อย ผลงานนี้สร้างชื่อเสียงแก่คุณสุวรรณเป็นอย่างมาก จนทำให้เป็นที่รู้จักทั้งในหมู่หญิงชาววังและชนชั้นสูงทั่วไป โดยบทละครทั้งพระมะเหลเถไถและอุณรุทร้อยเรื่อง ได้รับการตีพิมพ์ในสมุดที่เรียกว่า เรื่องพระมะเหลเถไถเรื่อง 1 กับอุณรุทร้อยเรื่อง บทละครเรื่องนี้ยังเป็นวรรณกรรมที่วิพากษ์งานวรรณกรรมด้วยกันด้วย โดยล้อเลียนวรรณคดีแบบฉบับโดยเฉพาะบทละครใน เป็นที่สังเกตว่า คุณสุวรรณเลือกใช้คำที่ไม่มีความหมายในภาษาไทยมาใส่ในบทละครเป็นจำนวนมาก แต่ผู้อ่านยังสามารถเข้าใจเนื้อเรื่องจากบริบทแวดล้อมได้ การวิพากษ์ในส่วนนี้ คือ การใช้ภาษาชวามลายูในบทพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนา เนื่องจากบทประพันธ์เรื่องนี้ รัชกาลที่ 2 ทรงสรรคำและปรับคำจากภาษาชวามลายูมาใช้ในบทละครเป็นจำนวนมาก ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ นิราชพระมเหลเถไถ เพื่อล้อบทละครเรื่องนี้
| พระมะเหลเถไถ เป็นกลอนบทละครไทยที่ประพันธ์โดยคุณสุวรรณในสมัยรัชกาลที่เท่าไร | {
"answer": [
"4"
],
"answer_begin_position": [
205
],
"answer_end_position": [
206
]
} |
3,770 | 41,918 | ไพวรินทร์ ขาวงาม ไพวรินทร์ ขาวงาม (10 กุมภาพันธ์ 2504 - ) กวี นักเขียน และคอลัมนิสต์ชาวไทย เจ้าของรางวัลซีไรต์ พ.ศ. 2538 จากหนังสือรวมบทกวี ม้าก้านกล้วย และศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ประจำปี พ.ศ. 2558ประวัติ ประวัติ. ไพวรินทร์ เกิดในครอบครัวชาวนาจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นบุตรของนายสมัย และนางดวน ขาวงาม เขาเป็นคนที่ 3 จากพี่น้อง 9 คน จบชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนบ้านตาหยวก และบวชเรียนต่อจนจบมัธยมปลาย ที่มหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตวังน้อย พระนครศรีอยุธยา อยู่ช่วยฝึกสอนวิชาภาษาไทยและวรรณคดี เพื่อตอบแทนคุณสถาบันระยะหนึ่งจึงลาสิกขาบท จากนั้นมุ่งสู่เชียงใหม่ เป็นพนักงานพิสูจน์อักษร หนังสือพิมพ์ประชากรรายวัน ก่อนเลื่อนฐานะขึ้นเป็นนักข่าว สั่งสมประสบการณ์กับหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นเล็กๆ หลายฉบับ จวบปี 2527 ตัดสินใจเข้ากรุง ทำงานฝ่ายศิลป์นิตยสารสปีดเวย์ ต่อสู้ชีวิตทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะทำรูปเคลือบพลาสติกวางขายข้างถนน พนักงานขายไอศกรีม ปี 2528 ช่วยงานนิตยสารสู่ฝัน ปี 2531 ประจำกองบรรณาธิการวารสารปาจารยสาร ต่อมาเป็นบรรณาธิการเฉพาะกิจสำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น ประจำกองบรรณาธิการหนังสือดีเขต เป็นหัวหน้ากองบรรณาธิการชีวิตต้องสู้ ปัจจุบันเป็นคอลัมนิสต์อิสระ จาก " สามเณรไพรัช " สู่ " ไพวรินทร์ " ไพวรินทร์ เดิมชื่อ 'ไพรัช' เป็นคนชอบอ่านหนังสือมาตั้งแต่เด็ก เคยใช้นามปากกา 'สามเณรไพรัช' ส่งความเรียงไปลงในนิตยสารชัยพฤกษ์การ์ตูน ต่อมาเปลี่ยนใช้นามปากกาว่า 'ไพวรินทร์ วิเชียรฉันท์' ในการเขียนกลอน และเพื่อขจัดความยุ่งยากในการรับค่าเรื่อง เขาได้เปลี่ยนชื่อจริงเป็น 'ไพวรินทร์' จึงเป็นทั้งชื่อจริงและนามปากกาตั้งแต่นั้นมาผลงานผลงาน. 1. ลำนำวเนจร (2528) รวมบทกวี 2. คำใดจะเอ่ยได้ดั่งใจ (2529) รวมบทกวี เข้ารอบซีไรต์ พ.ศ. 2529 3. ไม่ใช่บทกวีจากชายป่าอารยธรรม (2530) รวมบทกวีไร้ฉันทลักษณ์ 4. ฤดีกาล (2532) รวมบทกวี เข้ารอบซีไรต์ พ.ศ. 2535 5. คือแรงใจและไฟฝัน (2534) รวมบทกวี 6. ถนนนักฝัน (2535) รวมบทกวีประกอบภาพ 7. ม้าก้านกล้วย (2538) รวมบทกวี ได้รับรางวัลซีไรต์ พ.ศ. 2538 8. เจ้านกกวี (2540) รวมบทกวี 9. ทอดยอด (2542) รวมบทความและเรื่องสั้น 10. เพราะภาพพูดได้ หัวใจจึงขอฟัง (2544) 11. ผมจรรอนแรมจากลุ่มแม่น้ำมูล (2545) 12. ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีรัก (2545) 13. ดวงใจจึงจำนรรจ์ (2547) 14. จิบใจ จอกจ้อย (2547) 15. กลอนกล่อมโลก (2547)
| เจ้าของรางวัลซีไรต์ พ.ศ. 2538 จากหนังสือรวมบทกวี ม้าก้านกล้วยคือใคร | {
"answer": [
"ไพวรินทร์ ขาวงาม"
],
"answer_begin_position": [
106
],
"answer_end_position": [
122
]
} |
3,771 | 41,918 | ไพวรินทร์ ขาวงาม ไพวรินทร์ ขาวงาม (10 กุมภาพันธ์ 2504 - ) กวี นักเขียน และคอลัมนิสต์ชาวไทย เจ้าของรางวัลซีไรต์ พ.ศ. 2538 จากหนังสือรวมบทกวี ม้าก้านกล้วย และศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ประจำปี พ.ศ. 2558ประวัติ ประวัติ. ไพวรินทร์ เกิดในครอบครัวชาวนาจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นบุตรของนายสมัย และนางดวน ขาวงาม เขาเป็นคนที่ 3 จากพี่น้อง 9 คน จบชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนบ้านตาหยวก และบวชเรียนต่อจนจบมัธยมปลาย ที่มหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตวังน้อย พระนครศรีอยุธยา อยู่ช่วยฝึกสอนวิชาภาษาไทยและวรรณคดี เพื่อตอบแทนคุณสถาบันระยะหนึ่งจึงลาสิกขาบท จากนั้นมุ่งสู่เชียงใหม่ เป็นพนักงานพิสูจน์อักษร หนังสือพิมพ์ประชากรรายวัน ก่อนเลื่อนฐานะขึ้นเป็นนักข่าว สั่งสมประสบการณ์กับหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นเล็กๆ หลายฉบับ จวบปี 2527 ตัดสินใจเข้ากรุง ทำงานฝ่ายศิลป์นิตยสารสปีดเวย์ ต่อสู้ชีวิตทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะทำรูปเคลือบพลาสติกวางขายข้างถนน พนักงานขายไอศกรีม ปี 2528 ช่วยงานนิตยสารสู่ฝัน ปี 2531 ประจำกองบรรณาธิการวารสารปาจารยสาร ต่อมาเป็นบรรณาธิการเฉพาะกิจสำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น ประจำกองบรรณาธิการหนังสือดีเขต เป็นหัวหน้ากองบรรณาธิการชีวิตต้องสู้ ปัจจุบันเป็นคอลัมนิสต์อิสระ จาก " สามเณรไพรัช " สู่ " ไพวรินทร์ " ไพวรินทร์ เดิมชื่อ 'ไพรัช' เป็นคนชอบอ่านหนังสือมาตั้งแต่เด็ก เคยใช้นามปากกา 'สามเณรไพรัช' ส่งความเรียงไปลงในนิตยสารชัยพฤกษ์การ์ตูน ต่อมาเปลี่ยนใช้นามปากกาว่า 'ไพวรินทร์ วิเชียรฉันท์' ในการเขียนกลอน และเพื่อขจัดความยุ่งยากในการรับค่าเรื่อง เขาได้เปลี่ยนชื่อจริงเป็น 'ไพวรินทร์' จึงเป็นทั้งชื่อจริงและนามปากกาตั้งแต่นั้นมาผลงานผลงาน. 1. ลำนำวเนจร (2528) รวมบทกวี 2. คำใดจะเอ่ยได้ดั่งใจ (2529) รวมบทกวี เข้ารอบซีไรต์ พ.ศ. 2529 3. ไม่ใช่บทกวีจากชายป่าอารยธรรม (2530) รวมบทกวีไร้ฉันทลักษณ์ 4. ฤดีกาล (2532) รวมบทกวี เข้ารอบซีไรต์ พ.ศ. 2535 5. คือแรงใจและไฟฝัน (2534) รวมบทกวี 6. ถนนนักฝัน (2535) รวมบทกวีประกอบภาพ 7. ม้าก้านกล้วย (2538) รวมบทกวี ได้รับรางวัลซีไรต์ พ.ศ. 2538 8. เจ้านกกวี (2540) รวมบทกวี 9. ทอดยอด (2542) รวมบทความและเรื่องสั้น 10. เพราะภาพพูดได้ หัวใจจึงขอฟัง (2544) 11. ผมจรรอนแรมจากลุ่มแม่น้ำมูล (2545) 12. ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีรัก (2545) 13. ดวงใจจึงจำนรรจ์ (2547) 14. จิบใจ จอกจ้อย (2547) 15. กลอนกล่อมโลก (2547)
| ไพวรินทร์ ขาวงาม กวีและนักเขียนชาวไทย ได้รับรางวัลศิลปินแห่งชาติประจำปี พ.ศ. 2558 ในสาขาใด | {
"answer": [
"วรรณศิลป์"
],
"answer_begin_position": [
264
],
"answer_end_position": [
273
]
} |
3,772 | 703,914 | บลูวัน บลูวัน () เป็นสายการบินสัญชาติฟินแลนด์ โดยมีเจ้าของคือบริษัท สแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์ซิสเต็ม จำกัด กับส่วนกลางที่ท่าอากาศยานโคเปนเฮเกน ซึ่งบลูวันบินไปยัง 28 จุดหมายปลายทางในประเทศฟินแลนด์, สแกนดิเนเวีย และส่วนที่เหลือของยุโรป สายการบินนี้ขนส่งผู้โดยสารกว่า 1 ล้าน 7 แสนคนในปี ค.ศ. 2011 สายการบินนี้เป็นสมาชิกในเครือของกลุ่มสตาร์อัลไลแอนซ์ และมีสำนักงานใหญ่อยู่ในวานตา
| บลูวัน เป็นสายการบินสัญชาติใด | {
"answer": [
"ฟินแลนด์"
],
"answer_begin_position": [
118
],
"answer_end_position": [
126
]
} |
3,773 | 230,532 | โจรสลัดแห่งตะรุเตา โจรสลัดแห่งตะรุเตา () เป็นนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ บทประพันธ์ของปองพล อดิเรกสาร ซึ่งใช้นามปากกาในการเขียนว่า พอล อดิเรกซ์ (Paul Adirex)เนื้อเรื่องย่อลำดับเหตุการณ์สำคัญตัวละครหลักตัวละครหลัก. - ขุนอภิพัฒน์สุรทัณฑ์ - คอลลิน คันนิงแฮม - ร้อยโทเควิน นอกซ์ - สิบเอกเดวิด ฮอว์กินส์
| นวนิยายภาษาไทยอิงประวัติศาสตร์เรื่อง โจรสลัดแห่งตะรุเตา เป็นบทประพันธ์ของใคร | {
"answer": [
"ปองพล อดิเรกสาร"
],
"answer_begin_position": [
175
],
"answer_end_position": [
190
]
} |
3,774 | 368,254 | แมกนากรีเชีย แมกนากรีเชีย (; ) เป็นชื่อดินแดนชายฝั่งทะเลของอิตาลีตอนใต้บริเวณอ่าวตารันโต ซึ่งชาวกรีกโบราณได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานได้แก่ อาณานิคมของชาวอะคีอัน (Achaean) ที่ตาเรนตุม โครตัน และซิบาริส รวมไปถึงคิวมีและนีอาโพลิส (เนเปิลส์) ในทางเหนือ ชาวอาณานิคมเริ่มลงรากฐานราวศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล และนำเอาอารยธรรมเฮลเลนิกมาด้วย ซึ่งเป็นอารยธรรมที่ทรงอิทธิพลในอิตาลีอย่างมากตลอดไปจนถึงโรมันโบราณ
| แมกนากรีเชีย เป็นชื่อดินแดนชายฝั่งทะเลของประเทศใด | {
"answer": [
"อิตาลี"
],
"answer_begin_position": [
146
],
"answer_end_position": [
152
]
} |
3,775 | 171,115 | ท่อฟรอนโทนาซัล ท่อฟรอนโทนาซัล () เป็นท่อที่เชื่อมระหว่างโพรงจมูกและโพรงอากาศหน้าผากที่อยู่ข้างเดียวกัน
| ท่อที่เชื่อมระหว่างโพรงจมูกและโพรงอากาศหน้าผากที่อยู่ข้างเดียวกันเรียกว่าอะไร | {
"answer": [
"ท่อฟรอนโทนาซัล"
],
"answer_begin_position": [
104
],
"answer_end_position": [
118
]
} |
3,776 | 132,092 | ภาษามาราเนา ภาษามาราเนา เป็นภาษาตระกูลออสโตรนีเซียน ใช้พูดในจังหวัดลาเนา เดล นอริเต และ ลาเนา เดล ซุร ในฟิลิปปินส์
| ภาษามาราเนา เป็นภาษาในตระกูลใด | {
"answer": [
"ออสโตรนีเซียน"
],
"answer_begin_position": [
124
],
"answer_end_position": [
137
]
} |
3,777 | 715,921 | เซลล์ไข่ เซลล์ไข่หรือโอวุมคือเซลล์สืบพันธุ์ของเพศเมียของสิ่งมีชีวิตที่สืบพันธุ์แบบโอโอกามี (oogamy, การสืบพันธุ์โดยใช้เซลล์อสุจิและเซลล์ไข่โดยที่เซลล์ไข่มีขนาดใหญ่กว่าเซลล์อสุจิมากและไม่สามารถเคลื่อนที่ได้) เซลล์ไข่มีขนาดใหญ่กว่าเซลล์อสุจิมาก อาจใหญ่จนเห็นได้ด้วยตาเปล่า เพื่อเซลล์ไข่ผสมกับเซลล์อสุจิจะเกิดเซลล์ที่มีจำนวนโครโมโซมเป็นคู่ (ดิพลอยด์) เรียกว่าไซโกต ซึ่งสามารถเจริญเป็นสิ่งมีชีวิตได้
| เมื่อเซลล์ไข่ของเพศเมียผสมกับเซลล์อสุจิของเพศผู้จะเกิดเซลล์ที่มีจำนวนโครโมโซมเป็นคู่หรือดิพลอยด์ที่เรียกว่าอะไร | {
"answer": [
"ไซโกต"
],
"answer_begin_position": [
439
],
"answer_end_position": [
444
]
} |
3,778 | 480,571 | ดีโอโดโรอารีนา ดีโอโดโรอารีนา () เป็นชื่อของสนามกีฬาในร่ม ซึ่งปัจจุบันอยู่ในช่วงดำเนินการก่อสร้างที่ดีโอโดโร ริโอเดอจาเนโร ประเทศบราซิล ซึ่งจะจัดเป็นสถานที่สำหรับการแข่งขันฟันดาบสากลในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 รวมถึงวีลแชร์ฟันดาบในพาราลิมปิกฤดูร้อน 2016 การก่อสร้างเริ่มใน ค.ศ. 2009 และจะแล้วเสร็จใน ค.ศ. 2011 โดยมีค่าใช้จ่ายสำหรับสนามกีฬาแห่งนี้ร่วม 41 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
| สนามกีฬาสำหรับการแข่งขันฟันดาบสากลในโอลิมปิกฤดูร้อนปีค.ศ. 2016 ที่ประเทศบราซิลมีชื่อว่าอะไร | {
"answer": [
"ดีโอโดโรอารีนา"
],
"answer_begin_position": [
104
],
"answer_end_position": [
118
]
} |
3,779 | 248,626 | แวร์ม็องดัว อาณาจักรเคานท์แห่งแวรมองดัวส์ () เป็นอาณาจักรเคานท์ของฝรั่งเศสที่ปรากฏในสมัยเมโรวิเกียน ในคริสต์ศตวรรษที่ 10 อาณาจักรก่อตั้งอยู่ในบริเวณแซงต์เควนแตง (St Quentin, Aisne) และเปรอนน์ (Peronne, Somme) โดยมีเปแปงที่ 1 เคานท์แห่งแวรมองดัวส์เป็นเคานท์คนแรกผู้เป็นผู้สืบเชื้อสายโดยตรงมาจากชาร์เลอมาญ
| อาณาจักรเคานท์แห่งแวรมองดัวส์ เป็นอาณาจักรเคานท์ของประเทศใด | {
"answer": [
"ฝรั่งเศส"
],
"answer_begin_position": [
152
],
"answer_end_position": [
160
]
} |
3,780 | 856,310 | ภาษาเกาหลีไซนิชิ ภาษาเกาหลีไซนิชิ เป็นภาษาเกาหลีที่ใช้โดยชาวเกาหลีไซนิชิ คือชาวเกาหลีที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากชาวเกาหลีที่เข้ามาอาศัยอยู่ในญี่ปุ่นรุ่นแรก ๆ มาจากทางตอนใต้ของคาบสมุทร อาทิ จังหวัดคย็องกี จังหวัดช็อลลาเหนือ-ใต้ และจังหวัดเชจูจึงมีพื้นฐานของภาษาเกาหลีภาคใต้ และจากการที่แยกออกมาจากแผ่นดินแม่ ภาษาเกาหลีไซนิชิจึงรับอิทธิพลจากภาษาญี่ปุ่นเข้ามาค่อนข้างมากจนกลายเป็นเอกลักษณ์ทางภาษาที่ต่างออกไปจากภาษาเกาหลีที่ใช้ในประเทศเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ ภาษาเกาหลีไซนิชิไม่มีระบบการเขียน และรับอิทธิพลจากภาษาญี่ปุ่นอย่างสูงโดยเฉพาะไวยากรณ์
| ภาษาเกาหลีไซนิชิ เป็นภาษาที่ใช้โดยชาวเกาหลีไซนิชิที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศใด | {
"answer": [
"ญี่ปุ่น"
],
"answer_begin_position": [
202
],
"answer_end_position": [
209
]
} |
3,781 | 856,310 | ภาษาเกาหลีไซนิชิ ภาษาเกาหลีไซนิชิ เป็นภาษาเกาหลีที่ใช้โดยชาวเกาหลีไซนิชิ คือชาวเกาหลีที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากชาวเกาหลีที่เข้ามาอาศัยอยู่ในญี่ปุ่นรุ่นแรก ๆ มาจากทางตอนใต้ของคาบสมุทร อาทิ จังหวัดคย็องกี จังหวัดช็อลลาเหนือ-ใต้ และจังหวัดเชจูจึงมีพื้นฐานของภาษาเกาหลีภาคใต้ และจากการที่แยกออกมาจากแผ่นดินแม่ ภาษาเกาหลีไซนิชิจึงรับอิทธิพลจากภาษาญี่ปุ่นเข้ามาค่อนข้างมากจนกลายเป็นเอกลักษณ์ทางภาษาที่ต่างออกไปจากภาษาเกาหลีที่ใช้ในประเทศเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ ภาษาเกาหลีไซนิชิไม่มีระบบการเขียน และรับอิทธิพลจากภาษาญี่ปุ่นอย่างสูงโดยเฉพาะไวยากรณ์
| ภาษาเกาหลีไซนิชิเป็นภาษาเกาหลีที่ได้รับอิทธิพลมาจากภาษาใด | {
"answer": [
"ญี่ปุ่น"
],
"answer_begin_position": [
617
],
"answer_end_position": [
624
]
} |
3,782 | 635,759 | เดวิด ชาร์ลส เฮนชอว์ ออสติน เดวิด ชาร์ลส เฮนชอว์ ออสติน (ชั้นเครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งจักรวรรดิอังกฤษ OBE) (เกิดเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 1926) นักผสมพันธุ์กุหลาบ และนักเขียน ซึ่งอาศัยอยู่ที่ชรอปเชอร์ ประเทศอังกฤษ เขาผสมพันธุ์กุหลาบโดยนำเอาความหอมและทรงดอกเฉพาะตามแบบกุหลาบโบราณ (กัลลิคาส, ดามัสก์, อัลบา โรสส์, และอื่นๆ) มาผสมกับกุหลายสมัยใหม่ที่แข็งแรง ออกดอกดกตลอดทั้งปี สีสันสวยงาม เช่น ไฮบริด ที และ ฟลอริบันดาอาชีพ อาชีพ. กุหลาบพันธุ์แรกของเขาที่คิดค้นในปี 1963 คือ 'คอนสแตน สปราย' ในปี 1967 และ 1968 เขาเปิดตัวพันธุ์ 'เชียนติ' และ 'ชรอปเชอร์ แลส' ตามลำดับ ซึ่งกุหลาบสายพันธุ์เหล่านี้จะออกดอกเพียงปีละครั้งในฤดูใบไม้ผลิหรือช่วงต้นของฤดูร้อนเท่านั้น และในปี 1969 มีสายพันธุ์รีมอนแมน (ออกดอกดกทั้งปี), รวมถึง 'ไวฟ์ ออฟ บาธ' และ 'แคนเทอบิวรี' (ตั้งชื่อสายพันธุ์ตามหนังสือของนักเขียนชาวอังกฤษ เจฟฟรีย์ ชอเซอร์) ซึ่งกุหลาบของออสตินกลายมาเป็นกุหลาบสายพันธุ์ใหม่ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในปีศตวรรษที่ 20 ถึงแม้ว่า จะไม่มีการจัดให้กุหลาบออสตินเป็นหมวดหมู่หนึ่งในชั้นของกุหลาบอย่างเป็นทางการจากราชสมาคมกุหลาบแห่งประเทศอังกฤษ หรือ สมาคมกุหลาบอเมริกัน แต่ก็เป็นสายพันธุ์ที่เป็นที่ยอมรับจากนักปลูกกุหลาบโดยทั่วกัน เรียกกันว่า 'กุหลาบอังกฤษ(อิงลิช โรสส์)' (ชื่อที่เขาตั้งขึ้น) หรือ 'ออสติน โรสส์' ตั้งแต่เริ่มต้นเพาะพันธุ์ในปี 1969 บริษัทเดวิดออสตินโรสที่ ออลไบรตัน, ในละแวกเดียวกับ วูลฟ์แฮมตัน มีกุหลาบมากมายกว่า 190 พันธุ์ แต่ละพันธุ์ตั้งชื่อเพือเป็นเกียรติแก่ครอบครัวของเขา, มีการตั้งชื่อตามนักปลูกกุหลาบชื่อดัง, สถานที่สำคัญในอังกฤษ, ชื่อของเหตุการณ์สำคัญๆทางประวัติศาสตร์, และชื่อของนักเขียนชาวอังกฤษ, โดยเฉพาะ เชคสเปียร์และชอเซอร์, รวมไปถึงผลงานหรือตัวละครของพวกเขาด้วย อย่างเช่น กุหลาบ เกรแฮม โธมัส ตั้งตามชื่อศิลปินผู้ซึ่งเป็นนักปลูกกุหลาบด้วย และกุหลาบแมรี่โรส ตามชื่อเรือธงของพระเจ้าเฮนรี่ที่ 8, ในศตวรรษที่ 21 ออสตินได้จำแนกประเภทกุหลาบของเขาเองออกเป็น 4 กลุ่ม เพื่อให้ง่ายในการพัฒนาสายพันธุ์ต่อไป ดังนี้- กลุ่มสายพันธุ์กุหลาบโบราณ, กุหลาบที่รูปทรงตามแบบกุหลาบโบราณ แต่ออกดอกทั้งปี แข็งแรง มีสีสันหลากหลาย- กลุ่มลีนเดอร์, มักจะมีโรซา วิชูรานา อยู่ในสายพันธุ์ด้วย, พุ่มจะใหญ่ สามารถจับโค้งหรือทำให้เลื้อยได้ ไม่สูงมากนัก- กลุ่มมัสก์โรสส์, สายพันธุ์หลักคือ 'ไอซ์เบิร์ก' และกุหลาบ นอยเซตส์, สีเขียวซีด, ต้นเรียวยาว และโปร่ง- กลุ่มสายพันธุ์อัลบา, ต้นจะสูง, พุ่มออกไปทางสีฟ้าคล้ายกุหลาบอัลบาโบราณ ในปี 2003, เดวิด ออสติน ได้รับรางวัลวิคตอเรียเหรียญแห่งเกียรติยศ โดย ราชสมาคมพืชสวนแห่งอังกฤษ สำหรับผลงานพืชสวนของเขา และ เหรียญดีน โดย ราชสมาคมกุหลาบแห่งอังกฤษ เขาได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ MSc จาก มหาวิทยาลัยอีสต์ ลอนดอน สำหรับผลงานการผสมสายพันธุ์กุหลาบ และเมื่อปี 2004 เขาได้รับรางวัลผู้ประสบความสำเร็จในชีวิตจาก สมาคมการ์เด้นเซ็นเตอร์ และรับชั้นเครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งจักรวรรดิอังกฤษ OBE เมื่อปี 2007. ในปี 2010, เขาได้รับฉายาว่า "นักปลูกกุหลาบที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก"หนังสือหนังสือ. - เดวิด ออสติน David Austin wrote the foreword for- His annual free catalogue David Austin Handbook of Roses, mainly devoted to Austin Roses but also listing many other varieties (often in the Austin roses pedigree) on sale, contains information on roses and their care in general, as well as many rose photographs.Notes and referencesExternal linksExternal links. - David Austin Roses
| ใครคือผู้คิดค้นกุหลาบพันธุ์คอนสแตน สปรายในปีค.ศ.1963 | {
"answer": [
"เดวิด ชาร์ลส เฮนชอว์ ออสติน"
],
"answer_begin_position": [
130
],
"answer_end_position": [
157
]
} |
3,783 | 41,587 | พ่อขุนรามคำแหงมหาราช พ่อขุนรามคำแหงมหาราช หรือ พญาร่วง หรือ พระบาทกมรเตงอัญศรีรามราช เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 3 ในราชวงศ์พระร่วงแห่งราชอาณาจักรสุโขทัย เสวยราชย์ประมาณ พ.ศ. 1822 ถึงประมาณ พ.ศ. 1841 พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกของไทยที่ได้รับการยกย่องเป็น "มหาราช" ด้วยทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันทรงคุณประโยชน์แก่แผ่นดิน ทรงรวบรวมอาณาจักรไทยจนเป็นปึกแผ่นกว้างขวาง ทั้งยังได้ทรงประดิษฐ์ตัวอักษรไทยขึ้น ทำให้ชาติไทยได้สะสมความรู้ทางศิลปะ วัฒนธรรม และวิชาการต่าง ๆ สืบทอดกันมากว่าเจ็ดร้อยปี:3พระราชประวัติพระประสูติกาล พระราชประวัติ. พระประสูติกาล. พ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 3 ของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์กับนางเสือง พระเชษฐาองค์แรกสิ้นพระชนม์ตั้งแต่พ่อขุนรามคำแหง ยังทรงพระเยาว์ พระเชษฐาองค์ที่สองทรงพระนามตามศิลาจารึกว่า "พระยาบานเมือง" ซึ่งได้เสวยราชย์ต่อจากพระราชบิดา และเมื่อสิ้นพระชนม์แล้ว พ่อขุนรามคำแหงมหาราชก็เสวยราชย์แทนต่อมา ตามพงศาวดารโยนก พ่อขุนรามคำแหงมหาราชแห่งกรุงสุโขทัย พญามังรายมหาราชแห่งล้านนา และพญางำเมืองแห่งพะเยา เป็นศิษย์ร่วมพระอาจารย์เดียวกัน ณ สำนักพระสุกทันตฤๅษี ที่เมืองละโว้ จึงน่าจะมีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน โดยพญามังรายประสูติเมื่อ พ.ศ. 1782 พ่อขุนรามฯ น่าจะประสูติในปีใกล้เคียงกันนี้พระนาม พระนาม. เมื่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราชมีพระชนมายุสิบเก้าพรรษา ได้ทรงทำยุทธหัตถีมีชัยต่อขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด (อยู่บนน้ำแม่สอดใกล้จังหวัดตาก แต่อาจจะอยู่ในเขตประเทศพม่าในปัจจุบัน) พระราชบิดาจึงทรงขนานพระนามว่า "พระรามคำแหง" ซึ่งแปลว่า "พระรามผู้กล้าหาญ" ราชบัณฑิตยสถานสันนิษฐานว่า พระนามเดิมของพระองค์คือ "ราม" เพราะปรากฏพระนามเมื่อเสวยราชย์แล้วว่า "พ่อขุนรามราช" อนึ่ง สมัยนั้นนิยมนำชื่อปู่มาตั้งเป็นชื่อหลาน ซึ่งตามพระราชนัดดาของพระองค์มีพระนามว่า "พระยาพระราม" และในชั้นพระราชนัดดาของพระราชนัดดา ในเหตุการณ์การแย่งชิงราชสมบัติกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 1962 ตามพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ปรากฏเจ้าเมืองพระนามว่า "พระยาบาลเมือง" และ "พระยาราม"การเสวยราชย์ การเสวยราชย์. นายตรี อมาตยกุล ได้เสนอว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราชน่าจะเสวยราชย์ พ.ศ. 1820 เพราะเป็นปีที่ทรงปลูกต้นตาลที่สุโขทัย ศาสตราจารย์ประเสริฐ ณ นคร ราชบัณฑิต จึงได้หาหลักฐานมาประกอบพบว่า กษัตริย์ไทยอาหมถือประเพณีทรงปลูกต้นไทรตอนขึ้นเสวยราชย์อย่างน้อยเจ็ดรัชกาลด้วยกัน ทั้งนี้ เพื่อสร้างโชคชัยว่ารัชกาลจะอยู่ยืนยงเหมือนต้นไทร อนึ่ง ต้นตาลและต้นไทรเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ของลังกาพระราชกรณียกิจ พระราชกรณียกิจ. รัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นยุคที่กรุงสุโขทัยเฟื่องฟูและเจริญขึ้นกว่าเดิมเป็นอันมาก ระบบการปกครองภายในก่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยอย่างมีประสิทธิภาพ มีการติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศทั้งในด้านเศรษฐกิจและการเมือง ประชาชนอยู่ดีกินดี สภาพบ้านเมืองก้าวหน้าทั้งทางเกษตร การชลประทาน การอุตสาหกรรม และการศาสนา อาณาเขตของกรุงสุโขทัยได้ขยายออกไปกว้างใหญ่ไพศาลการเมืองการปกครอง การเมืองการปกครอง. เมื่อพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ทรงขจัดอิทธิพลของเขมรออกไปจากกรุงสุโขทัยได้ในปลายพุทธศตวรรษที่ 18 การปกครองของกษัตริย์สุโขทัยได้ใช้ระบบปิตุราชาธิปไตยหรือ "พ่อปกครองลูก" ดังข้อความในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงว่า คำพูด"...เมื่อชั่วพ่อกู กูบำเรอแก่พ่อกู กูได้ตัวเนื้อตัวปลา กูเอามาแก่พ่อกู กูได้หมากส้มหมากหวาน อันใดกินอร่อยดี กูเอามาแก่พ่อกู กูไปตีหนังวังช้างได้ กูเอามาแก่พ่อกู กูไปท่อบ้านท่อเมือง ได้ช้างได้งวง ได้ปั่วได้นาง ได้เงือนได้ทอง กูเอามาเวนแก่พ่อกู.." ข้อความดังกล่าวแสดงการนับถือบิดามารดา และถือว่าความผูกพันในครอบครัวเป็นเรื่องสำคัญ ครอบครัวทั้งหลายรวมกันเข้าเป็นเมืองหรือรัฐ มีเจ้าเมืองหรือพระมหากษัตริย์เป็นหัวหน้าครอบครัว ปรากฏข้อความในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงว่าพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงใช้พระราชอำนาจในการยุติธรรมและนิติบัญญัติไว้ดังต่อไปนี้ 1) ราษฎรสามารถค้าขายได้โดยเสรี เจ้าเมืองไม่เรียกเก็บจังกอบหรือภาษีผ่านทาง 2) ผู้ใดล้มตายลง ทรัพย์มรดกก็ตกแก่บุตร และ 3) หากผู้ใดไม่ได้รับความเป็นธรรมในกรณีพิพาท ก็มีสิทธิไปสั่นกระดิ่งที่แขวนไว้หน้าประตูวังเพื่อถวายฎีกาต่อพระมหากษัตริย์ได้ พระองค์ก็จะทรงตัดสินด้วยพระองค์เอง นอกจากนี้ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชยังทรงใช้พุทธศาสนาเป็นเครื่องช่วยในการปกครอง โดยได้ทรงสร้าง "พระแท่นมนังคศิลาบาตร"ขึ้นไว้กลางดงตาล เพื่อให้พระเถรานุเถระแสดงพระธรรมเทศนาแก่ประชาชนในวันพระ ส่วนวันธรรมดาพระองค์จะเสด็จประทับเป็นประธานให้เจ้านายและข้าราชการปรึกษาราชการร่วมกันเศรษฐกิจและการค้า เศรษฐกิจและการค้า. โปรดให้สร้างทำนบกักน้ำที่เรียกว่า “สรีดภงส์” เพื่อนำน้ำไปใช้ในตัวเมืองสุโขทัยและบริเวณใกล้เคียง โดยอาศัยแนวคันดินที่เรียกว่า “เขื่อนพระร่วง” ทำให้มีน้ำสำหรับใช้ในการเพาะปลูกและอุปโภคบริโภคในยาม ที่บ้านเมืองขาดแคลนน้ำ ทรงส่งเสริมการค้าขายอย่างเสรีภายในราชอาณาจักรด้วยการไม่เก็บภาษีผ่านด่านหรือ “จกอบ” (จังกอบ) จากบรรดาพ่อค้าที่เข้ามาค้าขายในกรุงสุโขทัย ดังคำจารึกบนศิลาจารึกว่า "เจ้าเมือง บ่เอาจกอบในไพร่ลู่ทาง" นอกจากนี้ยังมีหลักฐานที่ปรากฏว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงส่งเสริมให้ชาวสุโขทัยนิยมการค้าขายนั้น ปรากฏตามศิลาจารึกตอนหนึ่งว่า "เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจะใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงือนค้าทองค้า" อันเป็นการแสดงให้เห็นว่า ทรงเปิดเสรีทุกประการในการค้าขายทำให้การค้าขายขยายออกไปอย่างกว้างขวางจนปรากฏแหล่งการค้าสำคัญในสุโขทัยได้แก่ "ตลาดปสาน" จากศิลาจารึกกล่าวว่า "เบื้องตีนนอนเมืองสุโขทัย มีตลาดปสาน" ในด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงเจริญสัมพันธไมตรีกับมหาอำนาจอย่าง "จีน" โดยนอกจากการเพิ่มพูนสัมพันธไมตรีตามปกติแล้ว ยังโปรดให้นำช่างจากชาวจีนมาเพื่อก่อตั้งโรงงานตั้งเตาทำถ้วยชามทั้งเพื่อใช้ในประเทศ และสามารถส่งออกไปยังประเทศใกล้เคียงได้ด้วย ถ้วยชามที่ผลิตในยุคนี้เรียกว่า "ชามสังคโลก"ศาสนาและวัฒนธรรม ศาสนาและวัฒนธรรม. ทรงคิดประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใช้แทนตัวอักษรขอมที่เคยใช้กันมาแต่เดิม เมื่อ พ.ศ. 1826 เรียกว่า “ลายสือไทย” และได้มีการพัฒนาการมาเป็นลำดับจนถึงอักษรไทยในยุคปัจจุบัน ทำให้คนไทยมีอักษรไทยใช้มาจนถึงทุกวันนี้ โปรดให้จารึกเรื่องราวบางส่วนที่เกิดในสมัยของพระองค์ โดยปรากฏอยู่ในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 ทำให้คนไทยยุคหลังได้ทราบ และนักประวัติศาสตร์ได้ใช้ศิลาจารึกดังกล่าวเป็นข้อมูลหลักฐานในการศึกษาค้นคว้าเรื่องราวประวัติศาสตร์สุโขทัย ทรงรับเอาพระพุทธศาสนา นิกายเถรวาท ลัทธิลังกาวงศ์ จากลังกา ผ่านเมืองนครศรีธรรมราช มาประดิษฐานที่เมืองสุโขทัย ทำให้พระพุทธศาสนาวางรากฐานมั่นคงในอาณาจักรสุโขทัย และเผยแผ่ไปยังหัวเมืองต่างๆในราชอาณาจักรสุโขทัย จนกระทั่งได้กลายเป็นศาสนาประจำชาติไทยมาจนถึงทุกวันนี้ เมื่อพระพุทธศาสนาได้มาตั้งมั่นที่นครศรีธรรมราช พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาจึงให้นิมนต์พระเถระชั้นผู้ใหญ่จากเมืองนครศรีธรรมราชไปตั้งเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่กรุงสุโขทัยด้วย และนับเป็นการเริ่มการเจริญสัมพันธไมตรีกับลังกา อีกทั้งทรงได้สดับกิตติศัพท์ของ "พระพุทธสิหิงค์" ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่เจ้าราชวงศ์ลังกาสร้างขึ้นด้วยพระพุทธลักษณะที่งดงาม และมีความศักดิ์สิทธิ์ จึงทรงให้พระยานครศรีธรรมราช เจ้าประเทศราชแต่งสาส์นให้ทูตถือไปยังลังกา เพื่อขอเป็นไมตรีและขอพระราชทานพระพุทธสิหิงค์มาเพื่อเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองไทยสืบไปอาณาเขต อาณาเขต. พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางไพศาล คือ ทิศตะวันออก ทรงปราบได้เมืองสรหลวงสองแคว (พิษณุโลก), ลุมบาจาย, สะค้า (สองเมืองหลังนี้อาจอยู่แถวลุ่มแม่น้ำน่านหรือแควป่าสักก็ได้), ข้ามฝั่งแม่น้ำโขงไปถึงเวียงจันทน์และเวียงคำในประเทศลาว ทิศใต้ ทรงปราบได้คนที (บ้านโคน จังหวัดกำแพงเพชร), พระบาง (นครสวรรค์), แพรก (ชัยนาท), สุพรรณภูมิ, ราชบุรี, เพชรบุรี, และนครศรีธรรมราช โดยมีฝั่งทะเลสมุทร (มหาสมุทร) เป็นเขตแดนไทย ทิศตะวันตก ทรงปราบได้เมืองฉอด,มีสมุทรเป็นเขตแดนไทย ทิศเหนือ ทรงปราบได้เมืองแพร่, เมืองน่าน, เมืองพลัว (อำเภอปัว น่าน), ข้ามฝั่งโขงไปถึงเมืองชวา (หลวงพระบาง) เป็นเขตแดนไทยความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ. การใช้ความสัมพันธ์ทางด้านการทูตและความสัมพันธ์ทางด้านวัฒนธรรม โดยเฉพาะทางด้านพระพุทธศาสนาแทนการทำสงคราม ทำให้สุโขทัยมีแต่ความสงบร่มเย็น ไม่เกิดสงครามกับแคว้นต่างๆ ในสมัยของพระองค์ และได้หัวเมืองประเทศราชเพิ่มขึ้นอีกด้วย ทรงทำพระราชไมตรีกับพญามังรายมหาราชแห่งล้านนา และพญางำเมืองแห่งพะเยา โดยทรงยินยอมให้พญามังรายมหาราชขยายอาณาเขตล้านนาทางน้ำแม่กก แม่น้ำปิง และแม่น้ำวังได้อย่างสะดวก เพื่อให้เป็นกันชนระหว่างจีนกับสุโขทัย กับทั้งยังได้เสด็จไปทรงช่วยเหลือพญามังรายมหาราชหาชัยภูมิสร้างเมืองเชียงใหม่เมื่อ พ.ศ. 1839 ด้วย ทางอาณาจักรมอญ มีพ่อค้าชื่อ "มะกะโท" เข้ารับราชการอยู่ในราชสำนักของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มะกะโทได้ผูกสมัครรักใคร่กับ "เจ้าเทพธิดาสร้อยดาว" พระธิดาของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช แล้วพากันหนีไปอยู่เมืองเมาะตะมะ แล้วจึงขออภัยโทษต่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ขอพระราชทานนาม และขอยินยอมเป็นประเทศราชของกรุงสุโขทัย ซึ่งพ่อขุนรามคำแหงได้พระราชทานนามว่า "พระเจ้าฟ้ารั่ว" ทางทิศใต้ ได้ทรงอาราธนาพระมหาเถรสังฆราชผู้เรียนจบพระไตรปิฎกมาจากนครศรีธรรมราช ให้มาเผยแพ่พุทธศาสนาในกรุงสุโขทัย ส่วนด้านเมืองละโว้นั้นทรงปล่อยให้เป็นเอกราชอยู่ เพราะปรากฏว่ายังส่งเครื่องบรรณาการไปจีนอยู่ระหว่าง พ.ศ. 1834 ถึง พ.ศ. 1840 ทั้งนี้ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชก็คงจะได้ทรงผูกไมตรีกับเมืองละโว้ไว้ นอกจากนี้ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชเองก็ทรงส่งราชทูตไปจีนสามครั้งเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีประดิษฐกรรม ประดิษฐกรรม. พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใช้เมื่อ พ.ศ. 1826 พระองค์ได้ทรงประดิษฐ์พยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ เพิ่มขึ้นให้สามารถเขียนแทนเสียงพูดของคำในภาษาไทยได้ทุกคำ กับทั้งได้นำสระและพยัญชนะมาอยู่ในบรรทัดเดียวกันโดยไม่ต้องใช้พยัญชนะซ้อนกัน ทำให้เขียนและอ่านหนังสือไทยได้สะดวกมากขึ้นวรรณกรรม วรรณกรรม. วรรณกรรมสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชสูญหายไปหมดแล้ว คงเหลือแต่ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง (พ.ศ. 1835) ซึ่งแม้จะมีข้อความเป็นร้อยแก้ว แต่ก็มีสัมผัสคล้องจองทำให้ไพเราะซาบซึ้งตรึงใจ เช่น คำพูด|...ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว...ลูท่างเพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย...เห็นข้าวท่านบ่ใคร่พิน เห็นสินท่านบ่ใคร่เดือด นับเป็นวรรณคดีเริ่มแรกของกรุงสุโขทัยซึ่งตกทอดมาถึงปัจจุบัน โดยอย่างไรก็ดี ในช่วงตั้งแต่ พ.ศ. 2520 เป็นต้นมา มีข้อสงสัยทางวิชาการว่าศิลาจารึกดังกล่าวจะมิได้ทำขึ้นในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และมีผู้เสนอว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงพบศิลานั้นเมื่อเสด็จจาริกธุดงค์ เป็นผู้ทรงทำศิลานั้นขึ้นเพื่อเหตุผลทางการเมืองในการสร้างประวัติศาสตร์ชาติไทยให้ชาติตะวันตกเห็นว่ามีและรุ่งเรืองมาอย่างยาวนาน เป็นการป้องปัดภัยการล่าอาณานิคมในสมัยนั้น ทั้งนี้ข้อสงสัยนี้กำลังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่พงศาวลี
| กษัตริย์พระองค์แรกของไทยที่ได้รับการยกย่องเป็น มหาราช มีพระนามว่าอะไร | {
"answer": [
"พ่อขุนรามคำแหงมหาราช"
],
"answer_begin_position": [
114
],
"answer_end_position": [
134
]
} |
3,784 | 41,587 | พ่อขุนรามคำแหงมหาราช พ่อขุนรามคำแหงมหาราช หรือ พญาร่วง หรือ พระบาทกมรเตงอัญศรีรามราช เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 3 ในราชวงศ์พระร่วงแห่งราชอาณาจักรสุโขทัย เสวยราชย์ประมาณ พ.ศ. 1822 ถึงประมาณ พ.ศ. 1841 พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกของไทยที่ได้รับการยกย่องเป็น "มหาราช" ด้วยทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันทรงคุณประโยชน์แก่แผ่นดิน ทรงรวบรวมอาณาจักรไทยจนเป็นปึกแผ่นกว้างขวาง ทั้งยังได้ทรงประดิษฐ์ตัวอักษรไทยขึ้น ทำให้ชาติไทยได้สะสมความรู้ทางศิลปะ วัฒนธรรม และวิชาการต่าง ๆ สืบทอดกันมากว่าเจ็ดร้อยปี:3พระราชประวัติพระประสูติกาล พระราชประวัติ. พระประสูติกาล. พ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 3 ของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์กับนางเสือง พระเชษฐาองค์แรกสิ้นพระชนม์ตั้งแต่พ่อขุนรามคำแหง ยังทรงพระเยาว์ พระเชษฐาองค์ที่สองทรงพระนามตามศิลาจารึกว่า "พระยาบานเมือง" ซึ่งได้เสวยราชย์ต่อจากพระราชบิดา และเมื่อสิ้นพระชนม์แล้ว พ่อขุนรามคำแหงมหาราชก็เสวยราชย์แทนต่อมา ตามพงศาวดารโยนก พ่อขุนรามคำแหงมหาราชแห่งกรุงสุโขทัย พญามังรายมหาราชแห่งล้านนา และพญางำเมืองแห่งพะเยา เป็นศิษย์ร่วมพระอาจารย์เดียวกัน ณ สำนักพระสุกทันตฤๅษี ที่เมืองละโว้ จึงน่าจะมีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน โดยพญามังรายประสูติเมื่อ พ.ศ. 1782 พ่อขุนรามฯ น่าจะประสูติในปีใกล้เคียงกันนี้พระนาม พระนาม. เมื่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราชมีพระชนมายุสิบเก้าพรรษา ได้ทรงทำยุทธหัตถีมีชัยต่อขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด (อยู่บนน้ำแม่สอดใกล้จังหวัดตาก แต่อาจจะอยู่ในเขตประเทศพม่าในปัจจุบัน) พระราชบิดาจึงทรงขนานพระนามว่า "พระรามคำแหง" ซึ่งแปลว่า "พระรามผู้กล้าหาญ" ราชบัณฑิตยสถานสันนิษฐานว่า พระนามเดิมของพระองค์คือ "ราม" เพราะปรากฏพระนามเมื่อเสวยราชย์แล้วว่า "พ่อขุนรามราช" อนึ่ง สมัยนั้นนิยมนำชื่อปู่มาตั้งเป็นชื่อหลาน ซึ่งตามพระราชนัดดาของพระองค์มีพระนามว่า "พระยาพระราม" และในชั้นพระราชนัดดาของพระราชนัดดา ในเหตุการณ์การแย่งชิงราชสมบัติกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 1962 ตามพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ปรากฏเจ้าเมืองพระนามว่า "พระยาบาลเมือง" และ "พระยาราม"การเสวยราชย์ การเสวยราชย์. นายตรี อมาตยกุล ได้เสนอว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราชน่าจะเสวยราชย์ พ.ศ. 1820 เพราะเป็นปีที่ทรงปลูกต้นตาลที่สุโขทัย ศาสตราจารย์ประเสริฐ ณ นคร ราชบัณฑิต จึงได้หาหลักฐานมาประกอบพบว่า กษัตริย์ไทยอาหมถือประเพณีทรงปลูกต้นไทรตอนขึ้นเสวยราชย์อย่างน้อยเจ็ดรัชกาลด้วยกัน ทั้งนี้ เพื่อสร้างโชคชัยว่ารัชกาลจะอยู่ยืนยงเหมือนต้นไทร อนึ่ง ต้นตาลและต้นไทรเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ของลังกาพระราชกรณียกิจ พระราชกรณียกิจ. รัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นยุคที่กรุงสุโขทัยเฟื่องฟูและเจริญขึ้นกว่าเดิมเป็นอันมาก ระบบการปกครองภายในก่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยอย่างมีประสิทธิภาพ มีการติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศทั้งในด้านเศรษฐกิจและการเมือง ประชาชนอยู่ดีกินดี สภาพบ้านเมืองก้าวหน้าทั้งทางเกษตร การชลประทาน การอุตสาหกรรม และการศาสนา อาณาเขตของกรุงสุโขทัยได้ขยายออกไปกว้างใหญ่ไพศาลการเมืองการปกครอง การเมืองการปกครอง. เมื่อพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ทรงขจัดอิทธิพลของเขมรออกไปจากกรุงสุโขทัยได้ในปลายพุทธศตวรรษที่ 18 การปกครองของกษัตริย์สุโขทัยได้ใช้ระบบปิตุราชาธิปไตยหรือ "พ่อปกครองลูก" ดังข้อความในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงว่า คำพูด"...เมื่อชั่วพ่อกู กูบำเรอแก่พ่อกู กูได้ตัวเนื้อตัวปลา กูเอามาแก่พ่อกู กูได้หมากส้มหมากหวาน อันใดกินอร่อยดี กูเอามาแก่พ่อกู กูไปตีหนังวังช้างได้ กูเอามาแก่พ่อกู กูไปท่อบ้านท่อเมือง ได้ช้างได้งวง ได้ปั่วได้นาง ได้เงือนได้ทอง กูเอามาเวนแก่พ่อกู.." ข้อความดังกล่าวแสดงการนับถือบิดามารดา และถือว่าความผูกพันในครอบครัวเป็นเรื่องสำคัญ ครอบครัวทั้งหลายรวมกันเข้าเป็นเมืองหรือรัฐ มีเจ้าเมืองหรือพระมหากษัตริย์เป็นหัวหน้าครอบครัว ปรากฏข้อความในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงว่าพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงใช้พระราชอำนาจในการยุติธรรมและนิติบัญญัติไว้ดังต่อไปนี้ 1) ราษฎรสามารถค้าขายได้โดยเสรี เจ้าเมืองไม่เรียกเก็บจังกอบหรือภาษีผ่านทาง 2) ผู้ใดล้มตายลง ทรัพย์มรดกก็ตกแก่บุตร และ 3) หากผู้ใดไม่ได้รับความเป็นธรรมในกรณีพิพาท ก็มีสิทธิไปสั่นกระดิ่งที่แขวนไว้หน้าประตูวังเพื่อถวายฎีกาต่อพระมหากษัตริย์ได้ พระองค์ก็จะทรงตัดสินด้วยพระองค์เอง นอกจากนี้ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชยังทรงใช้พุทธศาสนาเป็นเครื่องช่วยในการปกครอง โดยได้ทรงสร้าง "พระแท่นมนังคศิลาบาตร"ขึ้นไว้กลางดงตาล เพื่อให้พระเถรานุเถระแสดงพระธรรมเทศนาแก่ประชาชนในวันพระ ส่วนวันธรรมดาพระองค์จะเสด็จประทับเป็นประธานให้เจ้านายและข้าราชการปรึกษาราชการร่วมกันเศรษฐกิจและการค้า เศรษฐกิจและการค้า. โปรดให้สร้างทำนบกักน้ำที่เรียกว่า “สรีดภงส์” เพื่อนำน้ำไปใช้ในตัวเมืองสุโขทัยและบริเวณใกล้เคียง โดยอาศัยแนวคันดินที่เรียกว่า “เขื่อนพระร่วง” ทำให้มีน้ำสำหรับใช้ในการเพาะปลูกและอุปโภคบริโภคในยาม ที่บ้านเมืองขาดแคลนน้ำ ทรงส่งเสริมการค้าขายอย่างเสรีภายในราชอาณาจักรด้วยการไม่เก็บภาษีผ่านด่านหรือ “จกอบ” (จังกอบ) จากบรรดาพ่อค้าที่เข้ามาค้าขายในกรุงสุโขทัย ดังคำจารึกบนศิลาจารึกว่า "เจ้าเมือง บ่เอาจกอบในไพร่ลู่ทาง" นอกจากนี้ยังมีหลักฐานที่ปรากฏว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงส่งเสริมให้ชาวสุโขทัยนิยมการค้าขายนั้น ปรากฏตามศิลาจารึกตอนหนึ่งว่า "เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจะใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงือนค้าทองค้า" อันเป็นการแสดงให้เห็นว่า ทรงเปิดเสรีทุกประการในการค้าขายทำให้การค้าขายขยายออกไปอย่างกว้างขวางจนปรากฏแหล่งการค้าสำคัญในสุโขทัยได้แก่ "ตลาดปสาน" จากศิลาจารึกกล่าวว่า "เบื้องตีนนอนเมืองสุโขทัย มีตลาดปสาน" ในด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงเจริญสัมพันธไมตรีกับมหาอำนาจอย่าง "จีน" โดยนอกจากการเพิ่มพูนสัมพันธไมตรีตามปกติแล้ว ยังโปรดให้นำช่างจากชาวจีนมาเพื่อก่อตั้งโรงงานตั้งเตาทำถ้วยชามทั้งเพื่อใช้ในประเทศ และสามารถส่งออกไปยังประเทศใกล้เคียงได้ด้วย ถ้วยชามที่ผลิตในยุคนี้เรียกว่า "ชามสังคโลก"ศาสนาและวัฒนธรรม ศาสนาและวัฒนธรรม. ทรงคิดประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใช้แทนตัวอักษรขอมที่เคยใช้กันมาแต่เดิม เมื่อ พ.ศ. 1826 เรียกว่า “ลายสือไทย” และได้มีการพัฒนาการมาเป็นลำดับจนถึงอักษรไทยในยุคปัจจุบัน ทำให้คนไทยมีอักษรไทยใช้มาจนถึงทุกวันนี้ โปรดให้จารึกเรื่องราวบางส่วนที่เกิดในสมัยของพระองค์ โดยปรากฏอยู่ในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 ทำให้คนไทยยุคหลังได้ทราบ และนักประวัติศาสตร์ได้ใช้ศิลาจารึกดังกล่าวเป็นข้อมูลหลักฐานในการศึกษาค้นคว้าเรื่องราวประวัติศาสตร์สุโขทัย ทรงรับเอาพระพุทธศาสนา นิกายเถรวาท ลัทธิลังกาวงศ์ จากลังกา ผ่านเมืองนครศรีธรรมราช มาประดิษฐานที่เมืองสุโขทัย ทำให้พระพุทธศาสนาวางรากฐานมั่นคงในอาณาจักรสุโขทัย และเผยแผ่ไปยังหัวเมืองต่างๆในราชอาณาจักรสุโขทัย จนกระทั่งได้กลายเป็นศาสนาประจำชาติไทยมาจนถึงทุกวันนี้ เมื่อพระพุทธศาสนาได้มาตั้งมั่นที่นครศรีธรรมราช พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาจึงให้นิมนต์พระเถระชั้นผู้ใหญ่จากเมืองนครศรีธรรมราชไปตั้งเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่กรุงสุโขทัยด้วย และนับเป็นการเริ่มการเจริญสัมพันธไมตรีกับลังกา อีกทั้งทรงได้สดับกิตติศัพท์ของ "พระพุทธสิหิงค์" ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่เจ้าราชวงศ์ลังกาสร้างขึ้นด้วยพระพุทธลักษณะที่งดงาม และมีความศักดิ์สิทธิ์ จึงทรงให้พระยานครศรีธรรมราช เจ้าประเทศราชแต่งสาส์นให้ทูตถือไปยังลังกา เพื่อขอเป็นไมตรีและขอพระราชทานพระพุทธสิหิงค์มาเพื่อเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองไทยสืบไปอาณาเขต อาณาเขต. พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางไพศาล คือ ทิศตะวันออก ทรงปราบได้เมืองสรหลวงสองแคว (พิษณุโลก), ลุมบาจาย, สะค้า (สองเมืองหลังนี้อาจอยู่แถวลุ่มแม่น้ำน่านหรือแควป่าสักก็ได้), ข้ามฝั่งแม่น้ำโขงไปถึงเวียงจันทน์และเวียงคำในประเทศลาว ทิศใต้ ทรงปราบได้คนที (บ้านโคน จังหวัดกำแพงเพชร), พระบาง (นครสวรรค์), แพรก (ชัยนาท), สุพรรณภูมิ, ราชบุรี, เพชรบุรี, และนครศรีธรรมราช โดยมีฝั่งทะเลสมุทร (มหาสมุทร) เป็นเขตแดนไทย ทิศตะวันตก ทรงปราบได้เมืองฉอด,มีสมุทรเป็นเขตแดนไทย ทิศเหนือ ทรงปราบได้เมืองแพร่, เมืองน่าน, เมืองพลัว (อำเภอปัว น่าน), ข้ามฝั่งโขงไปถึงเมืองชวา (หลวงพระบาง) เป็นเขตแดนไทยความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ. การใช้ความสัมพันธ์ทางด้านการทูตและความสัมพันธ์ทางด้านวัฒนธรรม โดยเฉพาะทางด้านพระพุทธศาสนาแทนการทำสงคราม ทำให้สุโขทัยมีแต่ความสงบร่มเย็น ไม่เกิดสงครามกับแคว้นต่างๆ ในสมัยของพระองค์ และได้หัวเมืองประเทศราชเพิ่มขึ้นอีกด้วย ทรงทำพระราชไมตรีกับพญามังรายมหาราชแห่งล้านนา และพญางำเมืองแห่งพะเยา โดยทรงยินยอมให้พญามังรายมหาราชขยายอาณาเขตล้านนาทางน้ำแม่กก แม่น้ำปิง และแม่น้ำวังได้อย่างสะดวก เพื่อให้เป็นกันชนระหว่างจีนกับสุโขทัย กับทั้งยังได้เสด็จไปทรงช่วยเหลือพญามังรายมหาราชหาชัยภูมิสร้างเมืองเชียงใหม่เมื่อ พ.ศ. 1839 ด้วย ทางอาณาจักรมอญ มีพ่อค้าชื่อ "มะกะโท" เข้ารับราชการอยู่ในราชสำนักของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มะกะโทได้ผูกสมัครรักใคร่กับ "เจ้าเทพธิดาสร้อยดาว" พระธิดาของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช แล้วพากันหนีไปอยู่เมืองเมาะตะมะ แล้วจึงขออภัยโทษต่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ขอพระราชทานนาม และขอยินยอมเป็นประเทศราชของกรุงสุโขทัย ซึ่งพ่อขุนรามคำแหงได้พระราชทานนามว่า "พระเจ้าฟ้ารั่ว" ทางทิศใต้ ได้ทรงอาราธนาพระมหาเถรสังฆราชผู้เรียนจบพระไตรปิฎกมาจากนครศรีธรรมราช ให้มาเผยแพ่พุทธศาสนาในกรุงสุโขทัย ส่วนด้านเมืองละโว้นั้นทรงปล่อยให้เป็นเอกราชอยู่ เพราะปรากฏว่ายังส่งเครื่องบรรณาการไปจีนอยู่ระหว่าง พ.ศ. 1834 ถึง พ.ศ. 1840 ทั้งนี้ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชก็คงจะได้ทรงผูกไมตรีกับเมืองละโว้ไว้ นอกจากนี้ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชเองก็ทรงส่งราชทูตไปจีนสามครั้งเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีประดิษฐกรรม ประดิษฐกรรม. พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใช้เมื่อ พ.ศ. 1826 พระองค์ได้ทรงประดิษฐ์พยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ เพิ่มขึ้นให้สามารถเขียนแทนเสียงพูดของคำในภาษาไทยได้ทุกคำ กับทั้งได้นำสระและพยัญชนะมาอยู่ในบรรทัดเดียวกันโดยไม่ต้องใช้พยัญชนะซ้อนกัน ทำให้เขียนและอ่านหนังสือไทยได้สะดวกมากขึ้นวรรณกรรม วรรณกรรม. วรรณกรรมสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชสูญหายไปหมดแล้ว คงเหลือแต่ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง (พ.ศ. 1835) ซึ่งแม้จะมีข้อความเป็นร้อยแก้ว แต่ก็มีสัมผัสคล้องจองทำให้ไพเราะซาบซึ้งตรึงใจ เช่น คำพูด|...ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว...ลูท่างเพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย...เห็นข้าวท่านบ่ใคร่พิน เห็นสินท่านบ่ใคร่เดือด นับเป็นวรรณคดีเริ่มแรกของกรุงสุโขทัยซึ่งตกทอดมาถึงปัจจุบัน โดยอย่างไรก็ดี ในช่วงตั้งแต่ พ.ศ. 2520 เป็นต้นมา มีข้อสงสัยทางวิชาการว่าศิลาจารึกดังกล่าวจะมิได้ทำขึ้นในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และมีผู้เสนอว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงพบศิลานั้นเมื่อเสด็จจาริกธุดงค์ เป็นผู้ทรงทำศิลานั้นขึ้นเพื่อเหตุผลทางการเมืองในการสร้างประวัติศาสตร์ชาติไทยให้ชาติตะวันตกเห็นว่ามีและรุ่งเรืองมาอย่างยาวนาน เป็นการป้องปัดภัยการล่าอาณานิคมในสมัยนั้น ทั้งนี้ข้อสงสัยนี้กำลังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่พงศาวลี
| พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใช้เมื่อ พ.ศ. ใด | {
"answer": [
"1826"
],
"answer_begin_position": [
8404
],
"answer_end_position": [
8408
]
} |
3,785 | 3,842 | ดวงอาทิตย์ ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ ณ ใจกลางระบบสุริยะ เป็นพลาสมาร้อนทรงเกือบกลมสมบูรณ์ โดยมีการเคลื่อนท่พาซึ่งผลิตสนามแม่เหล็กผ่านกระบวนการไดนาโม ปัจจุบันเป็นแหล่งพลังงานสำคัญที่สุดสำหรับสิ่งมีชีวิตบนโลก มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.39 ล้านกิโลเมตร ใหญ่กว่าโลก 109 เท่า และมีมวลประมาณ 330,000 เท่าของโลก คิดเป็นประมาณ 99.86% ของมวลทั้งหมดของระบบสุริยะ มวลประมาณสามในสี่ของดวงอาทิตย์เป็นไฮโดรเจน ส่วนที่เหลือเป็นฮีเลียมเป็นหลัก โดยมีปริมาณธาตุหนักกว่าเล็กน้อย รวมทั้งออกซิเจน คาร์บอน นีออนและเหล็ก ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ลำดับหลักระดับจี (G2V) ตามการจัดประเภทดาวฤกษ์ ซึ่งเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า "ดาวแคระเหลือง" ดวงอาทิตย์เกิดเมื่อประมาณ 4.6 พันล้านปีก่อนจากการยุบทางความโน้มถ่วงของสสารภายในบริเวณเมฆโมเลกุลขนาดใหญ่ สสารนี้ส่วนใหญ่รวมอยู่ที่ใจกลาง ส่วนที่เหลือแบนลงเป็นแผ่นโคจรซึ่งกลายเป็นระบบสุริยะ มวลใจกลางร้อนและหนาแน่นมากจนเริ่มเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น ณ แก่น ซึ่งเชื่อว่าเป็นกระบวนการเกิดดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ ดวงอาทิตย์มีอายุประมาณครึ่งอายุขัย ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนักเป็นเวลากว่า 4 พันล้านปีมาแล้วและจะค่อนข้างเสถียรไปอีก 5 พันล้านปี หลังฟิวชันไฮโดรเจนในแก่นของมันลดลงถึงจุดที่ไม่อยู่ในดุลยภาพอุทกสถิตต่อไป แก่นของดวงอาทิตย์จะมีความหนาแน่นและอุณหภูมิเพิ่มขึ้นส่วนชั้นนอกของดวงอาทิตย์จะขยายออกจนสุดท้ายเป็นดาวยักษ์แดง มีการคำนวณว่าดวงอาทิตย์จะใหญ่พอกลืนวงโคจรปัจจุบันของดาวพุทธและดาวศุกร์ และทำให้โลกอาศัยอยู่ไม่ได้ มนุษย์ทราบความสำคัญของดวงอาทิตย์ที่มีโลกมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และบางวัฒนธรรมถือดวงอาทิตย์เป็นเทวดา การหมุนของโลกและวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลกเป็นรากฐานของปฏิทินสุริยคติ ซึ่งเป็นปฏิทินที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบันภาพรวมเกี่ยวกับดวงอาทิตย์ ภาพรวมเกี่ยวกับดวงอาทิตย์. ดวงอาทิตย์จัดเป็นดาวฤกษ์รุ่นที่ 3 ซึ่งสันนิษฐานกันว่า ก่อตัวขึ้นโดยอิทธิพลของมหานวดาราที่อยู่ใกล้ ๆ เพราะมีการค้นพบธาตุหนัก เช่น ทองคำและยูเรเนียมในปริมาณมาก ซึ่งธาตุเหล่านี้อาจเกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ชนิดดูดความร้อนขณะที่เกิดมหานวดารา หรือการดูดซับนิวตรอนในดาวฤกษ์รุ่นที่สองซึ่งมีมวลมากปัจจุบันและอนาคตของดวงอาทิตย์ ปัจจุบันและอนาคตของดวงอาทิตย์. ตามการศึกษาแบบจำลองคอมพิวเตอร์ว่าด้วยวัฏจักรดาวฤกษ์ นักดาราศาสตร์สันนิษฐานว่าดวงอาทิตย์มีอายุประมาณ 5,000 ล้านปี ในขณะนี้ดวงอาทิตย์กำลังอยู่ในลำดับหลัก ทำการหลอมไฮโดรเจนให้เป็นฮีเลียม โดยทุก ๆ วินาที มวลสารของดวงอาทิตย์มากกว่า 4 ล้านตันถูกเปลี่ยนเป็นพลังงาน ดวงอาทิตย์ใช้เวลาโดยประมาณ 1 หมื่นล้านปีในการดำรงอยู่ในลำดับหลัก เมื่อไฮโดรเจนซึ่งเป็นเชื้อเพลิงของดวงอาทิตย์หมดลง วาระสุดท้ายของดวงอาทิตย์ก็มาถึง (คือการพ้นไปจากลำดับหลัก) โดยดวงอาทิตย์จะเริ่มพบกับจุดจบคือการแปรเปลี่ยนไปเป็นดาวยักษ์แดงภายใน 4-5 พันล้านปี ผิวนอกของดวงอาทิตย์ขยายตัวออกไป ส่วนแกนนั้นยุบตัวลงและร้อนขึ้นสลับกับเย็นลง มีการหลอมฮีเลียมเป็นคาร์บอนและออกซิเจนที่อุณหภูมิราว 100 ล้านเคลวิน จากสถานการณ์ข้างต้นดูเหมือนว่าดวงอาทิตย์จะกลืนกินโลกให้หลอมลงไปเป็นเนื้อเดียวกัน แต่จากรายงานวิจัยฉบับหนึ่งได้ศึกษาพบว่าวงโคจรของโลกจะตีตัวออกห่างดวงอาทิตย์เพราะมวลของดวงอาทิตย์ได้สูญเสียไป จนแรงดึงดูดระหว่างมวลมีค่าลดลง แต่ถึงกระนั้น น้ำทะเลก็ถูกความร้อนจากดวงอาทิตย์เผาผลาญจนระเหยสิ้นไปในอวกาศ และบรรยากาศโลกก็อันตรธานไปจนไม่เอื้อแก่ชีวิตต่อมาได้มีการค้นพบ ว่าดวงอาทิตย์นั้นจะสว่างขึ้น 10 เปอร์เซนต์ ทุก ๆ 1000 ล้านปี ถึงตอนนั้นโลกก็ไม่อาจจะเอื้อ ต่อสิ่งมีชีวิตไปก่อนแล้ว เวลาของสิ่งมีชีวิตบนโลก จึงเหลือแค่ 500 ล้านปีเท่านั้น หลังจากที่ดวงอาทิตย์ได้ผ่านสภาพการเป็นดาวยักษ์แดงแล้ว อุณหภูมิจากปฏิกิริยาการหลอมฮีเลียมที่เพิ่มสลับกับลงภายในแกน ก็จะเป็นตัวการให้ผิวดวงอาทิตย์ด้านนอกผละตัวออกจากแกน เกิดเป็นเนบิวลาดาวเคราะห์ แล้วอันตรธานไปในความมืดมิดของอวกาศ และเป็นวัสดุสำหรับสร้างดาวฤกษ์และระบบสุริยะรุ่นถัดไป ส่วนแกนที่เหลืออยู่ก็จะกลายเป็นดาวแคระขาวที่ร้อนจัดและมีแสงจางมาก ก่อนจะดับลงกลายเป็นดาวแคระดำ จากทั้งหมดที่กล่าวมานี้คือชีวิตของดาวฤกษ์ที่มีมวลน้อยถึงปานกลางโครงสร้าง โครงสร้าง. ดวงอาทิตย์เป็นวัตถุที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ มีมวลคิดเป็นร้อยละ 99 ของระบบสุริยะ ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่มีรูปทรงเกือบเป็นทรงกลม โดยมีความแบนที่ขั้วเพียงหนึ่งในเก้าล้าน ซึ่งหมายความว่าความแตกต่างของเส้นผ่านศูนย์กลางที่ขั้วกับเส้นผ่านศูนย์กลางที่เส้นศูนย์สูตรมีเพียง 10 กิโลเมตร จากการที่ดวงอาทิตย์มีเฉพาะส่วนที่เป็นพลาสมา ไม่มีส่วนที่เป็นของแข็ง ทำให้อัตราเร็วของการหมุนรอบตัวเองในแต่ละส่วนมีความต่างกัน เช่นที่เส้นศูนย์สูตรจะหมุนเร็วกว่าที่ขั้ว ที่เส้นศูนย์สูตรของดวงอาทิตย์มีคาบการหมุนรอบตัวเอง 25 วัน ส่วนที่ขั้วมีคาบ 35 วัน แต่เมื่อสังเกตบนโลกแล้วจะพบว่าคาบของการหมุนรอบตัวเองที่เส้นศูนย์สูตรของดวงอาทิตย์คือ 28 วัน ดวงอาทิตย์มีความหนาแน่นมากที่สุดบริเวณแกน ซึ่งเป็นแหล่งผลิตพลังงาน และมีค่าน้อยลงเกือบเป็นรูปเอ็กโพเนนเชียลตามระยะทางที่ห่างออกมาจากแกน และแม้ว่าภายในดวงอาทิตย์นั้นจะไม่สามารถมองเห็นได้ แต่นักวิทยาศาสตร์ก็สามารถศึกษาภายในได้ผ่านทางการใช้คลื่นสะเทือนในดวงอาทิตย์แกน แกน. ส่วนแกนของดวงอาทิตย์สันนิษฐานว่ามีรัศมีเป็น 0.2 เท่าของรัศมีดวงอาทิตย์ ความหนาแน่นประมาณ 150,000 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร หรือ 150 เท่าของความหนาแน่นของน้ำบนโลก อุณหภูมิประมาณ 13,600,000 เคลวิน ตลอดชีวิตส่วนใหญ่ของดวงอาทิตย์ ภายในแกนจะมีปฏิกิริยาฟิวชันลูกโซ่ โปรตอน-โปรตอน ซึ่งเปลี่ยนไฮโดรเจนเป็นฮีเลียม พลังงานที่ได้นี้ทำให้ส่วนที่เหลือของดวงอาทิตย์สุกสว่างและเปล่งแสง ทุก ๆ วินาที จะมีนิวเคลียสของไฮโดรเจน 3.4 ตัว ถูกแปรรูปเป็นฮีเลียม ผลิตพลังงานได้ 383 จูล หรือเทียบได้กับระเบิดไตรไนโตรโทลูอีน (TNT) ถึง 9.15 กิโลกรัม พลังงานจากแกนของดวงอาทิตย์ใช้เวลานานมากในการขึ้นสู่พื้นผิว อย่างมากเป็น 50 ล้านปี อย่างน้อยเป็น 17,000 ปีเพราะโฟตอนพลังงานสูง (รังสีเอกซ์และรังสีแกมมา) ถูกดูดกลืนไปในพลาสมา แล้วเปล่งพลังงานออกมาสลับกันเรื่อย ๆ ทุก ๆ ระยะไม่กี่มิลลิเมตรเขตแผ่รังสีความร้อน เขตแผ่รังสีความร้อน. ในส่วนของเขตแผ่รังสีความร้อน (radiation zone) ซึ่งอยู่ในช่วง 0.2 ถึง 0.7 ส่วนของรัศมีดวงอาทิตย์ ในชั้นนี้ไม่มีการพาความร้อน (convection) เพราะอัตราความแตกต่างของอุณหภูมิเทียบกับระยะความสูงน้อยกว่าอัตราการเปลี่ยนอุณหภูมิตามความสูงแบบอะเดียแบติก (adiabatic lapse rate) พลังงานในส่วนนี้ถูกนำออกมาภายนอกช้ามากดังที่ได้กล่าวไว้ก่อนแล้วเขตพาความร้อน เขตพาความร้อน. ในส่วนของเขตพาความร้อน (convection zone) ซึ่งอยู่บริเวณผิวนอกที่เหลือ เป็นส่วนที่พลังงานถูกถ่ายเทผ่านแท่งความร้อน (heat column) โดยเนื้อสารที่ร้อนและมีพลังงานเริ่มต้นจากด้านล่าง แล้วไหลขึ้นด้านบนจนถึงผิว จากนั้นถ่ายเทความร้อนและกลับลงไปใหม่ แท่งความร้อนสามารถสังเกตได้จาก “เกล็ด” บนภาพถ่ายผิวดวงอาทิตย์โฟโตสเฟียร์ โฟโตสเฟียร์. ในส่วนของโฟโตสเฟียร์ (photosphere) แปลว่า ทรงกลมแห่งแสง ซึ่งเป็นส่วนที่เรามองเห็นดวงอาทิตย์ แสงสว่างที่เปล่งในดวงอาทิตย์นั้นเกิดจากอิเล็กตรอนชนกับอะตอมไฮโดรเจนเกิดเป็น H เหนือชั้นนี้ แสงอาทิตย์ก็จะถูกปลดปล่อยออกมา และมีอุณหภูมิต่ำลงตามความสูงที่มากขึ้น จนทำให้สังเกตเห็นรอยมัวตรงขอบดวงอาทิตย์ในภาพถ่าย (ดังภาพถ่ายด้านบน)บรรยากาศ บรรยากาศ. บรรยากาศของดวงอาทิตย์ประกอบด้วย 5 ชั้น ได้แก่ ชั้นอุณหภูมิต่ำสุด (temperature minimum) โครโมสเฟียร์ (chromosphere) เขตเปลี่ยนผ่าน (transition region) โคโรนา (corona) และเฮลิโอสเฟียร์ (heliosphere) ตามลำดับจากต่ำไปสูง ชั้นแรก ชั้นอุณหภูมิต่ำสุด มีอุณหภูมิประมาณ 4,000 เคลวิน และหนา 500 กิโลเมตร ชั้นถัดไปคือโครโมสเฟียร์ ซึ่งแปลว่ารงคมณฑล หรือทรงกลมแห่งสี เหตุที่เรียกชื่อนี้ก็เพราะเห็นเป็นแสงสีแวบขณะเกิดสุริยุปราคา ชั้นนี้หนา 2,000 กิโลเมตร ชั้นต่อไปเป็นเขตเปลี่ยนผ่านซึ่งอุณหภูมิอาจติดลบถึงล้านเคลวิน และยิ่งต่ำขึ้นไปอีกในชั้นโคโรนา ทำให้สิ่งนี้เป็นปัญหาคาใจนักวิทยาศาสตร์ ซึ่งก็สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากการต่อเชื่อมทางแม่เหล็ก (magnetic connection) ชั้นที่เหลือชั้นสุดท้ายคือ เฮลิโอสเฟียร์ หรือสุริยมณฑล คือชั้นที่อำนาจของลมสุริยะสามารถไปถึง ซึ่งอาจมากกว่า 20 หน่วยดาราศาสตร์ (20 เท่าของระยะทางจากโลกถึงดวงอาทิตย์)ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการสังเกตดวงอาทิตย์ความเข้าใจในอดีต ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการสังเกตดวงอาทิตย์. ความเข้าใจในอดีต. มนุษย์ในอดีตรู้เกี่ยวกับดวงอาทิตย์เพียงเป็นลูกไฟกลม ขึ้นจากท้องฟ้าในทิศตะวันออกทำให้เกิดกลางวัน และตกลงไปทางทิศตะวันตกทำให้เกิดกลางคืน ดวงอาทิตย์ให้ทั้งความสว่าง ความร้อน ความอบอุ่น ตลอดจนความหวังในจิตใจ จนมีการนับถือดวงอาทิตย์ให้เป็นเทพเจ้า มีการบูชายัญถวายเทพพระอาทิตย์ของชาวอัซเตก (Aztec) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในประเทศเม็กซิโก นอกเหนือจากนี้ มนุษย์ในสมัยโบราณยังได้สร้างสิ่งประดิษฐ์สำหรับบอกตำแหน่งของดวงอาทิตย์ในวันอุตรายัน (Summer solstice) ซึ่งเป็นวันที่กลางวันยาวที่สุดในรอบปี คือประมาณวันที่ 24 มิถุนายน เช่นที่เสาหินสโตนเฮนจ์ ในประเทศอังกฤษ และพีระมิดเอลกัสตีโย (El Castillo) ประเทศเม็กซิโกการพัฒนาแนวความคิดสมัยใหม่ การพัฒนาแนวความคิดสมัยใหม่. ต่อมานักปราชญ์ชาวกรีกชื่อ อะนักซากอรัส (Anaxagoras) ได้เสนอว่า ดวงอาทิตย์เป็นลูกไฟกลม ไม่ได้เป็นพระอาทิตย์ทรงพาหนะ ทำให้เขาต้องโทษประหารชีวิตในเวลาต่อมา ต่อมามีการสันนิษฐานว่าเอราโตสเทเนส ได้วัดระยะห่างจากโลกไปดวงอาทิตย์ได้เที่ยงตรงเป็นคนแรกในช่วงศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล ซึ่งวัดได้ 149 ล้านกิโลเมตร ใกล้เคียงกับที่ยอมรับในปัจจุบัน ในเวลาต่อมา ชาวกรีกโบราณและชาวอินเดียโบราณตั้งสมมติฐาน โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ และต่อมาก็ได้รับการพิสูจน์โดยนิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัสในช่วงศตวรรษที่ 16 ต่อมาทอมัส แฮร์ริออต (Thomas Harriot) กาลิเลโอ กาลิเลอิ และนักดาราศาสตร์คนอื่น ๆ สังเกตพบจุดดำบนดวงอาทิตย์ โดยกาลิเลโอเสนอว่าจุดดำบนดวงอาทิตย์คือจุดที่เกิดบนผิวดวงอาทิตย์โดยตรง มิได้เป็นวัตถุเคลื่อนที่มาบัง ในปี พ.ศ. 2215 โจวันนี คาสซินี (Giovanni Cassini) นักดาราศาสตร์ชาวอิตาลี และชอง รีเช (Jean Richer) นักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ได้หาระยะทางจากโลกไปดาวอังคาร และอาจจะสามารถหาระยะทางไปดวงอาทิตย์ได้หลังจากนั้น ไอแซก นิวตัน ได้สังเกตดวงอาทิตย์โดยให้แสงดวงอาทิตย์ผ่านปริซึม เขาพบว่าประกอบขึ้นด้วยหลาย ๆ แสงสี นั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้นในรุ้งกินน้ำต่อมาวิลเลียม เฮอร์เชล ได้ค้นพบการแผ่รังสีอินฟราเรดในช่วงใต้แดงจากดวงอาทิตย์ เมื่อเทคโนโลยีสเปกตรัมก้าวหน้า โยเซฟ ฟอน เฟราน์โฮเฟอร์ (Joseph von Fraunhofer) ได้ค้นพบเส้นดูดกลืนในสเปกตรัมของดวงอาทิตย์ ซึ่งต่อมาเรียกว่าเส้นเฟราน์โฮเฟอร์ (Fraunhofer line) ช่วงแรก ๆ ของยุคใหม่ทางวิทยาศาสตร์ ปัญหาที่คาใจนักวิทยาศาสตร์ก็คือดวงอาทิตย์เอาพลังงานมาจากที่ใด ลอร์ดเคลวิน (วิลเลียม ทอมสัน) และแฮร์มันน์ ฟอน เฮล์มโฮลตซ์ (Hermann von Helmholtz) ได้เสนอกลไกเคลวิน-เฮล์มโฮลตซ์ (Kelvin-Helmholtz mechanism) ในการอธิบายการพาความร้อนขึ้นสู่ผิวดวงอาทิตย์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2447 เออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด เสนอว่าพลังงานในดวงอาทิตย์มาจากปฏิกิริยาการคายพลังงานจากอนุภาคที่ถูกกระตุ้น แต่ก็คงอธิบายไม่ละเอียดเท่าของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ซึ่งเป็นเจ้าของสมการสมมูลมวล-พลังงาน E=mc ในปี พ.ศ. 2463 อาร์เทอร์ เอดดิงตัน เสนอว่าความร้อนและความดันภายในแกนเป็นตัวการที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาฟิวชัน และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมวลและพลังงาน สิบปีต่อมาทฤษฎีนี้เริ่มเป็นรูปเป็นร่าง โดยสุพราห์มันยัน จันทรเสกขา (Subrahmanyan Chandrasekar) นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันเชื้อสายอินเดีย และฮันส์ เบเทอ นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันเชื้อสายเยอรมันโครงการสำรวจดวงอาทิตย์ โครงการสำรวจดวงอาทิตย์. องค์การนาซาได้เคยปล่อยยานสำรวจดวงอาทิตย์ในโครงการไพโอเนียร์ ซึ่งปล่อยช่วงปี พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2511 โดยทำการตรวจวัดสนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์และลมสุริยะ ต่อมาก็ได้ส่งยานสกายแล็บเมื่อปี พ.ศ. 2516 ทำการศึกษาโคโรนาของดวงอาทิตย์ และการพ่นมวลของโคโรนา ในปี พ.ศ. 2534 ญี่ปุ่นได้ส่งยานโยะโกะ (阳光) เพื่อศึกษาเพลิงสุริยะในช่วงรังสีเอกซ์ นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นว่า โคโรนาจะยุบลงในช่วงที่มีกิจกรรมบนผิวดวงอาทิตย์มาก ยานโยะโกะถูกปลดระวางเมื่อ พ.ศ. 2548 ภารกิจสำรวจดวงอาทิตย์ที่เรารู้จักกันมักหนีไม่พ้นหอสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์และสุริยมณฑล หรือโซโฮ (Solar and Heliospheric Observatory; SOHO) อันเป็นความร่วมมือระหว่างสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ถูกปล่อยเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2538 เดิมทีกำหนดให้ปฏิบัติงานสองปี แต่กลับปฏิบัติงานมากกว่า 10 ปี ยานโซโฮเป็นยานสังเกตการณ์ที่ทำให้เรารู้หลายอย่างเกี่ยวกับดวงอาทิตย์มากขึ้นในหลาย ๆ ช่วงคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และยังสังเกตเห็นดาวหางที่พุ่งชนดวงอาทิตย์ด้วย ส่วนอีกโครงการหนึ่งที่มีแผนจะปล่อยขึ้นสู่ห้วงอวกาศในเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ. 2551 คือโครงการหอสังเกตการณ์สุริยพลวัต (Solar Dynamic Observatory) ซึ่งจะนำไปไว้ยังจุดลากรองจ์ (Lagrangian point) หรือจุดสะเทินแรงดึงดูด ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ นอกเหนือจากนี้ ยังมีโครงการสังเกตระบบสุริยะจากมุมอื่น โดยมีการส่งยานยุลลิซิส (Ulysses) เมื่อ พ.ศ. 2533 โดยให้ไปยังดาวพฤหัสบดีเพื่อเหวี่ยงตัวขึ้นเหนือระนาบระบบสุริยะ ครานั้นยานสามารถสังเกตเห็นดาวหางชูเมกเกอร์-เลวี 9 ชนดาวพฤหัสบดีในปี พ.ศ. 2537 เมื่อยานยุลลิซิสถึงที่หมาย ก็จะทำการสำรวจลมสุริยะและสนามแม่เหล็กที่ละติจูดสูง ๆ และพบว่าอัตราเร็วลมสุริยะอยู่ที่ 750 กิโลเมตรต่อวินาที ซึ่งช้ากว่าที่ได้คาดไว้ และยังมีสนามแม่เหล็กที่ทำให้รังสีคอสมิกกระเจิงด้วยบทบาทของดวงอาทิตย์ต่อสิ่งมีชีวิต บทบาทของดวงอาทิตย์ต่อสิ่งมีชีวิต. นับตั้งแต่ปฏิกิริยานิวเคลียร์ความร้อน (thermonuclear reaction) ในใจกลางดวงอาทิตย์ แผ่พลังงานออกมาในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและพลังงานที่สะสมภายในอนุภาค ใช้เวลาเดินทางนับหมื่นนับแสนปีจนกระทั่งถึงผิวดวงอาทิตย์ และต่อด้วยการเดินทาง 8 นาทีมายังโลกของเรา ในรูปของแสงที่มองเห็น รังสีแกมมา รังสีเอกซ์ และรังสีอื่น ๆ ต้องขอบคุณชั้นบรรยากาศโลกที่ได้กรองเอาสิ่งที่เป็นอันตรายเหล่านี้ออกไป ไม่นานนักพลังงานก็ถึงยังพื้นโลก ทั้งให้ความอบอุ่นน่าอยู่ในเขตหนาว หรือแม้แต่ให้ความรู้สึกรำคาญในเขตร้อน ทว่าพลังงานจากดวงอาทิตย์ก็ได้ถูกดูดซับเข้าไปในพืชและโพรทิสต์ จากนั้นพืชก็สามารถตรึงเอาคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากอากาศได้เป็นน้ำตาล ผ่านกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง น้ำตาลที่ได้นั้นพืชก็จะนำไปแปรรูปเป็นทั้งผนังเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์ ออแกเนลล์ภายในเซลล์ ฯลฯ นอกเหนือจากธาตุอาหารที่ดูดขึ้นมาจากดิน เมื่อพืชเป็นผู้ผลิต (ที่แท้จริงคือผู้แปรรูป) อาหารจากพลังงานแสงอาทิตย์ ก็ทำให้สัตว์มีอาหารจากส่วนต่าง ๆ ของพืช ในการสลายอาหารของสัตว์ สิ่งสำคัญที่สุดนอกจากอาหารที่ได้รับแล้วก็คือออกซิเจน ซึ่งเป็นของเสียในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง เพื่อไปรับอิเล็กตรอนตัวสุดท้ายในกระบวนการสลายสารอาหารระดับเซลล์ ขณะเดียวกันสัตว์ก็หายใจเอาแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นสารพลังงานต่ำออกมา เพื่อที่พืชจะได้ตรึงอีกครั้งเป็นวัฏจักร
| ดาวฤกษ์ที่เป็นแหล่งพลังงานสำคัญที่สุดสำหรับสิ่งมีชีวิตบนโลกคือดวงใด | {
"answer": [
"ดวงอาทิตย์"
],
"answer_begin_position": [
92
],
"answer_end_position": [
102
]
} |
3,786 | 3,842 | ดวงอาทิตย์ ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ ณ ใจกลางระบบสุริยะ เป็นพลาสมาร้อนทรงเกือบกลมสมบูรณ์ โดยมีการเคลื่อนท่พาซึ่งผลิตสนามแม่เหล็กผ่านกระบวนการไดนาโม ปัจจุบันเป็นแหล่งพลังงานสำคัญที่สุดสำหรับสิ่งมีชีวิตบนโลก มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.39 ล้านกิโลเมตร ใหญ่กว่าโลก 109 เท่า และมีมวลประมาณ 330,000 เท่าของโลก คิดเป็นประมาณ 99.86% ของมวลทั้งหมดของระบบสุริยะ มวลประมาณสามในสี่ของดวงอาทิตย์เป็นไฮโดรเจน ส่วนที่เหลือเป็นฮีเลียมเป็นหลัก โดยมีปริมาณธาตุหนักกว่าเล็กน้อย รวมทั้งออกซิเจน คาร์บอน นีออนและเหล็ก ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ลำดับหลักระดับจี (G2V) ตามการจัดประเภทดาวฤกษ์ ซึ่งเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า "ดาวแคระเหลือง" ดวงอาทิตย์เกิดเมื่อประมาณ 4.6 พันล้านปีก่อนจากการยุบทางความโน้มถ่วงของสสารภายในบริเวณเมฆโมเลกุลขนาดใหญ่ สสารนี้ส่วนใหญ่รวมอยู่ที่ใจกลาง ส่วนที่เหลือแบนลงเป็นแผ่นโคจรซึ่งกลายเป็นระบบสุริยะ มวลใจกลางร้อนและหนาแน่นมากจนเริ่มเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น ณ แก่น ซึ่งเชื่อว่าเป็นกระบวนการเกิดดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ ดวงอาทิตย์มีอายุประมาณครึ่งอายุขัย ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนักเป็นเวลากว่า 4 พันล้านปีมาแล้วและจะค่อนข้างเสถียรไปอีก 5 พันล้านปี หลังฟิวชันไฮโดรเจนในแก่นของมันลดลงถึงจุดที่ไม่อยู่ในดุลยภาพอุทกสถิตต่อไป แก่นของดวงอาทิตย์จะมีความหนาแน่นและอุณหภูมิเพิ่มขึ้นส่วนชั้นนอกของดวงอาทิตย์จะขยายออกจนสุดท้ายเป็นดาวยักษ์แดง มีการคำนวณว่าดวงอาทิตย์จะใหญ่พอกลืนวงโคจรปัจจุบันของดาวพุทธและดาวศุกร์ และทำให้โลกอาศัยอยู่ไม่ได้ มนุษย์ทราบความสำคัญของดวงอาทิตย์ที่มีโลกมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และบางวัฒนธรรมถือดวงอาทิตย์เป็นเทวดา การหมุนของโลกและวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลกเป็นรากฐานของปฏิทินสุริยคติ ซึ่งเป็นปฏิทินที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบันภาพรวมเกี่ยวกับดวงอาทิตย์ ภาพรวมเกี่ยวกับดวงอาทิตย์. ดวงอาทิตย์จัดเป็นดาวฤกษ์รุ่นที่ 3 ซึ่งสันนิษฐานกันว่า ก่อตัวขึ้นโดยอิทธิพลของมหานวดาราที่อยู่ใกล้ ๆ เพราะมีการค้นพบธาตุหนัก เช่น ทองคำและยูเรเนียมในปริมาณมาก ซึ่งธาตุเหล่านี้อาจเกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ชนิดดูดความร้อนขณะที่เกิดมหานวดารา หรือการดูดซับนิวตรอนในดาวฤกษ์รุ่นที่สองซึ่งมีมวลมากปัจจุบันและอนาคตของดวงอาทิตย์ ปัจจุบันและอนาคตของดวงอาทิตย์. ตามการศึกษาแบบจำลองคอมพิวเตอร์ว่าด้วยวัฏจักรดาวฤกษ์ นักดาราศาสตร์สันนิษฐานว่าดวงอาทิตย์มีอายุประมาณ 5,000 ล้านปี ในขณะนี้ดวงอาทิตย์กำลังอยู่ในลำดับหลัก ทำการหลอมไฮโดรเจนให้เป็นฮีเลียม โดยทุก ๆ วินาที มวลสารของดวงอาทิตย์มากกว่า 4 ล้านตันถูกเปลี่ยนเป็นพลังงาน ดวงอาทิตย์ใช้เวลาโดยประมาณ 1 หมื่นล้านปีในการดำรงอยู่ในลำดับหลัก เมื่อไฮโดรเจนซึ่งเป็นเชื้อเพลิงของดวงอาทิตย์หมดลง วาระสุดท้ายของดวงอาทิตย์ก็มาถึง (คือการพ้นไปจากลำดับหลัก) โดยดวงอาทิตย์จะเริ่มพบกับจุดจบคือการแปรเปลี่ยนไปเป็นดาวยักษ์แดงภายใน 4-5 พันล้านปี ผิวนอกของดวงอาทิตย์ขยายตัวออกไป ส่วนแกนนั้นยุบตัวลงและร้อนขึ้นสลับกับเย็นลง มีการหลอมฮีเลียมเป็นคาร์บอนและออกซิเจนที่อุณหภูมิราว 100 ล้านเคลวิน จากสถานการณ์ข้างต้นดูเหมือนว่าดวงอาทิตย์จะกลืนกินโลกให้หลอมลงไปเป็นเนื้อเดียวกัน แต่จากรายงานวิจัยฉบับหนึ่งได้ศึกษาพบว่าวงโคจรของโลกจะตีตัวออกห่างดวงอาทิตย์เพราะมวลของดวงอาทิตย์ได้สูญเสียไป จนแรงดึงดูดระหว่างมวลมีค่าลดลง แต่ถึงกระนั้น น้ำทะเลก็ถูกความร้อนจากดวงอาทิตย์เผาผลาญจนระเหยสิ้นไปในอวกาศ และบรรยากาศโลกก็อันตรธานไปจนไม่เอื้อแก่ชีวิตต่อมาได้มีการค้นพบ ว่าดวงอาทิตย์นั้นจะสว่างขึ้น 10 เปอร์เซนต์ ทุก ๆ 1000 ล้านปี ถึงตอนนั้นโลกก็ไม่อาจจะเอื้อ ต่อสิ่งมีชีวิตไปก่อนแล้ว เวลาของสิ่งมีชีวิตบนโลก จึงเหลือแค่ 500 ล้านปีเท่านั้น หลังจากที่ดวงอาทิตย์ได้ผ่านสภาพการเป็นดาวยักษ์แดงแล้ว อุณหภูมิจากปฏิกิริยาการหลอมฮีเลียมที่เพิ่มสลับกับลงภายในแกน ก็จะเป็นตัวการให้ผิวดวงอาทิตย์ด้านนอกผละตัวออกจากแกน เกิดเป็นเนบิวลาดาวเคราะห์ แล้วอันตรธานไปในความมืดมิดของอวกาศ และเป็นวัสดุสำหรับสร้างดาวฤกษ์และระบบสุริยะรุ่นถัดไป ส่วนแกนที่เหลืออยู่ก็จะกลายเป็นดาวแคระขาวที่ร้อนจัดและมีแสงจางมาก ก่อนจะดับลงกลายเป็นดาวแคระดำ จากทั้งหมดที่กล่าวมานี้คือชีวิตของดาวฤกษ์ที่มีมวลน้อยถึงปานกลางโครงสร้าง โครงสร้าง. ดวงอาทิตย์เป็นวัตถุที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ มีมวลคิดเป็นร้อยละ 99 ของระบบสุริยะ ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่มีรูปทรงเกือบเป็นทรงกลม โดยมีความแบนที่ขั้วเพียงหนึ่งในเก้าล้าน ซึ่งหมายความว่าความแตกต่างของเส้นผ่านศูนย์กลางที่ขั้วกับเส้นผ่านศูนย์กลางที่เส้นศูนย์สูตรมีเพียง 10 กิโลเมตร จากการที่ดวงอาทิตย์มีเฉพาะส่วนที่เป็นพลาสมา ไม่มีส่วนที่เป็นของแข็ง ทำให้อัตราเร็วของการหมุนรอบตัวเองในแต่ละส่วนมีความต่างกัน เช่นที่เส้นศูนย์สูตรจะหมุนเร็วกว่าที่ขั้ว ที่เส้นศูนย์สูตรของดวงอาทิตย์มีคาบการหมุนรอบตัวเอง 25 วัน ส่วนที่ขั้วมีคาบ 35 วัน แต่เมื่อสังเกตบนโลกแล้วจะพบว่าคาบของการหมุนรอบตัวเองที่เส้นศูนย์สูตรของดวงอาทิตย์คือ 28 วัน ดวงอาทิตย์มีความหนาแน่นมากที่สุดบริเวณแกน ซึ่งเป็นแหล่งผลิตพลังงาน และมีค่าน้อยลงเกือบเป็นรูปเอ็กโพเนนเชียลตามระยะทางที่ห่างออกมาจากแกน และแม้ว่าภายในดวงอาทิตย์นั้นจะไม่สามารถมองเห็นได้ แต่นักวิทยาศาสตร์ก็สามารถศึกษาภายในได้ผ่านทางการใช้คลื่นสะเทือนในดวงอาทิตย์แกน แกน. ส่วนแกนของดวงอาทิตย์สันนิษฐานว่ามีรัศมีเป็น 0.2 เท่าของรัศมีดวงอาทิตย์ ความหนาแน่นประมาณ 150,000 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร หรือ 150 เท่าของความหนาแน่นของน้ำบนโลก อุณหภูมิประมาณ 13,600,000 เคลวิน ตลอดชีวิตส่วนใหญ่ของดวงอาทิตย์ ภายในแกนจะมีปฏิกิริยาฟิวชันลูกโซ่ โปรตอน-โปรตอน ซึ่งเปลี่ยนไฮโดรเจนเป็นฮีเลียม พลังงานที่ได้นี้ทำให้ส่วนที่เหลือของดวงอาทิตย์สุกสว่างและเปล่งแสง ทุก ๆ วินาที จะมีนิวเคลียสของไฮโดรเจน 3.4 ตัว ถูกแปรรูปเป็นฮีเลียม ผลิตพลังงานได้ 383 จูล หรือเทียบได้กับระเบิดไตรไนโตรโทลูอีน (TNT) ถึง 9.15 กิโลกรัม พลังงานจากแกนของดวงอาทิตย์ใช้เวลานานมากในการขึ้นสู่พื้นผิว อย่างมากเป็น 50 ล้านปี อย่างน้อยเป็น 17,000 ปีเพราะโฟตอนพลังงานสูง (รังสีเอกซ์และรังสีแกมมา) ถูกดูดกลืนไปในพลาสมา แล้วเปล่งพลังงานออกมาสลับกันเรื่อย ๆ ทุก ๆ ระยะไม่กี่มิลลิเมตรเขตแผ่รังสีความร้อน เขตแผ่รังสีความร้อน. ในส่วนของเขตแผ่รังสีความร้อน (radiation zone) ซึ่งอยู่ในช่วง 0.2 ถึง 0.7 ส่วนของรัศมีดวงอาทิตย์ ในชั้นนี้ไม่มีการพาความร้อน (convection) เพราะอัตราความแตกต่างของอุณหภูมิเทียบกับระยะความสูงน้อยกว่าอัตราการเปลี่ยนอุณหภูมิตามความสูงแบบอะเดียแบติก (adiabatic lapse rate) พลังงานในส่วนนี้ถูกนำออกมาภายนอกช้ามากดังที่ได้กล่าวไว้ก่อนแล้วเขตพาความร้อน เขตพาความร้อน. ในส่วนของเขตพาความร้อน (convection zone) ซึ่งอยู่บริเวณผิวนอกที่เหลือ เป็นส่วนที่พลังงานถูกถ่ายเทผ่านแท่งความร้อน (heat column) โดยเนื้อสารที่ร้อนและมีพลังงานเริ่มต้นจากด้านล่าง แล้วไหลขึ้นด้านบนจนถึงผิว จากนั้นถ่ายเทความร้อนและกลับลงไปใหม่ แท่งความร้อนสามารถสังเกตได้จาก “เกล็ด” บนภาพถ่ายผิวดวงอาทิตย์โฟโตสเฟียร์ โฟโตสเฟียร์. ในส่วนของโฟโตสเฟียร์ (photosphere) แปลว่า ทรงกลมแห่งแสง ซึ่งเป็นส่วนที่เรามองเห็นดวงอาทิตย์ แสงสว่างที่เปล่งในดวงอาทิตย์นั้นเกิดจากอิเล็กตรอนชนกับอะตอมไฮโดรเจนเกิดเป็น H เหนือชั้นนี้ แสงอาทิตย์ก็จะถูกปลดปล่อยออกมา และมีอุณหภูมิต่ำลงตามความสูงที่มากขึ้น จนทำให้สังเกตเห็นรอยมัวตรงขอบดวงอาทิตย์ในภาพถ่าย (ดังภาพถ่ายด้านบน)บรรยากาศ บรรยากาศ. บรรยากาศของดวงอาทิตย์ประกอบด้วย 5 ชั้น ได้แก่ ชั้นอุณหภูมิต่ำสุด (temperature minimum) โครโมสเฟียร์ (chromosphere) เขตเปลี่ยนผ่าน (transition region) โคโรนา (corona) และเฮลิโอสเฟียร์ (heliosphere) ตามลำดับจากต่ำไปสูง ชั้นแรก ชั้นอุณหภูมิต่ำสุด มีอุณหภูมิประมาณ 4,000 เคลวิน และหนา 500 กิโลเมตร ชั้นถัดไปคือโครโมสเฟียร์ ซึ่งแปลว่ารงคมณฑล หรือทรงกลมแห่งสี เหตุที่เรียกชื่อนี้ก็เพราะเห็นเป็นแสงสีแวบขณะเกิดสุริยุปราคา ชั้นนี้หนา 2,000 กิโลเมตร ชั้นต่อไปเป็นเขตเปลี่ยนผ่านซึ่งอุณหภูมิอาจติดลบถึงล้านเคลวิน และยิ่งต่ำขึ้นไปอีกในชั้นโคโรนา ทำให้สิ่งนี้เป็นปัญหาคาใจนักวิทยาศาสตร์ ซึ่งก็สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากการต่อเชื่อมทางแม่เหล็ก (magnetic connection) ชั้นที่เหลือชั้นสุดท้ายคือ เฮลิโอสเฟียร์ หรือสุริยมณฑล คือชั้นที่อำนาจของลมสุริยะสามารถไปถึง ซึ่งอาจมากกว่า 20 หน่วยดาราศาสตร์ (20 เท่าของระยะทางจากโลกถึงดวงอาทิตย์)ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการสังเกตดวงอาทิตย์ความเข้าใจในอดีต ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการสังเกตดวงอาทิตย์. ความเข้าใจในอดีต. มนุษย์ในอดีตรู้เกี่ยวกับดวงอาทิตย์เพียงเป็นลูกไฟกลม ขึ้นจากท้องฟ้าในทิศตะวันออกทำให้เกิดกลางวัน และตกลงไปทางทิศตะวันตกทำให้เกิดกลางคืน ดวงอาทิตย์ให้ทั้งความสว่าง ความร้อน ความอบอุ่น ตลอดจนความหวังในจิตใจ จนมีการนับถือดวงอาทิตย์ให้เป็นเทพเจ้า มีการบูชายัญถวายเทพพระอาทิตย์ของชาวอัซเตก (Aztec) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในประเทศเม็กซิโก นอกเหนือจากนี้ มนุษย์ในสมัยโบราณยังได้สร้างสิ่งประดิษฐ์สำหรับบอกตำแหน่งของดวงอาทิตย์ในวันอุตรายัน (Summer solstice) ซึ่งเป็นวันที่กลางวันยาวที่สุดในรอบปี คือประมาณวันที่ 24 มิถุนายน เช่นที่เสาหินสโตนเฮนจ์ ในประเทศอังกฤษ และพีระมิดเอลกัสตีโย (El Castillo) ประเทศเม็กซิโกการพัฒนาแนวความคิดสมัยใหม่ การพัฒนาแนวความคิดสมัยใหม่. ต่อมานักปราชญ์ชาวกรีกชื่อ อะนักซากอรัส (Anaxagoras) ได้เสนอว่า ดวงอาทิตย์เป็นลูกไฟกลม ไม่ได้เป็นพระอาทิตย์ทรงพาหนะ ทำให้เขาต้องโทษประหารชีวิตในเวลาต่อมา ต่อมามีการสันนิษฐานว่าเอราโตสเทเนส ได้วัดระยะห่างจากโลกไปดวงอาทิตย์ได้เที่ยงตรงเป็นคนแรกในช่วงศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล ซึ่งวัดได้ 149 ล้านกิโลเมตร ใกล้เคียงกับที่ยอมรับในปัจจุบัน ในเวลาต่อมา ชาวกรีกโบราณและชาวอินเดียโบราณตั้งสมมติฐาน โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ และต่อมาก็ได้รับการพิสูจน์โดยนิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัสในช่วงศตวรรษที่ 16 ต่อมาทอมัส แฮร์ริออต (Thomas Harriot) กาลิเลโอ กาลิเลอิ และนักดาราศาสตร์คนอื่น ๆ สังเกตพบจุดดำบนดวงอาทิตย์ โดยกาลิเลโอเสนอว่าจุดดำบนดวงอาทิตย์คือจุดที่เกิดบนผิวดวงอาทิตย์โดยตรง มิได้เป็นวัตถุเคลื่อนที่มาบัง ในปี พ.ศ. 2215 โจวันนี คาสซินี (Giovanni Cassini) นักดาราศาสตร์ชาวอิตาลี และชอง รีเช (Jean Richer) นักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ได้หาระยะทางจากโลกไปดาวอังคาร และอาจจะสามารถหาระยะทางไปดวงอาทิตย์ได้หลังจากนั้น ไอแซก นิวตัน ได้สังเกตดวงอาทิตย์โดยให้แสงดวงอาทิตย์ผ่านปริซึม เขาพบว่าประกอบขึ้นด้วยหลาย ๆ แสงสี นั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้นในรุ้งกินน้ำต่อมาวิลเลียม เฮอร์เชล ได้ค้นพบการแผ่รังสีอินฟราเรดในช่วงใต้แดงจากดวงอาทิตย์ เมื่อเทคโนโลยีสเปกตรัมก้าวหน้า โยเซฟ ฟอน เฟราน์โฮเฟอร์ (Joseph von Fraunhofer) ได้ค้นพบเส้นดูดกลืนในสเปกตรัมของดวงอาทิตย์ ซึ่งต่อมาเรียกว่าเส้นเฟราน์โฮเฟอร์ (Fraunhofer line) ช่วงแรก ๆ ของยุคใหม่ทางวิทยาศาสตร์ ปัญหาที่คาใจนักวิทยาศาสตร์ก็คือดวงอาทิตย์เอาพลังงานมาจากที่ใด ลอร์ดเคลวิน (วิลเลียม ทอมสัน) และแฮร์มันน์ ฟอน เฮล์มโฮลตซ์ (Hermann von Helmholtz) ได้เสนอกลไกเคลวิน-เฮล์มโฮลตซ์ (Kelvin-Helmholtz mechanism) ในการอธิบายการพาความร้อนขึ้นสู่ผิวดวงอาทิตย์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2447 เออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด เสนอว่าพลังงานในดวงอาทิตย์มาจากปฏิกิริยาการคายพลังงานจากอนุภาคที่ถูกกระตุ้น แต่ก็คงอธิบายไม่ละเอียดเท่าของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ซึ่งเป็นเจ้าของสมการสมมูลมวล-พลังงาน E=mc ในปี พ.ศ. 2463 อาร์เทอร์ เอดดิงตัน เสนอว่าความร้อนและความดันภายในแกนเป็นตัวการที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาฟิวชัน และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมวลและพลังงาน สิบปีต่อมาทฤษฎีนี้เริ่มเป็นรูปเป็นร่าง โดยสุพราห์มันยัน จันทรเสกขา (Subrahmanyan Chandrasekar) นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันเชื้อสายอินเดีย และฮันส์ เบเทอ นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันเชื้อสายเยอรมันโครงการสำรวจดวงอาทิตย์ โครงการสำรวจดวงอาทิตย์. องค์การนาซาได้เคยปล่อยยานสำรวจดวงอาทิตย์ในโครงการไพโอเนียร์ ซึ่งปล่อยช่วงปี พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2511 โดยทำการตรวจวัดสนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์และลมสุริยะ ต่อมาก็ได้ส่งยานสกายแล็บเมื่อปี พ.ศ. 2516 ทำการศึกษาโคโรนาของดวงอาทิตย์ และการพ่นมวลของโคโรนา ในปี พ.ศ. 2534 ญี่ปุ่นได้ส่งยานโยะโกะ (阳光) เพื่อศึกษาเพลิงสุริยะในช่วงรังสีเอกซ์ นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นว่า โคโรนาจะยุบลงในช่วงที่มีกิจกรรมบนผิวดวงอาทิตย์มาก ยานโยะโกะถูกปลดระวางเมื่อ พ.ศ. 2548 ภารกิจสำรวจดวงอาทิตย์ที่เรารู้จักกันมักหนีไม่พ้นหอสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์และสุริยมณฑล หรือโซโฮ (Solar and Heliospheric Observatory; SOHO) อันเป็นความร่วมมือระหว่างสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ถูกปล่อยเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2538 เดิมทีกำหนดให้ปฏิบัติงานสองปี แต่กลับปฏิบัติงานมากกว่า 10 ปี ยานโซโฮเป็นยานสังเกตการณ์ที่ทำให้เรารู้หลายอย่างเกี่ยวกับดวงอาทิตย์มากขึ้นในหลาย ๆ ช่วงคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และยังสังเกตเห็นดาวหางที่พุ่งชนดวงอาทิตย์ด้วย ส่วนอีกโครงการหนึ่งที่มีแผนจะปล่อยขึ้นสู่ห้วงอวกาศในเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ. 2551 คือโครงการหอสังเกตการณ์สุริยพลวัต (Solar Dynamic Observatory) ซึ่งจะนำไปไว้ยังจุดลากรองจ์ (Lagrangian point) หรือจุดสะเทินแรงดึงดูด ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ นอกเหนือจากนี้ ยังมีโครงการสังเกตระบบสุริยะจากมุมอื่น โดยมีการส่งยานยุลลิซิส (Ulysses) เมื่อ พ.ศ. 2533 โดยให้ไปยังดาวพฤหัสบดีเพื่อเหวี่ยงตัวขึ้นเหนือระนาบระบบสุริยะ ครานั้นยานสามารถสังเกตเห็นดาวหางชูเมกเกอร์-เลวี 9 ชนดาวพฤหัสบดีในปี พ.ศ. 2537 เมื่อยานยุลลิซิสถึงที่หมาย ก็จะทำการสำรวจลมสุริยะและสนามแม่เหล็กที่ละติจูดสูง ๆ และพบว่าอัตราเร็วลมสุริยะอยู่ที่ 750 กิโลเมตรต่อวินาที ซึ่งช้ากว่าที่ได้คาดไว้ และยังมีสนามแม่เหล็กที่ทำให้รังสีคอสมิกกระเจิงด้วยบทบาทของดวงอาทิตย์ต่อสิ่งมีชีวิต บทบาทของดวงอาทิตย์ต่อสิ่งมีชีวิต. นับตั้งแต่ปฏิกิริยานิวเคลียร์ความร้อน (thermonuclear reaction) ในใจกลางดวงอาทิตย์ แผ่พลังงานออกมาในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและพลังงานที่สะสมภายในอนุภาค ใช้เวลาเดินทางนับหมื่นนับแสนปีจนกระทั่งถึงผิวดวงอาทิตย์ และต่อด้วยการเดินทาง 8 นาทีมายังโลกของเรา ในรูปของแสงที่มองเห็น รังสีแกมมา รังสีเอกซ์ และรังสีอื่น ๆ ต้องขอบคุณชั้นบรรยากาศโลกที่ได้กรองเอาสิ่งที่เป็นอันตรายเหล่านี้ออกไป ไม่นานนักพลังงานก็ถึงยังพื้นโลก ทั้งให้ความอบอุ่นน่าอยู่ในเขตหนาว หรือแม้แต่ให้ความรู้สึกรำคาญในเขตร้อน ทว่าพลังงานจากดวงอาทิตย์ก็ได้ถูกดูดซับเข้าไปในพืชและโพรทิสต์ จากนั้นพืชก็สามารถตรึงเอาคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากอากาศได้เป็นน้ำตาล ผ่านกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง น้ำตาลที่ได้นั้นพืชก็จะนำไปแปรรูปเป็นทั้งผนังเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์ ออแกเนลล์ภายในเซลล์ ฯลฯ นอกเหนือจากธาตุอาหารที่ดูดขึ้นมาจากดิน เมื่อพืชเป็นผู้ผลิต (ที่แท้จริงคือผู้แปรรูป) อาหารจากพลังงานแสงอาทิตย์ ก็ทำให้สัตว์มีอาหารจากส่วนต่าง ๆ ของพืช ในการสลายอาหารของสัตว์ สิ่งสำคัญที่สุดนอกจากอาหารที่ได้รับแล้วก็คือออกซิเจน ซึ่งเป็นของเสียในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง เพื่อไปรับอิเล็กตรอนตัวสุดท้ายในกระบวนการสลายสารอาหารระดับเซลล์ ขณะเดียวกันสัตว์ก็หายใจเอาแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นสารพลังงานต่ำออกมา เพื่อที่พืชจะได้ตรึงอีกครั้งเป็นวัฏจักร
| บริเวณใดของดวงอาทิตย์ที่มีความหนาแน่นมากที่สุด | {
"answer": [
"แกน"
],
"answer_begin_position": [
4327
],
"answer_end_position": [
4330
]
} |
3,787 | 817,155 | เฮลเกรเนดา เฮลเกรเนดา ( - เกรเนดาจงเจริญ) เป็นชื่อเพลงชาติของเกรเนดา ประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อ ค.ศ. 1974 ภายหลังการประกาศเอกราช. ประพันธ์คำร้องโดย เออร์วาร์ เมอร์เล แบพติสต์ เรียบเรียงเสียงประสานโดย หลุยส์ อาโนลด์ มาซานโต. ก่อนหน้านี้ได้ใช้ เพลงชาติรัฐเกรนาดา ซึ่งประพันธ์ขึ่นและประกาศใช้เมื่อ ค.ศ. 1967. สำหรับเพลงก็อดเซฟเดอะควีน ยังคงมีการใช้ในฐานะเพลงสรรเสริญพระบารมี.เนื้อร้อง
| เพลงชาติของประเทศเกรเนดามีชื่อว่าอะไร | {
"answer": [
"เฮลเกรเนดา"
],
"answer_begin_position": [
96
],
"answer_end_position": [
106
]
} |
3,788 | 817,155 | เฮลเกรเนดา เฮลเกรเนดา ( - เกรเนดาจงเจริญ) เป็นชื่อเพลงชาติของเกรเนดา ประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อ ค.ศ. 1974 ภายหลังการประกาศเอกราช. ประพันธ์คำร้องโดย เออร์วาร์ เมอร์เล แบพติสต์ เรียบเรียงเสียงประสานโดย หลุยส์ อาโนลด์ มาซานโต. ก่อนหน้านี้ได้ใช้ เพลงชาติรัฐเกรนาดา ซึ่งประพันธ์ขึ่นและประกาศใช้เมื่อ ค.ศ. 1967. สำหรับเพลงก็อดเซฟเดอะควีน ยังคงมีการใช้ในฐานะเพลงสรรเสริญพระบารมี.เนื้อร้อง
| เพลงชาติของประเทศเกรเนดาชื่อว่า เฮลเกรเนดา ประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อ ค.ศ. ใด | {
"answer": [
"1974"
],
"answer_begin_position": [
189
],
"answer_end_position": [
193
]
} |
3,789 | 649,060 | แอดัม สกอตต์ (นักกอล์ฟ) แอดัม เดริก สกอตต์ () เกิดเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2523 เป็นนักกอล์ฟอาชีพชาวออสเตรเลีย ลงแข่งขันประจำในรายการ PGA ทัวร์ แอดัม ชนะการแข่งขันกอล์ฟอาชีพทั่วโลกมาแล้ว 27 ทัวร์นาเมนต์ (มี 3 รายการ ที่มีเงินรางวัล อย่างไม่เป็นทางการ), ในการแข่งขันกอล์ฟเมเจอร์ทัวร์ ชัยชนะในรายการที่ยิ่งใหญ่ คือ 2013 Masters Tournament, เป็นชัยชนะใน เมเจอร์แชมเปียนชิปครั้งแรก (major championship) และเป็นชัยชนะของนักกอล์ฟอาชีพชาวออสเตรเลียในประวัติศาสตร์ 77 ปี ชัยชนะในรายการที่สำคัญรวมถึง 2004 Players Championship 2011 WGC-Bridgestone Invitational. และยังเป็นรองแชมป์ในรายการ 2012 Open Championship, เป็นผู้นำ 4 สโตรก ในการเล่น 4 หลุม ก่อนที่จะออกโบกี้แพ้เออร์นีย์ เอลส์ (Ernie Els) ไปอย่างน่าเสียดายชีวิตส่วนตัว ชีวิตส่วนตัว. สกอตต์เกิดที่แอดิเลด รัฐเซาท์ออสเตรเลีย เมื่ออายุ 9 ขวบ แล้วย้ายตามครอบครัวมาที่ Sunshine Coast, Queensland. ในขณะที่เรียนที่ วิทยาลัย Matthew Flinders Anglican College. แล้วตั้งรกรากอยู่ที่ โกลด์โคสต์ ควีนส์แลนด์ ในปี 1993 Gold Coast, Queensland เริ่มต้นที่ โรงเรียนThe Southport School, โรงเรียนชาย แองกลิคัน ที่โกลด์โคสต์ สกอตต์จบไฮสกูลที่ The Kooralbyn International School และที่โกลโคสต์นี่เองที่เขาได้เรียนกอล์ฟเป็นวิชาพิเศษ เขายังเป็นสมาชิกของ Golf Australia National Squad. หลังจากนั้นก็ไปเรียนที่มหาวิทยาลัย University of Nevada, Las Vegas (UNLV). ในเดือนเมษายน 2014 สกอตต์แต่งงานกับ มารี คอยซาร์ สถาปนิกชาวสวีเดน โดยจัดพิธีเงียบ ๆ ในประเทศบาฮามาส ก่อนหน้านี้สกอตต์และมารี มีความสัมพันธ์กันมาตั้งแต่ต้นปี 2000 จนกระทั่งถึงกลางปี ก่อนที่จะแยกกัน และกลับมาคบกันอีกในปี 2013 ก่อนหน้านี้สกอตต์มีความสัมพันธ์กับอดีตนักเทนนิสมือ 1 ของโลก อานา อีวานอวิช ในปี 2010 แล้วแยกกันในเดือนกันยายนในปีนั้น แล้วกลับมาคบกันใหม่ในปี 2011 ก่อนที่จะแยกทางกันหลังจากนั้นอีก 1 ปี สกอตต์เป็นนักกอล์ฟอาชีพที่ ปาล์ม กอล์ฟ คอร์ส แซงชัวรี่ โคฟ ในขณะที่ถ้าอยู่ออสเตรเลียเขาจะพักอยู่ที่ โกลด์โคสต์ ควีนสแลนด์ เพื่อจุดประสงค์ในเรื่องของการเสียภาษี ปัจจุบันสกอตต์จะอยู่ที่สวิตเซอร์แลนด์ สกอตต์ใฝ่ฝันที่จะเป็นนักกระดานโต้คลื่นมือสมัครเล่น มือสมัครเล่น. สกอตต์ชนะ การแข่งขัน Australian Boys' Amateur ในปี 1997 และ 1998 เขาป็นสมาชิก Golf Australia National Squadเริ่มต้นเข้าสู่การเป็นนักกอล์ฟมืออาชีพ เริ่มต้นเข้าสู่การเป็นนักกอล์ฟมืออาชีพ. สกอตต์เทิร์นโปรในกลางฤดูกาลปี 2000 หลังทำผลงานได้ดีในต้นปี European Tour สกอตต์ได้ลงเล่นในยูโรเปียนทัวร์ เพียง 8 ครั้งในฐานะมืออาชีพ ผลงานที่ดีที่สุด คือได้อันดับ 6 ในการแข่งขัน Linde German Masters สก็อตได้เล่นใน PGA Tour แต่ผ่านการตัดตัวเพียง 6 ครั้ง สกอตต์เริ่มแข่งอาชีพในปี 2001 เป็นปีแรกที่แข่งขันอาชีพอย่างเต็มตัว เมื่อเขาชนะในรายการ European Tour's Alfred Dunhill Championship ในโจฮันเนสเบิอร์ก อาฟริกาใต้ Alfred Dunhill Championship โจฮันเนสเบิร์ก ในการเริ่มต้นเป็นมืออาชีพของเขา รายการนี้เป็นรายการแรกของปีที่เป็นรายการ โคแซงชั่นระหว่างยูโรเปียนและซันไชน์ทัวร์ เขาเอาชนะ จัสติน โรส Justin Rose เพียง 1 สโตรก สกอตต์ ติดอันดับ Top 3 ตลอดฤดูกาล และทำให้เขาได้รับเงินรางวัลเป็นอันดับที่ 13 ในฤดูกาลแรกของเขา ในปีถัดมา 2002 สกอตต์ประสบความสำเร็จในฤดูกาล ด้วยการเอาชนะในยูโรเปียนทัวร์ 2 ครั้ง และทำเงินได้เป็นอันดับที่ 7 ชัยชนะครั้งแรกของปีมาจาก การชนะ 6 ช็อตที่ Qatar Mastersในปีต่อมา สกอตต์ก็ได้ทำลายสถิติใน Scottish PGA Championship ด้วยการชนะด้วยสกอร์ 63 ชนะถึง 10 ช็อต นับว่าเป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ในอาชีพของเขา ชัยชนะครั้งนี้ทำให้สกอตต์ได้ลงเล่นใน มาสเตอส์ทัวร์นาเมนต์ และจบการแข่งขันในอันดับ 92003–2004 2003–2004. ปี 2003 สกอตต์ทำผลงานได้ดีในรายการ WGC-Accenture Match Play Championship ซึ่งผ่านเข้ามาถึงรอบ Semi final ก่อนที่จะพลาดแชมป์ไปเป็นของไทเกอร์ วูดส์ ในหลุมที่ 19 ก่อนหน้านั้นเขาต้องสู้กับ เบิร์นฮาร์ท แลงเกอร์ ร็อกโก มีเดียต (Rocco Mediate) เควิน แซทเธอร์แลนด์ และ เจ ฮาสส์ Bernhard Langer, Rocco Mediate, Kevin Sutherland Jay Haas โดยมีนักกอล์ฟออสเตรเลียน ปีเตอร์ เลียวนาร์ด Peter Lonard ซึ่งนำอยู่ 1 up ในการแข่งขัน ในเดือนสิงหาคม 2003 สกอตต์ชนะ ยูโรเปียนทัวร์ เป็นครั้งที่ 4 ใน Scandinavian Masters โดยเอาชนะ นิค โดเฮอร์ตี้Nick Doughertyไป 2 สโตรก หลังจากนั้นเพียง 1 เดือน เขาก็ได้ชัยชนะใน PGA Tour สหรัฐอเมริกาในรายการ Deutsche Bank Championship ชัยชนะครั้งนี้ทำให้เขาอยู่ในอันดับทำเงินที่ 34 เขาทำสกอร์ได้ 62 ในรอบที่สอง นำ 2 ช็อตในครึ่งทางก่อนที่จะชนะร็อกโก มีเดียต 4 สโตรก และในสิ้นปี เขาก็ได้รับการคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในผู้เล่นทีมนานาชาติ ในการแข่งขัน เพรซิเด็นตส์คัป และทำคะแนน 3 ใน 5 ให้กับทีม ทำให้คะแนน 17-17 เท่ากัน2004 Players Championship win 2004 Players Championship win. สกอตต์ ประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องใน 2004 PGA Tour เขาชนะในรายการสำคัญ The Players Championship สกอตต์นำ 2 สโตรกในหลุมที่ 18 แม้ว่าจะเจออุปสรรคน้ำ ก่อนที่จะแอพโพรชขึ้นกรีน ในระยะ 40 หลา และยังต้องพัตต์โบกี้ในระยะ 10 ฟุตแต่เขาก็ยังได้ชัยชนะเหนือ แพททริค แฮริงตัน Pádraig Harrington มาได้ เขากลายเป็นนักกอล์ฟที่อายุน้อยที่สุดที่ได้แชมป์ในรายการ Player Championship ในวัยเพียง 23 ปี หลังจากนั้นอีก 3 เดือน สกอตต์ก็เก็บชัยชนะเป็นครั้งที่ 3 ใน PGA Tour ในรายการ Booz Allen Classic เขาทำสถิติ 21 อันเดอร์พาร์ เอาชนะ ชาล์ส ฮาว์ เดอะ เทิร์ด Charles Howell III ไป 4 สโตรก2005–2007 2005–2007. ต้นปี 2005 เขาชนะรายการ Nissan Open แต่เป็นการเล่นเพียง 36 หลุม เนื่องจากฝนตกหนัก จึงไม่นับว่าเป็นการแข่งขันอย่างเป็นทางการ โดยเป็นการดวลเพลย์ออฟร่วมกับ แชด แคมเบล Chad Campbell ซึ่งสกอตต์สามารถเอาชนะได้ในหลุมแรกที่เพลย์ออฟ จากผลงานครั้งนี้ทำให้เขาติด 1 ใน 10 อันดับโลก และเป็นครั้งแรกในการเล่นกอล์ฟอาชีพตั้งแต่เขาเริ่มเล่นมาถึง 220 สัปดาห์ หลังจากนั้นอีกเพียงไม่กี่เดือน เขาก็ชนะในยูโรเปียนทัวร์อีก เป็นชัยชนะครั้งที่ 5 ในรายการ Johnie Walker Classic ในปักกิ่ง ประเทศจีน Johnnie Walker Classic ปักกิ่ง เขาทำสถิติด้วยคะแนน 63 ชนะ 3 สโตรก สกอตต์ยังชนะรายการ Singapore Open ต่อมาในปี 2005 ชนะ ลี เวสต์วูด Lee Westwood ใน Asian Tour Asian Tour สกอตต์เริ่มเล่นในยูโรเปียนทัวร์น้อยลง แต่เน้นไปเล่นใน PGA มากขึ้น เป็นปีที่เขาประสบความสำเร็จได้ 1 แชมป์ รองอันดับ 4 และรองอันดับ 3 อีก 3 ครั้ง และจบอันดับ 3 ใน PGA Championship ซึ่งเป็นรายการที่ดีที่สุดในเมเจอร์แชมเปียนชิป หลังจากนั้นได้ที่สองใน WGC American Express Championship พ่ายไทเกอร์ วูดส์ ไป 8 สโตรก สิ้นปีสกอตต์ได้รับชัยชนะด้วยนัดปิดฤดูกาล Tour Championship 3 สโตรก ซึ่งเป็นชัยชนะครั้งที่ 4 และติดอันดับทำเงิน อันดับ 3 ใน PGA ทัวร์ ปี 2006. ปี 2007 สกอตต์เริ่มต้น จบเป็นที่ 2 ในนัดเปิดฤดูกาล Mercedez Benz Championship ในฮาวายตามหลังวีเจย์ ซิง หลังจากนั้นสกอตต์ก็ขึ้นอันดับ 3 ของโลก ซึ่งเป็นอันดับสูงสุดในการเป็นนักกอล์ฟอาชีพ หลังจากนั้นสกอตต์ก็ได้รับชัยชนะ PGA ทัวร์ในรายการ Shell Houston Open อีกเป็นครั้งที่ 5 หนึ่งสัปดาห์ก่อน The Master เขาตีตกน้ำในหลุมที่ 72 เขาพัตต์พาร์ในระยะ 48 ฟุต ได้ชัยชนะ 3 สโตรก เหนือ สจ๊วต แอพเพิลบี้ Stuart Appleby และ บับบ้า วัตสัน Bubba Watson หลังจากนั้นเขาก็เล่นได้สม่ำเสมอมาตลอดปีที่เหลือ และผ่านเข้าเล่นเพลย์ออฟ และจบในอันดับ 10 ใน FedEx Cup2008–2010 2008–2010. ปี 2008 สกอตต์เล่นในยูโรเปียนทัวร์ เพื่อที่จะคงสถานะอันดับทำเงินไว้ตั้งแต่ปี 2005 สกอตต์เริ่มประสบปัญหาบาดเจ็บและป่วยในฤดูกาล 2008 และพยายามที่จะเอาชนะในการแข่งขันให้ได้ ในเดือนมกราคม 2008 เขาได้ชัยชนะเป็นครั้งที่ 6 ของยูโรเปียนทัวร์ในรายการ Qatar Master ด้วยสกอร์ที่ยอดเยี่ยม 11 อันเดอร์พาร์ 61 ในรอบสุดท้าย ทำลายสถิติของสนาม และผู้เล่นที่ยอดเยี่ยม เขาตามหลังผู้นำอยู่ 3 สโตรก ในการแข่งขันรอบสุดท้าย และเริ่มแซงจนเอาชนะ เฮนดริค สเตนเส็น Henrik Stenson 3 สโตรกในที่สุด สกอตต์ทำพาร์ได้ในหลุมแรกของการเล่นเพลย์ออฟ ก่อนที่เขาจะพัตต์ระยะ 48 ฟุต ได้เบอร์ดี้ในหลุมที่สาม เอาชนะไปในที่สุด[20] ในการแข่งขัน ในเดือนเมษายน 2008 สกอตต์ชนะ EDS Byron Nelson Championship ด้วยการเล่นเพลย์ออฟกับ ไรอัน มัวร์ (Ryan Moore) สกอตต์พัตต์เอาชนะในระยะ 9 ฟุต ในหลุมที่ 72 2008 U.S. Open สกอตต์ในฐานะอันดับ 3 ของโลก ได้เล่นร่วมก๊วนกับ ไทเกอร์ วู้ส์ ไทเกอร์ วูดส์ อันดับ 1 ของโลก ฟิล มิคเคลสัน อันดับ 2 ของโลก ใน 2 รอบแรกของการแข่งขัน วุดส์ได้ชัยชนะจากการดวลเพลย์ออฟ มิคเคลสันจบที่อันดับ 18 สก็อตได้อันดับ 26 สิ้นปีเขาได้อันดับทำเงินของโลกที่ 39 สกอตต์เริ่มฟอร์มตกในปี 2009 ร่วงออกจาก 50 อันดับของโลก และอยู่ในอันดับที่ 108 ในอันดับทำเงินของยูโรเปียนทัวร์ ซึ่งแย่ที่สุดในการเป็นนักกอล์ฟมืออาชีพ ในจำนวนการแข่งขัน 19 รายการใน PGA เขาผ่านการตัดตัวเพียง 10 ครั้ง และติด 1 ใน 10 ในรายการ Sony Open in Hawaiiในฮาวายเมื่อเดือนมกราคม อย่างไรก็ตามในสิ้นปีนั้น เขาได้เป็นแชมป์ เทนนิสออสเตรเลียนโอเพน ในรายการที่บ้านของตัวเองที่ออสเตรเลีย ในช่วง 2 ปีนี้ สกอตต์ได้แชมป์เป็นครั้งที่ 7 ของ PGA รายการ Valero Texas Open ในเดือนพฤษภาคม โดยการเอาชนะนักกอล์ฟชาวสวีเดน เฟดดริค จาค็อบเส็นFredrik Jacobsonใน 36 หลุม 1 สโตรก เป็นการกลับมาชนะใน PGA อีกครั้งในรอบสองปี เขาได้คลอลิฟายเข้าเล่นและเพลย์ออฟใน FedEx Cup เขาจบอันดับที่ 27 ใน The Tour Championship ในเดือนพฤศจิกายน สกอตต์ได้แชมป์รายการ Barclays Singapore Open เป็นครั้งที่สามในอาชีพ ซึ่งก่อนหน้านั้นเขาเป็นแชมป์รายการนี้ในปี 2005 และ 2006 และเป็นรายการที่ 7 ในยูโรเปียนทัวร์2011 2011. สกอตต์ประสบความสำเร็จในรายการ major championship เขาจบเป็นที่สองรายการ 2011 Masters Tournament อันดับเดียวกันกับ เจสัน เดย์ (Jason Day) นักกอล์ฟชาติเดียวกัน แพ้ให้กับชาร์ล ชวอร์ตเซล (Charl Schwartzel) เพียง 2 สโตรก สกอตต์ขึ้นนำแต่เพียงผู้เดียวในหลุมที่ 71 แต่มาพลาดท่าให้กับชวอร์ตเซลซึ่งทำ 4 เบอร์ดี้ ทำให้สกอตต์ตกลงไป 2 สโตรก
| แอดัม เดริก สกอตต์ เป็นนักกอล์ฟอาชีพจากประเทศใด | {
"answer": [
"ออสเตรเลีย"
],
"answer_begin_position": [
195
],
"answer_end_position": [
205
]
} |
3,790 | 435,182 | เอลอายูน เอลอายูน (; ) เป็นเมืองหลวงของดินแดนเวสเทิร์นสะฮารา อยู่ในทวีปแอฟริกาตะวันตก ใกล้ชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1928 โดยชาวสเปน ปกครองโดยโมร็อกโก ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1976
| อลอายูน เป็นเมืองหลวงของดินแดนใดในทวีปแอฟริกาตะวันตก | {
"answer": [
"เวสเทิร์นสะฮารา"
],
"answer_begin_position": [
128
],
"answer_end_position": [
143
]
} |
3,791 | 435,182 | เอลอายูน เอลอายูน (; ) เป็นเมืองหลวงของดินแดนเวสเทิร์นสะฮารา อยู่ในทวีปแอฟริกาตะวันตก ใกล้ชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1928 โดยชาวสเปน ปกครองโดยโมร็อกโก ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1976
| เอลอายูนเป็นเมืองหลวงของดินแดนเวสเทิร์นสะฮาราในทวีปแอฟริกาตะวันตก ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ.ใด | {
"answer": [
"1928"
],
"answer_begin_position": [
215
],
"answer_end_position": [
219
]
} |
3,792 | 856,790 | ลูกโลก ลูกโลก () เป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่ใช้สำหรับการศึกษาวิชาภูมิศาสตร์ โดยจำลองลักษณะของโลกหรือเทห์ฟ้าโดยอาจทำมาจากกระดาษ, พลาสติกหรืออื่น ๆ ลูกโลกทำหน้าที่คล้ายแผนที่แต่ต่างจากแผนที่ตรงที่ลูกโลกจะไม่บิดเบือนความจริงแต่จะเป็นเพียงการลดขนาดของโลกหรือเทห์ฟ้านั้น ๆ จึงทำให้สามารถแสดงภาพรวมอย่างสภาพภูมิประเทศ ขนาดประเทศและลักษณะทางกายภาพได้เหมือนจริงมากกว่า แต่ก็มีข้อเสียด้วยเช่นกันคือลูกโลกจะไม่สามารถมองภาพรวมทั้งหมดของโลกในเวลาเดี่ยวกันได้อีกทั้งยังพกพาได้ลำบากด้วยนั้นเอง ลูกโลกมีสองแบบคือลูกโลกธรรมดาหรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า terrestrial globe แปลตรงตัวว่าโลกบกกับอีกแบบคือทรงกลมฟ้าในภาษาอังกฤษเรียกว่า celestial globeแปลตรงตัวว่าโลกท้องฟ้าซึ่งปกติแล้วจะแสดงกลุ่มดาวบนท้องฟ้าหรือแสดงดวงดาวบนท้องฟ้าและตำแหน่งของวัตถุทางดาราศาสตร์ที่น่าสนใจ คำว่า globe มาจากภาษาละตินคำว่า globus ซึ่งมีความหมายว่าทรงกลม ลูกโลกนั้นมีประวัติความเป็นมาอย่างยาวนาน บุคคลที่กล่าวถึงลูกโลกเป็นครั้งแรกคือสตราโบซึ่งได้อธิบายไวใน The Globe of Crates เมื่อ 150 ปีก่อนคริสต์ศักราช มาร์ติน เบไฮม์เป็นคนผลิตลูกโลกที่เก่าแก่ที่สุดชื่อว่าเออดาเฟล (Erdapfel) เมื่อ พ.ศ. 2035ส่วนทรงกลมฟ้าที่เก่าแก่ที่สุดอยู่บนรูปสลักแอตลาสแบกโลกที่แกะสลักในสมัยศตวรรษที่ 2 ของจักรวรรดิโรมันประวัติวิธีการผลิต วิธีการผลิต. โดยปกติแล้วการผลิตลูกโลกจะใช้การพิมพ์ลงในแผ่นกระดาษกอร์ (Gore) ที่มีลักษณะกระดาษรูปโค้งจันทร์เสี้ยวและนำมาติดลงบนวัตถุทรงกลมซึ่งส่วนมากจะเป็นไม้ หากลูกโลกนั้นมีกระดาษกอร์มาเท่าไหร่ผิวของลูกโลกก็จะเรียบเนียนมากเท่านั้น ในปัจจุบันลูกโลกส่วนมากใช้เทอร์โมพลาสติกในการผลิต ตั้งแกนโลกให้เอียงจากแนวตั้งฉากเป็นมุมประมาณ 23.5° เพื่อให้สามารถทำให้นึกภาพได้ง่ายขึ้นว่าฤดูกาลเปลี่ยนแปลงอย่างไรการแสดงผล การแสดงผล. แผนที่จะแสดงความบิดเบือนของโลกเช่นทำให้บริเวณขั่วโลกมีขนาดใหญ่ขึ้น แต่ว่าลูกโลกนั้นจะมีรูปร่างที่เหมือนจริงทำให้มันมีลักษณะคล้ายโลกมากกว่าแผนที่ ลูกโลกมีรูปทรงกลมคล้ายผลส้ม คือ ตรงบริเวณขั้วโลกทั้งสองยุบราบลงเล็กน้อยและป่องตรงบริเวณศูนย์สูตร โลกมีเส้นผ่านศูนย์กลางที่เส้นศูนย์สูตร ยาว 12,756 กิโลเมตร และมีเส้นผ่านศูนย์กลางจากขั้วโลกเหนือถึงขั้วโลกใต้ยาว 12,714 กิโลเมตร นี้ทำให้เห็นว่าโลกนั้นไม่ได้กลมเปะแต่ถึงอย่างงั้นค่าพวกนี้ก็เป็นแค่ส่วนต่างเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ผิวโลกนั้นจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นมหาสมุทรมีเนื้อที่รวมกัน 375 ล้านตารางกิโลเมตรและส่วนที่เป็นพื้นดินอย่างทวีปและเกาะต่าง ๆ มีเนื้อที่รวมกัน 150 ล้านตารางกิโลเมตร เมื่อรวมทั้งพื้นน้ำและแผ่นดินแล้ว โลกจะมีเนื้อที่รวมประมาณ 525 ล้านตารางกิโลเมตร โดยคิดสัดส่วนบริเวณผิวของเปลือกโลกจะเป็นพื้นน้ำ 2 ใน 3 ส่วน และส่วนที่เป็นแผ่นดิน 1 ใน 3 ส่วน ดังนั้น การสร้างลูกโลกจึงต้องเป็นไปตามสัดส่วนของโลก แต่เนื่องจากเมื่อมีการย่อส่วนเป็นลูกโลกแล้ว จะพบว่าค่าความยาวของเส้นผ่านศูนย์กลางที่เส้นศูนย์สูตร และจากขั้วโลกเหนือไปยังขั้วโลกใต้จะมีค่าไม่ต่างกันมากนัก จึงเห็นได้ว่ารูปโลกมีลักษณะทรงกลม ข้อมูลที่แสดงบนลูกโลกนั้นมีการใช้สัญลักษณ์, สี, หรืออื่น ๆ ในการแสดงสภาพบนผิวโลกเช่นความสูงความต่ำเป็นต้นโดยจะมีการแสดง 2 แบบ ดังนี้1. ลูกโลกแสดงลักษณะผิวโลก โดยแบ่งผิวโลกออกเป็น 2 ส่วนอย่างชัดเจน คือ ส่วนที่เป็นทะเลหรือหมาสมุทรโดยส่วนมากจะเป็นสีฟ้าและน้ำเงิน และแสดงพื้นดินด้วยสีต่างๆตามความสูงโดยจะมีการกำหนดอยู่บนลูกโลกนั้นๆ 2. ส่วนที่สมมติขึ้น เช่นมีการใช้เส้นละติจูด ลองจิจูด เส้นศูนย์สูตร เพื่อเป็นการบอกพิกัดทางภูมิศาสตร์ หรือมีการใช้จุดหรือสัญลักษณ์ในการบอกเมืองท่าหรือเมืองสำคัญเป็นต้น เช่น- เครื่องหมายแสดงทิศ - ทางรถยนต์ - ทางรถไฟ - เส้นแบ่งอาณาเขต - แม่น้ำ - จังหวัด - อำเภอรูปภาพ
| ใครคือผู้ผลิตลูกโลกที่เก่าแก่ที่สุดชื่อว่า เออดาเฟล | {
"answer": [
"มาร์ติน เบไฮม์"
],
"answer_begin_position": [
1046
],
"answer_end_position": [
1060
]
} |
3,793 | 312,169 | ยุทธการที่เกตตีสเบิร์ก ยุทธการเกตตีสเบิร์ก (; 1 – 3 กรกฎาคม ค.ศ. 1863) เป็นส่วนหนึ่งของสงครามกลางเมืองอเมริกา โดยเป็นการต่อสู้กันระหว่างฝ่ายสหรัฐอเมริกา นำโดยนายพลจอร์จ กอร์ดอน มีด กับฝ่ายสมาพันธรัฐอเมริกา นำโดยนายพลโรเบิร์ต เอ็ดเวิร์ด ลี โดยสมรภูมิแห่งนี้ได้เกิดขึ้นในเมืองเกตตีสเบิร์ก รัฐเพนซิลเวเนีย การปะทะกันกินเวลาทั้งสิ้น 3 วัน ยุทธการดังกล่าวนับว่าเป็นสมรภูมิที่นองเลือดมากแห่งหนึ่งในสงครามกลางเมืองอเมริกา โดยมียอดผู้เสียชีวิตเกือบ 10,000 คน และบาดเจ็บอีกเกือบ 30,000 คน สงครามครั้งนี้ ถือเป็นจุดเปลี่ยนในสงครามกลางเมืองอเมริกัน เนื่องจาก กองทัพแห่งโปโตแมค ภายใต้การนำของ พลตรี จอร์จ กอร์ดอน มีด สามารถเอาชนะ กองทัพแห่งเวอร์จิเนียเหนือ ภายใต้การนำของ พลเอก โรเบิร์ต เอ็ดเวิร์ด ลี ซึ่งยุทธการนี้ เป็นการหยุดความพยายามของ โรเบิร์ต เอ็ดเวิร์ด ลี ในการโจมตีฝ่ายเหนือ หลังจากที่นายพล โรเบิร์ต อี. ลี ประสบชัยชนะที่ ยุทธการชาร์ลอตส์วิลล์, เวอร์จิเนีย ในช่วง เดือน พฤษภาคม ค.ศ. 1863 นายพลลี ได้นำทัพผ่าน ช่องเขาเชอนานโดห์ เพื่อเริ่มการโจมตีฝ่ายเหนือเป็นครั้งที่สอง และเมื่อกองทัพของเขามีกำลังใจในการรบสูง ลีตั้งใจที่จะขยับการปะทะขึ้นไปทางเหนือของ เวอร์จิเนีย และหวังว่า นักการเมืองของฝ่ายเหนือ จะยอมเซ็นสนธิสัญญายอมแพ้ เมื่อเขาเข้าโจมตีเมือง แฮริสเบิร์ก , รัฐเพนซิลเวเนีย หรือแม้แต่เมืองที่ใหญ่ที่สุดของ รัฐเพนซิลเวเนีย, เมือง ฟิลาเดลเฟีย เพื่อเป็นการตอบโต้นายพลลี พลตรี โจเซฟ ฮุกเกอร์ จึงได้รับกการทาบทามจาก ประธานาธิบบดี อับราฮัม ลินคอล์น ให้ไล่ล่าลี แต่ฮุกเกอร์ ได้ถูกปลดจากตำแหน่งก่อนยุทธการเกติสเบิร์กราว 3 วัน และ ถูกทดแทนโดย พลตรี จอร์จ กอร์ดอน มีด บางส่วนของทั้งสองกองทัพ ปะทะกันในวันที่ 1 กรกฎาคม บริเวณแนวสันเขาด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเมือง ซึ่ง พลจัตวา จอหน์ บูฟอรด์ ผู้นำกองทหารม้าของฝ่ายเหนือ ได้ตั้งแนวป้องกันไว้ ค.ศ. 1863 นายพลลีจึงสั่งให้ทหารราบ สองกองพัน นำโดย พลจัตวา เจมส์ เจ. อาร์ชเชอร์ และ พลจัตวา โจเซฟ อาร์. เดวิสเข้าโจมตีจุดนั้นโดยทันที เพื่อเข้ายึดแนวสันเขา ก่อนที่กำลังเสริมของฝ่ายเหนือ ซึ่งเป็นทหารราบ สองกองพล จะมาถึง หลังจากนั้นไม่นาน ทหารราบฝ่ายใต้อีกสองกองพัน นำโดย พลตรี แฮรรี่ เฮทฮ์ ได้เข้าโจมตีทหารม้าฝ่ายเหนือ ซึ่งได้ลงจากหลังม้าแล้ว ทำให้ทหารฝ่ายเหนือล่าถอยเข้าไปในเมือง ในวันที่สองของยุทธการเกตติสเบิร์ก ส่วนใหญ่ของทั้งสองกองทัพ ได้รวมกลุ่มใหม่แล้ว ฝ่ายเหนือได้ตั้งแนวป้องกัน เป็นรูปเบ็ดตกปลา ในช่วงบ่ายของวันที่ 2 กรกฎาคม นายพลลี ได้ส่งทหารจำนวนมากเข้าโจมตีปีกซ้ายของทหารฝ่ายเหนือ ที่ เขาลิตเตลราวน์ทอป, ทุ่งวิตฟิลล์, เดวิลส เดน และ ไร่พิชออร์ชารด์ และที่ปีกขวาของทหารฝ่ายเหนือ ที่ เขาคัลปส์ฮิลล์ และที่ เขาเซมิแทรีฮิลล์ ถึงแม้จะถูกโจมตีอย่างหนัก ฝ่ายเหนือสามารถคงแนวป้องกันไว้ได้ ในวันที่สามของยุทธการเกตติสเบิร์ก การปะทะยังดำเนินต่อไปที่เขาคัลปส์ฮิลล์ และการปะทะกับทหารม้าของฝ่ายเหนือ ท้งทางปีกซ้างและขวา แต่การปะทะครั้งใหญ่ที่สุดคือที่ เขาเซมิแทรีฮิลล์ รู้ในนามของ พิกก์เกตส์ ชารจ์ นำโดย จอรจ์ เอ็ดเวิรด์ พิกก์เกต์ ฝ่ายใต้ถูกต้านโดยการระดมยิงปืนใหญ่ของฝ่ายเหนือ และปืนไรเฟิล ซึ่งมีระยะหวังผลมากกว่าปืนมัสเกตหลายเท่า ในที่สุด ฝ่ายใต้ได้ถอยทัพออกจากเมือง ด้วยความสูญเสียมหาสาร นายพลลี ได้นำทหารราว 50,000 นาย ถอยทัพกลับสู่ เวอร์จิเนีย ผ่านสภาพอากาศที่เลวร้าย ในการปะทะสามวัน มีความสูญเสียทั้งสองฝ่าย รวมแล้ว ราว 46,000 นาย ถึง 51,000 นาย ในวันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1863 ประธานาธิบบดี อับราฮัม ลินคอล์น ได้กล่าวสุนทรพจน์ ยกย่องทหารที่เสียชีวิตในยุทธการนี้ ในสุทรพจน์อันโด่งดังของเขา สุนทรพจน์เกตติสเบิรก์แอดเดรสก่อนการรบ ก่อนการรบ. ในช่วงสงครามกลางเมืองก่อนจะเกิดการปะทะกันที่เกตตีสเบิร์กนั้น ฝ่ายสมาพันธรัฐอเมริกา หรืออเมริกาฝ่ายใต้ มักเป็นฝ่ายชนะในสงคราม อันเนื่องมาจากมีผู้บัญชาการฝีมือดีอย่างนายพลโรเบิร์ต อี. ลี แห่งกองทัพแห่งเวอร์จิเนียเหนือ ซึ่งถึงแม้ฝ่ายอเมริกาใต้จะเสียเปรียบอเมริกาเหนือในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านกำลังพลที่ฝ่ายเหนือมีมากกว่าฝ่ายใต้อย่างนับไม่ถ้วน แต่นายพลลีก็สามารถกำชัยเหนือฝ่ายเหนือมาได้หลายครั้ง ซึ่งในยุทธการเกตตีสเบิร์กครั้งนี้ก็เป็นความพ่ายแพ้ครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งของฝ่ายใต้ ที่สร้างความเสียหายให้ชาวอเมริกันทั้ง 2 ฝ่ายอย่างใหญ่หลวงเลยทีเดียว ในช่วงกลางปี ค.ศ. 1863 นายพลลีได้ส่งกองกำลังกว่า 70,000 คน รุกเข้าไปในรัฐเพนซิลเวเนีย โดยมีเป้าหมายที่จะยึดเมืองแฮร์ริสเบิร์ก ซึ่งเป็นเมืองสำคัญด้านการขนส่งของฝ่ายเหนือ โดยเฉพาะทางรถไฟ โดยนายพลลีสามารถรุกเข้ามาได้ถึงเมืองเกตตีสเบิร์กได้ แต่ก็ต้องหยุดชะงักลง เมื่อต้องเผชิญหน้ากับกองกำลังฝ่ายเหนือกว่า 90,000 คน ซึ่งบัญชาการโดยนายพลจอร์จ กอร์ดอน มีด แห่งกองทัพโปโตแมค1 กรกฎาคม ค.ศ. 1863 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1863. กองทัพฝ่ายใต้ได้โจมตีกองกำลังฝ่ายเหนือของนายพลจอห์น บัลฟอร์ท ที่มีกำลังพลประมาณ 3,000 นาย ซึ่งกองกำลังฝ่ายเหนือได้ถอยร่นลงไปตั้งรับที่เนินเขาคีมีทีรีฮิลล์ ทางตอนใต้ของเมืองเพื่อตั้งหลัก และรอกำลังเสริมจากกองทัพฝ่ายเหนือของนายพลจอร์จ จี. มีด ซึ่งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน ซึ่งในวันแรกฝ่ายใต้มีชัยในสงคราม2 กรกฎาคม ค.ศ. 1863 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1863. กองทัพฝ่ายใต้ได้โจมตีแนวตั้งรับของฝ่ายเหนือด้านซ้ายและขวา แต่ด้วยชัยภูมิที่ได้เปรียบกว่าของฝ่ายเหนือ กล่าวคือเป็นเนินสูง ทำให้กองทัพฝ่ายใต้ถูกตีถอยกลับไปได้ทุกครั้ง ในขณะเดียวกันกองทัพฝ่ายเหนือของนายพลมีดก็ทยอยเข้าเสริมกำลังมากขึ้นเรื่อยๆ แต่นายพลโรเบิร์ต อี. ลี ยังคงมั่นใจว่าจะต้องได้รับชัยชนะ ซึ่งในวันที่สองฝ่ายเหนือเริ่มมีโอกาสสร้างความเสียหายให้กับฝ่ายใต้ได้มากขึ้น ฝ่ายใต้เริ่มบอบช้ำจากการโจมตีในชัยภูมิที่เสียเปรียบ3 กรกฎาคม ค.ศ. 1863 3 กรกฎาคม ค.ศ. 1863. หลังจากการโจมตีโอบปีกทั้งซ้าย ขวาของฝ่ายใต้ประสบความพ่ายแพ้ ที่สำคัญกองกำลังที่ตีตลบหลังก็ถูกสกัดโดยนายพลจอร์จ อาร์มสตรอง คัสเตอร์ แห่งกรมทหารม้าที่ 7 ทำให้กองทัพฝ่ายใต้เริ่มวิตกกังวลอย่างหนัก แต่นายพลลียังคงมั่นใจว่าจะกำชัยเหนือฝ่ายเหนือได้ แต่ก็ถูกทัดทานจากนายพลเจมส์ ลองสตรีท ซึ่งนายพลลียังต้องการเข้าตีกองกำลังฝ่ายเหนือให้ถอยร่นกลับไปโดยไม่สนคำทัดทานใดๆ ซึ่งการที่ฝ่ายใต้ไม่สามารถตีแนวตั้งรับด้านข้างของฝ่ายเหนือได้ นายพลลีคิดว่าน่าจะเป็นเพราะฝ่ายเหนือป้องกันแนวตั้งรับด้านข้างมากกว่าด้านอื่นๆ จึงได้ตัดสินใจที่จะบุกแนวหน้าที่น่าจะมีการป้องกันเข้มข้นน้อยกว่าด้านอื่นๆ ในวันที่สามของการรบ นายพลลีได้มอบหมายให้นายพลจอร์จ พิคเกตต์ นำกองกำลังกว่า 10,000 นายเข้าโจมตีแนวตั้งรับแนวหน้าของฝ่ายเหนือ ได้มีการระดมยิงปืนใหญ่ถล่มแนวหน้าของฝ่ายเหนืออยู่หลายชั่วโมง ก่อนจะเคลื่อนพลเข้าโจมตี แต่ทว่านายพลลีคาดการณ์แสนยานุภาพฝ่ายเหนือต่ำไป เพราะเข้าระยะยิงของปืนยาว ทหารฝ่ายเหนือก็ได้ระดมยิงกราดเข้าใส่ทหารฝ่ายใต้ ประกอบด้วยชัยภูมิที่ฝ่ายเหนือได้เปรียบ ทำให้ฝ่ายใต้ต้องประสบกับพ่ายแพ้ยับเยินกลับไปอีกครั้ง ซึ่งในการรบครั้งนี้เป็นความพ่ายแพ้ครั้งใหญ่ที่สุดในยุทธการเกตตีสเบิร์ก ทหารฝ่ายใต้และฝ่ายเหนือเสียชีวิตหลายพันนาย ยุทธการเกตตีสเบิร์กได้จบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายเหนือ นายพลลีจึงต้องยกทัพกลับไปยังสมาพันธรัฐอเมริกา ก่อนที่สงครามกลางเมืองจะจบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายเหนืออีกเช่นกันในอีกหลายปีต่อมา
| ยุทธการเกตตีสเบิร์ก เป็นส่วนหนึ่งของสงครามกลางเมืองในประเทศใด | {
"answer": [
"อเมริกา"
],
"answer_begin_position": [
199
],
"answer_end_position": [
206
]
} |
3,794 | 312,169 | ยุทธการที่เกตตีสเบิร์ก ยุทธการเกตตีสเบิร์ก (; 1 – 3 กรกฎาคม ค.ศ. 1863) เป็นส่วนหนึ่งของสงครามกลางเมืองอเมริกา โดยเป็นการต่อสู้กันระหว่างฝ่ายสหรัฐอเมริกา นำโดยนายพลจอร์จ กอร์ดอน มีด กับฝ่ายสมาพันธรัฐอเมริกา นำโดยนายพลโรเบิร์ต เอ็ดเวิร์ด ลี โดยสมรภูมิแห่งนี้ได้เกิดขึ้นในเมืองเกตตีสเบิร์ก รัฐเพนซิลเวเนีย การปะทะกันกินเวลาทั้งสิ้น 3 วัน ยุทธการดังกล่าวนับว่าเป็นสมรภูมิที่นองเลือดมากแห่งหนึ่งในสงครามกลางเมืองอเมริกา โดยมียอดผู้เสียชีวิตเกือบ 10,000 คน และบาดเจ็บอีกเกือบ 30,000 คน สงครามครั้งนี้ ถือเป็นจุดเปลี่ยนในสงครามกลางเมืองอเมริกัน เนื่องจาก กองทัพแห่งโปโตแมค ภายใต้การนำของ พลตรี จอร์จ กอร์ดอน มีด สามารถเอาชนะ กองทัพแห่งเวอร์จิเนียเหนือ ภายใต้การนำของ พลเอก โรเบิร์ต เอ็ดเวิร์ด ลี ซึ่งยุทธการนี้ เป็นการหยุดความพยายามของ โรเบิร์ต เอ็ดเวิร์ด ลี ในการโจมตีฝ่ายเหนือ หลังจากที่นายพล โรเบิร์ต อี. ลี ประสบชัยชนะที่ ยุทธการชาร์ลอตส์วิลล์, เวอร์จิเนีย ในช่วง เดือน พฤษภาคม ค.ศ. 1863 นายพลลี ได้นำทัพผ่าน ช่องเขาเชอนานโดห์ เพื่อเริ่มการโจมตีฝ่ายเหนือเป็นครั้งที่สอง และเมื่อกองทัพของเขามีกำลังใจในการรบสูง ลีตั้งใจที่จะขยับการปะทะขึ้นไปทางเหนือของ เวอร์จิเนีย และหวังว่า นักการเมืองของฝ่ายเหนือ จะยอมเซ็นสนธิสัญญายอมแพ้ เมื่อเขาเข้าโจมตีเมือง แฮริสเบิร์ก , รัฐเพนซิลเวเนีย หรือแม้แต่เมืองที่ใหญ่ที่สุดของ รัฐเพนซิลเวเนีย, เมือง ฟิลาเดลเฟีย เพื่อเป็นการตอบโต้นายพลลี พลตรี โจเซฟ ฮุกเกอร์ จึงได้รับกการทาบทามจาก ประธานาธิบบดี อับราฮัม ลินคอล์น ให้ไล่ล่าลี แต่ฮุกเกอร์ ได้ถูกปลดจากตำแหน่งก่อนยุทธการเกติสเบิร์กราว 3 วัน และ ถูกทดแทนโดย พลตรี จอร์จ กอร์ดอน มีด บางส่วนของทั้งสองกองทัพ ปะทะกันในวันที่ 1 กรกฎาคม บริเวณแนวสันเขาด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเมือง ซึ่ง พลจัตวา จอหน์ บูฟอรด์ ผู้นำกองทหารม้าของฝ่ายเหนือ ได้ตั้งแนวป้องกันไว้ ค.ศ. 1863 นายพลลีจึงสั่งให้ทหารราบ สองกองพัน นำโดย พลจัตวา เจมส์ เจ. อาร์ชเชอร์ และ พลจัตวา โจเซฟ อาร์. เดวิสเข้าโจมตีจุดนั้นโดยทันที เพื่อเข้ายึดแนวสันเขา ก่อนที่กำลังเสริมของฝ่ายเหนือ ซึ่งเป็นทหารราบ สองกองพล จะมาถึง หลังจากนั้นไม่นาน ทหารราบฝ่ายใต้อีกสองกองพัน นำโดย พลตรี แฮรรี่ เฮทฮ์ ได้เข้าโจมตีทหารม้าฝ่ายเหนือ ซึ่งได้ลงจากหลังม้าแล้ว ทำให้ทหารฝ่ายเหนือล่าถอยเข้าไปในเมือง ในวันที่สองของยุทธการเกตติสเบิร์ก ส่วนใหญ่ของทั้งสองกองทัพ ได้รวมกลุ่มใหม่แล้ว ฝ่ายเหนือได้ตั้งแนวป้องกัน เป็นรูปเบ็ดตกปลา ในช่วงบ่ายของวันที่ 2 กรกฎาคม นายพลลี ได้ส่งทหารจำนวนมากเข้าโจมตีปีกซ้ายของทหารฝ่ายเหนือ ที่ เขาลิตเตลราวน์ทอป, ทุ่งวิตฟิลล์, เดวิลส เดน และ ไร่พิชออร์ชารด์ และที่ปีกขวาของทหารฝ่ายเหนือ ที่ เขาคัลปส์ฮิลล์ และที่ เขาเซมิแทรีฮิลล์ ถึงแม้จะถูกโจมตีอย่างหนัก ฝ่ายเหนือสามารถคงแนวป้องกันไว้ได้ ในวันที่สามของยุทธการเกตติสเบิร์ก การปะทะยังดำเนินต่อไปที่เขาคัลปส์ฮิลล์ และการปะทะกับทหารม้าของฝ่ายเหนือ ท้งทางปีกซ้างและขวา แต่การปะทะครั้งใหญ่ที่สุดคือที่ เขาเซมิแทรีฮิลล์ รู้ในนามของ พิกก์เกตส์ ชารจ์ นำโดย จอรจ์ เอ็ดเวิรด์ พิกก์เกต์ ฝ่ายใต้ถูกต้านโดยการระดมยิงปืนใหญ่ของฝ่ายเหนือ และปืนไรเฟิล ซึ่งมีระยะหวังผลมากกว่าปืนมัสเกตหลายเท่า ในที่สุด ฝ่ายใต้ได้ถอยทัพออกจากเมือง ด้วยความสูญเสียมหาสาร นายพลลี ได้นำทหารราว 50,000 นาย ถอยทัพกลับสู่ เวอร์จิเนีย ผ่านสภาพอากาศที่เลวร้าย ในการปะทะสามวัน มีความสูญเสียทั้งสองฝ่าย รวมแล้ว ราว 46,000 นาย ถึง 51,000 นาย ในวันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1863 ประธานาธิบบดี อับราฮัม ลินคอล์น ได้กล่าวสุนทรพจน์ ยกย่องทหารที่เสียชีวิตในยุทธการนี้ ในสุทรพจน์อันโด่งดังของเขา สุนทรพจน์เกตติสเบิรก์แอดเดรสก่อนการรบ ก่อนการรบ. ในช่วงสงครามกลางเมืองก่อนจะเกิดการปะทะกันที่เกตตีสเบิร์กนั้น ฝ่ายสมาพันธรัฐอเมริกา หรืออเมริกาฝ่ายใต้ มักเป็นฝ่ายชนะในสงคราม อันเนื่องมาจากมีผู้บัญชาการฝีมือดีอย่างนายพลโรเบิร์ต อี. ลี แห่งกองทัพแห่งเวอร์จิเนียเหนือ ซึ่งถึงแม้ฝ่ายอเมริกาใต้จะเสียเปรียบอเมริกาเหนือในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านกำลังพลที่ฝ่ายเหนือมีมากกว่าฝ่ายใต้อย่างนับไม่ถ้วน แต่นายพลลีก็สามารถกำชัยเหนือฝ่ายเหนือมาได้หลายครั้ง ซึ่งในยุทธการเกตตีสเบิร์กครั้งนี้ก็เป็นความพ่ายแพ้ครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งของฝ่ายใต้ ที่สร้างความเสียหายให้ชาวอเมริกันทั้ง 2 ฝ่ายอย่างใหญ่หลวงเลยทีเดียว ในช่วงกลางปี ค.ศ. 1863 นายพลลีได้ส่งกองกำลังกว่า 70,000 คน รุกเข้าไปในรัฐเพนซิลเวเนีย โดยมีเป้าหมายที่จะยึดเมืองแฮร์ริสเบิร์ก ซึ่งเป็นเมืองสำคัญด้านการขนส่งของฝ่ายเหนือ โดยเฉพาะทางรถไฟ โดยนายพลลีสามารถรุกเข้ามาได้ถึงเมืองเกตตีสเบิร์กได้ แต่ก็ต้องหยุดชะงักลง เมื่อต้องเผชิญหน้ากับกองกำลังฝ่ายเหนือกว่า 90,000 คน ซึ่งบัญชาการโดยนายพลจอร์จ กอร์ดอน มีด แห่งกองทัพโปโตแมค1 กรกฎาคม ค.ศ. 1863 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1863. กองทัพฝ่ายใต้ได้โจมตีกองกำลังฝ่ายเหนือของนายพลจอห์น บัลฟอร์ท ที่มีกำลังพลประมาณ 3,000 นาย ซึ่งกองกำลังฝ่ายเหนือได้ถอยร่นลงไปตั้งรับที่เนินเขาคีมีทีรีฮิลล์ ทางตอนใต้ของเมืองเพื่อตั้งหลัก และรอกำลังเสริมจากกองทัพฝ่ายเหนือของนายพลจอร์จ จี. มีด ซึ่งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน ซึ่งในวันแรกฝ่ายใต้มีชัยในสงคราม2 กรกฎาคม ค.ศ. 1863 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1863. กองทัพฝ่ายใต้ได้โจมตีแนวตั้งรับของฝ่ายเหนือด้านซ้ายและขวา แต่ด้วยชัยภูมิที่ได้เปรียบกว่าของฝ่ายเหนือ กล่าวคือเป็นเนินสูง ทำให้กองทัพฝ่ายใต้ถูกตีถอยกลับไปได้ทุกครั้ง ในขณะเดียวกันกองทัพฝ่ายเหนือของนายพลมีดก็ทยอยเข้าเสริมกำลังมากขึ้นเรื่อยๆ แต่นายพลโรเบิร์ต อี. ลี ยังคงมั่นใจว่าจะต้องได้รับชัยชนะ ซึ่งในวันที่สองฝ่ายเหนือเริ่มมีโอกาสสร้างความเสียหายให้กับฝ่ายใต้ได้มากขึ้น ฝ่ายใต้เริ่มบอบช้ำจากการโจมตีในชัยภูมิที่เสียเปรียบ3 กรกฎาคม ค.ศ. 1863 3 กรกฎาคม ค.ศ. 1863. หลังจากการโจมตีโอบปีกทั้งซ้าย ขวาของฝ่ายใต้ประสบความพ่ายแพ้ ที่สำคัญกองกำลังที่ตีตลบหลังก็ถูกสกัดโดยนายพลจอร์จ อาร์มสตรอง คัสเตอร์ แห่งกรมทหารม้าที่ 7 ทำให้กองทัพฝ่ายใต้เริ่มวิตกกังวลอย่างหนัก แต่นายพลลียังคงมั่นใจว่าจะกำชัยเหนือฝ่ายเหนือได้ แต่ก็ถูกทัดทานจากนายพลเจมส์ ลองสตรีท ซึ่งนายพลลียังต้องการเข้าตีกองกำลังฝ่ายเหนือให้ถอยร่นกลับไปโดยไม่สนคำทัดทานใดๆ ซึ่งการที่ฝ่ายใต้ไม่สามารถตีแนวตั้งรับด้านข้างของฝ่ายเหนือได้ นายพลลีคิดว่าน่าจะเป็นเพราะฝ่ายเหนือป้องกันแนวตั้งรับด้านข้างมากกว่าด้านอื่นๆ จึงได้ตัดสินใจที่จะบุกแนวหน้าที่น่าจะมีการป้องกันเข้มข้นน้อยกว่าด้านอื่นๆ ในวันที่สามของการรบ นายพลลีได้มอบหมายให้นายพลจอร์จ พิคเกตต์ นำกองกำลังกว่า 10,000 นายเข้าโจมตีแนวตั้งรับแนวหน้าของฝ่ายเหนือ ได้มีการระดมยิงปืนใหญ่ถล่มแนวหน้าของฝ่ายเหนืออยู่หลายชั่วโมง ก่อนจะเคลื่อนพลเข้าโจมตี แต่ทว่านายพลลีคาดการณ์แสนยานุภาพฝ่ายเหนือต่ำไป เพราะเข้าระยะยิงของปืนยาว ทหารฝ่ายเหนือก็ได้ระดมยิงกราดเข้าใส่ทหารฝ่ายใต้ ประกอบด้วยชัยภูมิที่ฝ่ายเหนือได้เปรียบ ทำให้ฝ่ายใต้ต้องประสบกับพ่ายแพ้ยับเยินกลับไปอีกครั้ง ซึ่งในการรบครั้งนี้เป็นความพ่ายแพ้ครั้งใหญ่ที่สุดในยุทธการเกตตีสเบิร์ก ทหารฝ่ายใต้และฝ่ายเหนือเสียชีวิตหลายพันนาย ยุทธการเกตตีสเบิร์กได้จบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายเหนือ นายพลลีจึงต้องยกทัพกลับไปยังสมาพันธรัฐอเมริกา ก่อนที่สงครามกลางเมืองจะจบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายเหนืออีกเช่นกันในอีกหลายปีต่อมา
| ยุทธการเกตตีสเบิร์ก เป็นส่วนหนึ่งของสงครามกลางเมืองอเมริกาที่เกิดขึ้นในรัฐใด | {
"answer": [
"เพนซิลเวเนีย"
],
"answer_begin_position": [
387
],
"answer_end_position": [
399
]
} |
3,795 | 373,210 | มาจอร์กา มาจอร์กา (), มัลยอร์กา () หรือ มายอร์กา () เป็นเกาะในประเทศสเปน ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นเกาะใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะแบลีแอริก เป็นเกาะที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดและเป็นเกาะที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของสเปน (รองจากเกาะเตเนรีเฟในหมู่เกาะคะแนรี) เมืองหลวงของเกาะคือเมือง ปัลมา ที่ยังเป็นเมืองหลักของแคว้นปกครองตนเองแห่งหมู่เกาะแบลีแอริก เช่นเดียวกับเกาะอื่นในหมู่เกาะแบลีแอริกอย่างอีบีซา ฟอร์เมนเตรา และมินอร์กา ที่เป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวในวันหยุดที่ได้รับความนิยมมาก นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มาจากเยอรมนี สหราชอาณาจักร และไอร์แลนด์ ชื่อของเกาะมาจากภาษาละติน insula maior,"เกาะใหญ่กว่า" ที่ต่อมาคือ Maiorica, "(เกาะ) ที่ใหญ่กว่า" ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบกับเกาะมินอร์กา เกาะนี้เป็นเกาะที่มีชายฝั่งเว้าแหว่งและลาดลึก โดยเฉพาะทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา ด้านตะวันออกและด้านใต้พื้นที่เป็นที่ราบลูกคลื่น และมีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเพาะปลูก มีการผลิตบรั่นดี
| เกาะมาจอร์กาในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นเกาะในประเทศใด | {
"answer": [
"สเปน"
],
"answer_begin_position": [
151
],
"answer_end_position": [
155
]
} |
3,796 | 82,084 | ภาษาคีร์กีซ ภาษาคีร์กีซ (Kyrgyz Language; Кыргыз тили, Kyrgyz tili; قىرعىز تىلى) เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิกตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นภาษาราชการของประเทศคีร์กีซสถานคู่กับภาษารัสเซีย มีผู้พูด 7 ล้านคน ในคีร์กีซสถาน จีน อัฟกานิสถาน คาซัคสถาน ทาจิกิสถาน ตุรกี อุซเบกิสถาน ปากีสถานและรัสเซีย เขียนด้วยอักษรซีริลลิกดัดแปลงในคีร์กีซสถาน และอักษรอาหรับดัดแปลงในจีน เคยเขียนด้วยอักษรละตินในช่วง พ.ศ. 2471 - 2483 หลังจากคีร์กีซสถานได้รับเอกราชเมื่อ พ.ศ. 2534 มีผู้เสนอให้ใช้อักษรละตินอีกแต่ไม่สำเร็จประวัติยุคก่อนประวัติศาสตร์ ประวัติ. ยุคก่อนประวัติศาสตร์. กลุ่มชนกลุ่มแรกที่รู้จักกันในชื่อชาวคีร์กิซได้มีการกล่าวถึงในยุคกลางตอนต้นของเอกสารจีนในฐานะเพื่อนบ้านทางเหนือ และบางครั้งเป็นกลุ่มจักรวรรดิเติร์กในทุ่งหญ้าสเตปที่อยู่ในมองโกเลีย ชาวคีร์กิซเกี่ยวข้องกับเส้นทางการค้านานาชาติในชื่อเส้นทางสายไหม ในยุคจักรวรรดิ์อุยกูร์เมื่อราว 297 ปีก่อนพุทธศักราช ชนกลุ่มนี้พูดภาษากลุ่มเตอร์กิกที่แตกต่างจากภาษาเตอร์กิกโบราณไปเล็กน้อย และเขียนด้วยอักษรรูนแบบเดียวกัน หลังจากมีชัยชนะเหนืออุยกูร์ ชาวคีร์กีซไม่ได้ครอบครองทุ่งหญ้าสเตปในมองโกเลีย และประวัติศาสตร์ของพวกเขาในช่วงนี้เป็นที่รู้จักน้อยมาก แต่เชื่อว่าพวกเขาคงอาศัยในบริเวณไม่ไกลจากบริเวณที่อยู่ในปัจจุบันนี้ บรรพบุรุษของชาวเติร์กทุกวันนี้ อาจจะเป็นเผ่าซาโมเยคใต้หรือเผ่าเยนิเซยันที่เข้ามาติดต่อกับวัฒนธรรมเติร์ก หลังจากมีชัยชนะเหนืออุยกูร์และตั้งหลักแหล่งในบริเวณออร์คอน ซึ่งเป็นบริเวณที่พบหลักฐานภาษาเตอร์กิกที่เก่าที่สุดในพุทธศตวรรษที่ 14 เอกสารของชาวจีนและมุสลิมในพุทธศตวรรษที่ 12 - 17 อธิบายว่าชาวคีร์กิซว่าเป็นพวกผมแดง ตาสีเขียว ลูกหลานของชาวคีร์กิซที่สืบเชื้อสายมาจากชาวไซบีเรียได้รับการยืนยันจากข้อมูลทางพันธุกรรม 63% ของชายชาวคีร์กิซในปัจจุบันมี DNA บนโครโมโซม Y Ria1 ซึ่งพบในชาวทาจิก 64% ชาวยูเครน 54% ชาวโปแลนด์ 56% และชาวไอซ์แลนด์ 29% ถ้าชาวคีร์กิซสืบเชื้อสายมาจากเผ่าซาโมเยคในไซบีเรีย ชาวคีร์กิซจะต้องเคยพูดภาษาในตระกูลภาษายูราลิกมาก่อนที่จะเข้าสู่บริเวณออร์คอน ถ้าเป็นลูกหลานของเผ่าเยนิเซยัน พวกเขาจะเป็นลูกหลานของกลุ่มชนชื่อเดียวกันที่เริ่มเข้าสู่ดินแดนที่เป็นประเทศคีร์กีซสถานในปัจจุบันจากบริเวณแม่น้ำเยนิเซยในไซบีเรียตอนกลางเมื่อพุทธศตวรรษที่ 15 อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีที่มาจากเผ่าเยนิเซยันมีข้อโต้แย้งมาก เพราะความใกล้เคียงทางวัฒนธรรมและภาษาของชาวคีร์กิซและชาวคาซัค คำอธิบายในยุคแรกๆ เกี่ยวกับชาวคีร์กิซในเอกสารจีน กล่าวว่าพวกเขามีผมสีแดงและตาสีเขียวซึ่งเป็นลักษณะของกลุ่มชาวคอเคซอยด์ ที่พูดภาษาในตระกูลภาษาอินโด-ยุโรเปียนในยุคนั้น ซึ่งปัจจุบันยังพบอยู่ในยูเรเชียตอนกลาง ยิ่งไปกว่านั้น ยังไม่มีหลักฐานที่เชื่อมต่อภาษาคีร์กิซเข้ากับตระกูลภาษายูราลิกหรือเยนิเซยัน จึงไม่แน่นอนว่าชาวคีร์กิซในปัจจุบันเป็นลูกหลานของชาวคีร์กิซในยุคกลางหรือไม่ยุคอาณานิคม ยุคอาณานิคม. ในยุคที่ถูกปกครองโดยตุรกี (พ.ศ. 2419 - 2460) คาซัคและคีร์กิซถูกเรียกรวมกันว่าคีร์กิซ และส่วนที่เป็นคีร์กิซสถานในปัจจุบันเรียกว่าคีร์กิซดำ แม้ว่าภาษาคีร์กิซจะมีที่มาจากสาขาเดียวกับภาษาอัลไตและภาษาอื่นๆที่ใช้พูดทางตะวันออกเฉียงเหนือของคีร์กิซสถาน แต่ภาษาคีร์กิซในปัจจุบันมีความใกล้เคียงกับภาษาคาซัคและบางครั้งจัดอยู่ในภาษากลุ่มโนกายของภาษากลุ่มเคียปชักซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของภาษากลุ่มเตอร์กิก ถ้าตัดอิทธิพลจากภาษาคาซัคออกไปแล้ว ภาษาคีร์กิซยังคงมีความคล้ายคลึงกับภาษาอัลไตอยู่ ภาษาคีร์กิซสมัยใหม่ไม่มีระบบการเขียนที่เป็นมาตรฐานจนกระทั่ง พ.ศ. 2466 จึงมีการเขียนที่ปรับปรุงมาจากอักษรอาหรับ จากนั้นเปลี่ยนเป็นอักษรละตินที่พัฒนาโดยคาซืม ตืย์นืย์สตานอฟ และเปลี่ยนเป็นอักษรอาหรับใน พ.ศ. 2483 ในทันทีที่ได้รับเอกราช มีการอภิปรายเกี่ยวกับการเปลี่ยนตัวอักษรแต่ยังไม่ได้ข้อสรุปความเปลี่ยนแปลงในยุคหลังโซเวียต ความเปลี่ยนแปลงในยุคหลังโซเวียต. ความแตกต่างอย่างหนึ่งระหว่างคีร์กิซสถานกับคาซัคสถาน คือชาวคีร์กิซนิยมใช้ภาษาของตนมากกว่า และอยู่กันเป็นกลุ่มก้อนชัดเจนกว่า หลังได้รับเอกราชจากโซเวียต รัฐลาลของอะกาเยฟเสนอให้ใช้ภาษาคีร์กิซเป็นภาษาราชการและบังคับให้ชาวยุโรปหันมาใช้ภาษาคีร์กิซ ซึ่งชาวยุโรปที่ส่วนใหญ่เป็นชาวรัสเซียต่อต้านนโยบายนี้มาก ใน พ.ศ. 2535 มีการออกกฎหมายบังคับให้ธุรกิจทุกอย่างต้องใช้ภาษาคีร์กิซเท่านั้นภายใน พ.ศ. 2540 แต่ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2549 รัฐสภาของคีร์กิซสถานยอมให้ใช้ภาษารัสเซียเป็นภาษาราชการคู่กับภาษาคีร์กิซอีกภาษา ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ได้รับแรงกดดันจากรัสเซียด้วยสัทวิทยาสระพยัญชนะ สัทวิทยา. พยัญชนะ. หน่วยเสียงพยัญชนะภาษาคีร์กีซ:ระบบการเขียน ระบบการเขียน. ใช้อักษรซีริลลิกดัดแปลงดังนี้: А Б (В) Г Д Е Ё Ж З И Й К Л М Н Ң О Ө П Р С Т У Ү (Ф) Х Ц Ч Ш Щ (Ъ) Ы (Ь) Э Ю Я
| ภาษาใดเป็นภาษาราชการของประเทศคีร์กีซสถานคู่กับภาษารัสเซีย | {
"answer": [
"คีร์กีซ"
],
"answer_begin_position": [
100
],
"answer_end_position": [
107
]
} |
3,797 | 128,991 | ดาวเทียมสื่อสาร ดาวเทียมสื่อสาร ( หรือเรียกสั้นๆ ว่า comsat) เป็นดาวเทียมที่มีจุดประสงค์เพื่อการสื่อสารและโทรคมนาคม จะถูกส่งไปในช่วงของอวกาศเข้าสู่วงโคจรโดยมีความห่างจากพื้นโลกโดยประมาณ 35,786 กิโลเมตร ซึ่งความสูงในระดับนี้จะเป็นผลทำให้เกิดแรงดึงดูดระหว่างโลกกับดาวเทียม ในขณะที่โลกหมุนก็จะส่งแรงเหวี่ยง ทำให้ดาวเทียมเกิดการโคจรรอบโลกตามการหมุนของโลกประวัติ ประวัติ. ผู้ริเริ่มแนวคิดการสื่อสารดาวเทียมคือ อาเธอร์ ซี คลาร์ก (Arthur C. Clarke) นักเขียนนวนิยายและสารคดีวิทยาศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 เขาสร้างจินตนาการการสื่อสารดาวเทียมตั้งแต่ปี ค.ศ. 1945 โดยเขียนบทความเรื่อง "Extra Terrestrial Relay" ในนิตยสาร Wireless World ฉบับเดือนตุลาคม 1945 ซึ่งบทความนั้นได้กล่าวถึงการเชื่อมระบบสัญญาณวิทยุจากมุมโลกหนึ่งไปยังอีกมุมโลกหนึ่ง ให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยใช้สถานีถ่ายทอดวิทยุที่ลอยอยู่ในอวกาศเหนือพื้นโลกขึ้นไปประมาณ 35,786 กิโลเมตร จำนวน 3 สถานี ในวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 1957 ข้อคิดในบทความของอาร์เธอร์ ซี คลาร์ก เริ่มเป็นจริงขึ้นมาเมื่อสหภาพโซเวียตได้ส่งดาวเทียมสปุตนิก ซึ่งเป็นดาวเทียมดวงแรกของโลกขึ้นสู่อวกาศได้สำเร็จ ต่อมาเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 1958 สหรัฐอเมริกาได้ส่งดาวเทียมเพื่อการสื่อสารดวงแรกที่ชื่อว่า สกอร์ (SCORE) ขึ้นสู่อวกาศ และได้บันทึกเสียงสัญญาณที่เป็นคำกล่าวอวยพรของดไวต์ ดี. โอเซนฮาวร์ ประธานาธิบดีสหรัฐ เนื่องเทศกาลคริสต์มาสจากสถานีภาคพื้นดินแล้วถ่ายทอดสัญญาณจากดาวเทียมลงมาสู่ชาวโลก นับเป็นการส่งวิทยุกระจายเสียงจากดาวเทียมภาคพื้นโลกได้เป็นครั้งแรก วันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 1964 ประเทศสมาชิกสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) จำนวน 11 ประเทศ ร่วมกันจัดตั้งองค์การโทรคมนาคมทางดาวเทียมระหว่างประเทศ หรือเรียกว่า “อินเทลแซท” ขึ้นที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา โดยให้ประเทศสมาชิกเข้าถือหุ้นดำเนินการใช้ดาวเทียมเพื่อกิจการโทรคมนาคมพานิชย์แห่งโลก INTELSAT ตั้งคณะกรรมการ INTERIM COMMUNICATIONS SATELLITE COMMITTEE (ICSC) จัดการในธุรกิจต่าง ๆ ตามนโยบายของ ICSC เช่นการจัดสร้างดาวเทียมการปล่อยดาวเทียมการกำหนดมาตรฐานสถานีภาคพื้นดิน การกำหนดค่าเช่าใช้ช่องสัญญาณดาวเทียม เป็นต้น วันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1964 ได้มีการถ่ายทอดโทรทัศน์พิธีเปิดงานกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 18 จากกรุงโตเกียว ผ่านดาวเทียม “SYNCOM III” ไปสหรัฐอเมริกานับได้ว่าเป็นการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมครั้งแรกของโลก วันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 1965 COMSAT ส่งดาวเทียม “TELSAT 1” หรือในชื่อว่า EARLY BIRD ส่งขึ้นเหนือมหาสมุทรแอตแลนติก ถือว่าเป็นดาวเทียมเพื่อการสื่อสาร เพื่อการพานิชย์ดวงแรกของโลก ในระยะหลังมีหลายประเทศที่มีดาวเทียมเป็นของตนเอง (DOMSAT) เพื่อใช้ในการสื่อสารภายในประเทศ- PALAPA ของอินโดนีเซีย - SAKURA ของญี่ปุ่น - COMSTAR ของอเมริกา และ THAICOM ของ ประเทศไทย ดาวเทียมไทยคม เป็นโครงการ ดาวเทียมสื่อสาร เพื่อให้บริการสื่อสารผ่านช่องสัญญาณดาวเทียม ซึ่งกระทรวงคมนาคม (ในขณะนั้น) ต้องการจัดหาดาวเทียมเพื่อรองรับการขยายตัวด้านการสื่อสารของประเทศอย่างรวดเร็ว แต่ในเวลานั้นประเทศไทยยังไม่มีดาวเทียมเป็นของตนเอง และต้องทำการเช่าวงจรสื่อสารจากดาวเทียมของประเทศต่างๆ ทำให้ให้เกิดความไม่สะดวกและสูญเสียเงินออกนอกประเทศเป็นจำนวนมาก แต่เนื่องจากการจัดสร้างดาวเทียมต้องใช้เงินลงทุนสูงมากจึงได้มีการเปิดประมูลเพื่อให้สัมปทานแก่บริษัทเอกชนเข้ามาดำเนินการแทนการใช้งบประมาณจากภาครัฐ และ บริษัท ชินวัตร แซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ตามลำดับ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้รับสัมปทานเมื่อ พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา เป็นระยะเวลา 30 ปี (ปัจจุบันอำนาจการดูแลสัญญาโอนไปที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) ชื่อ "ไทยคม" (Thaicom) เป็นชื่อพระราชทาน ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน โดยย่อมาจาก Thai Communications ในภาษาอังกฤษ ปัจจุบัน ดาวเทียมสื่อสารภายใต้ชื่อ ดาวเทียมไทยคม มีทั้งสิ้น 7 ดวง ใช้งานได้จริง 4 ดวง ดังนี้ ไทยคม 1 ไทยคม 1A ดาวเทียมดวงแรกของประเทศไทย เป็นดาวเทียมรุ่น HS-376 สร้างโดย Huges Space Aircraft (บริษัทลูกของ โบอิง) โคจรบริเวณพิกัดที่ 120 องศาตะวันออก ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2536 มีอายุการใช้งานประมาณ 15 ปี (ถึง พ.ศ. 2551) เดิมดาวเทียมดวงนี้อยู่ที่พิกัด 78.5 องศาตะวันออก เรียกชื่อว่า ไทยคม 1 เมื่อย้ายมาอยู่ที่ 120 องศาตะวันออก เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2540 จึงเรียกชื่อใหม่ว่า "ไทยคม 1A"ประวัติการสื่อสารผ่านดาวเทียมของโลกประวัติการสื่อสารผ่านดาวเทียมของโลก. - พ.ศ. 2500 รัสเซีย ทดลองระบบวิทยุโดยผ่านดาวเทียม สปุตนิก 1 เป็นดาวเทียมดวงแรกที่มนุษย์ส่งขึ้นไปเคลื่อนรอบโลก - พ.ศ. 2505 สหรัฐอเมริการ่วมกับอังกฤษ ฝรั่งเศส สื่อสารข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกด้วยดาวเทียมเทลสตาร์ 1 - พ.ศ. 2505 รัสเซีย ใช้ดาวเทียมในการส่งสัญญาณโทรทัศน์ติดต่อผ่านดาวเทียมวอลสตอก 3,4 - พ.ศ. 2507 สหรัฐอเมริกาได้ร่วมกันถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ในการแข่งขันโอลิมปิกผ่านดาวเทียม ซินคอม 3 - พ.ศ. 2508 องค์การอินเทลแสท ( Intelsat ) ส่งดาวเทียมโทรคมนาคมดวงแรกชื่อว่าเออร์ลี่ เบอร์ด หรืออินเทลแสท 1 เหนือมหาสมุทร แอตแลนติก เพื่อติดต่อระหว่างยุโรบและสหรัฐอเมริกา ส่งโทรศัพท์หรือรายการโทรทัศน์ได้ 240 คู่สาย - พ.ศ. 2509 ดาวเทียมเทลแสท 2 สู่วงโคจร ประเทศไทยเปิดการติดต่อสื่อวารผ่านดาวเทียมเหนือมหาสมุทรแปซิฟิกกับสหรัฐอเมริกา ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2510 - พ.ศ. 2511 ดาวเทียมอินเทลแสท 3 ขึ้นสู่วงโคจร ประเทศไทยเปิดการติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียมเหนือมหาสมุทรแปซิฟิกและอินเดียเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2513ประโยชน์ของดาวเทียมสื่อสาร ประโยชน์ของดาวเทียมสื่อสาร. ดาวเทียมสื่อสารเป็นสถานีรับคลื่นวิทยุโทรทัศน์ โดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากสถานีบนโลกส่งไปยังอีกสถานีหนึ่งซึ่งอยู่ไกล ที่ไม่สามารถสื่อสารถึงกันโดยตรงได้สะดวก ซึ่งดาวเทียมสื่อสารสามารถรับส่งข้อมูลได้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วโลก จึงทำให้ดาวเทียมสื่อสารมีหน้าที่รับส่งโทรทัศน์ โทรสาร ข่าวสาร ภาพโทรทัศน์และรายการวิทยุ ตลอดจนข้อมูลข่าวสารคอมพิวเตอร์ไปทั่วโลก โดยดาวเทียมสื่อสารมีประโชน์ที่สำคัญหลายด้าน ดังนี้- ด้านการสื่อสาร - ด้านการค้า - ด้านการทหาร - ด้านบริการในการปฏิบัติการในอวกาศ - ด้านอื่นๆ เช่น การอุตุนิยมวิทยา การสำรวจธรรมชาติ การสำรวจดาวเคราะห์ ฯลฯ เป็นต้น
| ผู้ริเริ่มแนวคิดการสื่อสารดาวเทียมคือใคร | {
"answer": [
"อาเธอร์ ซี คลาร์ก"
],
"answer_begin_position": [
495
],
"answer_end_position": [
512
]
} |
3,798 | 125,989 | ดาวเทียมสปุตนิก 1 สปุตนิก 1 ( ; IPA: [ˈsputnʲɪk] ; ) เป็นดาวเทียมดวงแรกของโลก สหภาพโซเวียต ได้ส่งดาวเทียมสปุตนิกขึ้นสู่วงโคจรโลกในรูปวงรีในวันที่ 4 ตุลาคม 1957 ซึ่งโคจรสามสัปดาห์ก่อนที่แบตเตอรี่จะเสียอย่างเงียบ ๆ ก่อนที่จะตกลงสู่ชั้นบรรยากาศในอีกสองเดือนต่อมา สปุตนิก 1 มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 58 ซม. (23 นิ้ว) มีเสาอากาศวิทยุภายนอก 4 เสาเพื่อกระจายคลื่นวิทยุ สัญญาณวิทยุสามารถตรวจจับได้โดยนักวิทยุสมัครเล่น และระยะเอียง 65 องศาและระยะเวลาของวงโคจรของมันทำให้เส้นทางการบินครอบคลุมพื้นที่ทั้งโลก ความสำเร็จที่น่าแปลกใจนี้ได้ทำให้เกิดวิกฤติการณ์สปุตนิกในหมู่ชาวอเมริกัน และทำให้การแข่งขันด้านอวกาศเป็นส่วนหนึ่งของสงครามเย็น การเปิดตัวนี้นำมาซึ่งการพัฒนาด้านการเมือง, การทหาร, เทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์ใหม่ ๆ การติดตามและการศึกษาดาวเทียมสปุตนิก 1 จากโลกได้ให้ข้อมูลแก่นักวิทยาศาสตร์ ถึงความหนาแน่นของบรรยากาศชั้นบนอาจถูกอนุมานได้จากการลากบนวงโคจรและการแพร่กระจายของสัญญาณวิทยุจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ ดาวเทียมสปุตนิก 1 ถูกปล่อยในระหว่างปีสากลแห่งธรณีฟิสิกส์ จากไซต์ №1/5 ที่ the 5th Tyuratam range ในสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคาซัค (ปัจจุบันคือ ไบโคนูร์คอสโมโดรม) ดาวเทียมเดินทางประมาณ 29,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (18,000 ไมล์ต่อชั่วโมง 8,100 เมตร / วินาที) โดยใช้เวลา 96.2 นาทีในการทำให้ครบรอบวงโคจรเสร็จสมบูรณ์ สปุกนิกส่งคลิ่นที่ 20.005 และ 40.002 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งได้รับการตรวจสอบโดยผู้ให้บริการวิทยุทั่วโลก สัญญาณของสปุกนิกยังคงปรากฏเป็นเวลา 21 วันจนกว่าแบตเตอรี่ของเครื่องส่งสัญญาณจะหมดลงในวันที่ 26 ตุลาคม 1957 ดาวเทียมสปุตนิกถูกเผาในวันที่ 4 มกราคม 1958 ขณะที่กลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลกหลังจากได้โคจรรอบโลกสามเดือนเสร็จสิ้นพร้อมกับโคจรครบรอบวงโคจรทั้งหมด 1440 รอบ และระยะทางเดินทางประมาณ 70 ล้านกิโลเมตร (43 ล้านไมล์)ลักษณะ ลักษณะ. ชื่อ สปุตนิก-1 แปลว่า "ดาวเทียม-1" และชื่อย่อภาษารัสเซียว่า ПС-1 ดาวเทียมดวงนี่มีรูปทรงกลมขนาดเท่าลูกบาสเกตบอล ทำด้วยอะลูมิเนียมหนัก 84 กิโลกรัม ถูกส่งขึ้นวงโคจรด้วยจรวด อาร์-7 จากฐานยิงในทะเลทรายคีซิลคุม ไบโคนูร์คอสโมโดรม คาซัคสถาน เมื่อ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2500
| ดาวเทียมดวงแรกของโลกมีชื่อว่าอะไร | {
"answer": [
"สปุตนิก 1"
],
"answer_begin_position": [
110
],
"answer_end_position": [
119
]
} |
3,799 | 125,989 | ดาวเทียมสปุตนิก 1 สปุตนิก 1 ( ; IPA: [ˈsputnʲɪk] ; ) เป็นดาวเทียมดวงแรกของโลก สหภาพโซเวียต ได้ส่งดาวเทียมสปุตนิกขึ้นสู่วงโคจรโลกในรูปวงรีในวันที่ 4 ตุลาคม 1957 ซึ่งโคจรสามสัปดาห์ก่อนที่แบตเตอรี่จะเสียอย่างเงียบ ๆ ก่อนที่จะตกลงสู่ชั้นบรรยากาศในอีกสองเดือนต่อมา สปุตนิก 1 มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 58 ซม. (23 นิ้ว) มีเสาอากาศวิทยุภายนอก 4 เสาเพื่อกระจายคลื่นวิทยุ สัญญาณวิทยุสามารถตรวจจับได้โดยนักวิทยุสมัครเล่น และระยะเอียง 65 องศาและระยะเวลาของวงโคจรของมันทำให้เส้นทางการบินครอบคลุมพื้นที่ทั้งโลก ความสำเร็จที่น่าแปลกใจนี้ได้ทำให้เกิดวิกฤติการณ์สปุตนิกในหมู่ชาวอเมริกัน และทำให้การแข่งขันด้านอวกาศเป็นส่วนหนึ่งของสงครามเย็น การเปิดตัวนี้นำมาซึ่งการพัฒนาด้านการเมือง, การทหาร, เทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์ใหม่ ๆ การติดตามและการศึกษาดาวเทียมสปุตนิก 1 จากโลกได้ให้ข้อมูลแก่นักวิทยาศาสตร์ ถึงความหนาแน่นของบรรยากาศชั้นบนอาจถูกอนุมานได้จากการลากบนวงโคจรและการแพร่กระจายของสัญญาณวิทยุจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ ดาวเทียมสปุตนิก 1 ถูกปล่อยในระหว่างปีสากลแห่งธรณีฟิสิกส์ จากไซต์ №1/5 ที่ the 5th Tyuratam range ในสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคาซัค (ปัจจุบันคือ ไบโคนูร์คอสโมโดรม) ดาวเทียมเดินทางประมาณ 29,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (18,000 ไมล์ต่อชั่วโมง 8,100 เมตร / วินาที) โดยใช้เวลา 96.2 นาทีในการทำให้ครบรอบวงโคจรเสร็จสมบูรณ์ สปุกนิกส่งคลิ่นที่ 20.005 และ 40.002 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งได้รับการตรวจสอบโดยผู้ให้บริการวิทยุทั่วโลก สัญญาณของสปุกนิกยังคงปรากฏเป็นเวลา 21 วันจนกว่าแบตเตอรี่ของเครื่องส่งสัญญาณจะหมดลงในวันที่ 26 ตุลาคม 1957 ดาวเทียมสปุตนิกถูกเผาในวันที่ 4 มกราคม 1958 ขณะที่กลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลกหลังจากได้โคจรรอบโลกสามเดือนเสร็จสิ้นพร้อมกับโคจรครบรอบวงโคจรทั้งหมด 1440 รอบ และระยะทางเดินทางประมาณ 70 ล้านกิโลเมตร (43 ล้านไมล์)ลักษณะ ลักษณะ. ชื่อ สปุตนิก-1 แปลว่า "ดาวเทียม-1" และชื่อย่อภาษารัสเซียว่า ПС-1 ดาวเทียมดวงนี่มีรูปทรงกลมขนาดเท่าลูกบาสเกตบอล ทำด้วยอะลูมิเนียมหนัก 84 กิโลกรัม ถูกส่งขึ้นวงโคจรด้วยจรวด อาร์-7 จากฐานยิงในทะเลทรายคีซิลคุม ไบโคนูร์คอสโมโดรม คาซัคสถาน เมื่อ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2500
| สหภาพโซเวียตได้ส่งดาวเทียมสปุตนิกขึ้นสู่วงโคจรโลกในรูปวงรีเมื่อวันที่เท่าใด | {
"answer": [
"4 ตุลาคม 1957"
],
"answer_begin_position": [
238
],
"answer_end_position": [
251
]
} |
3,800 | 3,870 | นีล อาร์มสตรอง เรือโท นีล ออลเดน อาร์มสตรอง (; 5 สิงหาคม พ.ศ. 2473 — 25 สิงหาคม พ.ศ. 2555) เป็นนักบินอวกาศชาวอเมริกัน และเป็นมนุษย์ที่ได้ชื่อว่าเหยียบพื้นผิวดวงจันทร์คนแรกของโลกประวัติ ประวัติ. นีล อาร์มสตรอง เกิดที่เมืองวาปาโคเนตา รัฐโอไฮโอ ชื่นชอบเรื่องการขับเครื่องบินมาตั้งแต่ยังเด็กๆ เรียนการขับเครื่องบินครั้งแรกเมื่อตอนอายุ 15 ปีแล้วได้รับใบอนุญาตนักบินเมื่อตอนอายุ 16 ปี และเป็นนักบินทดสอบให้กับองค์การนาซามาก่อน เขาได้รับคัดเลือกเป็นนักบินอวกาศเมื่อปี พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) และปฏิบัติภารกิจหลายภารกิจในโครงการเจมินีและโครงการอะพอลโล และยังเคยเป็นนักบินในกองทัพสหรัฐ ปฏิบัติภารกิจ 78 ครั้งในสงครามเกาหลี พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) เขาเป็นผู้บัญชาการของโครงการอะพอลโล 11 ซึ่งมีเป้าหมายนำยานไปจอดบนดวงจันทร์ โดยสมาชิกในทีมคือ เอ็ดวิน อัลดริน และไมเคิล คอลลินส์ เขากล่าวประโยคนี้เมื่อเหยียบลงบนพื้นผิวของดวงจันทร์ วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2555 อาร์มสตรองได้เสียชีวิตในซินซินนาติ รัฐโอไฮโอ ขณะอายุได้ 82 ปี เนื่องด้วยภาวะแทรกซ้อนภายหลังการผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ ซึ่ง บารัก โอบามาประธานาธิบดี อเมริกา ได้กล่าวยกย่องอาร์มสตรองว่าเป็น "บุรุษชาวอเมริกันผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด ไม่เพียงแค่ในช่วงเวลาของเขาเท่านั้น แต่เป็นตลอดกาล"อยู่ประเทศไทย อยู่ประเทศไทย. นีล อาร์มสตอง เคยเดินทางมาเยือนประเทศไทย และ หนึ่งในสถานที่มาเยือนนั้นคือที่ โรงเรียนสิรินธร จังหวัดสุรินทร์ ในต้นฤดูฝน พ.ศ.2512 มีนักเรียนชื่อ อรนุช ภาชื่น และ เพ็ญพร เพียรชอบ และเพื่อนรวม 6 คน ได้เขียนจดหมายเป็นภาษาอังกฤษส่งไปยัง นีล อาร์มสตอง ซึ่งแปลความเป็นภาษาไทยได้ว่า "เราต้องการรู้เรื่องราวเกี่ยวกับอพอลโล11 และคิดว่า นักบินอวกาศจะเป็นผู้สามารถเล่าให้เราฟังได้มากที่สุดและดีที่สุด" ในที่สุดก็ประสบผลสำเร็จ หลังการประสานงาน เมื่อสำนักงานข่าวสารอเมริกัน ก็บรรจุ โรงเรียนสิรินธร จังหวัดสุรินทร์ ไว้ในรายการเยือนประเทศไทยอีกจุดหนึ่งด้วย โดยในเดือนกรกฎาคม ปี 2512 นีล อาร์มสตรอง กลับจากดวงจันทร์ไม่นาน ก็ได้มายืนถ่ายรูปกับครูและนักเรียน ณ โรงเรียนประจำจังหวัดในภาคอีสาน นามว่า "ร.ร.สิรินธร จ.สุรินทร์" ในการเดินทางมายังประเทศไทยอย่างเป็นทางการนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น ตริตราภรณ์ช้างเผือก ให้แก่เขาด้วย
| มนุษย์ที่ได้เหยียบพื้นผิวดวงจันทร์เป็นคนแรกของโลกคือใคร | {
"answer": [
"นีล อาร์มสตรอง"
],
"answer_begin_position": [
85
],
"answer_end_position": [
99
]
} |
3,802 | 424,482 | ฮัง โงร์ ฮัง ซ็อมนาง โง (, Haing Somnang Ngor; ) หรือเฮง งอร์เป็นนักแสดงชาวกัมพูชาที่ได้รับรางวัลออสการ์จากภาพยนตร์เรื่องทุ่งสังหาร (The killing field) เกิดเมื่อ พ.ศ. 2483 ในกัมพูชา เรียนจบแพทย์จากมหาวิทยาลัยในกรุงพนมเปญ แต่เมื่อเขมรแดงยึดพนมเปญได้ เขาถูกกวาดต้อนไปทำไร่ไถนา พ่อแม่พี่น้องส่วนใหญ่ตายจากไป จนเวียดนามปลดปล่อยกัมพูชาได้ใน พ.ศ. 2522 ฮัง โงร์จึงสามารถหนีมาฝั่งไทยได้สำเร็จ เขาใช้ชีวิตในค่ายอพยพนาน 18 เดือนจึงได้อพยพไปอยู่แคลิฟอร์เนีย สหรัฐ เมื่อมีการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องทุ่งสังหาร ฮัง โงร์เข้าร่วมคัดเลือกนักแสดง และได้รับบทเป็นดิธ ปราน นักข่าวชาวกัมพูชา ผลจากการแสดงครั้งนี้ ฮัง โงร์ได้รับรางวัลออสการ์ ดาราสนับสนุนชายยอดเยี่ยม หลังจากโด่งดังจากภาพยนตร์ ฮัง โงร์หันมาเป็นนักสิทธิมนุษยชนหาทุนช่วยเหลือชาวกัมพูชาอพยพ จนกระทั่ง 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 เขาถูกกลุ่มวัยรุ่นปล้นชิงทรัพย์ เมื่อขัดขืนจึงถูกฆ่า รวมอายุได้ 56 ปี
| นักแสดงชาวกัมพูชาคนใดที่ได้รับรางวัลออสการ์จากภาพยนตร์เรื่องทุ่งสังหาร | {
"answer": [
"ฮัง โงร์"
],
"answer_begin_position": [
83
],
"answer_end_position": [
91
]
} |
3,803 | 107,581 | ซัมซุง ซัมซุง (อังกฤษ: Samsung ; เกาหลี: 삼성, ฮันจา: 三星, MC: Samseong, MR: Samsŏng, ภาษาเกาหลีอ่านว่า ซัม-ซอง) เป็นชื่อกลุ่มบริษัทแห่งหนึ่งจากประเทศเกาหลีใต้ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่โซล, ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งประกอบด้วยบริษัทย่อยจำนวนมาก และธุรกิจที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่อยู่ภายใต้แบรนด์ซัมซุง และเป็นกลุ่มธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในเกาหลีใต้ ซัมซุงได้ก่อตั้งโดย ลี เบียงชอล ในปีพ.ศ. 2493 ในช่วงแรกของการทำธุรกิจนั้นได้เน้น ไปที่การส่งออกสินค้า, แปรรูปอาหาร, สิ่งทอ ซัมซุงเริ่มเข้ามาในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในปลายปี พ.ศ. 2503 หลังจากการจากไปของประธานผู้ก่อตั้ง ลี เบียงชอล ทำให้ซัมซุงได้แยกกลุ่มธุรกิจออกเป็น 4 กลุ่ม คือ Samsung Group, Shinsegae Group, CJ Group และ Hansol Group และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 มา ซัมซุงได้เป็นที่รู้จักเป็นสากลมากขึ้นจากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือที่เป็นแหล่งรายได้สำคัญของบริษัทในปัจจุบัน ปัจจุบันธุรกิจของซัมซุง แบ่งออกเป็น 4 หน่วยใหญ่ ๆ คือ เครื่องใช้ในบ้าน เครื่องใช้สำนักงาน โทรศัพท์มือถือ และส่วนประกอบหลัก ๆ ที่ใช้ในการผลิตอุปกรณ์ดิจิตอลที่เป็นนวัตกรรมล่าสุดของโลกในศตวรรษ 21 มีฐานการผลิต 25 แห่ง,บริษัทสาขาตลาด 36 แห่ง, สำนักงานย่อย 23 แห่ง ที่ประจำอยู่ใน 46 ประเทศทั่วโลก และกระจายอยู่ทั้ง 7 ทวีป คือ อเมริกาเหนือ ยุโรป เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียกลาง จีน CIS และละตินอเมริกาโทรศัพท์มือถือ โทรศัพท์มือถือ. ซัมซุงนับว่าเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ผลิตโทรศัพท์มือถือทั้งรุ่นปกติและแบบสมาร์ทโฟน ออกมาจำหน่ายหลากหลายรุ่น โดยมีส่วนแบ่งการตลาดระดับโลกอยู่ในอันดับต้น ๆ และมีรุ่น Flagship ที่เปิดตัวทุกปี ภายใต้ชื่อ Galaxy Note และ Galaxy S โดยในรุ่น Note จะมีปากกาที่เรียกว่า S Pen เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเขียน วาด บนหน้าจอ ในขณะที่รุ่น S จะเน้นการผลิตโดยใช้สเปคเครื่องที่สูงกว่ารุ่นอื่น ๆ ทั้งหมดที่ผลิตออกมา ทั้งรุ่น Note และ S นับเป็นคู่แข่งสำคัญของ iPhone ที่ผลิตโดย Apple Inc.Smartwatch Smartwatch. ซัมซุงได้ออก Smartwatch ที่ใช้ระบบปฏิบัติการที่พัฒนาเองรุ่นแรกในชื่อ Samsung Gear และหลังจากนั้นได้ทยอยออกรุ่นต่าง ๆ ตามมา เช่น Gear 2, Gear 2 Neo ที่คล้าย Gear 2 แต่ตัดฟังก์ชันกล้องออกไป, Gear Fit ที่เน้นสำหรับใส่ออกกำลังกาย Gear S ที่มีฟังก์ชันการใช้งานโทรศัพท์ได้ในตัว จนล่าสุดเมื่อปี 2558 ได้ออกรุ่น Gear S2 และ Gear S2 Classic ที่ได้ปรับการใช้งานโดยสามารถหมุนหน้าจอเป็นวงกลมได้ ทำให้การใช้งานคล่องตัวมากกว่าเดิมและได้รับคำชมจากการสร้างวิธีการใช้งานที่แตกต่างจากยี่ห้ออื่นและสามารถทำให้ประสบการณ์การใช้งาน Smartwatch ดีขึ้นกว่าเดิมผลิตภัณฑ์ผลิตภัณฑ์. - โทรทัศน์ และจอคอมพิวเตอร์ - โทรศัพท์มือถือ - สมาร์ทโฟน - แท็บเล็ต - กล้องถ่ายรูปกล้องถ่ายรูป - เครื่องเล่น วิดีโอ, ดีวีดี - เครื่องเสียง - โน้ตบุ๊ก - เครื่องพิมพ์ - แฟกซ์ - ตู้เย็น - เครื่องปรับอากาศ - เครื่องซักผ้า - เตาอบไมโครเวฟ - เครื่องดูดฝุ่นโลโก้ โลโก้. คำว่า 'ซัมซุง' ในภาษาเกาหลีมีความหมายว่า "สามดาว"
| ใครคือผู้ก่อตั้งกลุ่มบริษัทจากประเทศเกาหลีใต้ชื่อว่า ซัมซุง | {
"answer": [
"ลี เบียงชอล"
],
"answer_begin_position": [
429
],
"answer_end_position": [
440
]
} |
3,804 | 107,581 | ซัมซุง ซัมซุง (อังกฤษ: Samsung ; เกาหลี: 삼성, ฮันจา: 三星, MC: Samseong, MR: Samsŏng, ภาษาเกาหลีอ่านว่า ซัม-ซอง) เป็นชื่อกลุ่มบริษัทแห่งหนึ่งจากประเทศเกาหลีใต้ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่โซล, ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งประกอบด้วยบริษัทย่อยจำนวนมาก และธุรกิจที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่อยู่ภายใต้แบรนด์ซัมซุง และเป็นกลุ่มธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในเกาหลีใต้ ซัมซุงได้ก่อตั้งโดย ลี เบียงชอล ในปีพ.ศ. 2493 ในช่วงแรกของการทำธุรกิจนั้นได้เน้น ไปที่การส่งออกสินค้า, แปรรูปอาหาร, สิ่งทอ ซัมซุงเริ่มเข้ามาในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในปลายปี พ.ศ. 2503 หลังจากการจากไปของประธานผู้ก่อตั้ง ลี เบียงชอล ทำให้ซัมซุงได้แยกกลุ่มธุรกิจออกเป็น 4 กลุ่ม คือ Samsung Group, Shinsegae Group, CJ Group และ Hansol Group และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 มา ซัมซุงได้เป็นที่รู้จักเป็นสากลมากขึ้นจากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือที่เป็นแหล่งรายได้สำคัญของบริษัทในปัจจุบัน ปัจจุบันธุรกิจของซัมซุง แบ่งออกเป็น 4 หน่วยใหญ่ ๆ คือ เครื่องใช้ในบ้าน เครื่องใช้สำนักงาน โทรศัพท์มือถือ และส่วนประกอบหลัก ๆ ที่ใช้ในการผลิตอุปกรณ์ดิจิตอลที่เป็นนวัตกรรมล่าสุดของโลกในศตวรรษ 21 มีฐานการผลิต 25 แห่ง,บริษัทสาขาตลาด 36 แห่ง, สำนักงานย่อย 23 แห่ง ที่ประจำอยู่ใน 46 ประเทศทั่วโลก และกระจายอยู่ทั้ง 7 ทวีป คือ อเมริกาเหนือ ยุโรป เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียกลาง จีน CIS และละตินอเมริกาโทรศัพท์มือถือ โทรศัพท์มือถือ. ซัมซุงนับว่าเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ผลิตโทรศัพท์มือถือทั้งรุ่นปกติและแบบสมาร์ทโฟน ออกมาจำหน่ายหลากหลายรุ่น โดยมีส่วนแบ่งการตลาดระดับโลกอยู่ในอันดับต้น ๆ และมีรุ่น Flagship ที่เปิดตัวทุกปี ภายใต้ชื่อ Galaxy Note และ Galaxy S โดยในรุ่น Note จะมีปากกาที่เรียกว่า S Pen เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเขียน วาด บนหน้าจอ ในขณะที่รุ่น S จะเน้นการผลิตโดยใช้สเปคเครื่องที่สูงกว่ารุ่นอื่น ๆ ทั้งหมดที่ผลิตออกมา ทั้งรุ่น Note และ S นับเป็นคู่แข่งสำคัญของ iPhone ที่ผลิตโดย Apple Inc.Smartwatch Smartwatch. ซัมซุงได้ออก Smartwatch ที่ใช้ระบบปฏิบัติการที่พัฒนาเองรุ่นแรกในชื่อ Samsung Gear และหลังจากนั้นได้ทยอยออกรุ่นต่าง ๆ ตามมา เช่น Gear 2, Gear 2 Neo ที่คล้าย Gear 2 แต่ตัดฟังก์ชันกล้องออกไป, Gear Fit ที่เน้นสำหรับใส่ออกกำลังกาย Gear S ที่มีฟังก์ชันการใช้งานโทรศัพท์ได้ในตัว จนล่าสุดเมื่อปี 2558 ได้ออกรุ่น Gear S2 และ Gear S2 Classic ที่ได้ปรับการใช้งานโดยสามารถหมุนหน้าจอเป็นวงกลมได้ ทำให้การใช้งานคล่องตัวมากกว่าเดิมและได้รับคำชมจากการสร้างวิธีการใช้งานที่แตกต่างจากยี่ห้ออื่นและสามารถทำให้ประสบการณ์การใช้งาน Smartwatch ดีขึ้นกว่าเดิมผลิตภัณฑ์ผลิตภัณฑ์. - โทรทัศน์ และจอคอมพิวเตอร์ - โทรศัพท์มือถือ - สมาร์ทโฟน - แท็บเล็ต - กล้องถ่ายรูปกล้องถ่ายรูป - เครื่องเล่น วิดีโอ, ดีวีดี - เครื่องเสียง - โน้ตบุ๊ก - เครื่องพิมพ์ - แฟกซ์ - ตู้เย็น - เครื่องปรับอากาศ - เครื่องซักผ้า - เตาอบไมโครเวฟ - เครื่องดูดฝุ่นโลโก้ โลโก้. คำว่า 'ซัมซุง' ในภาษาเกาหลีมีความหมายว่า "สามดาว"
| กลุ่มบริษัทจากประเทศเกาหลีใต้ชื่อว่า ซัมซุง ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ.ใด | {
"answer": [
"2493"
],
"answer_begin_position": [
450
],
"answer_end_position": [
454
]
} |
3,805 | 340,499 | มาดามทุซโซต์ พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งมาดามทุซโซต์ () เป็นพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งที่ก่อตั้งโดยนางมารี ทุซโซต์ (1 ธันวาคม ค.ศ. 1761 – 16 เมษายน ค.ศ. 1850) ช่างปั้นหุ่นขี้ผึ้งชาวฝรั่งเศส มีสาขาแรกตั้งอยู่ที่ถนนเบเกอร์ กรุงลอนดอน ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1835 ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งมาดามทุซโซต์เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของลอนดอน และมีการขยายสาขาออกไปในหลายเมืองใหญ่ทั่วโลก ดำเนินงานโดยบริษัท เมอร์ลิน เอนเตอร์เทนเมนต์ สัญชาติอังกฤษสาขายุโรปสาขา. ยุโรป. - ลอนดอน - อัมสเตอร์ดัม - เบอร์ลิน - แบล็กพูล - เวียนนาสหรัฐอเมริกาสหรัฐอเมริกา. - ฮอลลีวูด - ลาสเวกัส - นิวยอร์ก - วอชิงตัน ดีซี - ออร์แลนโด - ซานฟรานซิสโก - แนชวิลล์เอเชียและโอเชียเนียเอเชียและโอเชียเนีย. - ฮ่องกง - เซี่ยงไฮ้ - กรุงเทพ - ปักกิ่ง - อู่ฮั่น - โตเกียว - ซิดนีย์ - ฉงชิ่ง - สิงคโปร์ - อิสตันบูล - นิวเดลี
| พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งมาดามทุซโซต์ เป็นพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งที่ก่อตั้งโดยใคร | {
"answer": [
"มารี ทุซโซต์"
],
"answer_begin_position": [
178
],
"answer_end_position": [
190
]
} |
3,806 | 340,499 | มาดามทุซโซต์ พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งมาดามทุซโซต์ () เป็นพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งที่ก่อตั้งโดยนางมารี ทุซโซต์ (1 ธันวาคม ค.ศ. 1761 – 16 เมษายน ค.ศ. 1850) ช่างปั้นหุ่นขี้ผึ้งชาวฝรั่งเศส มีสาขาแรกตั้งอยู่ที่ถนนเบเกอร์ กรุงลอนดอน ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1835 ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งมาดามทุซโซต์เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของลอนดอน และมีการขยายสาขาออกไปในหลายเมืองใหญ่ทั่วโลก ดำเนินงานโดยบริษัท เมอร์ลิน เอนเตอร์เทนเมนต์ สัญชาติอังกฤษสาขายุโรปสาขา. ยุโรป. - ลอนดอน - อัมสเตอร์ดัม - เบอร์ลิน - แบล็กพูล - เวียนนาสหรัฐอเมริกาสหรัฐอเมริกา. - ฮอลลีวูด - ลาสเวกัส - นิวยอร์ก - วอชิงตัน ดีซี - ออร์แลนโด - ซานฟรานซิสโก - แนชวิลล์เอเชียและโอเชียเนียเอเชียและโอเชียเนีย. - ฮ่องกง - เซี่ยงไฮ้ - กรุงเทพ - ปักกิ่ง - อู่ฮั่น - โตเกียว - ซิดนีย์ - ฉงชิ่ง - สิงคโปร์ - อิสตันบูล - นิวเดลี
| พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งมาดามทุซโซต์สาขาแรกในกรุงลอนดอนตั้งขึ้นเมื่อปีค.ศ.ใด | {
"answer": [
"1835"
],
"answer_begin_position": [
329
],
"answer_end_position": [
333
]
} |
3,807 | 11,720 | ดราก้อนบอล ดราก้อนบอล () เป็นการ์ตูนญี่ปุ่น ผลงานของอากิระ โทริยาม่า ลงพิมพ์ในนิตยสารโชเนนจัมป์ตั้งแต่ พ.ศ. 2527 - พ.ศ. 2538 และรวมเป็นฉบับรวมเล่มได้ 42 เล่ม ในประเทศไทยเคยลงตีพิมพ์ใน ทาเล้นท์ และ ซีโร่ ในช่วงก่อนที่มีลิขสิทธิ์การ์ตูน และหลังจากนั้นได้ตีพิมพ์ในหนังสือการ์ตูนบูม ภายใต้ลิขสิทธิ์ของบริษัท เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์ จำกัด เนื้อเรื่องของดราก้อนบอลเกี่ยวกับการผจญภัยของ ซุน โกคู ในการรวบรวมดราก้อนบอลให้ครบ 7 ลูก เพื่อขอพรหนึ่งข้อจากเทพเจ้ามังกร โดยระหว่างการเดินทางโกคูต้องพบกับเพื่อนฝูงและอุปสรรคต่างๆ ลักษณะการดำเนินเรื่องช่วงแรก น่าจะเอามาจากเรื่องไซอิ๋ว ซึ่งกำหนดให้ซุนโกคู มีชื่อเดียวกับซุนหงอคง ให้มีปิศาจหมู อูลอน ลักษณะคล้าย ตือโป้ยก่าย ดราก้อนบอลมีสร้างมาหลายภาคทั้งในฉบับมังงะและอะนิเมะ และยังมีการนำไปทำเป็นวิดีโอเกมหลายภาค และภาพยนตร์ ดราก้อนบอล นำแสดงโดย จัสติน แชตวิน, เอ็มมี รอสซัม และ โจว เหวินฟะ และในปี พ.ศ. 2552 ดราก้อนบอล ได้ถูกนำมาสร้างใหม่ขึ้นอีกครั้งในชื่อว่า ดราก้อนบอล ไค โดยจะนำเนื้อหาของภาค ดราก้อนบอล Z มาสร้างใหม่ในระบบ High Definition Television (โทรทัศน์ความละเอียดสูง) เนื้อหาจะถูกตัดต่อใหม่ ให้กระชับฉับไวขึ้น เสียงประกอบ และ ดนตรี จะแต่งขึ้นมาใหม่ทั้งหมดให้เหมาะกับยุคนี้ แต่ยังคงใช้นักพากย์เดิม และจะเริ่มออกอากาศในวันอาทิตย์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2552 เวลา 09.00 น. (ตามเวลาประเทศญี่ปุ่น) ทางช่อง ฟูจิทีวีความเกี่ยวข้องกับฉบับอะนิเมะ ความเกี่ยวข้องกับฉบับอะนิเมะ. ในฉบับหนังสือการ์ตูนนั้น ได้ใช้ชื่อ ดราก้อนบอล ตลอดทั้งเรื่อง แต่ฉบับภาพยนตร์การ์ตูนได้ใช้ชื่อแตกต่างกันดังนี้- ดราก้อนบอล (ภาคแรก) (Dragon Ball) (ค.ศ.1986-1989) ดำเนินเรื่องตามฉบับหนังสือการ์ตูน นับตั้งแต่เริ่มเรื่องจนถึงการแต่งงานของโกคู - ดราก้อนบอล Z (Dragon Ball Z) ดำเนินเรื่องตามฉบับหนังสือการ์ตูนต่อจนจบเล่ม 42 ในภาคจอมมารบู สำหรับภาคแอนิเมชั่น ดราก้อนบอล Z ได้ถูกแบ่ง ออกเป็น 16 sagas - ดราก้อนบอล GT (Dragon Ball GT) (ค.ศ.1996-1997) ในตอนแรกนั้นอนิเมะเรื่องนี้ดำเนินเรื่องต่อจากภาค Z แต่เป็นเรื่องที่แต่งขึ้นมาสำหรับแอนิเมชันโดยเฉพาะ และภายหลังได้ประกาศว่าไม่เกี่ยวข้องกับฉบับหนังสือการ์ตูนและถือว่าเป็นจักรวาลคู่ขนานกับดราก้อนบอล Z อย่างสิ้นเชิง โดยเรื่องที่ต่อจากดราก้อนบอล Z จริงๆคือดราก้อนบอลซุเปอร์นั่นเอง - ดราก้อนบอล ซูเปอร์ (Dragon Ball Super) (ค.ศ.2015-ปัจจุบัน) ดำเนินเรื่องต่อจากภาค Z เป็นเนื้อเรื่องช่วงหลังจากจบศึกการต่อสู้กับจอมมารบู ซึ่งโลกสงบสุขไปนานหลายปี แต่แล้วพวกโกคูก็ต้องพบกับศึกครั้งใหม่ตัวละครชาวไซย่าชาวดาวนาเม็กการเล่นคำในชื่อตัวละคร การเล่นคำในชื่อตัวละคร. ชื่อตัวละครในเรื่องดราก้อนบอล มีการนำจากคำศัพท์ทั่วไปในชีวิตประจำวันมาใช้ คือชื่ออาหาร และชื่อเสื้อผ้า โดยคำที่มาจากภาษาญี่ปุ่น ใช้แทนบุคคลในโลก และ คำที่มาจากภาษาอังกฤษ ใช้แทนบุคคลที่มาจากต่างดาว เช่น โกฮัง (Gohan) แปลว่า ข้าว, เบจิต้า (Vegeta/Vegetable) แปลว่า ผัก, ฟรีเซอร (Freeza/Freezer) แปลว่า ช่องแช่แข็ง และ พิคโคโร่ (Piccolo) แปลว่า ขลุ่ยผิว เป็นต้นโกคู โกคู. โกคู () เป็นพระเอกของเรื่องเป็นชาวไซย่าที่เก่งที่สุด มีพ่อชื่อบาร์ดั้ก เขาเป็นชาวไซย่าที่มีอีกชื่อหนึ่งว่า คาคาล็อต แต่ที่ชื่อโกคูเพราะปู่ตั้งชื่อให้ โกคูได้ช่วยปกป้องโลกเอาไว้หลายครั้งแล้วจากการทำลายโลกของฝ่ายร้าย เช่นราดีซ นัปปะ ฟรีซเซอร์ กีนิว มนุษย์แปลง เซล บู โกคูชอบกินข้าวในปริมาณมาก และจะหิวบ่อย เป็นคนที่อารมณ์ดีไม่ชอบทะเลาะ ต่างกับเบจิต้ามาก และโกคูได้ไปเรียนฝึกวิชากับผู้เฒ่าเต่าเป็นลูกศิษย์คนที่ 3 ต่อจาก ปู่ซุนโกฮัง และ ท่านราชาปีศาจวัว หรือ งิวมาโอ ในภาค Dragon Ball GT โกคูสามารถแปลงร่างเป็นซูเปอร์ไซย่าขั้นที่ 4 ได้ รวมทั้งรวมร่างกับเบจิตาและต่อสู้จนถึงที่สุดกับเทพเจ้ามังกร แต่สุดท้ายโกคูก็พลาดท่าและกลายร่างกลับเป็นเด็ก แต่โกคูก็สามารถปราบกับเทพเจ้ามังกรได้สำเร็จเป็นเพราะว่าเขาใช้พลังบอลเกงกิ ซึ่งขอรับพลังเพิ่มเติมมาจากประชากรทั้งจักรวาล เมื่อเทพมังกรที่ชั่วร้ายได้ตายไป ดราก้อนบอลก็กลายสภาพกลับมาเป็นเหมือนเดิม จากนั้นเทพเจ้ามังกรก็ออกมาโดยที่ไม่ได้มีใครอัญเชิญ เทพมังกรรักษาโกคูให้หาย และกล่าวว่าดราก้อนบอลนั้นถูกใช้บ่อยมากเกินไป ทำให้ไม่สามารถคลายพลังงานด้านลบได้ทัน เทพเจ้ามังกรจึงต้องออกไปจากโลกนี้เป็นเวลา 100 ปี เพื่อไม่ให้ถูกรบกวนอีก ซึ่งโกคูก็ได้ขอพรทั้งสุดท้ายให้ชุบชีวิตผู้คนที่ถูกฆ่าตายไป ซึ่งเทพเจ้ามังกรก็ยินดีทำตาม จากนั้นก็ชวนให้โกคูออกเดินทางไปด้วยกัน โกคูก็กระโดดขี่หลังเทพเจ้ามังกรจากไป โดยระหว่างนั้นก็ขอแวะบ้านผู้เฒ่าเต่าเพื่อบอกลา และไปเยี่ยมพิโคโล่ที่นรกด้วย จากนั้นดราก้อนบอลทั้ง 7 ก็ได้เข้าไปอยู่ในตัวของโกคูเบจิต้า เบจิต้า. เบจิต้า(; ) หรือ เบจีต้า เป็นเจ้าชายแห่งดาวเบจีต้า เพราะเป็นลูกราชาแห่งดาวเบจีต้า เบจีต้าได้รอดจากการถูกทำลายดาวของเจ้าวาล ฟรีซเซอร์เพราะฟรีซเซอร์ต้องการเก็บไว้ใช้งานเพื่อหวังใช้เป็นกำลังในการครอบครองจักรวาล แต่ด้วยนิสัยที่หยิ่งทรนงในตัวเองสูงจึงได้หักหลังต่อฟรีซเซอร์ในภายหลัง สู้กับโกคูครั้งแรกที่โลก สู้จน แพ้ แพ้ฟรีซเซอร์และตายสุดท้าย ได้เป็นพวกโกคู มีลูกกับ บูลม่า ชื่อ ทรั้งซ์ และลูกสาวอีกคน ในภาค Z ตอนจอมมารบู ได้ถูกเบบี้ เข้าชิงร่าง และต่อสู้กับ โกคู แต่ก็แพ้ต่อร่าง ซูเปอร์ไซย่า 4 ในภาค GTพิคโกโร่ พิคโกโร่. เกิดมาจากไข่ของราชาปีศาจพิคโกโร่(ผู้เป็นพ่อ)ตอนที่ราชาปีศาจพิโกโร่สู้กับ โกคู เมื่อใกล้จะแพ้ก็ได้คายไข่ออกมา เป็นมาร จูเนียร์ (พิคโกโร่)เมื่อโตขึ้นก็ได้ไปต่อสู้กับ โกคู ที่ศึกชิงเจ้ายุทธภพ พิคโกโร่มีชีวิตเดียวกับพระเจ้าหากคนใดคนหนึ่งตายอีกคนก็จะต้องตายด้วย รวมทั้งถ้าพระเจ้าตายดรากอนบอลก็จะหายไปด้วย แต่ต่อมาในภาคของมนุษย์ดัดแปลงหมายเลข 16,17,18 พิคโกโร่ และพระเจ้าได้รวมร่างกันอีกครั้งโดยหวังเพิ่มพลังเพื่อเอาชนะมนุษย์ดัดแปลง พิคโกโร่ เองยังเป็นอาจารย์ผู้สอนวิชาการต่อสู้ให้กับ ซุนโกฮัง ลูกชายของ โงกุน ในวัยเด็กอีกด้วย และในภาค z ก็เป็นอาจารย์สอนฟิวชั่นให้กับโกเท็นลูกชายคนที่สองของโกคู กับทรังคซ์ลูกชายคนแรกของบลูม่ากับเบจิต้า เพื่อเพิ่มพลังไปสู้กับจอมมารบูฟรีเซอร์ ฟรีเซอร์. ฟรีเซอร์ (; ) เป็นสัตว์ประหลาดที่ระเบิดดาวเบจิต้าเพราะกลัวว่าจะมีชาวไซย่าที่สามารถแปลงร่างเป็นซุปเปอร์ไซย่ามากำจัดตน เป็นผู้มีความทะเยอทะยานอยากจะเป็นอมตะและครอบครองจักรวาล มีนิสัยชอบสะสมลูกน้องที่เก่งๆ และเป็นหัวหน้าเหล่าวายร้ายที่มีพลังร้ายกาจสุดจะหยั่งถึง ทั้งยังมีความสามารถในการแปลงร่างเพื่อเพิ่มพลังยุทธได้ถึง3ครั้ง เพราะฟรีเซอร์จะต้องการดราก้อนบอลเพื่อเอามาครอบครองจักรวาล แต่สุดท้ายก็ต้องมาพบกับซุนโงกุนที่แปลงร่างเป็นซุปเปอร์ไซย่าจัดการลงที่ดาวนาแมค บ้านเกิดของพิคโกโร่(แต่โงกุนเล่นงานฟรีซเซอร์แค่บาดเจ็บ ไม่ได้จัดการทิ้ง) เมื่อกลับไปพักรักษาตัวจนหายดีก็ได้เดินทางมาที่โลกมนุษย์พร้อมกับพ่อ(ราชาโกลด้า)เพื่อที่จะมาแก้แค้นกับโงกุน แต่โงกุนยังเดินทางไม่ถึงโลก(เพราะยานอวกาศของโงกุนเดินทางช้ากว่า) เมื่อฟรีเซอร์มาถึงเขาก็เริ่มที่จะวางแผนยึดครองดาวโลกพร้อมกับตามหาโงกุน แต่เคราะห์ร้ายที่เขาต้องถูกทรังคซ์จัดการลงพร้อมกับพ่อของเขาบลูม่า บลูม่า. เป็นผู้หญิงคนแรกในเรื่องดราก้อนบอล เป็นจุดเริ่มต้นของเรื่องทั้งหมดนี้ ลูกสาวเจ้าของบริษัทแคปซูล คอร์ปอเรชั่น และเป็นเพื่อนคนแรกของโงกุน ต้องการรวบรวมดราก้อนบอลจึงสร้างดราก้อนเรดาร์เพื่อค้นหาดราก้อนบอล และไปพบกับโงกุนเข้าในภาคแรก ตอนแรกเธอคิดจะใช้โงกุนเป็นเครืองมือให้หาดราก้อนบอลเจอแต่สุดท้ายพวกเขาก็เป็นเพื่อนกัน เป็นกำลังสำคัญในด้านสมองช่วยประดิษฐ์เครื่องมือต่างๆให้กับเหล่านักสู้เป็นแฟนกับหยำฉา แต่ตอนหลังเลิกกัน และมีลูกกับเบจิต้าชื่อทรังซ์ดราก้อนบอล ภาคพิเศษต่างๆ ดราก้อนบอล ภาคพิเศษต่างๆ. สำหรับดราก้อนบอลนั้นมีภาพยนตร์ตอนพิเศษซึ่งเนื้อหานั้นจะเกี่ยวกับตอนของทีวีซีรีส์อยู่บ้างโดยเรียงตามลำดับดังนี้Dragonball ภาคโรงภาพยนตร์Dragonball ภาคโรงภาพยนตร์. - ดราก้อนบอล ตำนานเทพมังกร ฉายเมื่อ พ.ศ. 2529/ค.ศ.1986- ดราก้อนบอล เจ้าหญิงนิทราแห่งปราสาทจอมมาร ฉายเมื่อ พ.ศ. 2530/ค.ศ.1987- ดราก้อนบอล การผจญภัยสุดพิสดาร ฉายเมื่อ พ.ศ. 2531/ค.ศ.1988Dragonball Z ภาคโรงภาพยนตร์Dragonball Z ภาคโรงภาพยนตร์. - ดราก้อนบอล Z เดอะ มูฟวี่ 1 เดอะ มูฟวี่ หรือ โกฮังกลับมาแล้ว ฉายเมื่อ พ.ศ. 2532/ค.ศ.1989- ดราก้อนบอล Z เดอะ มูฟวี่ 2 ยอดยุทธหนึ่งในใต้หล้า หรือ ชายผู้แข็งแกร่งที่สุดในโลก ฉายเมื่อ พ.ศ. 2533/ค.ศ.1990- ดราก้อนบอล Z เดอะ มูฟวี่ 3 ศึกสะท้านพิภพ หรือ สุดยอดศึกตัดสินเพื่อโลกมนุษย์ ถูกสร้างเมื่อ พ.ศ. 2533/ค.ศ.1990- ดราก้อนบอล Z เดอะ มูฟวี่ 4 ซูเปอร์ไซย่า ซุน โกคู หรือ ซุน โกคูคือซูเปอร์ไซย่า ฉายเมื่อ พ.ศ. 2534/ค.ศ.1991- ดราก้อนบอล Z เดอะ มูฟวี่ 5 การแก้แค้นของคูลเลอร์ หรือ สุดยอดปะทะสุดยอดศึกอันเหลือเชื่อ ฉายเมื่อ พ.ศ. 2534/ค.ศ.1991- ดราก้อนบอล Z เดอะ มูฟวี่ 6 การกลับมาของคูลเลอร์ หรือ ตะลุยเข้าไป!! เหล่านักรบพลัง 100 ล้านเท่า ฉายเมื่อ พ.ศ. 2535/ค.ศ.1992- ดราก้อนบอล Z เดอะ มูฟวี่ 7 ซูเปอร์ไซย่า ปะทะ มนุษย์ดัดแปลง หรือ สุดขีดแห่งการต่อสู้!! ซูเปอร์ไซย่าผู้ยิ่งใหญ่ทั้ง 3 ฉายเมื่อ พ.ศ. 2535/ค.ศ.1992- ดราก้อนบอล Z เดอะ มูฟวี่ 8 ร้อนแรงสุดขั้วศึกระเบิดซูเปอร์ไซย่า หรือ มอดไหม้เข้าไป! การต่อสู้ที่แสนจะดุเดือด ฉายเมื่อ พ.ศ. 2536/ค.ศ.1993- ดราก้อนบอล Z เดอะ มูฟวี่ 9 ฝ่าวิกฤติกาแล็คซี่ หรือ ที่สุดแห่งทางช้างเผือก!! ชายผู้สุดแกร่ง ฉายเมื่อ พ.ศ. 2536/ค.ศ.1993- ดราก้อนบอล Z เดอะ มูฟวี่ 10 การกลับมาของโบรลี่ หรือ คู่หูอันตราย!! ซูเปอร์นักรบผู้ไม่เคยหลับไหล ฉายเมื่อ พ.ศ. 2537/ค.ศ.1994- ดราก้อนบอล Z เดอะ มูฟวี่ 11 สุดยอดนักรบ ไบโอโบรลี่ หรือ ซูเปอร์นักรบถูกทำลาย!! ข้าคือผู้ชนะ ฉายเมื่อ พ.ศ. 2537/ค.ศ.1994- ดราก้อนบอล Z เดอะ มูฟวี่ 12 ฟิวชั่นของโกคูและเบจีต้า หรือ ฟิวชั่นคืนชีพ!! โกคูและเบจิต้า ฉายเมื่อ พ.ศ. 2538/ค.ศ.1995- ดราก้อนบอล Z เดอะ มูฟวี่ 13 ฤทธิ์หมัดมังกรถล่มโลก หรือ หมัดมังกรระเบิด!! มีเพียงโกคูเท่านั้นที่ทำได้ ฉายเมื่อ พ.ศ. 2538/ค.ศ.1995- ดราก้อนบอล Z เดอะ มูฟวี่ 14 ศึกสงครามเทพเจ้า Battle of Gods (2013)- ดราก้อนบอล Z เดอะ มูฟวี่ 15 การคืนชีพของ F Revival of F (2015)Dragonball ตอนพิเศษ ฉลองครบรอบ 10 ปีDragonball ตอนพิเศษ ฉลองครบรอบ 10 ปี. - ดราก้อนบอล วิถีแห่งจ้าวยุทธภพ พ.ศ. 2539/ค.ศ.1996Dragonball Z ภาคพิเศษฉบับทีวีOVAOVA. - ดราก้อนบอล Z Gaiden พ.ศ. 2536/ค.ศ.1993Dragonball the Movie 2008Dragonball the Movie 2008. - ดราก้อนบอล พ.ศ. 2551/ค.ศ.2008
| การ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องดราก้อนบอลเป็นผลงานของผู้ใด | {
"answer": [
"อากิระ โทริยาม่า"
],
"answer_begin_position": [
135
],
"answer_end_position": [
151
]
} |
3,809 | 11,672 | ภาษาบัลแกเรีย ภาษาบัลแกเรียเป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน โดยเป็นสมาชิกของแขนงใต้ของภาษากลุ่มสลาวิกการกระจาย การกระจาย. ภาษาบัลแกเรียเป็นภาษาราชการของสาธารณรัฐบัลแกเรีย นอกจากนี้ยังพูดในประเทศแคนาดา ประเทศกรีซ ประเทศฮังการี ประเทศอิสราเอล ประเทศมอลโดวา สาธารณรัฐมาซิโดเนีย ประเทศโรมาเนีย ประเทศรัสเซีย ประเทศเซอร์เบีย ประเทศตุรกี ประเทศยูเครน สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา โดยมีคนพูดเป็นภาษาแม่ประมาณ 12 ล้านคน นักภาษาศาสตร์บางคน รวมถึงนักภาษาศาสตร์ชาวบัลแกเรียและกรีกเกือบทุกคน เห็นว่าภาษามาซิโดเนียเป็นภาษาท้องถิ่นของภาษาบัลแกเรีย
| ภาษาราชการของสาธารณรัฐบัลแกเรียคือภาษาใด | {
"answer": [
"บัลแกเรีย"
],
"answer_begin_position": [
208
],
"answer_end_position": [
217
]
} |
3,810 | 30,704 | ประเทศบาฮามาส ประเทศบาฮามาส () หรือชื่อทางการว่า เครือรัฐบาฮามาส () เป็นประเทศตั้งอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติก ทางตะวันออกของรัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา อยู่ทางตอนเหนือของประเทศคิวบาและทะเลแคริบเบียน ชื่อของประเทศมาจากคำนภาษาสเปนว่า "บาคามาร์" () มีความหมายว่า "ทะเลน้ำตื้น" เศรษฐกิจของประเทศมากกว่าร้อยละ 60 ของจีดีพี มาจากธุรกิจการท่องเที่ยว ส่วนที่เหลือมาจากอุตสาหกรรมการเกษตรภูมิศาสตร์ประวัติศาสตร์ศตวรรษที่ 18- 19ศตวรรษที่ 20สงครามโลกครั้งที่ 2การเมืองการปกครองนิติบัญญัติตุลาการการบังคับใช้กฎหมาย การเมืองการปกครอง. การบังคับใช้กฎหมาย. = การแบ่งเขตการปกครอง =นโยบายต่างประเทศกองทัพกองทัพบกกองทัพอากาศกองทัพเรือกองกำลังกึ่งทหารเศรษฐกิจการท่องเที่ยวโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม และ โทรคมนาคมคมนาคมโทรคมนาคมสาธารณูปโภควิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยีการศึกษาสาธารณสุขสวัสดิการสังคมประชากรศาสตร์เชื้อชาติ ประชากรศาสตร์. เชื้อชาติ. เชื้อชาติ เชื้อสายแอฟริกัน ร้อยละ 85 เชื้อสายยุโรป ร้อยละ 12 เชื้อสายเอเชียและสเปน ร้อยละ 3ศาสนา ศาสนา. นับถือศาสนาคริสต์ นิกายแองกลิแกน โปรแตสแตนท์ โรมันคาทอลิกภาษาวัฒนธรรมดนตรีอาหารสื่อสารมวลชนวันหยุดกีฬา
| ประเทศบาฮามาสตั้งอยู่ในมหาสมุทรใด | {
"answer": [
"แอตแลนติก"
],
"answer_begin_position": [
182
],
"answer_end_position": [
191
]
} |
3,811 | 3,198 | ประเทศบาห์เรน บาห์เรน (; ) หรือชื่อทางการ ราชอาณาจักรบาห์เรน (; ) เป็นประเทศเกาะในอ่าวเปอร์เซีย โดยมีสะพานเชื่อมต่อกับซาอุดีอาระเบียที่อยู่ห่างจากเกาะประมาณ 28 กิโลเมตร คือ สะพานคิงฟะฮัด ซึ่งเปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ.1986 ส่วนสะพานมิตรภาพกาตาร์-บาห์เรน ที่กำลังอยู่ในระหว่างวางแผนงานนั้น จะเชื่อมต่อบาห์เรนเข้ากับกาตาร์ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ และจะเป็นสะพานขึงที่ยาวที่สุดในโลกภูมิศาสตร์ที่ตั้ง ภูมิศาสตร์. ที่ตั้ง. ทั้งเกาะบาห์เรนล้อมรอบด้วยอ่าวเปอร์เซียลักษณะภูมิอากาศ ลักษณะภูมิอากาศ. ช่วงฤดูหนาว (ธันวาคม-มีนาคม) อุณหภูมิจะอยู่ระหว่าง 19 - 29 องศาเซลเซียส ช่วงฤดูร้อน (เดือนเมษายน-ตุลาคม) อากาศร้อนชื้น อุณหภูมิอาจสูงถึง 49 องศาเซลเซียสลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะภูมิประเทศ. ภูมิประเทศเกือบทั้งหมดเป็นที่ราบต่ำในทะเลทราย ค่อยๆ ชันขึ้น ทางตอนกลางประวัติศาสตร์ยุคโบราณยุคอิสลามยุคสมัยใหม่ยุคศตวรรษที่ 19ประกาศเอกราช ประวัติศาสตร์. ประกาศเอกราช. บาห์เรนเคยอยู่ใต้อารักขาของอังกฤษตั้งแต่ ค.ศ.1820 โดยอำนาจการปกครองถูกแบ่งออกระหว่างเจ้าครองนครกับข้าหลวงอังกฤษ อิหร่านเคยอ้างสิทธิเหนือบาห์เรนมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 แต่เมื่อ ค.ศ.1980 อิหร่านยอมรับรายงานของ UN ที่แสดงข้อเท็จจริงว่าชาวบาห์เรนต้องการเป็นอิสระมากกว่าที่จะถูกรวมไว้กับอิหร่าน บาห์เรนได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2514 ตามสนธิสัญญามิตรภาพฉบับใหม่ที่ทำกับอังกฤษ หลังจากที่ความพยายามในการรวมประเทศกับกาตาร์และกลุ่มรัฐสงบศึก (ปัจจุบันคือสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) เป็นสหพันธรัฐไม่ประสบความสำเร็จ บาห์เรนเป็นประเทศแรกในอ่าวอาหรับที่ขุดพบน้ำมันดิบ ใน พ.ศ. 2475 และมีการสร้างโรงกลั่นน้ำมันขึ้น อย่างไรก็ดี ปริมาณน้ำมันดิบที่ขุดพบในบาห์เรนนับว่ามีจำนวนไม่มากนักเมื่อเทียบกับคูเวตและซาอุดีอาระเบียการเมืองการปกครอง การเมืองการปกครอง. ราชาธิปไตยกึ่งรัฐสภา มีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นไปตามผลการลงประชามติของชาวบาห์เรนเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 ปัจจุบัน คือ สมเด็จพระราชาธิบดีฮะมัด บิน อีซา อาล เคาะลีฟะฮ์ (His Majesty King Hamad Bin Isa Al Khalifa) เสด็จขึ้นครองราชย์ (ในฐานะเจ้าผู้ครองรัฐ) เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2542บริหารนิติบัญญัติตุลาการสิทธิมนุษยชนการแบ่งเขตการปกครอง การแบ่งเขตการปกครอง. ก่อนหน้า 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 ประเทศบาห์เรนแบ่งเขตการปกครองเป็นเทศบาลที่ปกครองจากเมืองหลวง (กรุงมานามา) 12 แห่ง ได้แก่1. อัลฮิดด์ (Al Hidd) 2. อัลมะนามะห์ (Al Manamah) 3. อัลมินตะเกาะห์อัลกะร์บียะห์ (Al Mintaqah al Gharbiyah) 4. อัลมินตะเกาะห์อัลวุสตะ (Al Mintaqah al Wusta) 5. อัลมินตะเกาะห์อัลชะมาลียะห์ (Al Mintaqah al Shamaliyah) 6. อัลมุฮาร์รัก (Al Muharraq) 7. อาร์ริฟาวาอัลมินตะเกาะห์อัลจะนูบียะห์ (Ar Rifa' wa al Mintaqah al Janubiyah) 8. จิดด์ฮัฟส์ (Jidd Haffs) 9. มะดีนัตฮามัด (Madinat Hamad ไม่แสดงบนแผนที่ แบ่งจากเทศบาลอาร์ริฟาฯ เมื่อ พ.ศ. 2534) 10. มะดีนัตอิซา (Madinat 'Isa) 11. จุซูร์ฮะวาร์ (Juzur Hawar) 12. ซิตระห์ (Sitrah) หลังจากวันดังกล่าวบาห์เรนได้กำหนดเขตการปกครองใหม่ซึ่งแบ่งเป็น 5 เขตผู้ว่าราชการ (governorates) ได้แก่ 1 เขตผู้ว่าราชการเหนือ (Northern) 2 เขตผู้ว่าราชการเมืองหลวง (Capital) 3 เขตผู้ว่าราชการมุฮัรร็อก (Muharraq) 4 เขตผู้ว่าราชการกลาง (Central) และ 5 เขตผู้ว่าราชการใต้ (Southern) ต่อมาเขตผู้ว่าราชการกลางถูกยกเลิกไปรวมกับเขตผู้ว่าราชการเหนือ เขตผู้ว่าราชการใต้ และเขตผู้ว่าราชการเมืองหลวง เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2557 ทำให้ปัจจุบันบาห์เรนมีเขตปกครองทั้งสิ้น 4 แห่งดังนี้- เขตผู้ว่าราชการเมืองหลวง - เขตผู้ว่าราชการมุฮัรร็อก - เขตผู้ว่าราชการเหนือ - เขตผู้ว่าราชการใต้การต่างประเทศความสัมพันธ์กับประเทศไทย การต่างประเทศ. ความสัมพันธ์กับประเทศไทย. ไทยและบาห์เรนได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2520 ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์อันใกล้ชิด บาห์เรนถือเป็นพันธมิตรที่สำคัญที่สุดในภูมิภาคตะวันออกกลางและมีบทบาทเป็นสะพานเชื่อมไทยสู่ประเทศในตะวันออกกลางในหลายมิติกองทัพเศรษฐกิจโครงสร้างสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบันเศรษฐกิจ. สถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน. - อัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 6.1 (ไทย 2.6%) - ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 18.97 พันล้าน USD (ไทย 273.4 พันล้าน USD) - รายได้ประชาชาติต่อหัว 18,979 USD (ไทย 4,081 USD) - ปริมาณน้ำมันสำรอง 125 ล้านบาร์เรลการท่องเที่ยวโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม และ โทรคมนาคมคมนาคมโทรคมนาคมวิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยีการศึกษาสาธารณสุขสวัสดิการสังคมประชากรศาสตร์เชื้อชาติศาสนา ประชากรศาสตร์. ศาสนา. ประชากรส่วนมากของประเทศนับถือ และยึดศาสนาอิสลามเป็นแบบแผน ในการดำเนินชีวิต ซึ่งจะเห็นได้ว่าสิ่งก่อสร้าง โบราณวัตถุ โบราณสถาน วัฒนธรรมต่างๆ เป็นสิ่งสะท้อนอิทธิพลของศาสนาอิสลามให้เห็นเด่นชัดในประเทศบาห์เรน และประชากรส่วนมากพูดภาษาอาหรับซึ่งใช้กันในแถบภูมิภาคนี้ภาษา ภาษา. มี ภาษาอาหรับ เป็นภาษาราชการกีฬาฟุตบอลวัฒนธรรมการแต่งกาย วัฒนธรรม. การแต่งกาย. เนื่องจากประเทศในแถบคาบสมุทรอาหรับเป็นประเทศที่มีสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้ง อีกทั้งประชาชนยังนับถือศาสนาอิสลามซึ่งมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการแต่งตัวไว้อย่างเคร่งครัด ทำให้ชาวอาหรับแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่หลวมเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้อย่างสะดวก แต่ปกปิดร่างกายอย่างมิดชิดทั้งผู้ชายและผู้หญิงเพื่อช่วยป้องกันไม่ให้ร่างกายเสียความชุ่มชื้น ผู้ชายจะใส่ชุดสีขาว เรียกว่า โต๊ป (Thobe) ส่วนผู้หญิงต้องสวมใส่เสื้อคลุมสีดำที่เรียกว่า อาบายะห์ (Abaya)ความเชื่อสื่อมวลชนวันหยุด
| ประเทศบาห์เรน เป็นประเทศเกาะในอ่าวใด | {
"answer": [
"เปอร์เซีย"
],
"answer_begin_position": [
170
],
"answer_end_position": [
179
]
} |
3,812 | 3,198 | ประเทศบาห์เรน บาห์เรน (; ) หรือชื่อทางการ ราชอาณาจักรบาห์เรน (; ) เป็นประเทศเกาะในอ่าวเปอร์เซีย โดยมีสะพานเชื่อมต่อกับซาอุดีอาระเบียที่อยู่ห่างจากเกาะประมาณ 28 กิโลเมตร คือ สะพานคิงฟะฮัด ซึ่งเปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ.1986 ส่วนสะพานมิตรภาพกาตาร์-บาห์เรน ที่กำลังอยู่ในระหว่างวางแผนงานนั้น จะเชื่อมต่อบาห์เรนเข้ากับกาตาร์ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ และจะเป็นสะพานขึงที่ยาวที่สุดในโลกภูมิศาสตร์ที่ตั้ง ภูมิศาสตร์. ที่ตั้ง. ทั้งเกาะบาห์เรนล้อมรอบด้วยอ่าวเปอร์เซียลักษณะภูมิอากาศ ลักษณะภูมิอากาศ. ช่วงฤดูหนาว (ธันวาคม-มีนาคม) อุณหภูมิจะอยู่ระหว่าง 19 - 29 องศาเซลเซียส ช่วงฤดูร้อน (เดือนเมษายน-ตุลาคม) อากาศร้อนชื้น อุณหภูมิอาจสูงถึง 49 องศาเซลเซียสลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะภูมิประเทศ. ภูมิประเทศเกือบทั้งหมดเป็นที่ราบต่ำในทะเลทราย ค่อยๆ ชันขึ้น ทางตอนกลางประวัติศาสตร์ยุคโบราณยุคอิสลามยุคสมัยใหม่ยุคศตวรรษที่ 19ประกาศเอกราช ประวัติศาสตร์. ประกาศเอกราช. บาห์เรนเคยอยู่ใต้อารักขาของอังกฤษตั้งแต่ ค.ศ.1820 โดยอำนาจการปกครองถูกแบ่งออกระหว่างเจ้าครองนครกับข้าหลวงอังกฤษ อิหร่านเคยอ้างสิทธิเหนือบาห์เรนมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 แต่เมื่อ ค.ศ.1980 อิหร่านยอมรับรายงานของ UN ที่แสดงข้อเท็จจริงว่าชาวบาห์เรนต้องการเป็นอิสระมากกว่าที่จะถูกรวมไว้กับอิหร่าน บาห์เรนได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2514 ตามสนธิสัญญามิตรภาพฉบับใหม่ที่ทำกับอังกฤษ หลังจากที่ความพยายามในการรวมประเทศกับกาตาร์และกลุ่มรัฐสงบศึก (ปัจจุบันคือสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) เป็นสหพันธรัฐไม่ประสบความสำเร็จ บาห์เรนเป็นประเทศแรกในอ่าวอาหรับที่ขุดพบน้ำมันดิบ ใน พ.ศ. 2475 และมีการสร้างโรงกลั่นน้ำมันขึ้น อย่างไรก็ดี ปริมาณน้ำมันดิบที่ขุดพบในบาห์เรนนับว่ามีจำนวนไม่มากนักเมื่อเทียบกับคูเวตและซาอุดีอาระเบียการเมืองการปกครอง การเมืองการปกครอง. ราชาธิปไตยกึ่งรัฐสภา มีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นไปตามผลการลงประชามติของชาวบาห์เรนเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 ปัจจุบัน คือ สมเด็จพระราชาธิบดีฮะมัด บิน อีซา อาล เคาะลีฟะฮ์ (His Majesty King Hamad Bin Isa Al Khalifa) เสด็จขึ้นครองราชย์ (ในฐานะเจ้าผู้ครองรัฐ) เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2542บริหารนิติบัญญัติตุลาการสิทธิมนุษยชนการแบ่งเขตการปกครอง การแบ่งเขตการปกครอง. ก่อนหน้า 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 ประเทศบาห์เรนแบ่งเขตการปกครองเป็นเทศบาลที่ปกครองจากเมืองหลวง (กรุงมานามา) 12 แห่ง ได้แก่1. อัลฮิดด์ (Al Hidd) 2. อัลมะนามะห์ (Al Manamah) 3. อัลมินตะเกาะห์อัลกะร์บียะห์ (Al Mintaqah al Gharbiyah) 4. อัลมินตะเกาะห์อัลวุสตะ (Al Mintaqah al Wusta) 5. อัลมินตะเกาะห์อัลชะมาลียะห์ (Al Mintaqah al Shamaliyah) 6. อัลมุฮาร์รัก (Al Muharraq) 7. อาร์ริฟาวาอัลมินตะเกาะห์อัลจะนูบียะห์ (Ar Rifa' wa al Mintaqah al Janubiyah) 8. จิดด์ฮัฟส์ (Jidd Haffs) 9. มะดีนัตฮามัด (Madinat Hamad ไม่แสดงบนแผนที่ แบ่งจากเทศบาลอาร์ริฟาฯ เมื่อ พ.ศ. 2534) 10. มะดีนัตอิซา (Madinat 'Isa) 11. จุซูร์ฮะวาร์ (Juzur Hawar) 12. ซิตระห์ (Sitrah) หลังจากวันดังกล่าวบาห์เรนได้กำหนดเขตการปกครองใหม่ซึ่งแบ่งเป็น 5 เขตผู้ว่าราชการ (governorates) ได้แก่ 1 เขตผู้ว่าราชการเหนือ (Northern) 2 เขตผู้ว่าราชการเมืองหลวง (Capital) 3 เขตผู้ว่าราชการมุฮัรร็อก (Muharraq) 4 เขตผู้ว่าราชการกลาง (Central) และ 5 เขตผู้ว่าราชการใต้ (Southern) ต่อมาเขตผู้ว่าราชการกลางถูกยกเลิกไปรวมกับเขตผู้ว่าราชการเหนือ เขตผู้ว่าราชการใต้ และเขตผู้ว่าราชการเมืองหลวง เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2557 ทำให้ปัจจุบันบาห์เรนมีเขตปกครองทั้งสิ้น 4 แห่งดังนี้- เขตผู้ว่าราชการเมืองหลวง - เขตผู้ว่าราชการมุฮัรร็อก - เขตผู้ว่าราชการเหนือ - เขตผู้ว่าราชการใต้การต่างประเทศความสัมพันธ์กับประเทศไทย การต่างประเทศ. ความสัมพันธ์กับประเทศไทย. ไทยและบาห์เรนได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2520 ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์อันใกล้ชิด บาห์เรนถือเป็นพันธมิตรที่สำคัญที่สุดในภูมิภาคตะวันออกกลางและมีบทบาทเป็นสะพานเชื่อมไทยสู่ประเทศในตะวันออกกลางในหลายมิติกองทัพเศรษฐกิจโครงสร้างสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบันเศรษฐกิจ. สถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน. - อัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 6.1 (ไทย 2.6%) - ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 18.97 พันล้าน USD (ไทย 273.4 พันล้าน USD) - รายได้ประชาชาติต่อหัว 18,979 USD (ไทย 4,081 USD) - ปริมาณน้ำมันสำรอง 125 ล้านบาร์เรลการท่องเที่ยวโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม และ โทรคมนาคมคมนาคมโทรคมนาคมวิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยีการศึกษาสาธารณสุขสวัสดิการสังคมประชากรศาสตร์เชื้อชาติศาสนา ประชากรศาสตร์. ศาสนา. ประชากรส่วนมากของประเทศนับถือ และยึดศาสนาอิสลามเป็นแบบแผน ในการดำเนินชีวิต ซึ่งจะเห็นได้ว่าสิ่งก่อสร้าง โบราณวัตถุ โบราณสถาน วัฒนธรรมต่างๆ เป็นสิ่งสะท้อนอิทธิพลของศาสนาอิสลามให้เห็นเด่นชัดในประเทศบาห์เรน และประชากรส่วนมากพูดภาษาอาหรับซึ่งใช้กันในแถบภูมิภาคนี้ภาษา ภาษา. มี ภาษาอาหรับ เป็นภาษาราชการกีฬาฟุตบอลวัฒนธรรมการแต่งกาย วัฒนธรรม. การแต่งกาย. เนื่องจากประเทศในแถบคาบสมุทรอาหรับเป็นประเทศที่มีสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้ง อีกทั้งประชาชนยังนับถือศาสนาอิสลามซึ่งมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการแต่งตัวไว้อย่างเคร่งครัด ทำให้ชาวอาหรับแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่หลวมเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้อย่างสะดวก แต่ปกปิดร่างกายอย่างมิดชิดทั้งผู้ชายและผู้หญิงเพื่อช่วยป้องกันไม่ให้ร่างกายเสียความชุ่มชื้น ผู้ชายจะใส่ชุดสีขาว เรียกว่า โต๊ป (Thobe) ส่วนผู้หญิงต้องสวมใส่เสื้อคลุมสีดำที่เรียกว่า อาบายะห์ (Abaya)ความเชื่อสื่อมวลชนวันหยุด
| สะพานที่เชื่อมต่อประเทศบาห์เรนกับประเทศซาอุดีอาระเบียคือสะพานใด | {
"answer": [
"คิงฟะฮัด"
],
"answer_begin_position": [
262
],
"answer_end_position": [
270
]
} |
3,813 | 4,502 | ประเทศเบลเยียม เบลเยียม () หรือชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรเบลเยียม () เป็นประเทศในยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเนเธอร์แลนด์ เยอรมนี ลักเซมเบิร์ก ฝรั่งเศส และทะเลเหนือ เบลเยียมเป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งของสหภาพยุโรป และเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ เช่นเดียวกับของอีกหลายองค์กรระหว่างประเทศรวมถึงองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ ทั้งนี้ ลักษณะของประเทศ ยังคล้ายกับ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีกด้วย เบลเยียมมีความหลากหลายทางภาษาค่อนข้างสูง ส่งผลต่อระบบการปกครองที่ค่อนข้างซับซ้อน เบลเยียมแบ่งออกเป็นสองภูมิภาคใหญ่ ๆ ได้แก่ฟลานเดอส์ ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาดัตช์ และวัลโลเนีย ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาฝรั่งเศส บรัสเซลส์ เมืองหลวงของเบลเยียม เป็นเขตทวิภาษา ตั้งอยู่ในฟลานเดอส์ นอกจากนี้ยังมีชุมชนที่พูดภาษาเยอรมันในทางตะวันออกของวัลโลเนียด้วย คำว่าเบลเยียม (Belgium ในภาษาอังกฤษ België และ Belgique ในภาษาดัตช์และฝรั่งเศส) มีที่มาจาก Gallia Belgica ซึ่งเป็นจังหวัดในยุคโรมัน มีกลุ่มชาว Belgae อยู่อาศัยภูมิศาสตร์ ภูมิศาสตร์. เบลเยียมมีพรมแดนติดต่อกับประเทศฝรั่งเศส (620 กม.) เยอรมนี (167 กม.) ลักเซมเบิร์ก (148 กม.) และเนเธอร์แลนด์ (450 กม.) มีพื้นที่รวม 30,528 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นน้ำ 250 กม.² ภูมิประเทศของเบลเยียมแบ่งออกเป็นสามส่วนใหญ่ ๆ ได้แก่ที่ราบชายฝั่ง ที่ราบสูงกลาง และที่สูงอาร์แดนภูมิประเทศ ภูมิประเทศ. ที่ราบชายฝั่งของเบลเยียม ประกอบด้วยเนินทรายจำนวนมาก ลึกเข้ามาในแผ่นดินเป็นที่ราบทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์และคลอง ที่สูงอาร์เดนส์เป็นเขตที่เป็นป่าหนาแน่น ยกตัวสูงขึ้นเฉลี่ย 460 เมตร อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเบลเยียม พื้นที่แถบนี้มีลักษณะเป็นหิน ไม่เหมาะกับเกษตรกรรม มีจุดที่สูงที่สุดของเบลเยียมคือซีญาลเดอบอทร็องฌ์ (Signal de Botrange) สูง 694 เมตร แม่น้ำสายหลักของเบลเยียมได้แก่ แม่น้ำแอ็สโก (Escaut) และแม่น้ำเมิซ (Meuse) ซึ่งมีต้นน้ำอยู่ที่ฝรั่งเศส แม่น้ำแอ็สโกเป็นแม่น้ำสายหลักของเบลเยียม ผ่านท่าเรือแอนต์เวิร์ป บรัสเซลส์ และเกนต์ภูมิอากาศ ภูมิอากาศ. ภูมิอากาศชายฝั่งทะเลมีลักษณะชื้นและไม่รุนแรงนัก ในขณะที่ลึกเข้ามาในพื้นทวีปอุณหภูมิจะมีช่วงความเปลี่ยนแปลงสูงกว่า ในเขตที่สูงอาร์เดนส์มีฤดูร้อนที่ร้อนสลับกับฤดูหนาวที่หนาวเย็น ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อเดือนในบรัสเซลส์ อยู่ระหว่าง 55 มิลลิเมตร ในเดือนกุมภาพันธ์ จนถึง 78 มิลลิเมตรในเดือนกรกฎาคม ในขณะที่อุณหภูมิเฉลี่ยของบรัสเซลส์อยู่ที่ 15-18 องศาเซลเซียสในเดือนมิถุนายนถึงกันยายน และลงต่ำอยู่ที่ 3 องศาในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ จากรายงานของสหประชาชาติในปีพ.ศ. 2546 คุณภาพน้ำในแม่น้ำของเบลเยียมอยู่ในระดับต่ำสุดจากทั้งหมด 122 ประเทศประวัติศาสตร์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์. ยุคก่อนประวัติศาสตร์. มีหลักฐานการดำรงอยู่ของชุมชนโบราณมานานมากกว่า 2,000 ปีโดยขุดพบโครงกระดูกมนุษย์และภาพเขียนโบราณในถ้ำตอนกลางของประเทศริมฝั่งแม่น้ำเมิซ (la Meuse) ในปีพ.ศ. 600 จูเลียส ซีซาร์ขยายอำนาจของจักรวรรดิโรมันมายังดินแดนเบลเยียมปัจจุบัน โดยเอาชนะชนเผ่าเคลต์ที่ชื่อเบลไก (Belgae) และก่อตั้งเป็นมณฑลแกลเลียเบลจิกา ต่อมาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 10 ดินแดนแถบนี้ก็ตกไปอยู่ในการควบคุมของชนเผ่าแฟรงก์ ก่อตั้งราชวงศ์เมรอแว็งเฌียง พระเจ้าโคลวิสที่ 1 ทรงรับคริสต์ศาสนาเข้ามาสู่อาณาจักร หลังจากยุคของโคลวิสแล้ว อาณาจักรของพวกแฟรงก์ก็เริ่มแตก จนกระทั่งถึงยุคของพระเจ้าชาร์เลอมาญ ซึ่งครองราชย์ตั้งแต่ปีพ.ศ. 1311 จนถึง 1357 ซึ่งได้รวบรวมอาณาจักรแฟรงก์ ปกครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรปยุคกลาง ยุคกลาง. หลังจากพระเจ้าชาร์เลอมาญสิ้นพระชนม์ อาณาจักรก็ถูกแบ่งออกเป็นส่วน ๆ พื้นที่ส่วนใหญ่ของเบลเยียมปัจจุบันเป็นของพระเจ้าโลแทร์ ซึ่งปกครองอาณาจักรกลาง ในขณะที่ส่วนที่เหลือตกเป็นของฝรั่งเศส อาณาจักรกลางภายหลังตกไปอยู่ภายใต้กษัตริย์เยอรมันของอาณาจักรตะวันออก ดินแดนเบลเยียมถูกแบ่งออกเป็นรัฐขุนนางเล็ก ๆ จำนวนมาก ซึ่งต่อมารวบรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเบอร์กันดี หลังจากการอภิเษกสมรสของพระนางแมรีแห่งเบอร์กันดีกับเจ้าชายมักซิมิลันจากราชวงศ์ฮับส์บูร์ก ซึ่งต่อมาขึ้นเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ดินแดนเบลเยียมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเนเธอร์แลนด์ได้ตกทอดไปถึงพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งสเปน พระนัดดาของพระเจ้ามักซิมิลัน ในรัชสมัยของพระเจ้าเฟลิเปที่ 2 แห่งสเปน พระราชโอรสของพระเจ้าชาลส์ ได้เกิดความขัดแย้งทางศาสนาระหว่างนิกายโรมันคาทอลิกและนิกายโปรเตสแตนต์ โดยพระเจ้าเฟลิเปพยายามที่จะปราบปรามนิกายโปรเตสแตนต์ ดินแดนทางตอนเหนือ ซึ่งสนับสนุนนิกายโปรเตสแตนต์ รวมตัวกันเป็นสาธารณรัฐเนเธอร์แลนด์ ในขณะที่ดินแดนทางใต้ ประกอบด้วยเบลเยียมและลักเซมเบิร์กในปัจจุบัน ยังอยู่ภายใต้การปกครองของสเปน เรียกชื่อว่าเนเธอร์แลนด์ใต้ ต่อมา ฝรั่งเศสได้ขึ้นเป็นมหาอำนาจในยุโรป พื้นที่ประเทศต่ำได้เป็นสนามรบ เบลเยียมได้เปลี่ยนมือไปยังออสเตรีย จนกระทั่งหลังการปฏิวัติฝรั่งเศส สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1ได้ยึดเบลเยียมในปีพ.ศ. 2338 ยุติการปกครองของสเปนและออสเตรียในบริเวณนี้ หลังจากการสิ้นสุดของจักรวรรดิฝรั่งเศสของนโปเลียน กลุ่มประเทศต่ำได้รวมกันอีกครั้งเป็นสหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ในปีพ.ศ. 2358การปฏิวัติเบลเยียม การปฏิวัติเบลเยียม. เกิดการปฏิวัติในเบลเยียมในปี พ.ศ. 2373 ก่อตั้งเป็นรัฐเอกราช และเลือกเจ้าชายเลโอโปลด์จากราชวงศ์แซ็กซ์-โคบูร์กและโกธา ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 1 โดยมีการปกครองในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยแบบรัฐสภาในปีพ.ศ. 2374 เบลเยียมได้รับคองโกเป็นอาณานิคมในปีพ.ศ. 2451 จากที่เคยเป็นดินแดนส่วนพระองค์ของสมเด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 2 เยอรมนีเข้ารุกรานเบลเยียมในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เบลเยียมเข้าครอบครองรวันดา-อุรุนดี (ปัจจุบันคือประเทศรวันดาและบุรุนดี) ซึ่งเป็นอาณานิคมของเยอรมนีในช่วงสงคราม เบลเยียมถูกรุกรานจากเยอรนีอีกครั้งในสงครามโลกครั้งที่สอง จนกระทั่งถูกปลดปล่อยโดยกองทัพสัมพันธมิตร คองโกได้รับเอกราชในปีพ.ศ. 2503 ในขณะที่รวันดา-อุรุนดีได้รับในอีกสองปีถัดมา หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง เบลเยียมเข้าร่วมนาโต ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ที่บรัสเซลส์ และจัดตั้งกลุ่มเบเนลักซ์ร่วมกับเนเธอร์แลนด์และลักเซมเบิร์ก เบลเยียมเป็นหนึ่งในหกสมาชิกก่อตั้งของประชาคมถ่านหินและเหล็กยุโรปในปีพ.ศ. 2494 และในปีพ.ศ. 2500 ก่อตั้งประชาคมพลังงานปรมาณูยุโรปและประชาคมเศรษฐกิจยุโรป ซึ่งต่อมาคือสหภาพยุโรป เบลเยียมเป็นที่ตั้งของหน่วยงานหลายอย่างของสหภาพ เช่น คณะกรรมาธิการยุโรป คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป เป็นต้นการเมืองการปกครอง การเมืองการปกครอง. เบลเยียมมีระบอบการปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยแบบรัฐสภา พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ ซึ่งพระองค์ปัจจุบันคือสมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิป ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง การปกครองของเบลเยียมนั้นมีเน้นไปทางอำนาจปกครองตนเองของสองชุมชนหลัก ซึ่งมีมีปัญหาความแตกแยกจากความแตกต่างทางภาษา ในปีพ.ศ. 2536 ได้มีการปรับปรุงรัฐธรรมนูญครั้งสำคัญ โดยบัญญัติให้เบลเยียมเป็นสหพันธรัฐ หลังจากเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่พ.ศ. 2513บริหารนิติบัญญัติ นิติบัญญัติ. รัฐสภากลางของเบลเยียมนั้นใช้ระบบสภาคู่ โดยประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ดัตช์: de Kamer van Volksvertegenwoordigers; ฝรั่งเศส: la Chambre des Représentants) และวุฒิสภา (ดัตช์: de Senaat; ฝรั่งเศส: le Sénat) วุฒิสภานั้นประกอบด้วยนักการเมืองที่ได้รับการเลือกตั้งโดยตรง 40 คน และอีก 21 คนแต่งตั้งโดยสภาชุมชนสามสภา สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิก 150 คนจากเขตเลือกตั้ง 11 เขต เบลเยียมนั้นมีการกำหนดการเลือกตั้งเป็นหน้าที่ของประชาชน โดยเริ่มต้นตั้งแต่ปีพ.ศ. 2435พรรคการเมือง พรรคการเมือง. พรรคการเมืองของเบลเยียมนั้น มีลักษณะแบ่งตามกลุ่มภาษาอย่างชัดเจน พรรคการเมืองของเบลเยียมอยู่ในสามกลุ่มหลัก ๆ คือ กลุ่มพรรคคริสเตียนเดโมแครต แบ่งเป็น Centre démocrate humaniste (CDH) และ Christen-Democratisch & Vlaams (CD&V) กลุ่มพรรคสังคมนิยม ประกอบด้วย Parti Socialiste (PS) และ Socialistische Partij – Anders (SP.A) และกลุ่มพรรคเสรีนิยม ได้แก่ Mouvement Réformateur (MR) และ Vlaamse Liberalen en Democraten (VLD) นอกจากสามกลุ่มหลักนี้แล้ว ยังมีกลุ่มพรรคกรีน ได้แก่ พรรค Ecolo และ Groen! ซึ่งเป็นพรรคของผู้พูดภาษาฝรั่งเศสและฟลามส์ตามลำดับตุลาการการแบ่งเขตการปกครอง การแบ่งเขตการปกครอง. ชาววัลลูนและชาวเฟลมิชในเบลเยียมมีความแตกต่างกันทั้งทางภาษา ภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจและการเมือง ในปี พ.ศ. 2511 ความตึงเครียดระหว่างประชากรในพื้นที่ที่ใช้ภาษาดัตช์และที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสได้ทวีความรุนแรงขึ้น จนบางครั้งถึงขั้นจลาจล สถานการณ์นี้นำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญให้มีรูปแบบการปกครองแบบสหพันธรัฐ-ราชอาณาจักร โดยแบ่งออกเป็นสามเขต คือ เขตฟลามส์ เขตวัลลูน และเขตเมืองหลวงบรัสเซลส์ แต่ละเขตมีรัฐบาลท้องถิ่นปกครองตนเอง และมีรัฐบาลกลางบริหารประเทศโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐ การปกครองของเบลเยียมแบ่งออกเป็นสามระดับ ได้แก่ รัฐบาลสหพันธรัฐ มีศูนย์กลางอยู่ที่บรัสเซลส์ ชุมชนภาษาสามชุมชน ได้แก่ ฟลามส์ ฝรั่งเศส และเยอรมัน และสามภูมิภาค ได้แก่ เขตฟลามส์หรือฟลานเดอส์ เขตวัลลูนหรือวัลโลเนีย และเขตเมืองหลวงบรัสเซลส์ โดยเขตฟลามส์และเขตวัลลูนแบ่งออกเป็นจังหวัดต่าง ๆ ดังนี้เศรษฐกิจโครงสร้าง เศรษฐกิจ. โครงสร้าง. เบลเยียมเป็นประเทศแรกในภาคพื้นทวีปยุโรปที่เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม โดยมีการพัฒนาการทำเหมืองแร่ ตีเหล็ก และอุตสาหกรรมสิ่งทอ เบลเยียมได้พัฒนาสาธารณูปโภคด้านการขนส่ง ทั้งท่าเรือ คลอง รถไฟ และทางหลวง เชื่อมเศรษฐกิจเข้ากับประเทศอื่นในยุโรป เบลเยียมเป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งของประชาคมยุโรป และสนับสนุนการขยายอำนาจของสหภาพยุโรปเพื่อรวมเศรษฐกิจของชาติสมาชิก เบลเยียมเข้าร่วมใช้สกุลเงินยูโรในปีพ.ศ. 2542 และทดแทนฟรังก์เบลเยียมอย่างสมบูรณ์ในปีพ.ศ. 2545 ทั้งนี้ เบลเยียมเข้าร่วมสหภาพศุลกากรและสกุลเงินกับประเทศลักเซมเบิร์กตั้งแต่ปีพ.ศ. 2465 ในยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง วัลโลเนียเป็นเขตที่มีการพัฒนาอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสูง หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง ฟลานเดอส์เริ่มมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจมากขึ้น โดยปรากฏการพัฒนาอุตสาหกรรมเคมี ในเขตวัลโลเนีย อุตสาหกรรมเหล็กเริ่มสูญเสียความสามารถทางการแข่งขัน จนกระทั่งเกิดวิกฤติการน้ำมัน พ.ศ. 2516 และ พ.ศ. 2522 ส่งผลให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะตกต่ำ หลังจากนั้น ศูนย์กลางเศรษฐกิจของประเทศขยับไปทางเขตฟลานเดอส์ เศรษฐกิจของเบลเยียมมีจุดเด่นคือ ผลิตภาพของแรงงาน รายได้ประชาชาติ และการส่งออกต่อประชากรสูง การส่งออกของเบลเยียมคิดเป็นมากกว่าสองในสามของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (จีเอ็นพี) โดยเบลเยียมได้เปรียบจากตำแหน่งที่ตั้งที่อยู่ในศูนย์กลางพื้นที่ที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจสูง เบลเยียมเป็นสมาชิกขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาการท่องเที่ยวประชากรเชื้อชาติ ประชากร. เชื้อชาติ. ในปีพ.ศ. 2549 เบลเยียมมีประชากรประมาณ 10.5 ล้านคน โดยอาศัยอยู่ในเขตฟลามส์ราว 6 ล้านคน เขตวัลลูนราว 3.4 ล้านคน และราว 1 ล้านคนในเขตเมืองหลวง คิดเป็นความหนาแน่นทั้งประเทศ 344 คนต่อตารางกิโลเมตร เขตเทศบาลที่มีผู้อยู่อาศัยมากได้แก่ แอนต์เวิร์ป (4.66 แสนคน) เกนต์ (2.35 แสนคน) ชาร์เลอรัว (2 แสนคน) ลีแยฌ (1.88 แสนคน) บรัสเซลส์ (1.45 แสนคน) เป็นต้นภาษา ภาษา. เบลเยียมมีภาษาทางการ 3 ภาษา ได้แก่ ภาษาดัตช์ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาเยอรมัน โดยคาดว่า มีผู้พูดภาษาดัตช์เป็นภาษาหลักราว 60 เปอร์เซนต์ และประมาณ 40 เปอร์เซนต์สำหรับภาษาฝรั่งเศส โดยภาษาเยอรมันมีผู้พูดน้อยกว่า 1 เปอร์เซนต์ ผู้พูดภาษาดัตช์ส่วนใหญ่อยู่ในภาคเหนือของประเทศ โดยเป็นภาษาทางการของเขตฟลามส์และชุมชนฟลามส์ และหนึ่งในสองภาษาทางการของเขตเมืองหลวง ผู้พูดภาษาฝรั่งเศสกระจุกตัวอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ เป็นภาษาทางการของชุมชนฝรั่งเศส อีกหนึ่งภาษาทางการของเขตเมืองหลวง และภาษาหลักของเขตวัลลูน ภาษาเยอรมันมีผู้พูดอยู่ในเขตชายแดนตะวันออกของประเทศ เป็นภาษาทางการในบางส่วนของวัลลูน ภาษาอื่น ๆ ที่มีผู้พูดในเบลเยียมได้แก่ ภาษาวัลลูน ภาษาปีการ์ ภาษาช็องเปอนัว และภาษาลอแร็งศาสนา ศาสนา. คริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกเป็นศาสนาหลักของเบลเยียม จากการสำรวจและศึกษาศาสนาในปีพ.ศ. 2544 ประชากรร้อยละ 47 ของประเทศประกาศตนเป็นคาทอลิก และมีประชากรมุสลิมประมาณ 364,000 คน หรือราว 3.5 เปอร์เซนต์ของประชากรกีฬา กีฬา. กีฬายอดนิยมของเบลเยียมคือฟุตบอลและจักรยาน เอดดี เมิกซ์ ได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในนักกีฬาจักรยานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล เบลเยียมผลิตนักเทนนิสหญิงมือหนึ่งของโลกถึงสองคน คือ กิม ไกลส์เติร์ส และฌุสตีน เอแน็งวัฒนธรรมศิลปะ วัฒนธรรม. ศิลปะ. ฟลานเดอส์เป็นแหล่งกำเนิดของจิตรกรที่มีชื่อเสียงหลายยุคสมัย ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 และ 16 บริเวณยุโรปเหนือเป็นหนึ่งในศูนย์กลางสำคัญของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา จิตรกรชาวเฟลมิชคนสำคัญของยุคนี้ประกอบไปด้วย ยัน ฟัน ไอก์, โรเคียร์ ฟัน เดอร์ไวเดิน และปีเตอร์ เบรอเคิล (ผู้พ่อ) ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟลานเดอส์มีจิตรกรที่มีชื่อเสียงมากของยุคคือ เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์ และอันโตนี ฟัน ไดก์ ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 เบลเยียมเกิดรูปแบบและสำนักแตกต่างกันมากมาย มีจิตรกรที่มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติเช่น เจมส์ เอนซอร์ และเรเน มากริตต์ นอกจากนี้ เบลเยียมยังมีสถาปนิกชื่อดังสองคน ซึ่งเป็นศิลปินอาร์ตนูโวคนแรก ๆ คือวิกตอร์ ฮอร์ตา และอ็องรี ฟัน เดอแฟ็ลเดอ เบลเยียมยังเป็นต้นกำเนิดของแซกโซโฟน ประดิษฐ์โดยอดอล์ฟ แซกซ์ ในปีพ.ศ. 2483ประเพณี ประเพณี. ตลอดปี เบลเยียมมีงานเทศกาลท้องถิ่นจำนวนมาก ขบวนยักษ์และมังกรในหลายเมืองของเบลเยียมได้รับการยอมรับในประกาศผลงานชิ้นเอกมุขปาฐะและมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (อังกฤษ:Masterpieces of the Oral and Intangible Heritage of Humanity) ของยูเนสโก ได้แก่ อัต, บรัสเซลส์, เดนเดอร์โมนเดอ, เมเคอเลิน และมงส์ งานเทศกาลที่สำคัญในเบลเยียมอีกอย่างหนึ่ง คือวันนักบุญนิโคลัส 6 ธันวาคม เรียกในภาษาดัตช์ว่าซินเตอร์กลาส (Sinterklaas)อาหาร อาหาร. เบลเยียมมีชื่อเสียงในด้านการผลิตช็อกโกแลต โดยมียี่ห้อช็อกโกแลตหลายยี่ห้อที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก เช่น Godiva, Neuheus และ Guylian นอกจากนี้ เบลเยียมยังเป็นประเทศที่นิยมเบียร์ มีเบียร์มากกว่า 450 ชนิด ชาวเบลเยียมเป็นที่รู้กันดีว่าชื่นชอบวัฟเฟิลและมันฝรั่งทอดเฟรนช์ฟรายส์ ซึ่งมีการสันนิษฐานว่ามีต้นกำเนิดจากประเทศนี้ อาหารสำคัญของประเทศอีกอย่างหนึ่งคือหอยแมลงภู่ เสิร์ฟร่วมกับมันฝรั่งทอด
| เมืองหลวงของประเทศเบลเยียมมีชื่อว่าอะไร | {
"answer": [
"บรัสเซลส์"
],
"answer_begin_position": [
703
],
"answer_end_position": [
712
]
} |
3,814 | 4,502 | ประเทศเบลเยียม เบลเยียม () หรือชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรเบลเยียม () เป็นประเทศในยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเนเธอร์แลนด์ เยอรมนี ลักเซมเบิร์ก ฝรั่งเศส และทะเลเหนือ เบลเยียมเป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งของสหภาพยุโรป และเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ เช่นเดียวกับของอีกหลายองค์กรระหว่างประเทศรวมถึงองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ ทั้งนี้ ลักษณะของประเทศ ยังคล้ายกับ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีกด้วย เบลเยียมมีความหลากหลายทางภาษาค่อนข้างสูง ส่งผลต่อระบบการปกครองที่ค่อนข้างซับซ้อน เบลเยียมแบ่งออกเป็นสองภูมิภาคใหญ่ ๆ ได้แก่ฟลานเดอส์ ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาดัตช์ และวัลโลเนีย ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาฝรั่งเศส บรัสเซลส์ เมืองหลวงของเบลเยียม เป็นเขตทวิภาษา ตั้งอยู่ในฟลานเดอส์ นอกจากนี้ยังมีชุมชนที่พูดภาษาเยอรมันในทางตะวันออกของวัลโลเนียด้วย คำว่าเบลเยียม (Belgium ในภาษาอังกฤษ België และ Belgique ในภาษาดัตช์และฝรั่งเศส) มีที่มาจาก Gallia Belgica ซึ่งเป็นจังหวัดในยุคโรมัน มีกลุ่มชาว Belgae อยู่อาศัยภูมิศาสตร์ ภูมิศาสตร์. เบลเยียมมีพรมแดนติดต่อกับประเทศฝรั่งเศส (620 กม.) เยอรมนี (167 กม.) ลักเซมเบิร์ก (148 กม.) และเนเธอร์แลนด์ (450 กม.) มีพื้นที่รวม 30,528 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นน้ำ 250 กม.² ภูมิประเทศของเบลเยียมแบ่งออกเป็นสามส่วนใหญ่ ๆ ได้แก่ที่ราบชายฝั่ง ที่ราบสูงกลาง และที่สูงอาร์แดนภูมิประเทศ ภูมิประเทศ. ที่ราบชายฝั่งของเบลเยียม ประกอบด้วยเนินทรายจำนวนมาก ลึกเข้ามาในแผ่นดินเป็นที่ราบทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์และคลอง ที่สูงอาร์เดนส์เป็นเขตที่เป็นป่าหนาแน่น ยกตัวสูงขึ้นเฉลี่ย 460 เมตร อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเบลเยียม พื้นที่แถบนี้มีลักษณะเป็นหิน ไม่เหมาะกับเกษตรกรรม มีจุดที่สูงที่สุดของเบลเยียมคือซีญาลเดอบอทร็องฌ์ (Signal de Botrange) สูง 694 เมตร แม่น้ำสายหลักของเบลเยียมได้แก่ แม่น้ำแอ็สโก (Escaut) และแม่น้ำเมิซ (Meuse) ซึ่งมีต้นน้ำอยู่ที่ฝรั่งเศส แม่น้ำแอ็สโกเป็นแม่น้ำสายหลักของเบลเยียม ผ่านท่าเรือแอนต์เวิร์ป บรัสเซลส์ และเกนต์ภูมิอากาศ ภูมิอากาศ. ภูมิอากาศชายฝั่งทะเลมีลักษณะชื้นและไม่รุนแรงนัก ในขณะที่ลึกเข้ามาในพื้นทวีปอุณหภูมิจะมีช่วงความเปลี่ยนแปลงสูงกว่า ในเขตที่สูงอาร์เดนส์มีฤดูร้อนที่ร้อนสลับกับฤดูหนาวที่หนาวเย็น ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อเดือนในบรัสเซลส์ อยู่ระหว่าง 55 มิลลิเมตร ในเดือนกุมภาพันธ์ จนถึง 78 มิลลิเมตรในเดือนกรกฎาคม ในขณะที่อุณหภูมิเฉลี่ยของบรัสเซลส์อยู่ที่ 15-18 องศาเซลเซียสในเดือนมิถุนายนถึงกันยายน และลงต่ำอยู่ที่ 3 องศาในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ จากรายงานของสหประชาชาติในปีพ.ศ. 2546 คุณภาพน้ำในแม่น้ำของเบลเยียมอยู่ในระดับต่ำสุดจากทั้งหมด 122 ประเทศประวัติศาสตร์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์. ยุคก่อนประวัติศาสตร์. มีหลักฐานการดำรงอยู่ของชุมชนโบราณมานานมากกว่า 2,000 ปีโดยขุดพบโครงกระดูกมนุษย์และภาพเขียนโบราณในถ้ำตอนกลางของประเทศริมฝั่งแม่น้ำเมิซ (la Meuse) ในปีพ.ศ. 600 จูเลียส ซีซาร์ขยายอำนาจของจักรวรรดิโรมันมายังดินแดนเบลเยียมปัจจุบัน โดยเอาชนะชนเผ่าเคลต์ที่ชื่อเบลไก (Belgae) และก่อตั้งเป็นมณฑลแกลเลียเบลจิกา ต่อมาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 10 ดินแดนแถบนี้ก็ตกไปอยู่ในการควบคุมของชนเผ่าแฟรงก์ ก่อตั้งราชวงศ์เมรอแว็งเฌียง พระเจ้าโคลวิสที่ 1 ทรงรับคริสต์ศาสนาเข้ามาสู่อาณาจักร หลังจากยุคของโคลวิสแล้ว อาณาจักรของพวกแฟรงก์ก็เริ่มแตก จนกระทั่งถึงยุคของพระเจ้าชาร์เลอมาญ ซึ่งครองราชย์ตั้งแต่ปีพ.ศ. 1311 จนถึง 1357 ซึ่งได้รวบรวมอาณาจักรแฟรงก์ ปกครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรปยุคกลาง ยุคกลาง. หลังจากพระเจ้าชาร์เลอมาญสิ้นพระชนม์ อาณาจักรก็ถูกแบ่งออกเป็นส่วน ๆ พื้นที่ส่วนใหญ่ของเบลเยียมปัจจุบันเป็นของพระเจ้าโลแทร์ ซึ่งปกครองอาณาจักรกลาง ในขณะที่ส่วนที่เหลือตกเป็นของฝรั่งเศส อาณาจักรกลางภายหลังตกไปอยู่ภายใต้กษัตริย์เยอรมันของอาณาจักรตะวันออก ดินแดนเบลเยียมถูกแบ่งออกเป็นรัฐขุนนางเล็ก ๆ จำนวนมาก ซึ่งต่อมารวบรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเบอร์กันดี หลังจากการอภิเษกสมรสของพระนางแมรีแห่งเบอร์กันดีกับเจ้าชายมักซิมิลันจากราชวงศ์ฮับส์บูร์ก ซึ่งต่อมาขึ้นเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ดินแดนเบลเยียมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเนเธอร์แลนด์ได้ตกทอดไปถึงพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งสเปน พระนัดดาของพระเจ้ามักซิมิลัน ในรัชสมัยของพระเจ้าเฟลิเปที่ 2 แห่งสเปน พระราชโอรสของพระเจ้าชาลส์ ได้เกิดความขัดแย้งทางศาสนาระหว่างนิกายโรมันคาทอลิกและนิกายโปรเตสแตนต์ โดยพระเจ้าเฟลิเปพยายามที่จะปราบปรามนิกายโปรเตสแตนต์ ดินแดนทางตอนเหนือ ซึ่งสนับสนุนนิกายโปรเตสแตนต์ รวมตัวกันเป็นสาธารณรัฐเนเธอร์แลนด์ ในขณะที่ดินแดนทางใต้ ประกอบด้วยเบลเยียมและลักเซมเบิร์กในปัจจุบัน ยังอยู่ภายใต้การปกครองของสเปน เรียกชื่อว่าเนเธอร์แลนด์ใต้ ต่อมา ฝรั่งเศสได้ขึ้นเป็นมหาอำนาจในยุโรป พื้นที่ประเทศต่ำได้เป็นสนามรบ เบลเยียมได้เปลี่ยนมือไปยังออสเตรีย จนกระทั่งหลังการปฏิวัติฝรั่งเศส สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1ได้ยึดเบลเยียมในปีพ.ศ. 2338 ยุติการปกครองของสเปนและออสเตรียในบริเวณนี้ หลังจากการสิ้นสุดของจักรวรรดิฝรั่งเศสของนโปเลียน กลุ่มประเทศต่ำได้รวมกันอีกครั้งเป็นสหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ในปีพ.ศ. 2358การปฏิวัติเบลเยียม การปฏิวัติเบลเยียม. เกิดการปฏิวัติในเบลเยียมในปี พ.ศ. 2373 ก่อตั้งเป็นรัฐเอกราช และเลือกเจ้าชายเลโอโปลด์จากราชวงศ์แซ็กซ์-โคบูร์กและโกธา ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 1 โดยมีการปกครองในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยแบบรัฐสภาในปีพ.ศ. 2374 เบลเยียมได้รับคองโกเป็นอาณานิคมในปีพ.ศ. 2451 จากที่เคยเป็นดินแดนส่วนพระองค์ของสมเด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 2 เยอรมนีเข้ารุกรานเบลเยียมในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เบลเยียมเข้าครอบครองรวันดา-อุรุนดี (ปัจจุบันคือประเทศรวันดาและบุรุนดี) ซึ่งเป็นอาณานิคมของเยอรมนีในช่วงสงคราม เบลเยียมถูกรุกรานจากเยอรนีอีกครั้งในสงครามโลกครั้งที่สอง จนกระทั่งถูกปลดปล่อยโดยกองทัพสัมพันธมิตร คองโกได้รับเอกราชในปีพ.ศ. 2503 ในขณะที่รวันดา-อุรุนดีได้รับในอีกสองปีถัดมา หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง เบลเยียมเข้าร่วมนาโต ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ที่บรัสเซลส์ และจัดตั้งกลุ่มเบเนลักซ์ร่วมกับเนเธอร์แลนด์และลักเซมเบิร์ก เบลเยียมเป็นหนึ่งในหกสมาชิกก่อตั้งของประชาคมถ่านหินและเหล็กยุโรปในปีพ.ศ. 2494 และในปีพ.ศ. 2500 ก่อตั้งประชาคมพลังงานปรมาณูยุโรปและประชาคมเศรษฐกิจยุโรป ซึ่งต่อมาคือสหภาพยุโรป เบลเยียมเป็นที่ตั้งของหน่วยงานหลายอย่างของสหภาพ เช่น คณะกรรมาธิการยุโรป คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป เป็นต้นการเมืองการปกครอง การเมืองการปกครอง. เบลเยียมมีระบอบการปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยแบบรัฐสภา พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ ซึ่งพระองค์ปัจจุบันคือสมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิป ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง การปกครองของเบลเยียมนั้นมีเน้นไปทางอำนาจปกครองตนเองของสองชุมชนหลัก ซึ่งมีมีปัญหาความแตกแยกจากความแตกต่างทางภาษา ในปีพ.ศ. 2536 ได้มีการปรับปรุงรัฐธรรมนูญครั้งสำคัญ โดยบัญญัติให้เบลเยียมเป็นสหพันธรัฐ หลังจากเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่พ.ศ. 2513บริหารนิติบัญญัติ นิติบัญญัติ. รัฐสภากลางของเบลเยียมนั้นใช้ระบบสภาคู่ โดยประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ดัตช์: de Kamer van Volksvertegenwoordigers; ฝรั่งเศส: la Chambre des Représentants) และวุฒิสภา (ดัตช์: de Senaat; ฝรั่งเศส: le Sénat) วุฒิสภานั้นประกอบด้วยนักการเมืองที่ได้รับการเลือกตั้งโดยตรง 40 คน และอีก 21 คนแต่งตั้งโดยสภาชุมชนสามสภา สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิก 150 คนจากเขตเลือกตั้ง 11 เขต เบลเยียมนั้นมีการกำหนดการเลือกตั้งเป็นหน้าที่ของประชาชน โดยเริ่มต้นตั้งแต่ปีพ.ศ. 2435พรรคการเมือง พรรคการเมือง. พรรคการเมืองของเบลเยียมนั้น มีลักษณะแบ่งตามกลุ่มภาษาอย่างชัดเจน พรรคการเมืองของเบลเยียมอยู่ในสามกลุ่มหลัก ๆ คือ กลุ่มพรรคคริสเตียนเดโมแครต แบ่งเป็น Centre démocrate humaniste (CDH) และ Christen-Democratisch & Vlaams (CD&V) กลุ่มพรรคสังคมนิยม ประกอบด้วย Parti Socialiste (PS) และ Socialistische Partij – Anders (SP.A) และกลุ่มพรรคเสรีนิยม ได้แก่ Mouvement Réformateur (MR) และ Vlaamse Liberalen en Democraten (VLD) นอกจากสามกลุ่มหลักนี้แล้ว ยังมีกลุ่มพรรคกรีน ได้แก่ พรรค Ecolo และ Groen! ซึ่งเป็นพรรคของผู้พูดภาษาฝรั่งเศสและฟลามส์ตามลำดับตุลาการการแบ่งเขตการปกครอง การแบ่งเขตการปกครอง. ชาววัลลูนและชาวเฟลมิชในเบลเยียมมีความแตกต่างกันทั้งทางภาษา ภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจและการเมือง ในปี พ.ศ. 2511 ความตึงเครียดระหว่างประชากรในพื้นที่ที่ใช้ภาษาดัตช์และที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสได้ทวีความรุนแรงขึ้น จนบางครั้งถึงขั้นจลาจล สถานการณ์นี้นำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญให้มีรูปแบบการปกครองแบบสหพันธรัฐ-ราชอาณาจักร โดยแบ่งออกเป็นสามเขต คือ เขตฟลามส์ เขตวัลลูน และเขตเมืองหลวงบรัสเซลส์ แต่ละเขตมีรัฐบาลท้องถิ่นปกครองตนเอง และมีรัฐบาลกลางบริหารประเทศโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐ การปกครองของเบลเยียมแบ่งออกเป็นสามระดับ ได้แก่ รัฐบาลสหพันธรัฐ มีศูนย์กลางอยู่ที่บรัสเซลส์ ชุมชนภาษาสามชุมชน ได้แก่ ฟลามส์ ฝรั่งเศส และเยอรมัน และสามภูมิภาค ได้แก่ เขตฟลามส์หรือฟลานเดอส์ เขตวัลลูนหรือวัลโลเนีย และเขตเมืองหลวงบรัสเซลส์ โดยเขตฟลามส์และเขตวัลลูนแบ่งออกเป็นจังหวัดต่าง ๆ ดังนี้เศรษฐกิจโครงสร้าง เศรษฐกิจ. โครงสร้าง. เบลเยียมเป็นประเทศแรกในภาคพื้นทวีปยุโรปที่เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม โดยมีการพัฒนาการทำเหมืองแร่ ตีเหล็ก และอุตสาหกรรมสิ่งทอ เบลเยียมได้พัฒนาสาธารณูปโภคด้านการขนส่ง ทั้งท่าเรือ คลอง รถไฟ และทางหลวง เชื่อมเศรษฐกิจเข้ากับประเทศอื่นในยุโรป เบลเยียมเป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งของประชาคมยุโรป และสนับสนุนการขยายอำนาจของสหภาพยุโรปเพื่อรวมเศรษฐกิจของชาติสมาชิก เบลเยียมเข้าร่วมใช้สกุลเงินยูโรในปีพ.ศ. 2542 และทดแทนฟรังก์เบลเยียมอย่างสมบูรณ์ในปีพ.ศ. 2545 ทั้งนี้ เบลเยียมเข้าร่วมสหภาพศุลกากรและสกุลเงินกับประเทศลักเซมเบิร์กตั้งแต่ปีพ.ศ. 2465 ในยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง วัลโลเนียเป็นเขตที่มีการพัฒนาอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสูง หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง ฟลานเดอส์เริ่มมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจมากขึ้น โดยปรากฏการพัฒนาอุตสาหกรรมเคมี ในเขตวัลโลเนีย อุตสาหกรรมเหล็กเริ่มสูญเสียความสามารถทางการแข่งขัน จนกระทั่งเกิดวิกฤติการน้ำมัน พ.ศ. 2516 และ พ.ศ. 2522 ส่งผลให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะตกต่ำ หลังจากนั้น ศูนย์กลางเศรษฐกิจของประเทศขยับไปทางเขตฟลานเดอส์ เศรษฐกิจของเบลเยียมมีจุดเด่นคือ ผลิตภาพของแรงงาน รายได้ประชาชาติ และการส่งออกต่อประชากรสูง การส่งออกของเบลเยียมคิดเป็นมากกว่าสองในสามของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (จีเอ็นพี) โดยเบลเยียมได้เปรียบจากตำแหน่งที่ตั้งที่อยู่ในศูนย์กลางพื้นที่ที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจสูง เบลเยียมเป็นสมาชิกขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาการท่องเที่ยวประชากรเชื้อชาติ ประชากร. เชื้อชาติ. ในปีพ.ศ. 2549 เบลเยียมมีประชากรประมาณ 10.5 ล้านคน โดยอาศัยอยู่ในเขตฟลามส์ราว 6 ล้านคน เขตวัลลูนราว 3.4 ล้านคน และราว 1 ล้านคนในเขตเมืองหลวง คิดเป็นความหนาแน่นทั้งประเทศ 344 คนต่อตารางกิโลเมตร เขตเทศบาลที่มีผู้อยู่อาศัยมากได้แก่ แอนต์เวิร์ป (4.66 แสนคน) เกนต์ (2.35 แสนคน) ชาร์เลอรัว (2 แสนคน) ลีแยฌ (1.88 แสนคน) บรัสเซลส์ (1.45 แสนคน) เป็นต้นภาษา ภาษา. เบลเยียมมีภาษาทางการ 3 ภาษา ได้แก่ ภาษาดัตช์ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาเยอรมัน โดยคาดว่า มีผู้พูดภาษาดัตช์เป็นภาษาหลักราว 60 เปอร์เซนต์ และประมาณ 40 เปอร์เซนต์สำหรับภาษาฝรั่งเศส โดยภาษาเยอรมันมีผู้พูดน้อยกว่า 1 เปอร์เซนต์ ผู้พูดภาษาดัตช์ส่วนใหญ่อยู่ในภาคเหนือของประเทศ โดยเป็นภาษาทางการของเขตฟลามส์และชุมชนฟลามส์ และหนึ่งในสองภาษาทางการของเขตเมืองหลวง ผู้พูดภาษาฝรั่งเศสกระจุกตัวอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ เป็นภาษาทางการของชุมชนฝรั่งเศส อีกหนึ่งภาษาทางการของเขตเมืองหลวง และภาษาหลักของเขตวัลลูน ภาษาเยอรมันมีผู้พูดอยู่ในเขตชายแดนตะวันออกของประเทศ เป็นภาษาทางการในบางส่วนของวัลลูน ภาษาอื่น ๆ ที่มีผู้พูดในเบลเยียมได้แก่ ภาษาวัลลูน ภาษาปีการ์ ภาษาช็องเปอนัว และภาษาลอแร็งศาสนา ศาสนา. คริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกเป็นศาสนาหลักของเบลเยียม จากการสำรวจและศึกษาศาสนาในปีพ.ศ. 2544 ประชากรร้อยละ 47 ของประเทศประกาศตนเป็นคาทอลิก และมีประชากรมุสลิมประมาณ 364,000 คน หรือราว 3.5 เปอร์เซนต์ของประชากรกีฬา กีฬา. กีฬายอดนิยมของเบลเยียมคือฟุตบอลและจักรยาน เอดดี เมิกซ์ ได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในนักกีฬาจักรยานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล เบลเยียมผลิตนักเทนนิสหญิงมือหนึ่งของโลกถึงสองคน คือ กิม ไกลส์เติร์ส และฌุสตีน เอแน็งวัฒนธรรมศิลปะ วัฒนธรรม. ศิลปะ. ฟลานเดอส์เป็นแหล่งกำเนิดของจิตรกรที่มีชื่อเสียงหลายยุคสมัย ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 และ 16 บริเวณยุโรปเหนือเป็นหนึ่งในศูนย์กลางสำคัญของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา จิตรกรชาวเฟลมิชคนสำคัญของยุคนี้ประกอบไปด้วย ยัน ฟัน ไอก์, โรเคียร์ ฟัน เดอร์ไวเดิน และปีเตอร์ เบรอเคิล (ผู้พ่อ) ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟลานเดอส์มีจิตรกรที่มีชื่อเสียงมากของยุคคือ เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์ และอันโตนี ฟัน ไดก์ ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 เบลเยียมเกิดรูปแบบและสำนักแตกต่างกันมากมาย มีจิตรกรที่มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติเช่น เจมส์ เอนซอร์ และเรเน มากริตต์ นอกจากนี้ เบลเยียมยังมีสถาปนิกชื่อดังสองคน ซึ่งเป็นศิลปินอาร์ตนูโวคนแรก ๆ คือวิกตอร์ ฮอร์ตา และอ็องรี ฟัน เดอแฟ็ลเดอ เบลเยียมยังเป็นต้นกำเนิดของแซกโซโฟน ประดิษฐ์โดยอดอล์ฟ แซกซ์ ในปีพ.ศ. 2483ประเพณี ประเพณี. ตลอดปี เบลเยียมมีงานเทศกาลท้องถิ่นจำนวนมาก ขบวนยักษ์และมังกรในหลายเมืองของเบลเยียมได้รับการยอมรับในประกาศผลงานชิ้นเอกมุขปาฐะและมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (อังกฤษ:Masterpieces of the Oral and Intangible Heritage of Humanity) ของยูเนสโก ได้แก่ อัต, บรัสเซลส์, เดนเดอร์โมนเดอ, เมเคอเลิน และมงส์ งานเทศกาลที่สำคัญในเบลเยียมอีกอย่างหนึ่ง คือวันนักบุญนิโคลัส 6 ธันวาคม เรียกในภาษาดัตช์ว่าซินเตอร์กลาส (Sinterklaas)อาหาร อาหาร. เบลเยียมมีชื่อเสียงในด้านการผลิตช็อกโกแลต โดยมียี่ห้อช็อกโกแลตหลายยี่ห้อที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก เช่น Godiva, Neuheus และ Guylian นอกจากนี้ เบลเยียมยังเป็นประเทศที่นิยมเบียร์ มีเบียร์มากกว่า 450 ชนิด ชาวเบลเยียมเป็นที่รู้กันดีว่าชื่นชอบวัฟเฟิลและมันฝรั่งทอดเฟรนช์ฟรายส์ ซึ่งมีการสันนิษฐานว่ามีต้นกำเนิดจากประเทศนี้ อาหารสำคัญของประเทศอีกอย่างหนึ่งคือหอยแมลงภู่ เสิร์ฟร่วมกับมันฝรั่งทอด
| ประเทศเบลเยียมมีภาษาทางการทั้งหมดกี่ภาษา | {
"answer": [
"3"
],
"answer_begin_position": [
9674
],
"answer_end_position": [
9675
]
} |
3,815 | 32,210 | ภาษาดัตช์ ภาษาดัตช์ (; ) เป็นภาษากลุ่มเจอร์แมนิกต่ำที่มีคนพูด 22 ล้านคน ส่วนใหญ่ในประเทศเนเธอร์แลนด์และประเทศเบลเยียม ภาษาดัตช์ที่พูดในเบลเยียมมักเรียกว่าภาษาเฟลมิช และมักจะถือเป็นภาษาที่แยกต่างหากกันตัวอักษร ตัวอักษร. ภาษาดัตช์มีตัวอักษรทั้งหมด 27 ตัว (แม้ว่าชาวดัตช์ส่วนใหญ่จะถือว่ามี 26 ตัว) โดยเป็นสระ 5 หรือ 6 ตัว ซึ่งที่มาของตัวอักษรมาจากอักษรละติน อักษรดัตช์มีดังนี้ ตัวพิมพ์เล็ก a - b - c - d - e - f - g - h - i - j - k - l - m - n - o - p - q - r - s - t - u - v - w - x - y - (ij) - z ตัวพิมพ์ใหญ่ A - B - C - D - E - F - G - H - I - J - K - L - M - N - O - P - Q - R - S - T - U - V - W - X - Y - (IJ) - Z สระในภาษาดัตช์มี 5 ตัว คือ a - e - i - o - u ซึ่งถ้าหากพิจารณารวมตัวอักษร ij ซึ่งเป็นได้ทั้งพยัญชนะและสระ ด้วยแล้ว จะมีสระรวมเป็น 6 ตัว ตัวอักษร Q จะพบในคำที่ยืมมาจากภาษาต่างประเทศเท่านั้น และเช่นกัน อักษร X และ Y ส่วนมากจะใช้ในคำที่ยืมมา แต่ก็มีบ้างที่ใช้ในชื่อหรือคำเก่า ๆ เช่น hypnose (แปลว่า hypnosis ในภาษาอังกฤษ) ตัวอักษร E เป็นตัวอักษรที่ใช้มากที่สุดในภาษาดัตช์ โดยเฉพาะหน้าที่เป็นสระ ส่วนตัวอักษรที่ใช้น้อยที่สุด ได้แก่ ตัวอักษร Q, X, และ YIJ IJ. อักษร ij (/ɛi/ แอย) เป็นตัวที่ค่อนข้างจะเป็นปัญหา โรงเรียนประถมหลายแห่งสอนให้นักเรียนท่อง x ij z แทนที่จะเป็น x y z และเรียกอักษร y ว่า "Griekse y" (หมายถึง "y กรีก") อักษร ij ไม่ใช่เป็นการนำ i และ j มารวมกัน อย่างไรก็ตามในพจนานุกรมจะพบตัวอักษร ij อยู่ระหว่าง ih กับ ik ส่วนในสมุดโทรศัพท์จะพบว่าอักษร ij จะอยู่แทนที่ตัวอักษร y เลย (เพราะว่านามสกุลหลายชื่อไม่มีมาตรฐานในการสะกด เช่น Bruijn อาจสะกดได้เป็น Bruyn) ในการขึ้นต้นประโยคที่มี IJ เป็นตัวอักษรตัวแรก เช่น ijs (น้ำแข็ง) ให้เขียนตัว i และ j เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งสอง คือ IJs เพราะถือว่า ij คืออักษรตัวหนึ่ง อย่างไรก็ตามในภาษาถิ่นบางแห่งพิจารณา ij เป็นสระประสมเสียงเดียว (ตัว i กับ j ควบกัน) ทำให้เมื่อขึ้นต้นประโยคจะเขียน Ijs แทน IJs อักษร ij ในการเขียนด้วยลายมือจะปรากฏคล้ายอักษร ÿ ส่วนยูนิโคดมีทวิอักษรแบบตัวเดียวคือ IJ (U+0132) และ ij (U+0133)ระบบเสียง ระบบเสียง. ภาษาดัตช์ลดเสียงก้อง (devoicing) ของพยัญชนะตัวสุดท้ายของคำ แต่ไม่ใช่ตัดออก (เช่น /d/ กลายเป็น [t]) ซึ่งทำให้ผู้พูดภาษาดัตช์มีปัญหาในการศึกษาภาษาอังกฤษ การลดเสียงก้องนี้เห็นได้จากการสะกดคำบางคำเช่น huizen (บ้าน) ในรูปพหูพจน์ เอกพจน์กลายเป็น huis เช่นเดียวกับ duiven (นกพิราบ) เอกพจน์กลายเป็น duif ในกรณีอื่นๆ โดยเฉพาะ p/b และ d/t แม้จะคงรูปพยัญชนะในเอกพจน์แต่ก็ยังมีการลดเสียงก้องเหมือนเดิม อาทิ baarden (เครา) รูปเอกพจน์คือ baard แต่อ่านเหมือน baart หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง ribben (ซี่โครง) รูปเอกพจน์คือ rib แต่อ่านเหมือน rip บ่อยครั้งที่พยัญชนะต้นของคำถัดไปก็ถูกลดเสียงก้องไปด้วย เช่น het vee (วัวควาย) ออกเสียงเป็น /(h)ətfe/ การลดเสียงก้องในกรณีเช่นนี้ถือว่าเป็นเรื่องร้ายแรงในบางภูมิภาค (อาทิ อัมสเตอดัม, ฟรีสลันด์) ที่ซึ่งหน่วยเสียง /v/, /z/ และ /ɣ/ กำลังจะสูญหาย ในทางตอนใต้ของเนเธอร์แลนด์ หน่วยเสียงเหล่านี้ยังคงออกเสียงได้อย่างถูกต้องในตำแหน่งกึ่งกลางของคำ ภาษาดัตช์เป็นภาษาที่ออกเสียงเน้นหนัก (stress) บนตำแหน่งของคำ การเน้นหนักสามารถปรากฏได้ทุกแห่งในคำคำหนึ่ง แต่โดยปกติแล้วจะเน้นที่ต้นคำ ในคำประสมก็มักจะมีการเน้นระดับรองอยู่ด้วย มีเพียงบางกรณีเท่านั้นที่การเน้นหนักใช้แยกแยะความแตกต่างของความหมาย ตัวอย่างเช่น vóórkomen (ปรากฏ) และ voorkómen (ป้องกัน) การใส่เครื่องหมายเน้นหนัก (´) ในภาษาดัตช์นั้นไม่จำเป็นต้องกระทำ ไม่ได้เป็นข้อปฏิบัติ แต่บางครั้งก็แนะนำให้ใช้ โครงสร้างพยางค์โดยทั่วไปของภาษาดัตช์คือ (C)(C)(C)V(C)(C)(C)(C) หมายความว่าสามารถมีพยัญชนะต้นได้ 3 ตัวเหมือนภาษาอังกฤษ เช่น straat (ถนน) และมีพยัญชนะสะกดได้ 4 ตัว เช่น herfst (ฤดูใบไม้ร่วง) interessantst (น่าสนใจที่สุด) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคำวิเศษณ์รูปขั้นกว่าหรือขั้นสุด จำนวนพยัญชนะที่มากที่สุดในหนึ่งคำพบได้ในคำว่า slechtstschrijvend (งานเขียนที่แย่ที่สุด) ซึ่งมีพยัญชนะติดกัน 9 ตัว ตามทฤษฎีจะมีเพียง 7 หน่วยเสียง เนื่องจาก ch ใช้แทนหน่วยเสียงเสียงเดียว แต่การพูดโดยทั่วไปอาจลดลงเหลือเพียง 5-6 หน่วยเสียง
| ภาษาดัตช์ที่พูดในประเทศเบลเยียมมักเรียกว่าภาษาใด | {
"answer": [
"เฟลมิช"
],
"answer_begin_position": [
240
],
"answer_end_position": [
246
]
} |
3,816 | 127,500 | ภาษาอตายัล ภาษาอตายัล เป็นภาษาของชาวอตายัลในไต้หวัน มีสำเนียงย่อย 32 สำเนียง โดยสำเนียงที่เป็นที่รู้จักมากคือ ซโควเลก ตโซเล และ มายรีนัก อยู่ในตระกูลออสโตรนีเซียน สาขากลุ่มเกาะฟอร์โมซา ใช้พูดทางภาคเหนือ มีการเขียนด้วยอักษรละตินและจัดพิมพ์พจนานุกรมและไวยากรณ์ภาษาอตายัลเมื่อ พ.ศ. 2545
| ภาษาอตายัล เป็นภาษาของชาวอตายัลในประเทศใด | {
"answer": [
"ไต้หวัน"
],
"answer_begin_position": [
129
],
"answer_end_position": [
136
]
} |
3,817 | 82,151 | เจ้าแม่วัดดุสิต เจ้าแม่วัดดุสิต เป็นพระบรมอรรคราชบรรพบุรุษของพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรี เป็นพระนมชั้นเอกในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งได้รับพระราชทานตำหนักริมวัดดุสิดารามเป็นที่อาศัย จึงเป็นที่มาของคำว่าเจ้าแม่ดุสิต มีข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับชาติกำเนิดของเจ้าแม่วัดดุสิตมีมากมาย แต่ไม่ปรากฏหลักฐานอย่างแน่ชัดว่าเจ้าแม่วัดดุสิตสืบเชื้อสายมาจากผู้ใด หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้กล่าวไว้ในหนังสือ โครงกระดูกในตู้ โดยอ้างจากหนังสือราชินิกุลบางช้างไว้ว่า "เจ้าแม่วัดดุสิตมีศักดิ์เป็นหม่อมเจ้าในราชวงศ์พระมหาธรรมราชา ซึ่งสืบเชื้อสายมาแต่ราชวงศ์พระร่วงกรุงสุโขทัย" นอกจากนี้ ยังมีการกล่าวถึงบรรพบุรุษของเจ้าแม่วัดดุสิตไว้ว่า สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงได้ฟังคำบอกเล่าจากพระวันรัตน์ (ฉิม) ว่าเจ้าฟ้าหญิงรัศมีและเจ้าฟ้าจีกเคยตรัสเล่าว่า สมเด็จพระเอกาทศรถได้อภิเษกสมรสกับธิดาของพระยาเกียรติ์ (ขุนนางชาวมอญที่ติดตามสมเด็จพระนเรศวรมหาราช) มีธิดาคือเจ้าครอกบัว (หม่อมเจ้าบัว) และเจ้าครอกอำภัย (หม่อมเจ้าอำไพ) แต่ในหนังสือนี้ยังมีข้อความที่คลุมเครือระหว่างเจ้าครอกบัวและเจ้าครอกอำไพอยู่มาก ซึ่งทำให้สับสนว่า เจ้าแม่วัดดุสิตมีชื่อเดิมว่าอย่างไรกันแน่ บางแห่งกล่าวว่าชื่อ "หม่อมเจ้าหญิงบัว" มีเชื้อสายพระร่วงสุโขทัย บางแห่งก็กล่าวว่าชื่อ "หม่อมเจ้าหญิงอำไพ" เป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเอกาทศรถ อย่างไรก็ตาม หลักฐานหลายแห่งก็ไม่ได้บ่งบอกว่าสายตระกูลของเจ้าแม่วัดดุสิตนั้นสืบเชื้อสายมาจากเชื้อพระวงศ์สายไหนเช่นกัน แต่จากเอกสารพงศาวดารไทยหลายฉบับและของต่างประเทศเป็นที่ยืนยันว่าเจ้าแม่วัดดุสิตนั้นมีตัวตนอย่างแน่นอน เจ้าแม่วัดดุสิตสมรสกับขุนนางเชื้อสายมอญมีบุตรธิดา 3 คน คือ1. เจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) แม่ทัพคราวไปตีนครเชียงใหม่ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ 2. เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ราชทูตเอก 3. แช่ม หรือ ฉ่ำ ธิดา แม้สมเด็จพระนารายณ์ทรงใช้คำตรัสเรียกว่า "เจ้าแม่วัดดุสิต" คือเป็นนามโดยตำแหน่ง ตามธรรมเนียมนิยมแต่ก่อนจะไม่นิยมเรียกพระนามผู้เป็นเจ้ากันตรง ๆ อย่างไรก็ดี อาจเป็นไปได้แต่เพียงว่า สมเด็จพระนารายณ์ตรัสเรียกให้เกียรติเสมอด้วย "เจ้า" เนื่องจากหลักฐานตั้งแต่รัชกาลที่ 4 ขึ้นไป คือ จดหมายเหตุชาวต่างประเทศ หรือพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับต่าง ๆ ไม่ได้กล่าวถึงที่มาที่ไปของเจ้าแม่วัดดุสิตรวมไปถึง "ความเป็นเจ้า" ของท่านแม้แต่น้อย ด้วยความที่เป็นพระนมสมเด็จพระนารายณ์ บุตรชายทั้งสองจึงเป็นสหายสนิทและเป็นที่โปรดปราน ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าพระยาพระคลังทั้ง 2 คน มีเหตุการณ์ครั้งหนึ่งที่ หลวงสรศักดิ์ (ต่อมาคือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 หรือพระเจ้าเสือ) ขัดแย้งกับออกญาวิไชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) เพราะได้ทำการสึกพระภิกษุและสามเณรจำนวนมากออกไปทำราชการ จนเกิดการชกต่อย หลวงสรศักดิ์เกรงจะถูกลงพระราชอาญา จึงขอร้องให้เจ้าแม่ดุสิตช่วยเหลือ ซึ่งพระองค์ก็พระราชทานอภัยโทษให้
| เจ้าแม่วัดดุสิตเป็นพระบรมอรรคราชบรรพบุรุษของพระมหากษัตริย์ไทยราชวงศ์ใด | {
"answer": [
"จักรี"
],
"answer_begin_position": [
170
],
"answer_end_position": [
175
]
} |
3,818 | 82,151 | เจ้าแม่วัดดุสิต เจ้าแม่วัดดุสิต เป็นพระบรมอรรคราชบรรพบุรุษของพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรี เป็นพระนมชั้นเอกในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งได้รับพระราชทานตำหนักริมวัดดุสิดารามเป็นที่อาศัย จึงเป็นที่มาของคำว่าเจ้าแม่ดุสิต มีข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับชาติกำเนิดของเจ้าแม่วัดดุสิตมีมากมาย แต่ไม่ปรากฏหลักฐานอย่างแน่ชัดว่าเจ้าแม่วัดดุสิตสืบเชื้อสายมาจากผู้ใด หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้กล่าวไว้ในหนังสือ โครงกระดูกในตู้ โดยอ้างจากหนังสือราชินิกุลบางช้างไว้ว่า "เจ้าแม่วัดดุสิตมีศักดิ์เป็นหม่อมเจ้าในราชวงศ์พระมหาธรรมราชา ซึ่งสืบเชื้อสายมาแต่ราชวงศ์พระร่วงกรุงสุโขทัย" นอกจากนี้ ยังมีการกล่าวถึงบรรพบุรุษของเจ้าแม่วัดดุสิตไว้ว่า สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงได้ฟังคำบอกเล่าจากพระวันรัตน์ (ฉิม) ว่าเจ้าฟ้าหญิงรัศมีและเจ้าฟ้าจีกเคยตรัสเล่าว่า สมเด็จพระเอกาทศรถได้อภิเษกสมรสกับธิดาของพระยาเกียรติ์ (ขุนนางชาวมอญที่ติดตามสมเด็จพระนเรศวรมหาราช) มีธิดาคือเจ้าครอกบัว (หม่อมเจ้าบัว) และเจ้าครอกอำภัย (หม่อมเจ้าอำไพ) แต่ในหนังสือนี้ยังมีข้อความที่คลุมเครือระหว่างเจ้าครอกบัวและเจ้าครอกอำไพอยู่มาก ซึ่งทำให้สับสนว่า เจ้าแม่วัดดุสิตมีชื่อเดิมว่าอย่างไรกันแน่ บางแห่งกล่าวว่าชื่อ "หม่อมเจ้าหญิงบัว" มีเชื้อสายพระร่วงสุโขทัย บางแห่งก็กล่าวว่าชื่อ "หม่อมเจ้าหญิงอำไพ" เป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเอกาทศรถ อย่างไรก็ตาม หลักฐานหลายแห่งก็ไม่ได้บ่งบอกว่าสายตระกูลของเจ้าแม่วัดดุสิตนั้นสืบเชื้อสายมาจากเชื้อพระวงศ์สายไหนเช่นกัน แต่จากเอกสารพงศาวดารไทยหลายฉบับและของต่างประเทศเป็นที่ยืนยันว่าเจ้าแม่วัดดุสิตนั้นมีตัวตนอย่างแน่นอน เจ้าแม่วัดดุสิตสมรสกับขุนนางเชื้อสายมอญมีบุตรธิดา 3 คน คือ1. เจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) แม่ทัพคราวไปตีนครเชียงใหม่ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ 2. เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ราชทูตเอก 3. แช่ม หรือ ฉ่ำ ธิดา แม้สมเด็จพระนารายณ์ทรงใช้คำตรัสเรียกว่า "เจ้าแม่วัดดุสิต" คือเป็นนามโดยตำแหน่ง ตามธรรมเนียมนิยมแต่ก่อนจะไม่นิยมเรียกพระนามผู้เป็นเจ้ากันตรง ๆ อย่างไรก็ดี อาจเป็นไปได้แต่เพียงว่า สมเด็จพระนารายณ์ตรัสเรียกให้เกียรติเสมอด้วย "เจ้า" เนื่องจากหลักฐานตั้งแต่รัชกาลที่ 4 ขึ้นไป คือ จดหมายเหตุชาวต่างประเทศ หรือพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับต่าง ๆ ไม่ได้กล่าวถึงที่มาที่ไปของเจ้าแม่วัดดุสิตรวมไปถึง "ความเป็นเจ้า" ของท่านแม้แต่น้อย ด้วยความที่เป็นพระนมสมเด็จพระนารายณ์ บุตรชายทั้งสองจึงเป็นสหายสนิทและเป็นที่โปรดปราน ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าพระยาพระคลังทั้ง 2 คน มีเหตุการณ์ครั้งหนึ่งที่ หลวงสรศักดิ์ (ต่อมาคือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 หรือพระเจ้าเสือ) ขัดแย้งกับออกญาวิไชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) เพราะได้ทำการสึกพระภิกษุและสามเณรจำนวนมากออกไปทำราชการ จนเกิดการชกต่อย หลวงสรศักดิ์เกรงจะถูกลงพระราชอาญา จึงขอร้องให้เจ้าแม่ดุสิตช่วยเหลือ ซึ่งพระองค์ก็พระราชทานอภัยโทษให้
| เจ้าแม่วัดดุสิตเป็นพระนมชั้นเอกในสมัยพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์ใด | {
"answer": [
"สมเด็จพระนารายณ์มหาราช"
],
"answer_begin_position": [
194
],
"answer_end_position": [
216
]
} |
3,821 | 82,031 | สากกะเบือ สากกะเบือ คือสากไม้สำหรับตำข้าวเบือหรือน้ำพริก ใช้คู่กับครกกะเบือ คำพูดที่ได้ยินบ่อยได้แก่ สากกะเบือยันเรือรบ เช่น วิกิพีเดียไทยมีเรื่องมากมายตั้งแต่สากกะเบือยันเรือรบ
| สากไม้สำหรับตำข้าวเบือหรือน้ำพริกและใช้คู่กับครกกะเบือ เรียกว่าอะไร | {
"answer": [
"สากกะเบือ"
],
"answer_begin_position": [
92
],
"answer_end_position": [
101
]
} |
3,822 | 9,021 | เลขาธิการสหประชาชาติ เลขาธิการสหประชาชาติ เป็นหัวหน้าสำนักเลขาธิการสหประชาชาติ ซึ่งเป็นหนึ่งในเสาหลักของสหประชาชาติ โดยตามกฎบัตรสหประชาชาติ การแต่งตั้งเลขาธิการสหประชาชาติจะต้องได้รับมติจากสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติตามคำแนะนำของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่จะเป็นฝ่ายเสนอตัวบุคคลที่มารับตำแหน่งนี้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นตำแหน่งที่มีบทบาทสูงสุดในองค์การสหประชาชาติ เลขาธิการสหประชาชาติจะดำรงตำแหน่งวาระละ 5 ปี โดยจะดำรงตำแหน่งคนละหนึ่งหรือสองสมัย และตามธรรมเนียมแล้ว จะต้องไม่เป็นบุคคลจากประเทศสมาชิกถาวรในคณะมนตรีความมั่นคง นอกจากนี้ก็เป็นที่เข้าใจกันว่า บุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งคนต่อไปจะต้องมาจากประเทศนอกทวีปของเลขาธิการคนล่าสุด ผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการแห่งสหประชาชาติคนปัจจุบันคือ อังตอนีอู กูแตรึช อดีตนายกรัฐมนตรีโปรตุเกส โดยเป็นเลขาธิการแห่งสหประชาชาติคนที่ 9รายชื่อเลขาธิการสหประชาชาติ
| ตำแหน่งใดเป็นตำแหน่งที่มีบทบาทสูงสุดในองค์การสหประชาชาติ | {
"answer": [
"เลขาธิการสหประชาชาติ"
],
"answer_begin_position": [
112
],
"answer_end_position": [
132
]
} |
3,823 | 9,021 | เลขาธิการสหประชาชาติ เลขาธิการสหประชาชาติ เป็นหัวหน้าสำนักเลขาธิการสหประชาชาติ ซึ่งเป็นหนึ่งในเสาหลักของสหประชาชาติ โดยตามกฎบัตรสหประชาชาติ การแต่งตั้งเลขาธิการสหประชาชาติจะต้องได้รับมติจากสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติตามคำแนะนำของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่จะเป็นฝ่ายเสนอตัวบุคคลที่มารับตำแหน่งนี้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นตำแหน่งที่มีบทบาทสูงสุดในองค์การสหประชาชาติ เลขาธิการสหประชาชาติจะดำรงตำแหน่งวาระละ 5 ปี โดยจะดำรงตำแหน่งคนละหนึ่งหรือสองสมัย และตามธรรมเนียมแล้ว จะต้องไม่เป็นบุคคลจากประเทศสมาชิกถาวรในคณะมนตรีความมั่นคง นอกจากนี้ก็เป็นที่เข้าใจกันว่า บุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งคนต่อไปจะต้องมาจากประเทศนอกทวีปของเลขาธิการคนล่าสุด ผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการแห่งสหประชาชาติคนปัจจุบันคือ อังตอนีอู กูแตรึช อดีตนายกรัฐมนตรีโปรตุเกส โดยเป็นเลขาธิการแห่งสหประชาชาติคนที่ 9รายชื่อเลขาธิการสหประชาชาติ
| เลขาธิการสหประชาชาติจะดำรงตำแหน่งวาระละกี่ปี | {
"answer": [
"5"
],
"answer_begin_position": [
496
],
"answer_end_position": [
497
]
} |
3,824 | 53,154 | พัน กี-มุน พัน กี-มุน (; ; เกิด 13 มิถุนายน พ.ศ. 2487) เป็นอดีตเลขาธิการสหประชาชาติ คนที่ 8 ต่อจากโคฟี แอนนัน โดยได้รับตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 ก่อนที่จะเข้ารับตำแหน่ง พันเคยเป็นนักการทูตในกระทรวงการต่างประเทศและการค้าของเกาหลีใต้และในสหประชาชาติ เขาได้ก้าวเข้าสู่พิธีการทูตตั้งแต่ปีที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัย โดยได้รับตำแหน่งแรกในนิวเดลี ประเทศอินเดีย ในระหว่างการทำงาน เขาได้สร้างชื่อเสียงในด้านความถ่อมตนและความสามารถ พันดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและการค้าของเกาหลีใต้ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2547 ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 เขาเริ่มการรณรงค์หาเสียงสำหรับตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ เดิมทีพันถูกพิจารณาว่ามีโอกาสเข้ารับตำแหน่งน้อยมาก อย่างไรก็ตาม ในฐานะรัฐมนตรี เขาสามารถเดินทางไปยังประเทศสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติทุกประเทศได้ ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ทำให้เขาได้เปรียบมากขึ้น เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2549 เขาได้รับเลือกจากสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติคนที่ 8 เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 เขาสืบทอดตำแหน่งแอนนันสำเร็จ และนำการปฏิรูปครั้งสำคัญในการรักษาสันติภาพและปฏิบัติการการจัดวางกำลังของสหประชาชาติ ในทางการทูต พันได้ให้ความเอาใจใส่อย่างมากต่อความขัดแย้งในดาร์ฟูร์ ที่ซึ่งเขาช่วยชักนำให้ประธานาธิบดีซูดาน อูมัร ฮะซัน อะห์มัด อัลบะชีร์ ยินยอมให้กองกำลังรักษาสันติภาพเข้าสู่ซูดาน ในประเด็นเกี่ยวกับปรากฏการณ์โลกร้อน เขาได้กดดันปัญหาดังกล่าวหลายครั้งกับอดีตประธานาธิบดีสหรัฐ จอร์จ ดับเบิลยู. บุชการศึกษา การศึกษา. พันสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติกรุงโซลใน พ.ศ. 2513 และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทสาขารัฐประศาสนศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดในปี พ.ศ. 2528ประวัติ ประวัติ. พันสมรสกับนางยู ซูน แท็ก และมีลูกชาย 1 คน กับลูกสาว 2 คน ถึงแม้จะเป็นชาวเกาหลีใต้โดยกำเนิด แต่พันก็มีความคล่องแคล่วในภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส เมื่อครั้งยังเป็นนักเรียนมัธยมในทศวรรษที่ 60 พันชนะเลิศการแข่งขันภาษาอังกฤษซึ่งจัดขึ้นโดยสภากาชาดอเมริกัน ทำให้เขาได้เดินทางไปยังสหรัฐอเมริกาและเข้าพบ จอห์น เอฟ. เคนเนดี อีกด้วย เขาระบุว่าตนเองเป็นคริสต์ศาสนิกชนซึ่งไม่ได้เข้ารีตนิกายใด ๆการสมัครเข้ารับตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ การสมัครเข้ารับตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ. ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 พันประกาศที่จะสมัครเข้ารับตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติคนใหม่ซึ่งจะเป็นผู้สืบทอดอำนาจต่อจากโคฟี แอนนัน ที่จะหมดวาระเมื่อสิ้น พ.ศ. 2549 เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่มีชาวเกาหลีใต้ลงชิงตำแหน่ง โดยพันได้คะแนนนำเป็นอันดับหนึ่งทุกครั้งในการลงคะแนนหยั่งเสียงทั้ง 4 หนของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติซึ่งมีการจัดขึ้นในวันที่ 24 กรกฎาคม 14 กันยายน 28 กันยายน และ 2 ตุลาคม จากผลการลงคะแนนเสียงอย่างไม่เป็นทางการเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พันได้รับเสียงสนับสนุนทั้งสิ้น 14 เสียงโดยไม่มีผู้คัดค้านเลยแม้แต่เสียงเดียว และอีก 1 เสียงซึ่ง "ไม่ลงคะแนน" นอกจากนั้น เขายังไม่ถูกคัดค้านโดยใช้วีโต้คัดค้านเลย ในขณะที่ผู้ลงสมัครที่เหลืออีก 5 คนนั้นถูกลงคะแนนคัดค้านโดยแต่ละชาติสมาชิกถาวร 5 ชาติ-ซึ่งได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน ฝรั่งเศส รัสเซีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา-อย่างน้อย 1 เสียง หลังจากการลงคะแนนเสียง ชาชิ ธารูร์ ตัวแทนจากประเทศอินเดียซึ่งได้รับคะแนนเป็นอันดับสองได้ขอถอนตัวออกจากการคัดเลือกไปและกล่าวกับผู้สื่อข่าวว่าเขารู้สึก "มั่นใจว่าพันจะชนะ" ขณะที่ผู้แทนถาวรของจีนต่อสหประชาชาติกล่าวว่า "ค่อนข้างเป็นที่แน่ชัดจากการหยั่งเสียงในวันนี้ว่าท่านรัฐมนตรีพัน คี มูนจะเป็นผู้ลงสมัครซึ่งคณะมนตรีความมั่นคงแนะนำแก่สมัชชาใหญ่" ในวันที่ 9 ตุลาคม คณะมนตรีความมั่นคงได้เลือกให้พันเป็นตัวแทนอย่างเป็นทางการ และเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม สมาชิกสมัชชาใหญ่ทั้ง 192 ชาติก็มีมติแต่งตั้งให้พันเป็นว่าที่เลขาธิการสหประชาชาติ
| พัน กี มุน เป็นอดีตเลขาธิการสหประชาชาติต่อจากใคร | {
"answer": [
"โคฟี แอนนัน"
],
"answer_begin_position": [
181
],
"answer_end_position": [
192
]
} |
3,825 | 53,154 | พัน กี-มุน พัน กี-มุน (; ; เกิด 13 มิถุนายน พ.ศ. 2487) เป็นอดีตเลขาธิการสหประชาชาติ คนที่ 8 ต่อจากโคฟี แอนนัน โดยได้รับตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 ก่อนที่จะเข้ารับตำแหน่ง พันเคยเป็นนักการทูตในกระทรวงการต่างประเทศและการค้าของเกาหลีใต้และในสหประชาชาติ เขาได้ก้าวเข้าสู่พิธีการทูตตั้งแต่ปีที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัย โดยได้รับตำแหน่งแรกในนิวเดลี ประเทศอินเดีย ในระหว่างการทำงาน เขาได้สร้างชื่อเสียงในด้านความถ่อมตนและความสามารถ พันดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและการค้าของเกาหลีใต้ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2547 ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 เขาเริ่มการรณรงค์หาเสียงสำหรับตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ เดิมทีพันถูกพิจารณาว่ามีโอกาสเข้ารับตำแหน่งน้อยมาก อย่างไรก็ตาม ในฐานะรัฐมนตรี เขาสามารถเดินทางไปยังประเทศสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติทุกประเทศได้ ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ทำให้เขาได้เปรียบมากขึ้น เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2549 เขาได้รับเลือกจากสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติคนที่ 8 เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 เขาสืบทอดตำแหน่งแอนนันสำเร็จ และนำการปฏิรูปครั้งสำคัญในการรักษาสันติภาพและปฏิบัติการการจัดวางกำลังของสหประชาชาติ ในทางการทูต พันได้ให้ความเอาใจใส่อย่างมากต่อความขัดแย้งในดาร์ฟูร์ ที่ซึ่งเขาช่วยชักนำให้ประธานาธิบดีซูดาน อูมัร ฮะซัน อะห์มัด อัลบะชีร์ ยินยอมให้กองกำลังรักษาสันติภาพเข้าสู่ซูดาน ในประเด็นเกี่ยวกับปรากฏการณ์โลกร้อน เขาได้กดดันปัญหาดังกล่าวหลายครั้งกับอดีตประธานาธิบดีสหรัฐ จอร์จ ดับเบิลยู. บุชการศึกษา การศึกษา. พันสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติกรุงโซลใน พ.ศ. 2513 และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทสาขารัฐประศาสนศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดในปี พ.ศ. 2528ประวัติ ประวัติ. พันสมรสกับนางยู ซูน แท็ก และมีลูกชาย 1 คน กับลูกสาว 2 คน ถึงแม้จะเป็นชาวเกาหลีใต้โดยกำเนิด แต่พันก็มีความคล่องแคล่วในภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส เมื่อครั้งยังเป็นนักเรียนมัธยมในทศวรรษที่ 60 พันชนะเลิศการแข่งขันภาษาอังกฤษซึ่งจัดขึ้นโดยสภากาชาดอเมริกัน ทำให้เขาได้เดินทางไปยังสหรัฐอเมริกาและเข้าพบ จอห์น เอฟ. เคนเนดี อีกด้วย เขาระบุว่าตนเองเป็นคริสต์ศาสนิกชนซึ่งไม่ได้เข้ารีตนิกายใด ๆการสมัครเข้ารับตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ การสมัครเข้ารับตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ. ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 พันประกาศที่จะสมัครเข้ารับตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติคนใหม่ซึ่งจะเป็นผู้สืบทอดอำนาจต่อจากโคฟี แอนนัน ที่จะหมดวาระเมื่อสิ้น พ.ศ. 2549 เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่มีชาวเกาหลีใต้ลงชิงตำแหน่ง โดยพันได้คะแนนนำเป็นอันดับหนึ่งทุกครั้งในการลงคะแนนหยั่งเสียงทั้ง 4 หนของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติซึ่งมีการจัดขึ้นในวันที่ 24 กรกฎาคม 14 กันยายน 28 กันยายน และ 2 ตุลาคม จากผลการลงคะแนนเสียงอย่างไม่เป็นทางการเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พันได้รับเสียงสนับสนุนทั้งสิ้น 14 เสียงโดยไม่มีผู้คัดค้านเลยแม้แต่เสียงเดียว และอีก 1 เสียงซึ่ง "ไม่ลงคะแนน" นอกจากนั้น เขายังไม่ถูกคัดค้านโดยใช้วีโต้คัดค้านเลย ในขณะที่ผู้ลงสมัครที่เหลืออีก 5 คนนั้นถูกลงคะแนนคัดค้านโดยแต่ละชาติสมาชิกถาวร 5 ชาติ-ซึ่งได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน ฝรั่งเศส รัสเซีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา-อย่างน้อย 1 เสียง หลังจากการลงคะแนนเสียง ชาชิ ธารูร์ ตัวแทนจากประเทศอินเดียซึ่งได้รับคะแนนเป็นอันดับสองได้ขอถอนตัวออกจากการคัดเลือกไปและกล่าวกับผู้สื่อข่าวว่าเขารู้สึก "มั่นใจว่าพันจะชนะ" ขณะที่ผู้แทนถาวรของจีนต่อสหประชาชาติกล่าวว่า "ค่อนข้างเป็นที่แน่ชัดจากการหยั่งเสียงในวันนี้ว่าท่านรัฐมนตรีพัน คี มูนจะเป็นผู้ลงสมัครซึ่งคณะมนตรีความมั่นคงแนะนำแก่สมัชชาใหญ่" ในวันที่ 9 ตุลาคม คณะมนตรีความมั่นคงได้เลือกให้พันเป็นตัวแทนอย่างเป็นทางการ และเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม สมาชิกสมัชชาใหญ่ทั้ง 192 ชาติก็มีมติแต่งตั้งให้พันเป็นว่าที่เลขาธิการสหประชาชาติ
| พัน กี มุน เป็นอดีตเลขาธิการสหประชาชาติคนที่เท่าไร | {
"answer": [
"8"
],
"answer_begin_position": [
173
],
"answer_end_position": [
174
]
} |
3,826 | 52,868 | อักษรบาหลี อักษรบาหลี หรือ จารากัน (Carakan) พัฒนามาจากอักษรพราหมี ผ่านทางอักษรปัลลวะ หรืออักษรกวิโบราณ จารึกเก่าสุดในภาษาบาหลี มีอายุราวพ.ศ. 1600 แต่น่าจะมีการเขียนในใบลานมาก่อนหน้านั้น อักษรบาหลียังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน แต่ใช้ในทางศาสนาเท่านั้น ภาษาบาหลีโดยทั่วไปเขียนด้วยอักษรละติน เรียกตูลีซันบาหลี (Tulisan Bali)ลักษณะ ลักษณะ. มีรูปพยัญชนะซ้อนสำหรับตัวสะกด เขียนจากซ้ายไปขวา แนวนอนใช้เขียนใช้เขียน. - ภาษาบาหลี ซึ่งเป็นภาษาตระกูลออสโตรนีเซีย มีผู้พูด 3 ล้านคนในเกาะบาหลี และเกาะข้างเคียง เช่น เกาะลอมบอก เกาะชวา เกาะนูซาเปอนีดา และเกาะซูลาเวซี ประเทศอินโดนีเซียยูนิโคด
| อักษรบาหลีถูกพัฒนามาจากอักษรใด | {
"answer": [
"พราหมี"
],
"answer_begin_position": [
143
],
"answer_end_position": [
149
]
} |
3,827 | 52,868 | อักษรบาหลี อักษรบาหลี หรือ จารากัน (Carakan) พัฒนามาจากอักษรพราหมี ผ่านทางอักษรปัลลวะ หรืออักษรกวิโบราณ จารึกเก่าสุดในภาษาบาหลี มีอายุราวพ.ศ. 1600 แต่น่าจะมีการเขียนในใบลานมาก่อนหน้านั้น อักษรบาหลียังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน แต่ใช้ในทางศาสนาเท่านั้น ภาษาบาหลีโดยทั่วไปเขียนด้วยอักษรละติน เรียกตูลีซันบาหลี (Tulisan Bali)ลักษณะ ลักษณะ. มีรูปพยัญชนะซ้อนสำหรับตัวสะกด เขียนจากซ้ายไปขวา แนวนอนใช้เขียนใช้เขียน. - ภาษาบาหลี ซึ่งเป็นภาษาตระกูลออสโตรนีเซีย มีผู้พูด 3 ล้านคนในเกาะบาหลี และเกาะข้างเคียง เช่น เกาะลอมบอก เกาะชวา เกาะนูซาเปอนีดา และเกาะซูลาเวซี ประเทศอินโดนีเซียยูนิโคด
| ภาษาบาหลีโดยทั่วไปเขียนด้วยอักษรละตินที่มีชื่อว่าอะไร | {
"answer": [
"ตูลีซันบาหลี"
],
"answer_begin_position": [
371
],
"answer_end_position": [
383
]
} |
3,828 | 952,910 | เทรนต์ เซเวน เบนจามิน มอริซ เวบบ์ (Benjamin Maurice Webb; ) นักมวยปล้ำอาชีพชาวอังกฤษที่รู้จักกันดีในชื่อบนสังเวียน เทรนต์ เซเวน (Trent Seven) ปัจจุบันเซ็นสัญญากับ WWE สังกัดในค่ายพัฒนาทักษะ NXT เขายังเป็นครึ่งหนึ่งของแชมป์ NXT Tag Team Championship ร่วมกับ Tyler Bate ในนาม Moustache Mountain Seven และ Tyler Bate จากทีม Moustache Mountain ทั้งคู่ได้แชมป์ Progress Tag Team Championship และ RPW Undisputed British Tag Team Championship ใน UK และ Chikara Campeonatos de Parejas ในอเมริกา. โดยทั้ง Seven, Bate และ Pete Dunne ยังร่วมทีมในนาม "British Strong Style". Seven ยังประสบความสำเร็จเดี่ยวโดยได้แชมป์ ICW World Heavyweight Championshipแชมป์และรางวัลแชมป์และรางวัล. - Attack! Pro Wrestling- Attack! 24:7 Championship (1 time) - Chikara- Chikara Campeonatos de Parejas (1 time) – with Tyler Bate - King of Trios (2017) – with Pete Dunne and Tyler Bate - Fight Club: Pro- FCP Championship (1 time) - FCP Tag Team Championship (1 time) – with Tyler Bate - Infinity Trophy (2013) - Insane Championship Wrestling- ICW World Heavyweight Championship (1 time) - Progress Wrestling- Progress Tag Team Championship (3 times) – with Pete Dunne (1) and Tyler Bate (2) - Revolution Pro Wrestling- RPW Undisputed British Tag Team Championship (1 time) – with Tyler Bate - Wrestling GO!- Wrestling GO! 24/7 Watermelon Championship (2 times) - WWE NXT- NXT Tag Team Championship Invitational (2018) – with Tyler Bate - NXT Tag Team Championship (1 time) - with Tyler Bate
| เบนจามิน มอริซ เวบบ์ นักมวยปล้ำอาชีพชาวอังกฤษมีชื่อบนสังเวียนว่าอะไร | {
"answer": [
"เทรนต์ เซเวน"
],
"answer_begin_position": [
202
],
"answer_end_position": [
214
]
} |
3,829 | 102,022 | รางวัลพริตซ์เกอร์ รางวัลพริตซ์เกอร์ (Pritzker Prize) เป็นรางวัลประจำปีที่มูลนิธิไฮแอตต์ (Hyatt) มอบเป็นเกียรติแก่สถาปนิกที่ยังมีชีวิตในปัจจุบัน (ขณะพิจารณารางวัล) เริ่มครั้งแรกในปี พ.ศ. 2522 โดยเจย์ พริตซ์เกอร์ (Jay Pritzker) เป็นการพิจารณาให้รางวัลแก่งานสถาปัตยกรรมดีเด่นที่มีคุณภาพในระดับสากล โดยส่วนหนึ่งของเกณฑ์ในการพิจารณาให้รางวัลคือการสร้างนวัตกรรมที่ดีและมีคุณภาพ เสริมสร้างและบูรณาการการใช้เทคโนโลยีที่ดีในการก่อสร้าง สถาปนิกผู้ได้รับรางวัลจะได้รับเงิน 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ รางวัลนี้เปรียบเสมือนรางวัลโนเบลผลงานทางด้านสถาปัตยกรรมรายชื่อสถาปนิกผู้ได้รับรางวัลพริตซ์เกอร์รายชื่อสถาปนิกผู้ได้รับรางวัลพริตซ์เกอร์. - 2522 (ค.ศ. 1979) ฟิลิป จอห์นสัน (Philip Johnson) สหรัฐอเมริกา (ค.ศ. 1906 - 2005) - 2523 (ค.ศ. 1980) ลุยส์ บาร์รากัน (Luis Barragán) เม็กซิโก (ค.ศ. 1902 - 1988) - 2524 (ค.ศ. 1981) เจมส์ สเตอร์ลิง (James Stirling) of the United Kingdom (ค.ศ. 1924 - 1992) - 2525 (ค.ศ. 1982) เควิน โรช (Kevin Roche) สหรัฐอเมริกา-ไอร์แลนด์ - 2526 (ค.ศ. 1983) ไอ. เอ็ม. เพ (Ieoh Ming Pei) สหรัฐอเมริกา (เกิดในประเทศจีน) - 2527 (ค.ศ. 1984) ริชาร์ด ไมเออร์ (Richard Meier) สหรัฐอเมริกา - 2528 (ค.ศ. 1985) ฮันส์ ฮอลไลน์ (Hans Hollein) ออสเตรีย - 2529 (ค.ศ. 1986) กอทท์ฟรีด เบิม (Gottfried Böhm) เยอรมนี - 2530 (ค.ศ. 1987) เคนโซ ทังเงะ (Kenzo Tange) ญี่ปุ่น (ค.ศ. 1913-2005) - 2531 (ค.ศ. 1988) กอร์ดอน บันชาฟต์ (Gordon Bunshaft) สหรัฐอเมริกา (ค.ศ. 1909 - 1990) และออสการ์ นีเอไมเยร์ (Oscar Niemeyer) บราซิล - 2532 (ค.ศ. 1989) แฟรงก์ เกห์รี (Frank Gehry) สหรัฐอเมริกา (เกิดในแคนาดา) - 2533 (ค.ศ. 1990) อัลโด รอสซี (Aldo Rossi) อิตาลี (ค.ศ. 1931 - 1997) - 2534 (ค.ศ. 1991) โรเบิร์ต เวนทูรี (Robert Venturi) สหรัฐอเมริกา - 2535 (ค.ศ. 1992) อัลวารู ซีซา วีไอรา (Álvaro Siza Vieira) โปรตุเกส - 2536 (ค.ศ. 1993) ฟูมิฮิโกะ มากิ (Fumihiko Maki) ญี่ปุ่น - 2537 (ค.ศ. 1994) คริสตีย็อง เดอ ปอร์ตซ็องปาร์ก (Christian de Portzamparc) ฝรั่งเศส - 2538 (ค.ศ. 1995) ทะดะโอะ อันโด (Tadao Ando) ญี่ปุ่น - 2539 (ค.ศ. 1996) ราฟาเอล โมเนโอ (Rafael Moneo) สเปน - 2540 (ค.ศ. 1997) สแวร์เรอ เฟน (Sverre Fehn) นอร์เวย์ - 2541 (ค.ศ. 1998) เรนโซ เปียโน (Renzo Piano) อิตาลี - 2542 (ค.ศ. 1999) นอร์มัน ฟอสเตอร์ (Norman Foster) สหราชอาณาจักร - 2543 (ค.ศ. 2000) แร็ม โกลฮาส (Rem Koolhaas) เนเธอร์แลนด์ - 2544 (ค.ศ. 2001) แอร์ซอกแอนด์เดอเมอรง (Herzog & de Meuron) สวิตเซอร์แลนด์ - 2545 (ค.ศ. 2002) เกลนน์ เมอร์คัตต์ (Glenn Murcutt) ออสเตรเลีย - 2546 (ค.ศ. 2003) เยิร์น อุตซอน (Jørn Utzon) เดนมาร์ก - 2547 (ค.ศ. 2004) ซาฮา ฮาดิด (Zaha Hadid) อิรัก-สหราชอาณาจักร - 2548 (ค.ศ. 2005) ทอม เมย์น (Thom Mayne) สหรัฐอเมริกา - 2549 (ค.ศ. 2006) เปาลู เมงจิส ดา รอชา (Paulo Mendes da Rocha) บราซิล - 2550 (ค.ศ. 2007) ริชาร์ด รอเจอส์ (Richard Rogers) สหราชอาณาจักร - 2551 (ค.ศ. 2008) ฌ็อง นูแวล (Jean Nouvel) ฝรั่งเศส - 2552 (ค.ศ. 2009) เพเทอร์ ซุมทอร์ - 2553 (ค.ศ. 2010) คะซึโยะ เซะจิมะ และริวเอะ นิชิซะวะ ญี่ปุ่น - 2554 (ค.ศ. 2011) เอดูอาร์ดู โซตู ดี โมรา (Eduardo Souto de Moura) โปรตุเกส - 2555 (ค.ศ. 2012) หวัง ชู (Wang Shu) จีน - 2556 (ค.ศ. 2013) โทะโยะโอะ อิโต (Toyo Ito) ญี่ปุ่น - 2557 (ค.ศ. 2014) ชิเงรุ บัน (Shigeru Bun) ญี่ปุ่น - 2558 (ค.ศ. 2015) ไฟร ออทโท (Frei Paul) เยอรมัน - 2559 (ค.ศ. 2016) อาเลคันโดร อาเรเบนา (Alejandro Aravena) ชิลี
| รางวัลประจำปีที่มูลนิธิไฮแอตต์มอบเป็นเกียรติแก่สถาปนิกที่ยังมีชีวิตในปัจจุบันเรียกว่ารางวัลอะไร | {
"answer": [
"พริตซ์เกอร์"
],
"answer_begin_position": [
116
],
"answer_end_position": [
127
]
} |
3,830 | 102,022 | รางวัลพริตซ์เกอร์ รางวัลพริตซ์เกอร์ (Pritzker Prize) เป็นรางวัลประจำปีที่มูลนิธิไฮแอตต์ (Hyatt) มอบเป็นเกียรติแก่สถาปนิกที่ยังมีชีวิตในปัจจุบัน (ขณะพิจารณารางวัล) เริ่มครั้งแรกในปี พ.ศ. 2522 โดยเจย์ พริตซ์เกอร์ (Jay Pritzker) เป็นการพิจารณาให้รางวัลแก่งานสถาปัตยกรรมดีเด่นที่มีคุณภาพในระดับสากล โดยส่วนหนึ่งของเกณฑ์ในการพิจารณาให้รางวัลคือการสร้างนวัตกรรมที่ดีและมีคุณภาพ เสริมสร้างและบูรณาการการใช้เทคโนโลยีที่ดีในการก่อสร้าง สถาปนิกผู้ได้รับรางวัลจะได้รับเงิน 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ รางวัลนี้เปรียบเสมือนรางวัลโนเบลผลงานทางด้านสถาปัตยกรรมรายชื่อสถาปนิกผู้ได้รับรางวัลพริตซ์เกอร์รายชื่อสถาปนิกผู้ได้รับรางวัลพริตซ์เกอร์. - 2522 (ค.ศ. 1979) ฟิลิป จอห์นสัน (Philip Johnson) สหรัฐอเมริกา (ค.ศ. 1906 - 2005) - 2523 (ค.ศ. 1980) ลุยส์ บาร์รากัน (Luis Barragán) เม็กซิโก (ค.ศ. 1902 - 1988) - 2524 (ค.ศ. 1981) เจมส์ สเตอร์ลิง (James Stirling) of the United Kingdom (ค.ศ. 1924 - 1992) - 2525 (ค.ศ. 1982) เควิน โรช (Kevin Roche) สหรัฐอเมริกา-ไอร์แลนด์ - 2526 (ค.ศ. 1983) ไอ. เอ็ม. เพ (Ieoh Ming Pei) สหรัฐอเมริกา (เกิดในประเทศจีน) - 2527 (ค.ศ. 1984) ริชาร์ด ไมเออร์ (Richard Meier) สหรัฐอเมริกา - 2528 (ค.ศ. 1985) ฮันส์ ฮอลไลน์ (Hans Hollein) ออสเตรีย - 2529 (ค.ศ. 1986) กอทท์ฟรีด เบิม (Gottfried Böhm) เยอรมนี - 2530 (ค.ศ. 1987) เคนโซ ทังเงะ (Kenzo Tange) ญี่ปุ่น (ค.ศ. 1913-2005) - 2531 (ค.ศ. 1988) กอร์ดอน บันชาฟต์ (Gordon Bunshaft) สหรัฐอเมริกา (ค.ศ. 1909 - 1990) และออสการ์ นีเอไมเยร์ (Oscar Niemeyer) บราซิล - 2532 (ค.ศ. 1989) แฟรงก์ เกห์รี (Frank Gehry) สหรัฐอเมริกา (เกิดในแคนาดา) - 2533 (ค.ศ. 1990) อัลโด รอสซี (Aldo Rossi) อิตาลี (ค.ศ. 1931 - 1997) - 2534 (ค.ศ. 1991) โรเบิร์ต เวนทูรี (Robert Venturi) สหรัฐอเมริกา - 2535 (ค.ศ. 1992) อัลวารู ซีซา วีไอรา (Álvaro Siza Vieira) โปรตุเกส - 2536 (ค.ศ. 1993) ฟูมิฮิโกะ มากิ (Fumihiko Maki) ญี่ปุ่น - 2537 (ค.ศ. 1994) คริสตีย็อง เดอ ปอร์ตซ็องปาร์ก (Christian de Portzamparc) ฝรั่งเศส - 2538 (ค.ศ. 1995) ทะดะโอะ อันโด (Tadao Ando) ญี่ปุ่น - 2539 (ค.ศ. 1996) ราฟาเอล โมเนโอ (Rafael Moneo) สเปน - 2540 (ค.ศ. 1997) สแวร์เรอ เฟน (Sverre Fehn) นอร์เวย์ - 2541 (ค.ศ. 1998) เรนโซ เปียโน (Renzo Piano) อิตาลี - 2542 (ค.ศ. 1999) นอร์มัน ฟอสเตอร์ (Norman Foster) สหราชอาณาจักร - 2543 (ค.ศ. 2000) แร็ม โกลฮาส (Rem Koolhaas) เนเธอร์แลนด์ - 2544 (ค.ศ. 2001) แอร์ซอกแอนด์เดอเมอรง (Herzog & de Meuron) สวิตเซอร์แลนด์ - 2545 (ค.ศ. 2002) เกลนน์ เมอร์คัตต์ (Glenn Murcutt) ออสเตรเลีย - 2546 (ค.ศ. 2003) เยิร์น อุตซอน (Jørn Utzon) เดนมาร์ก - 2547 (ค.ศ. 2004) ซาฮา ฮาดิด (Zaha Hadid) อิรัก-สหราชอาณาจักร - 2548 (ค.ศ. 2005) ทอม เมย์น (Thom Mayne) สหรัฐอเมริกา - 2549 (ค.ศ. 2006) เปาลู เมงจิส ดา รอชา (Paulo Mendes da Rocha) บราซิล - 2550 (ค.ศ. 2007) ริชาร์ด รอเจอส์ (Richard Rogers) สหราชอาณาจักร - 2551 (ค.ศ. 2008) ฌ็อง นูแวล (Jean Nouvel) ฝรั่งเศส - 2552 (ค.ศ. 2009) เพเทอร์ ซุมทอร์ - 2553 (ค.ศ. 2010) คะซึโยะ เซะจิมะ และริวเอะ นิชิซะวะ ญี่ปุ่น - 2554 (ค.ศ. 2011) เอดูอาร์ดู โซตู ดี โมรา (Eduardo Souto de Moura) โปรตุเกส - 2555 (ค.ศ. 2012) หวัง ชู (Wang Shu) จีน - 2556 (ค.ศ. 2013) โทะโยะโอะ อิโต (Toyo Ito) ญี่ปุ่น - 2557 (ค.ศ. 2014) ชิเงรุ บัน (Shigeru Bun) ญี่ปุ่น - 2558 (ค.ศ. 2015) ไฟร ออทโท (Frei Paul) เยอรมัน - 2559 (ค.ศ. 2016) อาเลคันโดร อาเรเบนา (Alejandro Aravena) ชิลี
| การมอบรางวัลพริตซ์เกอร์สำหรับสถาปนิกที่ยังมีชีวิตในปัจจุบันโดยมูลนิธิไฮแอตต์ เริ่มครั้งแรกในปีพ.ศ.ใด | {
"answer": [
"2522"
],
"answer_begin_position": [
278
],
"answer_end_position": [
282
]
} |
3,831 | 186,321 | อามิสทาน การให้อามิสทาน คือการให้วัตถุทาน ๑๐ อย่าง มีข้าว น้ำ ผ้า ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม ของลูบไล้ ที่นอน ที่พัก เครื่องประทีป หรือให้ปัจจัย ๔ มีจีวร เป็นต้น ย่อมให้ด้วย เหตุต่าง ๆ กันเป็น ๘ ประการคือ ๑. บุคคลบางคนให้ทาน เพราะหวังผลตอบแทน มุ่งสั่งสมการให้ทาน ด้วยคิดว่าถ้าตายไปแล้วจักได้เสวยผลตอบแทนนี้ จึงให้ข้าว ให้น้ำ เป็นต้น แก่สมณะ หรือพราหมณ์ เพื่อให้เป็นเสบียงเลี้ยงตัวในภพหน้า ๒. บุคคลบางคนให้ทาน ไม่ได้หวังผลแห่งทาน แต่ให้เพราะคิดว่าการให้ทานเป็น ความดี เป็นการทำตามคำของบัณฑิตที่กล่าวไว้ดีแล้ว บุคคลที่คิดให้ทานอย่างนี้ เมื่อตายไปเขาย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์ เมื่อเสวยผลแห่งกรรมหมดสิ้นแล้ว เขาย่อมกลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้อีก คือได้มาเกิดเป็นมนุษย์อีก เป็นการให้เพื่อยังประโยชน์ให้สำเร็จ ให้เกิดความสุข ๓. บุคคลบางคนให้ทาน ไม่ได้คิดว่าการให้ทานเป็นการดี แต่ให้ทานด้วยคิดว่า บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย เคยให้ เคยทำมา ก็ควรทำไม่ให้เสียประเพณี เมื่อเขาตายไป ย่อมเข้าถึง ความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นยามา เมื่อเสวยผลแห่งกรรมหมดสิ้นแล้ว เขาย่อมกลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้อีก คือกลับมาเป็นมนุษย์อีก เป็นการให้เพื่อรักษาประเพณี ๔. บุคคลบางคนให้ทาน ไม่ได้ให้เพราะคิดว่าบิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย เคยให้ เคยทำมา แต่ให้ทานเพราะคิดว่าเราหุงหากินได้ ส่วนสมณะพราหมณ์ ไม่ได้หุงหากิน จึงให้ทานเพราะ ผลแห่งทานนี้ เมื่อเขาตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดุสิต เมื่อเสวยผลแห่ง ทานหมดสิ้นแล้ว เขาย่อมกลับมาสู่ความเป็นมนุษย์อีก เป็นการให้เพื่ออนุเคราะห์ ให้เพื่อบูชา ๕. บุคคลบางคนให้ทาน ไม่ได้คิดว่าเราหุงหากินได้ ส่วนสมณะพราหมณ์ไม่ได้หุงหากิน แต่ให้ด้วยคิดว่า เราจักเป็นผู้จำแนกแจกทาน เหมือนฤๅษีแต่ครั้งก่อน ๆ เพราะผลแห่งทานนี้ เมื่อเขาตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นนิมมานรดี เมื่อเสวยผลแห่งกรรมหมด สิ้นแล้ว เขาย่อมกลับมาสู่ความเป็นมนุษย์อีก เป็นการให้เพื่อต้องการเป็นผู้มีโชคดี ต้องการมีชื่อเสียง ๖. บุคคลบางคนให้ทาน ไม่ได้คิดว่าจักเป็นผู้จำแนกแจกทาน แต่ให้ด้วยคิดว่า เราให้ทานอย่างนี้ จิตจักเลื่อมใส เกิดความปลื้มใจโสมนัสจึงได้ให้ทาน เพราะผลแห่งทานนี้ เมื่อเขาตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นปรนิมมิตตวสวฺตี เมื่อเสวยผลของกรรมหมดสิ้นแล้ว ก็จักกลับมาสู่ความเป็นมนุษย์อีก เป็นการให้เพื่อปลูกศรัทธาให้จิตเกิดปีติยินดี
| การให้อามิสทาน คือการให้วัตถุทานกี่อย่าง | {
"answer": [
"๑๐"
],
"answer_begin_position": [
125
],
"answer_end_position": [
127
]
} |
3,833 | 86,524 | นกคีรีบูน นกคีรีบันถือเป็นสปีชีส์เฝ้าระวังอย่างหนึ่ง มันถูกใช้ในเหมืองถ่านหินเพื่อสำรวจคาร์บอนมอนอกไซด์ ด้วยความที่นกมีขนาดเล็ก มีอัตราการหายใจและเมแทบอลิซึมสูงเมื่อเทียบกับคนขุดเหมือง ดังนั้นนกจึงตายก่อนเป็นสัญญาณเตือนให้คนขุดเมืองรีบหาทางป้องกัน
| นกคีรีบันมักถูกใช้ในเหมืองถ่านหินเพื่อสำรวจก๊าซชนิดใด | {
"answer": [
"คาร์บอนมอนอกไซด์"
],
"answer_begin_position": [
169
],
"answer_end_position": [
185
]
} |
3,834 | 127,661 | รอง เค้ามูลคดี รอง เค้ามูลคดี หรือ คเณศ เค้ามูลคดี (26 กันยายน พ.ศ. 2490 - ) ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (ภาพยนตร์-ละครโทรทัศน์) ประจำปี พ.ศ. 2560 มีชื่อจริงว่า พิจักษณ์ ตระกูลเค้ามูลคดี จบการศึกษาจากโรงเรียนวัดบวรนิเวศ นักแสดงอาวุโส และนักพากย์ มีชื่อเสียงเป็นที่จดจำจากละครโทรทัศน์เรื่อง สามเกลอ แสดงร่วมกับพูนสวัสดิ์ ธีมากร, วิฑูรย์ กรุณา และสุประวัติ ปัทมสูต โดยรอง รับบทเป็น นิกร รอง เค้ามูลคดี เป็นเลือดเนื้อเชื้อไขของศิลปินโดยแท้ พ่อของเขาคือ ฉลาด เค้ามูลคดี โต้โผลิเกชื่อดังในอดีต รองเจริญรอยตามพ่อมาตั้งแต่อายุได้ 9 ขวบ สมัยยังเรียนหนังสืออยู่ป.4 เริ่มเล่นละครวิทยุ พออายุได้ 10 ขวบเข้าแสดงหนังเป็นครั้งแรกเรื่อง เหนือมนุษย์ (2502) รับบท พระเอกตอนเด็ก (มิตร ชัยบัญชา) และเริ่มแสดงละครโทรทัศน์เรื่องแรกเรื่อง รอยร้าวในดวงใจ ทำให้สัมพันธ์ พันธุ์มณีเห็นหน่วยก้านดีจึงสนับสนุนให้เล่นละครประจำนาฏศิลป์สัมพันธ์ ซึ่งทำให้เขารุ่งเรืองขึ้น จากนั้นรองได้รับจ้างแสดงทั่วไปจนมีชื่อเสียงโด่งดังมาทางละครโทรทัศน์ เมื่อจบจากกรุงเทพฯการบัญชีรองได้เข้าทำงานที่ช่อง 4 บางขุนพรหม ที่ช่อง 4 นี่เองทำให้จำนง รังสิกุลเห็นว่ารองเป็นคนพูดมากตลกจึงให้ลองพากย์ภาพยนตร์ รองจึงยึดอาชีพการพากย์ภาพยนตร์ไทยรับเหมาเป็นเสียงของพระเอกภาพยนตร์เกือบทุกเรื่อง รอง เค้ามูลคดี เป็นผู้ให้เสียงพากย์ภาพยนตร์จำนวนมาก ทั้งภาพยนตร์ไทยและภาพยนตร์ต่างประเทศ และเป็นผู้ให้เสียงพากย์บทพระเอกของ สมบัติ เมทะนี เกือบทุกเรื่อง จนผู้ชมคิดว่าเป็นเสียงจริงของสมบัติ นอกจากนี้ยังได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย และผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น เนื่องในปีรณรงค์การใช้ภาษาไทย เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 จัดโดยคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม รอง เค้ามูลคดี สมรสกับ ปทุมวดี โสภาพรรณ มีบุตรสาวคือ ปัทมวรรณ เค้ามูลคดี (ยุ้ย) และบุตรบุญธรรม 2 คนผลงานการแสดงละครโทรทัศน์ซิตคอมภาพยนตร์ผลงานการแสดง. ภาพยนตร์. - เหนือมนุษย์ (2502) - แม่ย่านาง (2513) - ไอ้หนุ่มบ้านนา (2514) - น้ำใจพ่อค้า (2514) - วิมานสลัม (2514) - ค่าของคน (2514) - ผู้กองยอดรัก (2516) - ทับนางรอ (2516) - ไผ่ล้อมรัก (2516) - ความรัก (2517) - คืนนี้ไม่มีพระจันทร์ (2518) - พ่อไก่แจ้ (2519) - เสือกเกิดมาจน (2519) - บ่อเพลิงที่โพทะเล (2519) - 3 นัด (2519) - ปูลม (2519) - มันส์เขาล่ะ (2521) - วิมานไฟ (2522) - ยอดตาหลก (2523) - ช่างเขาเถอะ (2523) - มนต์รักขนมครก (2523) - หลวงตา (2523) - เป๋อจอมเปิ่น (2523) - เด็ดหนวดพ่อตา (2524) - นางสาวโพระดก (2524) - รักกันลั่นเปรี้ยง (2524) - ลูกสาวกำนัน (2524) - เจ้าบ่าวทีเด็ด (2524) - อาจารย์โกย (2524) - ทหารเรือมาแล้ว (2524) - มนต์รักลูกทุ่ง (2525) - เต้าฮวยเกศทิพย์ (2525)- สองขวัญขยันหาเมีย (2525) - นักสืบฮาร์ด (2525) - สาวจอมกวน (2525) - รักข้ามรุ่น (2525) - สัตว์สาวผู้น่ารัก (2525) - ประกาศิตนักเลง (2525) - ลูกสาวกำนัน ภาค 2 (2526) - อย่าดีกว่า (2526) - ไอ้แก้วไอ้ทอง (2526) - มหาเฮง (2526) - แม่สาวสุพรรณ (2527) - สาวเรือแตก (2527) - ตำรวจบ้าน (2528) - คุณแหท่าหอย (2528) - เขยบ้านนอก (2528) - หนึ่งในล้าน (2528) - คนกินผัว (2528) - เขยบ้านนอก (2528) - เนื้อคู่ (2528) - ร.ด. เรียนดี รักดี (2529) - ไฟซ่อนเชื้อ (2530) - หลวงตา 3 สีกาข้างวัด (2534) - วิ่งหน้าตั้งก็ยังรักเธอ (2535) - ฮัลโหล ขอรบกวนหน่อยนะ (2536) - ลูกตลกตกไม่ไกลต้น - อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 (2539) - bridget jones diary edge of reason แสดงเป็น พ่อครัวชาวไทย - หนึ่งใจ...เดียวกัน - หนูกันภัย ศึกมหายันต์ ยิงกันสนั่นจอ - ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 5 ยุทธหัตถี - 20 ใหม่ ยูเทิร์นวัย หัวใจรีเทิร์น (2559) แสดงเป็น ปู่เชียร (สามีย่าปาน)- กำกับภาพยนตร์ - รักต้องโกย (2527) - กองร้อยสอยรัก (2531)ผลงานพากย์ภาพยนตร์ผลงานพากย์ภาพยนตร์. - Garfield 1 : การ์ฟิลด์ พากย์เสียง การ์ฟิลด์ - Garfield 2 : การ์ฟิลด์ 2 อลเวงเจ้าชายบัลลังก์เหมียว พากย์เสียง การ์ฟิลด์ - X-men ศึกมนุษย์พลังเหนือโลก Trilogy พากย์เสียง ชาร์ลส์ เซเวียร์ ศาสตราจารย์ เอ็กซ์ - พากย์เสียง ชาร์ลส์ เซเวียร์ ศาสตราจารย์ เอ็กซ์ - The Wolverine เดอะวูล์ฟเวอรีน พากย์เสียง ชาร์ลส์ เซเวียร์ ศาสตราจารย์ เอ็กซ์ - พากย์เสียง ชาร์ลส์ เซเวียร์ ศาสตราจารย์ เอ็กซ์ - Logan พากย์เสียง ชาร์ลส์ เซเวียร์ ศาสตราจารย์ เอ็กซ์ - พากย์เสียง Count dooku - พากย์เสียง Count Dooku - Star Wars The Clone Wars : สตาร์ วอร์ส สงครามโคลน พากย์เสียง Count Dooku - The Matrix Reloaded พากย์เสียง Morpheus - The Matrix Revolutions พากย์เสียง Morpheus - Ocean's Eleven 11 คนเหนือเมฆปล้นลอกคราบเมือง พากย์เสียง Danny Ocean (จอร์จ คลูนีย์) - Ocean's Twelve 12 มงกุฏ ปล้นสุดโลก พากย์เสียง Danny Ocean (จอร์จ คลูนีย์) - Ocean'S Thirteen 13 เซียนปล้นเหนือเมฆ พากย์เสียง Danny Ocean (จอร์จ คลูนีย์) - Night At The Museum / คืนมหัศจรรย์พิพิทธภัณฑ์ มันส์ทะลุโลก พากย์เสียง ธีโอดอร์ โรสเวลต์ (โรบิน วิลเลียมส์) - Night At The Museum 2 / มหึมาพิพิธภัณฑ์ ดับเบิ้ลมันส์ทะลุโลก พากย์เสียง ธีโอดอร์ โรสเวลต์ (โรบิน วิลเลียมส์) - Night at the Museum 3 ไนท์ แอท เดอะ มิวเซียม 3 ความลับสุสานอัศจรรย์ พากย์เสียง ธีโอดอร์ โรสเวลต์ (โรบิน วิลเลียมส์) - Big Momma's House เอฟบีไอพี่เลี้ยงต่อมหลุด 1 พากย์เสียง Malcolm Turner - Big Momma's House เอฟบีไอพี่เลี้ยงต่อมหลุด 2 พากย์เสียง Malcolm Turner - Harry Potter พากย์เสียง Vernon Dursley - Batman Begins แบทแมน บีกินส์ พากย์เสียง Alfred Pennyworth (ไมเคิล เคน) - The Dark Knight อัศวินรัตติกาล พากย์เสียง Alfred Pennyworth (ไมเคิล เคน) - The Dark Knight Rises อัศวินรัตติกาลผงาด พากย์เสียง Alfred Pennyworth (ไมเคิล เคน) - Inception จิตพิฆาตโลก พากย์เสียง Saito - 300 ขุนศึกพันธุ์สะท้านโลก พากย์เสียง King Leonidas - Avatar อวตาร พากย์เสียง Colonel Miles Quaritch - The Curious Case Of Benjamin Button เบนจามิน บัตตัน อัศจรรย์ฅนโลกไม่เคยรู้ พากย์เสียง Benjamin Button (แบรด พิตต์) - The Simpson Movie เดอะซิมป์สันส์มูฟวี่ พากย์เสียง Homer - The Pink Panther มือปราบ เป๋อ ป่วน ฮา พากย์เสียง Insp. Jacques Clouseau - The Pink Panther 2 มือปราบ เป๋อ ป่วน ฮา 2 พากย์เสียง Insp. Jacques Clouseau - The Last Samurai มหาบุรุษซามูไร พากย์เสียง Katsumoto - The Tree Of Life แก่นสารของชีวิต พากย์เสียง Jack - TROY ทรอย พากย์เสียง เจ้าชาย Hector (Eric Bana) - The Perfect Storm มหาพายุคลั่งสะท้านโลก พากย์เสียง Captain Billy Tyne - The Thomas Crown Affair เกมรักหักเหลี่ยมจารกรรม พากย์เสียง Thomas Crown - The League Of Extraordinary Gentlemen เดอะลีค มหัศจรรย์ชน คนพิทักษ์โลก พากย์เสียง Allan Quatermain - The Flintstones มนุษย์หินฟลิ้นท์สโตน พากย์เสียง Barney Rubble - THE NEGOTIATOR คู่เจรจาฟอกนรก พากย์เสียง Danny Roman (เสียงโรง) - The Weather Man ผู้ชายมรสุม พากย์เสียง Robert Spritzel - Valkyrie ยุทธการดับจอมอหังการ์อินทรีเหล็ก พากย์เสียง Adolf Hitler - Grudge Match 2 เก๋า ปิดตำนานสังเวียนเดือด พากย์เสียง Billy 'The Kid' McDonnen - Exit Wounds ยุทธการล้างบางเดนคน พากย์เสียง Orin Boyd (เสียงโรง) - Gran Torino คนกร้าวทะนงโลก พากย์เสียง Walt Kowalski - Tango & Cash พากย์เสียง Lt.Gabriel Cash (Kurt Russell) (พากย์ใหม่) - For A Few Dollars More นักล่าเพชรตัดเพชร พากย์เสียง Colonel Douglas Mortimer - The Good the Bad and the Ugly มือปืนเพชรตัดเพชร พากย์ เสียง Angel Eyes - A Fistful of Dollars คาวบอยนิรนาม พากย์เสียง Joe - The A-team เอ-ทีม หน่วยพิฆาตเดนตาย พากย์เสียง Col. John 'Hannibal' Smith (เลียม นีสัน) - Taken 2 ฅนคม ล่าไม่ยั้ง 2 พากย์เสียง Bryan Mills (เลียม นีสัน) - Taken 3 ฅนคม ล่าไม่ยั้ง 3 พากย์เสียง Bryan Mills (เลียม นีสัน) - Run All Night คืนวิ่งทะลวงเดือด พากย์เสียง Jimmy Conlon (เลียม นีสัน) - Crimson Tide ลึกทมิฬ พากย์เสียง Capt. Frank Ramsey (Gene Hackman) - Behind Enemy Lines แหกมฤตยูแดนข้าศึก พากย์เสียง Admiral Leslie McMahon Reigart - Road to Perdition ดับแค้นจอมคนเพชฌฆาต พากย์เสียง John Rooney (Paul Newman) - ภารกิจโหด แฝงตัวโค่นเจ้าพ่อ พากย์เสียง Frank Costello - Morning Glory ยำข่าวเช้า กู้เรตติ้ง พากย์เสียง Mike Pomeroy (Harrison Ford) - Crossing Over สกัดแผนยื้อฉุดนรก พากย์เสียง Max Brogan (Harrison Ford) - Working Girl หัวใจเธอไม่แพ้ พากย์เสียง Jack Trainer (Harrison Ford) - Machete Kills คนระห่ำ ดุกระฉูด พากย์เสียง Voz - Duplicity สายลับคู่พิฆาต หักเหลี่ยมจารกรรม พากย์เสียง Ray Koval - Hotel Rwanda รวันดา ความหวังไม่สิ้นสูญ พากย์เสียง Colonel Oliver และ Jack Daglish - Bruce Almighty - 7 วันนี้ พี่ขอเป็นพระเจ้า พากย์เสียง God (Morgan Freeman) - RocknRolla ร็อคแอนด์โรลล่า หักเหลี่ยมแก๊งค์ชนแก๊งค์ พากย์เสียง Archy - Poseidon โพไซดอน มหาวิบัติเรือยักษ์ พากย์เสียง Robert Ramsey - Appaloosa คู่ปืนดุล้างเมืองบาป พากย์เสียง Virgil Cole - High Crimes ไฮไครมส์ ลวงเธอให้ตายสนิท พากย์เสียง Charles W. Grimes - Seraphim Fall ล่าสุดขอบนรก พากย์เสียง Gideon - LUCKY NUMBER SLEVIN สเลวิ่น มือใหม่หัดเก็บ พากย์เสียง Mr. Goodkat (Bruce Willis) - Hart's War สงครามบัญญัติวีรบุรุษ พากย์เสียง Col. William A. McNamara (Bruce Willis) - Collateral Damage คนเหล็กทวงแค้น วินาศกรรมทมิฬ พากย์เสียง Gordy Brewer (Arnold Schwarzenegger) - Don't Say a Word ล่าเลขอำมหิต…ห้ามบอกเด็ดขาด พากย์เสียง Dr. Nathan R. Conrad - Amazing Grace สู้เพื่ออิสรภาพหัวใจทาส พากย์เสียง William Wilberforce - Archangel Archangel พยัคฆ์ร้ายสืบสะท้านโลก พากย์เสียง Prof. Fluke Kelso - Little Fockers พากย์เสียง Jack Byrnes - Lethal Weapon 4 พากย์เสียง Roger Murtaugh (เสียงโรง) - World Trade Center เวิลด์เทรด เซ็นเตอร์ พากย์เสียง Will Jimeno - Universal Soldier : Regeneration สงครามสมองกลพันธุ์ใหม่ พากย์เสียง Luc Deveraux - Shallow Hal รักแท้ ไม่อ้วนเอาเท่าไร พากย์เสียง Hal (Jack Black) - Sydney White ซิดนี่ย์ ไวท์ เทพนิยายสาววัยรุ่น พากย์เสียง Professor Carleton - Blue Streak อย่างงี้ ต้องปล้น พากย์เสียง Miles Logan - SWORDFISH พยัคฆ์จารชนฉกสุดขีดนรก พากย์เสียง Gabriel Shear (เสียงโรง) - Femme Fatale รหัสโจรกรรม สวย ร้อน อันตราย พากย์เสียง Black Tie และ Watts - BATMAN FOREVER ศึกจอมโจรอมตะ (เสียงโรง) พากย์เสียง Batman/Bruce Wayne - Ghost Dog: Way of the Samurai โกสต์ด็อก ดับนรกเส้นทางซามูไร พากย์เสียง Louie - Wild Orchid กล้วยไม้ป่าคอนกรีต พากย์เสียง James Wheeler (เสียงโรง) - Broken Arrow คู่มหากาฬหั่นนรก พากย์เสียง Maj. Vic 'Deak' Deakins (เสียงโรง) - Stargate ปฐมบทแห่งตำนานประตูสู่ดวงดาว พากย์เสียง Dr. Daniel Jackson (พากย์ใหม่) - Stuck on You พากย์เสียง Walter "Walt" Tenor (เสียงโรง) - หนังจีน-ฮ่องกง - HERO - ฮีโร่ พากย์เสียง กษัตริย์แห่งฉิน (เฉิน ต๊ะหมิง) - Perhaps Love อยากร้องบอกโลกว่ารัก พากย์เสียง Nie Wen / The Circus Master (จางเซียะโหย่ว) พากย์ในนาม ทีมพากย์พันธมิตร - Future Cops บันล็อก ผู้ชายทะลุเวลา (เสียงโรง) พากย์เสียง หลิวเต๋อหัว - เข้าแก็งค์ไหน หัวหน้าตายหมด (เสียงโรง) พากย์เสียง เหลียงเฉาเหว่ย - Bullet in the Head กอดคอกันไว้ อย่าให้ใครเจาะกะโหลก (เสียงโรง) พากย์เสียง พอล (หลี่จื่อสง) - สามก๊ก (Romance of the Three Kingdoms) พากย์เสียง เล่าปี่ / เกียงอุย (ช่อง 9) - ใหญ่สั่งมาเกิด พากย์เสียง เฉินหลง (เสียงโรง) - วิ่งสู้ฟัด 1-2 พากย์เสียง เฉินหลง (เสียงโรง) - Wheels On Meals ขาตั้งสู้ พากย์เสียง เฉินหลง (เสียงโรง) - บ้านี้เพื่อเธอ พากย์เสียง เยิ่นต๊ะหัว (เสียงโรง) - มังกรกระแทกเมือง พากย์เสียง เจ็ท ลี (เสียงโรง) - มังกรหนวดทอง พากย์เสียง เฉินหลง (เสียงโรง) - สองพี่น้องตระกูลบิ๊ก พากย์เสียง เฉินหลง (เสียงโรง) - หวด ปั๊ก คัก พากย์เสียง เจ็ท ลี (เสียงโรง) - เดชคัมภีร์เทวดา 1 พากย์เสียง แซม ฮุย (เสียงโรง) - เอไกหว่า ภาคหนึ่งและภาคสอง พากย์เสียง เฉินหลง (เสียงโรง) - เฉ่งไอ้คุณโป พากย์เสียง หลี่ซิ่วเสียน (เสียงโรง) - เพื่อนกุ่ยไม่ยอมกุ่ย พากย์เสียง จางเซี๊ยะโหย่ว (เสียงโรง) - ตุ้งติ้งตี๋ต๋า พากย์เสียง หวังไป่หมิง (เสียงโรง) - กูกู๋ปืนเค็ม พากย์เสียง เฉินหลง (เสียงโรง) - ใหญ่ฟัดใหญ่ พากย์เสียง เฉินหลง (เสียงโรง) - ไอ้มังกรหมัดสิงโต พากย์เสียง เฉินหลง (เสียงโรง) - ฤทธิ์บ้าสุดขอบฟ้า พากย์เสียง หยวนเปียว (เสียงโรง) - เสือผอมมังกรอ้วน พากย์เสียง เม๊าะเจีย (เสียงโรง) - ต้นตระกูลโหด พากย์เสียง หลี่อาไฉ โจวเหวินฟะ (เสียงโรง) - บอกโลกว่าข้าตายยาก พากย์เสียง โจวเหวินฟะ (เสียงโรง) - เจาะเหลี่ยมกะโหลก พากย์เสียง อาเซี้ย หลิวเต๋อหัว (เสียงโรง) - จิ๋นซีฮ่องเต้ 1986 พากย์เสียง จิ๋นซีฮ่องเต้ หลิวหย่ง (MV Video) - ฤทธิ์มีดสั้น ลี้คิมฮวง พากย์เสียง ลี้คิมฮวง (ฉีเส้าเฉียน) ลี้เหว่ย (เดวิด เจียง) (Video) - ฮ้อสะดุดโล้น พากย์เสียง หงจินเป่า (เสียงโรง) - จอมดาบหิมะแดง 1989 พากย์เสียง ฟู่หงเซี๊ยะ (MV Video) - จางซานฟง ฤทธิ์หมัดสะท้านบู๊ลิ้ม 1980 พากย์เสียง ฮาชื่อเอ๋อ,องค์ชายฮั่วตู (MV Video)การ์ตูน-แอนิเมชั่นการ์ตูน-แอนิเมชั่น. - สามก๊ก มหาสนุก (วิธิตา แอนิเมชั่น) - รามเกียรติ์ มินิแอนิเมชัน (วิธิตา แอนิเมชั่น) - Hellboy The Animation พากย์เสียง Professor Trevor 'Broom' Bruttenholm - กังฟูแพนด้า จอมยุทธ์พลิกล็อก ช็อคยุทธภพ พากย์เสียง อาจารย์ชิฟู - กังฟูแพนด้า 2 พากย์เสียง อาจารย์ชิฟู - ครุฑ มหายุทธ หิมพานต์รางวัลรางวัล. - รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ครั้งที่ 12 รางวัลพากย์ชายยอดเยี่ยม จากเรื่อง "แผลเก่า" ประจำปี พ.ศ. 2522 - รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ครั้งที่ 16 รางวัลพากย์ชายยอดเยี่ยม จากเรื่อง "คาดเชือก" ประจำปี พ.ศ. 2527 - รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ครั้งที่ 18 รางวัลพากย์ชายยอดเยี่ยม จากเรื่อง "ไม่สิ้นไร้ไฟสวาท" ประจำปี พ.ศ. 2529 - รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ครั้งที่ 20 รางวัลพากย์ชายยอดเยี่ยม จากเรื่อง "คู่กรรม" ประจำปี พ.ศ. 2531 - รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ครั้งที่ 22 รางวัลพากย์ชายยอดเยี่ยม จากเรื่อง "หลงไฟ" ประจำปี พ.ศ. 2533 - รางวัลเชิดชูเกียรติปูชนียบุคคลด้านภาษาไทยและผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2550 - รางวัลศิลปินดีเด่นเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ สาขานักพากย์ ประจำปี พ.ศ. 2552 - รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 25 รางวัลเกียรติยศคนทีวี ประจำปี พ.ศ. 2553 - รางวัลราชบัณฑิตยสถานสรรเสริญ รางวัลนักแสดงประกอบชาย จากเรื่อง "นัดกับนัด" ประจำปี พ.ศ. 2554 - รางวัลครอบครัวร่มเย็น (ร่วมกับ ปัญญา นิรันดร์กุล) ประจำปี พ.ศ. 2555 - รางวัลราชบัณฑิตยสถานสรรเสริญ สาขานักแสดงประกอบชาย จากเรื่อง "ปู่ณัฐ" ประจำปี พ.ศ. 2555 - ดาราอินไซด์อวอร์ด รางวัลนาคราช ครั้งที่ 1 สาขาครอบครัวตัวอย่างดีเด่นแห่งปี ประจำปี พ.ศ. 2559
| รอง เค้ามูลคดี นักแสดงอาวุโส และนักพากย์ชาวไทยสมรสกับผู้ใด | {
"answer": [
"ปทุมวดี โสภาพรรณ"
],
"answer_begin_position": [
1696
],
"answer_end_position": [
1712
]
} |
3,835 | 127,661 | รอง เค้ามูลคดี รอง เค้ามูลคดี หรือ คเณศ เค้ามูลคดี (26 กันยายน พ.ศ. 2490 - ) ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (ภาพยนตร์-ละครโทรทัศน์) ประจำปี พ.ศ. 2560 มีชื่อจริงว่า พิจักษณ์ ตระกูลเค้ามูลคดี จบการศึกษาจากโรงเรียนวัดบวรนิเวศ นักแสดงอาวุโส และนักพากย์ มีชื่อเสียงเป็นที่จดจำจากละครโทรทัศน์เรื่อง สามเกลอ แสดงร่วมกับพูนสวัสดิ์ ธีมากร, วิฑูรย์ กรุณา และสุประวัติ ปัทมสูต โดยรอง รับบทเป็น นิกร รอง เค้ามูลคดี เป็นเลือดเนื้อเชื้อไขของศิลปินโดยแท้ พ่อของเขาคือ ฉลาด เค้ามูลคดี โต้โผลิเกชื่อดังในอดีต รองเจริญรอยตามพ่อมาตั้งแต่อายุได้ 9 ขวบ สมัยยังเรียนหนังสืออยู่ป.4 เริ่มเล่นละครวิทยุ พออายุได้ 10 ขวบเข้าแสดงหนังเป็นครั้งแรกเรื่อง เหนือมนุษย์ (2502) รับบท พระเอกตอนเด็ก (มิตร ชัยบัญชา) และเริ่มแสดงละครโทรทัศน์เรื่องแรกเรื่อง รอยร้าวในดวงใจ ทำให้สัมพันธ์ พันธุ์มณีเห็นหน่วยก้านดีจึงสนับสนุนให้เล่นละครประจำนาฏศิลป์สัมพันธ์ ซึ่งทำให้เขารุ่งเรืองขึ้น จากนั้นรองได้รับจ้างแสดงทั่วไปจนมีชื่อเสียงโด่งดังมาทางละครโทรทัศน์ เมื่อจบจากกรุงเทพฯการบัญชีรองได้เข้าทำงานที่ช่อง 4 บางขุนพรหม ที่ช่อง 4 นี่เองทำให้จำนง รังสิกุลเห็นว่ารองเป็นคนพูดมากตลกจึงให้ลองพากย์ภาพยนตร์ รองจึงยึดอาชีพการพากย์ภาพยนตร์ไทยรับเหมาเป็นเสียงของพระเอกภาพยนตร์เกือบทุกเรื่อง รอง เค้ามูลคดี เป็นผู้ให้เสียงพากย์ภาพยนตร์จำนวนมาก ทั้งภาพยนตร์ไทยและภาพยนตร์ต่างประเทศ และเป็นผู้ให้เสียงพากย์บทพระเอกของ สมบัติ เมทะนี เกือบทุกเรื่อง จนผู้ชมคิดว่าเป็นเสียงจริงของสมบัติ นอกจากนี้ยังได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย และผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น เนื่องในปีรณรงค์การใช้ภาษาไทย เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 จัดโดยคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม รอง เค้ามูลคดี สมรสกับ ปทุมวดี โสภาพรรณ มีบุตรสาวคือ ปัทมวรรณ เค้ามูลคดี (ยุ้ย) และบุตรบุญธรรม 2 คนผลงานการแสดงละครโทรทัศน์ซิตคอมภาพยนตร์ผลงานการแสดง. ภาพยนตร์. - เหนือมนุษย์ (2502) - แม่ย่านาง (2513) - ไอ้หนุ่มบ้านนา (2514) - น้ำใจพ่อค้า (2514) - วิมานสลัม (2514) - ค่าของคน (2514) - ผู้กองยอดรัก (2516) - ทับนางรอ (2516) - ไผ่ล้อมรัก (2516) - ความรัก (2517) - คืนนี้ไม่มีพระจันทร์ (2518) - พ่อไก่แจ้ (2519) - เสือกเกิดมาจน (2519) - บ่อเพลิงที่โพทะเล (2519) - 3 นัด (2519) - ปูลม (2519) - มันส์เขาล่ะ (2521) - วิมานไฟ (2522) - ยอดตาหลก (2523) - ช่างเขาเถอะ (2523) - มนต์รักขนมครก (2523) - หลวงตา (2523) - เป๋อจอมเปิ่น (2523) - เด็ดหนวดพ่อตา (2524) - นางสาวโพระดก (2524) - รักกันลั่นเปรี้ยง (2524) - ลูกสาวกำนัน (2524) - เจ้าบ่าวทีเด็ด (2524) - อาจารย์โกย (2524) - ทหารเรือมาแล้ว (2524) - มนต์รักลูกทุ่ง (2525) - เต้าฮวยเกศทิพย์ (2525)- สองขวัญขยันหาเมีย (2525) - นักสืบฮาร์ด (2525) - สาวจอมกวน (2525) - รักข้ามรุ่น (2525) - สัตว์สาวผู้น่ารัก (2525) - ประกาศิตนักเลง (2525) - ลูกสาวกำนัน ภาค 2 (2526) - อย่าดีกว่า (2526) - ไอ้แก้วไอ้ทอง (2526) - มหาเฮง (2526) - แม่สาวสุพรรณ (2527) - สาวเรือแตก (2527) - ตำรวจบ้าน (2528) - คุณแหท่าหอย (2528) - เขยบ้านนอก (2528) - หนึ่งในล้าน (2528) - คนกินผัว (2528) - เขยบ้านนอก (2528) - เนื้อคู่ (2528) - ร.ด. เรียนดี รักดี (2529) - ไฟซ่อนเชื้อ (2530) - หลวงตา 3 สีกาข้างวัด (2534) - วิ่งหน้าตั้งก็ยังรักเธอ (2535) - ฮัลโหล ขอรบกวนหน่อยนะ (2536) - ลูกตลกตกไม่ไกลต้น - อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 (2539) - bridget jones diary edge of reason แสดงเป็น พ่อครัวชาวไทย - หนึ่งใจ...เดียวกัน - หนูกันภัย ศึกมหายันต์ ยิงกันสนั่นจอ - ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 5 ยุทธหัตถี - 20 ใหม่ ยูเทิร์นวัย หัวใจรีเทิร์น (2559) แสดงเป็น ปู่เชียร (สามีย่าปาน)- กำกับภาพยนตร์ - รักต้องโกย (2527) - กองร้อยสอยรัก (2531)ผลงานพากย์ภาพยนตร์ผลงานพากย์ภาพยนตร์. - Garfield 1 : การ์ฟิลด์ พากย์เสียง การ์ฟิลด์ - Garfield 2 : การ์ฟิลด์ 2 อลเวงเจ้าชายบัลลังก์เหมียว พากย์เสียง การ์ฟิลด์ - X-men ศึกมนุษย์พลังเหนือโลก Trilogy พากย์เสียง ชาร์ลส์ เซเวียร์ ศาสตราจารย์ เอ็กซ์ - พากย์เสียง ชาร์ลส์ เซเวียร์ ศาสตราจารย์ เอ็กซ์ - The Wolverine เดอะวูล์ฟเวอรีน พากย์เสียง ชาร์ลส์ เซเวียร์ ศาสตราจารย์ เอ็กซ์ - พากย์เสียง ชาร์ลส์ เซเวียร์ ศาสตราจารย์ เอ็กซ์ - Logan พากย์เสียง ชาร์ลส์ เซเวียร์ ศาสตราจารย์ เอ็กซ์ - พากย์เสียง Count dooku - พากย์เสียง Count Dooku - Star Wars The Clone Wars : สตาร์ วอร์ส สงครามโคลน พากย์เสียง Count Dooku - The Matrix Reloaded พากย์เสียง Morpheus - The Matrix Revolutions พากย์เสียง Morpheus - Ocean's Eleven 11 คนเหนือเมฆปล้นลอกคราบเมือง พากย์เสียง Danny Ocean (จอร์จ คลูนีย์) - Ocean's Twelve 12 มงกุฏ ปล้นสุดโลก พากย์เสียง Danny Ocean (จอร์จ คลูนีย์) - Ocean'S Thirteen 13 เซียนปล้นเหนือเมฆ พากย์เสียง Danny Ocean (จอร์จ คลูนีย์) - Night At The Museum / คืนมหัศจรรย์พิพิทธภัณฑ์ มันส์ทะลุโลก พากย์เสียง ธีโอดอร์ โรสเวลต์ (โรบิน วิลเลียมส์) - Night At The Museum 2 / มหึมาพิพิธภัณฑ์ ดับเบิ้ลมันส์ทะลุโลก พากย์เสียง ธีโอดอร์ โรสเวลต์ (โรบิน วิลเลียมส์) - Night at the Museum 3 ไนท์ แอท เดอะ มิวเซียม 3 ความลับสุสานอัศจรรย์ พากย์เสียง ธีโอดอร์ โรสเวลต์ (โรบิน วิลเลียมส์) - Big Momma's House เอฟบีไอพี่เลี้ยงต่อมหลุด 1 พากย์เสียง Malcolm Turner - Big Momma's House เอฟบีไอพี่เลี้ยงต่อมหลุด 2 พากย์เสียง Malcolm Turner - Harry Potter พากย์เสียง Vernon Dursley - Batman Begins แบทแมน บีกินส์ พากย์เสียง Alfred Pennyworth (ไมเคิล เคน) - The Dark Knight อัศวินรัตติกาล พากย์เสียง Alfred Pennyworth (ไมเคิล เคน) - The Dark Knight Rises อัศวินรัตติกาลผงาด พากย์เสียง Alfred Pennyworth (ไมเคิล เคน) - Inception จิตพิฆาตโลก พากย์เสียง Saito - 300 ขุนศึกพันธุ์สะท้านโลก พากย์เสียง King Leonidas - Avatar อวตาร พากย์เสียง Colonel Miles Quaritch - The Curious Case Of Benjamin Button เบนจามิน บัตตัน อัศจรรย์ฅนโลกไม่เคยรู้ พากย์เสียง Benjamin Button (แบรด พิตต์) - The Simpson Movie เดอะซิมป์สันส์มูฟวี่ พากย์เสียง Homer - The Pink Panther มือปราบ เป๋อ ป่วน ฮา พากย์เสียง Insp. Jacques Clouseau - The Pink Panther 2 มือปราบ เป๋อ ป่วน ฮา 2 พากย์เสียง Insp. Jacques Clouseau - The Last Samurai มหาบุรุษซามูไร พากย์เสียง Katsumoto - The Tree Of Life แก่นสารของชีวิต พากย์เสียง Jack - TROY ทรอย พากย์เสียง เจ้าชาย Hector (Eric Bana) - The Perfect Storm มหาพายุคลั่งสะท้านโลก พากย์เสียง Captain Billy Tyne - The Thomas Crown Affair เกมรักหักเหลี่ยมจารกรรม พากย์เสียง Thomas Crown - The League Of Extraordinary Gentlemen เดอะลีค มหัศจรรย์ชน คนพิทักษ์โลก พากย์เสียง Allan Quatermain - The Flintstones มนุษย์หินฟลิ้นท์สโตน พากย์เสียง Barney Rubble - THE NEGOTIATOR คู่เจรจาฟอกนรก พากย์เสียง Danny Roman (เสียงโรง) - The Weather Man ผู้ชายมรสุม พากย์เสียง Robert Spritzel - Valkyrie ยุทธการดับจอมอหังการ์อินทรีเหล็ก พากย์เสียง Adolf Hitler - Grudge Match 2 เก๋า ปิดตำนานสังเวียนเดือด พากย์เสียง Billy 'The Kid' McDonnen - Exit Wounds ยุทธการล้างบางเดนคน พากย์เสียง Orin Boyd (เสียงโรง) - Gran Torino คนกร้าวทะนงโลก พากย์เสียง Walt Kowalski - Tango & Cash พากย์เสียง Lt.Gabriel Cash (Kurt Russell) (พากย์ใหม่) - For A Few Dollars More นักล่าเพชรตัดเพชร พากย์เสียง Colonel Douglas Mortimer - The Good the Bad and the Ugly มือปืนเพชรตัดเพชร พากย์ เสียง Angel Eyes - A Fistful of Dollars คาวบอยนิรนาม พากย์เสียง Joe - The A-team เอ-ทีม หน่วยพิฆาตเดนตาย พากย์เสียง Col. John 'Hannibal' Smith (เลียม นีสัน) - Taken 2 ฅนคม ล่าไม่ยั้ง 2 พากย์เสียง Bryan Mills (เลียม นีสัน) - Taken 3 ฅนคม ล่าไม่ยั้ง 3 พากย์เสียง Bryan Mills (เลียม นีสัน) - Run All Night คืนวิ่งทะลวงเดือด พากย์เสียง Jimmy Conlon (เลียม นีสัน) - Crimson Tide ลึกทมิฬ พากย์เสียง Capt. Frank Ramsey (Gene Hackman) - Behind Enemy Lines แหกมฤตยูแดนข้าศึก พากย์เสียง Admiral Leslie McMahon Reigart - Road to Perdition ดับแค้นจอมคนเพชฌฆาต พากย์เสียง John Rooney (Paul Newman) - ภารกิจโหด แฝงตัวโค่นเจ้าพ่อ พากย์เสียง Frank Costello - Morning Glory ยำข่าวเช้า กู้เรตติ้ง พากย์เสียง Mike Pomeroy (Harrison Ford) - Crossing Over สกัดแผนยื้อฉุดนรก พากย์เสียง Max Brogan (Harrison Ford) - Working Girl หัวใจเธอไม่แพ้ พากย์เสียง Jack Trainer (Harrison Ford) - Machete Kills คนระห่ำ ดุกระฉูด พากย์เสียง Voz - Duplicity สายลับคู่พิฆาต หักเหลี่ยมจารกรรม พากย์เสียง Ray Koval - Hotel Rwanda รวันดา ความหวังไม่สิ้นสูญ พากย์เสียง Colonel Oliver และ Jack Daglish - Bruce Almighty - 7 วันนี้ พี่ขอเป็นพระเจ้า พากย์เสียง God (Morgan Freeman) - RocknRolla ร็อคแอนด์โรลล่า หักเหลี่ยมแก๊งค์ชนแก๊งค์ พากย์เสียง Archy - Poseidon โพไซดอน มหาวิบัติเรือยักษ์ พากย์เสียง Robert Ramsey - Appaloosa คู่ปืนดุล้างเมืองบาป พากย์เสียง Virgil Cole - High Crimes ไฮไครมส์ ลวงเธอให้ตายสนิท พากย์เสียง Charles W. Grimes - Seraphim Fall ล่าสุดขอบนรก พากย์เสียง Gideon - LUCKY NUMBER SLEVIN สเลวิ่น มือใหม่หัดเก็บ พากย์เสียง Mr. Goodkat (Bruce Willis) - Hart's War สงครามบัญญัติวีรบุรุษ พากย์เสียง Col. William A. McNamara (Bruce Willis) - Collateral Damage คนเหล็กทวงแค้น วินาศกรรมทมิฬ พากย์เสียง Gordy Brewer (Arnold Schwarzenegger) - Don't Say a Word ล่าเลขอำมหิต…ห้ามบอกเด็ดขาด พากย์เสียง Dr. Nathan R. Conrad - Amazing Grace สู้เพื่ออิสรภาพหัวใจทาส พากย์เสียง William Wilberforce - Archangel Archangel พยัคฆ์ร้ายสืบสะท้านโลก พากย์เสียง Prof. Fluke Kelso - Little Fockers พากย์เสียง Jack Byrnes - Lethal Weapon 4 พากย์เสียง Roger Murtaugh (เสียงโรง) - World Trade Center เวิลด์เทรด เซ็นเตอร์ พากย์เสียง Will Jimeno - Universal Soldier : Regeneration สงครามสมองกลพันธุ์ใหม่ พากย์เสียง Luc Deveraux - Shallow Hal รักแท้ ไม่อ้วนเอาเท่าไร พากย์เสียง Hal (Jack Black) - Sydney White ซิดนี่ย์ ไวท์ เทพนิยายสาววัยรุ่น พากย์เสียง Professor Carleton - Blue Streak อย่างงี้ ต้องปล้น พากย์เสียง Miles Logan - SWORDFISH พยัคฆ์จารชนฉกสุดขีดนรก พากย์เสียง Gabriel Shear (เสียงโรง) - Femme Fatale รหัสโจรกรรม สวย ร้อน อันตราย พากย์เสียง Black Tie และ Watts - BATMAN FOREVER ศึกจอมโจรอมตะ (เสียงโรง) พากย์เสียง Batman/Bruce Wayne - Ghost Dog: Way of the Samurai โกสต์ด็อก ดับนรกเส้นทางซามูไร พากย์เสียง Louie - Wild Orchid กล้วยไม้ป่าคอนกรีต พากย์เสียง James Wheeler (เสียงโรง) - Broken Arrow คู่มหากาฬหั่นนรก พากย์เสียง Maj. Vic 'Deak' Deakins (เสียงโรง) - Stargate ปฐมบทแห่งตำนานประตูสู่ดวงดาว พากย์เสียง Dr. Daniel Jackson (พากย์ใหม่) - Stuck on You พากย์เสียง Walter "Walt" Tenor (เสียงโรง) - หนังจีน-ฮ่องกง - HERO - ฮีโร่ พากย์เสียง กษัตริย์แห่งฉิน (เฉิน ต๊ะหมิง) - Perhaps Love อยากร้องบอกโลกว่ารัก พากย์เสียง Nie Wen / The Circus Master (จางเซียะโหย่ว) พากย์ในนาม ทีมพากย์พันธมิตร - Future Cops บันล็อก ผู้ชายทะลุเวลา (เสียงโรง) พากย์เสียง หลิวเต๋อหัว - เข้าแก็งค์ไหน หัวหน้าตายหมด (เสียงโรง) พากย์เสียง เหลียงเฉาเหว่ย - Bullet in the Head กอดคอกันไว้ อย่าให้ใครเจาะกะโหลก (เสียงโรง) พากย์เสียง พอล (หลี่จื่อสง) - สามก๊ก (Romance of the Three Kingdoms) พากย์เสียง เล่าปี่ / เกียงอุย (ช่อง 9) - ใหญ่สั่งมาเกิด พากย์เสียง เฉินหลง (เสียงโรง) - วิ่งสู้ฟัด 1-2 พากย์เสียง เฉินหลง (เสียงโรง) - Wheels On Meals ขาตั้งสู้ พากย์เสียง เฉินหลง (เสียงโรง) - บ้านี้เพื่อเธอ พากย์เสียง เยิ่นต๊ะหัว (เสียงโรง) - มังกรกระแทกเมือง พากย์เสียง เจ็ท ลี (เสียงโรง) - มังกรหนวดทอง พากย์เสียง เฉินหลง (เสียงโรง) - สองพี่น้องตระกูลบิ๊ก พากย์เสียง เฉินหลง (เสียงโรง) - หวด ปั๊ก คัก พากย์เสียง เจ็ท ลี (เสียงโรง) - เดชคัมภีร์เทวดา 1 พากย์เสียง แซม ฮุย (เสียงโรง) - เอไกหว่า ภาคหนึ่งและภาคสอง พากย์เสียง เฉินหลง (เสียงโรง) - เฉ่งไอ้คุณโป พากย์เสียง หลี่ซิ่วเสียน (เสียงโรง) - เพื่อนกุ่ยไม่ยอมกุ่ย พากย์เสียง จางเซี๊ยะโหย่ว (เสียงโรง) - ตุ้งติ้งตี๋ต๋า พากย์เสียง หวังไป่หมิง (เสียงโรง) - กูกู๋ปืนเค็ม พากย์เสียง เฉินหลง (เสียงโรง) - ใหญ่ฟัดใหญ่ พากย์เสียง เฉินหลง (เสียงโรง) - ไอ้มังกรหมัดสิงโต พากย์เสียง เฉินหลง (เสียงโรง) - ฤทธิ์บ้าสุดขอบฟ้า พากย์เสียง หยวนเปียว (เสียงโรง) - เสือผอมมังกรอ้วน พากย์เสียง เม๊าะเจีย (เสียงโรง) - ต้นตระกูลโหด พากย์เสียง หลี่อาไฉ โจวเหวินฟะ (เสียงโรง) - บอกโลกว่าข้าตายยาก พากย์เสียง โจวเหวินฟะ (เสียงโรง) - เจาะเหลี่ยมกะโหลก พากย์เสียง อาเซี้ย หลิวเต๋อหัว (เสียงโรง) - จิ๋นซีฮ่องเต้ 1986 พากย์เสียง จิ๋นซีฮ่องเต้ หลิวหย่ง (MV Video) - ฤทธิ์มีดสั้น ลี้คิมฮวง พากย์เสียง ลี้คิมฮวง (ฉีเส้าเฉียน) ลี้เหว่ย (เดวิด เจียง) (Video) - ฮ้อสะดุดโล้น พากย์เสียง หงจินเป่า (เสียงโรง) - จอมดาบหิมะแดง 1989 พากย์เสียง ฟู่หงเซี๊ยะ (MV Video) - จางซานฟง ฤทธิ์หมัดสะท้านบู๊ลิ้ม 1980 พากย์เสียง ฮาชื่อเอ๋อ,องค์ชายฮั่วตู (MV Video)การ์ตูน-แอนิเมชั่นการ์ตูน-แอนิเมชั่น. - สามก๊ก มหาสนุก (วิธิตา แอนิเมชั่น) - รามเกียรติ์ มินิแอนิเมชัน (วิธิตา แอนิเมชั่น) - Hellboy The Animation พากย์เสียง Professor Trevor 'Broom' Bruttenholm - กังฟูแพนด้า จอมยุทธ์พลิกล็อก ช็อคยุทธภพ พากย์เสียง อาจารย์ชิฟู - กังฟูแพนด้า 2 พากย์เสียง อาจารย์ชิฟู - ครุฑ มหายุทธ หิมพานต์รางวัลรางวัล. - รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ครั้งที่ 12 รางวัลพากย์ชายยอดเยี่ยม จากเรื่อง "แผลเก่า" ประจำปี พ.ศ. 2522 - รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ครั้งที่ 16 รางวัลพากย์ชายยอดเยี่ยม จากเรื่อง "คาดเชือก" ประจำปี พ.ศ. 2527 - รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ครั้งที่ 18 รางวัลพากย์ชายยอดเยี่ยม จากเรื่อง "ไม่สิ้นไร้ไฟสวาท" ประจำปี พ.ศ. 2529 - รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ครั้งที่ 20 รางวัลพากย์ชายยอดเยี่ยม จากเรื่อง "คู่กรรม" ประจำปี พ.ศ. 2531 - รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ครั้งที่ 22 รางวัลพากย์ชายยอดเยี่ยม จากเรื่อง "หลงไฟ" ประจำปี พ.ศ. 2533 - รางวัลเชิดชูเกียรติปูชนียบุคคลด้านภาษาไทยและผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2550 - รางวัลศิลปินดีเด่นเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ สาขานักพากย์ ประจำปี พ.ศ. 2552 - รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 25 รางวัลเกียรติยศคนทีวี ประจำปี พ.ศ. 2553 - รางวัลราชบัณฑิตยสถานสรรเสริญ รางวัลนักแสดงประกอบชาย จากเรื่อง "นัดกับนัด" ประจำปี พ.ศ. 2554 - รางวัลครอบครัวร่มเย็น (ร่วมกับ ปัญญา นิรันดร์กุล) ประจำปี พ.ศ. 2555 - รางวัลราชบัณฑิตยสถานสรรเสริญ สาขานักแสดงประกอบชาย จากเรื่อง "ปู่ณัฐ" ประจำปี พ.ศ. 2555 - ดาราอินไซด์อวอร์ด รางวัลนาคราช ครั้งที่ 1 สาขาครอบครัวตัวอย่างดีเด่นแห่งปี ประจำปี พ.ศ. 2559
| รอง เค้ามูลคดี นักแสดงอาวุโส และนักพากย์ชาวไทยเป็นศิลปินแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2560 ในสาขาใด | {
"answer": [
"ศิลปะการแสดง (ภาพยนตร์-ละครโทรทัศน์)"
],
"answer_begin_position": [
184
],
"answer_end_position": [
220
]
} |
3,836 | 34,638 | สายลม เพลงพระราชนิพนธ์ สายลม หรือ เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ ๒๕ ทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ. ๒๕๐๐ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย แล้วพระราชทานให้นำออกบรรเลงครั้งแรกในงานของ สมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกาในพระบรมราชูปถัมภ์ ณ เวทีลีลาศสวนอัมพร เมื่อวันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๐เพลงพระราชนิพนธ์ สายลมมีเดีย
| เพลงพระราชนิพนธ์ชื่อว่า สายลม เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่เท่าไร | {
"answer": [
"๒๕"
],
"answer_begin_position": [
141
],
"answer_end_position": [
143
]
} |
3,837 | 207,539 | กีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 1 การแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 1 จังหวัดนครราชสีมา ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 1 ซึ่งกำหนดการให้มีการแข่งขันระหว่างวันที่ 26 เมษายน 2528 ถึง 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2528โดยมี นายสมบูรณ์ ไทยวัชรามาศ ผู้ว่าราชการจังหวัด นครราชสีมา เป็นประธานกรรมการจัดการแข่งขัน มีการแข่งขันกีฬารวม 7 ประเภท คือ กรีฑา บาสเกตบอล มวยสากลสมัครเล่น ฟุตบอล เซปักตระกร้อ ว่ายน้ำ วอลเลย์บอล มีนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันรวม 10 เขต จำนวน 1,323 คน รวมนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ทั้งสิ้น 1,542 คน
| การแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติของไทย ครั้งที่ 1 จัดขึ้นที่จังหวัดใด | {
"answer": [
"นครราชสีมา"
],
"answer_begin_position": [
181
],
"answer_end_position": [
191
]
} |
3,838 | 207,539 | กีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 1 การแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 1 จังหวัดนครราชสีมา ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 1 ซึ่งกำหนดการให้มีการแข่งขันระหว่างวันที่ 26 เมษายน 2528 ถึง 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2528โดยมี นายสมบูรณ์ ไทยวัชรามาศ ผู้ว่าราชการจังหวัด นครราชสีมา เป็นประธานกรรมการจัดการแข่งขัน มีการแข่งขันกีฬารวม 7 ประเภท คือ กรีฑา บาสเกตบอล มวยสากลสมัครเล่น ฟุตบอล เซปักตระกร้อ ว่ายน้ำ วอลเลย์บอล มีนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันรวม 10 เขต จำนวน 1,323 คน รวมนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ทั้งสิ้น 1,542 คน
| การแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติของไทย ครั้งที่ 1 มีการแข่งขันกีฬาทั้งหมดกี่ประเภท | {
"answer": [
"7"
],
"answer_begin_position": [
452
],
"answer_end_position": [
453
]
} |
3,839 | 92,022 | จอห์น แนช จอห์น ฟอบส์ แนช จูเนียร์ (; 13 มิถุนายน 1928 – 23 พฤษภาคม 2015) เป็นนักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกัน มีความเชี่ยวชาญเรื่องทฤษฎีเกม ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ประจำปี 1994 จากผลงานเรื่องทฤษฎีเกมร่วมกับ Reinhard Selten และ John Harsanyi ชีวประวัติของแนชได้มีการนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ที่โด่งดังในวงการฮอลลีวูด ชื่อ ผู้ชายหลายมิติ ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ได้ถึง 8 รายการ เนื้อหาในภาพยนตร์จะเกี่ยวกับนักเศรษฐศาสตร์ผู้ปราชญ์เปรื่องคนหนึ่งที่มีชื่อเดียวกับเขา และต้องต่อสู้กับโรคประสาทหลอนเช่นเดียวกันวัยเด็กและการศึกษา วัยเด็กและการศึกษา. แนชเกิดและเติบโตในรัฐเวสต์เวอร์จิเนีย บิดาของเขาคือ จอห์น ฟอบส์ แนช เป็นวิศวกรไฟฟ้าและมารดาของเขาคือ มากาเรต เวอร์จิเนีย มาร์ติน เป็นครูสอนวิชาภาษาอังกฤษและภาษาละติน ต่อมา เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1930 มารดาของเขาก็ได้ให้กำเนิดน้องสาว คือ มาร์ธา แนช เมื่อแนชอายุได้ 12 ปี เขาก็เริ่มทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ภายในห้องนอนของเขา แนชเป็นคนที่ค่อนข้างเก็บตัวเงียบและไม่อยากจะทำงานร่วมกับผู้อื่น เขาชอบทำงานตัวคนเดียวมากกว่า เขาปฏิเสธการอยู่ห้องร่วมกับคนอื่น แนชปรับตัวเข้ากับเพื่อนร่วมชั้นไม่ได้เพราะเพื่อนๆมักจะแกล้งเขาเสมอและเขามักจะนึกว่าตัวเองฉลาดกว่าคนอื่น เขาเชื่อว่าการเต้นรำและการเล่นกีฬาเป็นสิ่งที่ทำให้เขาไม่มีสมาธิกับการทดลองและการเรียนของเขา มาร์ธา น้องสาวของจอห์น แนชดูเป็นคนปกติมากกว่าจอห์น และจอห์นก็ดูผิดปกติไปจากเด็กคนอื่นๆ มาร์ธาเล่าว่า "จอห์นนี่เป็นคนที่ผิดปกติจากคนอื่น พ่อแม่ก็รู้ว่าเขาผิดปกติ แต่พวกเขาก็รู้ว่าจอห์นนี่ฉลาด เขามักจะทำอะไรด้วยวิธีของตัวเอง แม่บอกว่าการที่ฉันเป็นเพื่อนเล่นให้กับเขาคือสิ่งที่ฉันทำได้เพื่อเขา... แต่ฉันก็ไม่ค่อยสนใจหรอกว่าพี่ชายฉันเป็นคนค่อนข้างแปลก" แนชเขียนไว้ในหนังสือชีวประวัติของเขาบอกว่า หนังสือเรื่อง Men of Mathematics แต่งโดย E.T. Bell (ที่จริงเป็นเรียงความที่อยู่ใน Fermat) เป็นหนังสือที่ทำให้เขาหันมาสนใจด้านคณิตศาสตร์ แนชเข้าไปเรียนที่วิทยาลัยบลูฟิลด์ตั้งแต่ตอนที่ยังเรียนไฮสกูลอยู่ ต่อมาก็ได้ศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยที่สถาบันเทคโนโลยีคาร์เนกี (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน) ในเมืองพิตต์สเบิร์ก รัฐเพนซิลเวเนีย โดยได้รับทุนการศึกษาเวสติงเฮาส์ ตอนแรก แนชสนใจศึกษาวิชาวิศวกรรมเคมี ต่อมาก็มาศึกษาด้านเคมี ก่อนจะหันมาเปลี่ยนเป็นคณิตศาสตร์ในที่สุด เขาสำเร็จการศึกษาโดยได้รับทั้งปริญญาตรีและปริญญาโท ในปี 1948 ที่สถาบันคาร์เนกีนั่นเอง หลังจากจบการศึกษาแล้ว แนชทำงานในช่วงหน้าร้อนที่เมืองไวท์โอค รัฐแมริแลนด์ โดยเป็นทำวิจัยเกี่ยวกับทหารเรือภายใต้การควบคุมของนักคณิตศาสตร์ชื่อ Clifford Truesdellหลังจบการศึกษา หลังจบการศึกษา. ในปี 1948 ช่วงที่แนชกำลังสมัครงานที่ภาควิชาคณิตศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยปรินซ์ตันอยู่นั้น ศาสตราจารย์ R.J. Duffin ที่ปรึกษาของแนชและอดีตศาสตราจารย์แห่งสถาบันเทคโนโลยีคาร์เนกีได้เขียนจดหมายแนะนำตัวให้กับแนชโดยมีใจความสั้น ๆ คือ "เด็กหนุ่มนี้เป็นอัจฉริยะ" แต่ว่ากลายเป็นมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดที่ตอบรับการสมัครงานของแนชก่อน ซึ่งที่จริงแล้ว ฮาร์วาร์ดเป็นเป้าหมายอันดับหนึ่งของเขาเพราะเป็นสถาบันที่มีชื่อเสียงมายาวนานและมีคณะคณิตศาสตร์ที่โด่งดัง แต่ Solomon Lefschetz หัวหน้าภาควิชาคณิตศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยปรินซ์ตันและจอห์น เอส. เคเนดี แนะนำเขาว่าฮาร์วาร์ดคงจะไม่เห็นค่าของเขาเท่าที่มหาวิทยาลัยปรินซ์ตัน จนในที่สุด แนชจึงได้ตัดสินใจย้ายจากไวท์โอคมาทำงานที่มหาวิทยาลัยปรินซ์ตัน และทำงานอยู่ที่นั่นจนเกิดทฤษฎีดุลยภาพของเขา (ทฤษฎีดุลยภาพของแนช) แนชได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตในปี 1950 จากวิทยานิพนธ์เรื่องทฤษฏีเกมแบบไม่มีความร่วมมือกัน โดยมี Albert W. Tucker เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา วิทยานิพนธ์นี้ส่วนหนึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับนิยามและคุณสมบัติของสิ่งที่ต่อมาเรียกว่า "ดุลยภาพของแนช" ซึ่งเกี่ยวกับ 3 ประเด็นหลักดังนี้ :- "Equilibrium Points in N-person Games", Proceedings of the National Academy of Sciences 36 (1950), 48-49. - "The Bargaining Problem", Econometrica 18 (1950), 155-162. - "Two-person Cooperative Games", Econometrica 21 (1953), 128-140. นอกจากนั้น แนชยังได้มีผลงานสำคัญๆเกี่ยวกับเรขาคณิตเชิงพีชคณิตอีกด้วย คือ:- "Real algebraic manifolds", Annals of Mathematics 56 (1952), 405-421. See also Proc. Internat. Congr. Math. (AMS, 1952, pp 516-517) ผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขาในสาขาของคณิตศาสตร์บริสุทธิ์ คือ Nash embedding theoremบั้นปลายชีวิต บั้นปลายชีวิต. ในปี 2015 แนชและหลุยส์ นิเรนเบิร์ก ได้รับรางวัลอาเบล สำหรับผลงานด้านสมการเชิงอนุพันธ์ แต่ต่อมาในวันที่ 23 พฤษภาคม 2015 แนชและภรรยา อลิเซีย แนช ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์เสียชีวิต ขณะทั้งคู่โดยสารรถแท็กซี
| ชาวอเมริกันชื่อว่า จอห์น แนช ได้รับรางวัลโนเบลสาขาใดในปีค.ศ. 1994 | {
"answer": [
"เศรษฐศาสตร์"
],
"answer_begin_position": [
237
],
"answer_end_position": [
248
]
} |
3,840 | 12,977 | เจมส์ คุก เจมส์ คุก (27 ตุลาคม ค.ศ. 1728 - 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1779) เป็นนักสำรวจและนักเดินเรือชาวอังกฤษ และยังเป็นนักทำแผนที่อีกด้วย เขาได้เดินทางไปยังมหาสมุทรแปซิฟิกสามครั้ง ซึ่งก็ได้ทำแผนที่แนวชายฝั่งไว้ส่วนใหญ่ กัปตัน เจมส์ คุก เป็นบุคคลหนึ่งที่ได้เข้ามาสำรวจประเทศออสเตรเลีย และยึดออสเตรเลียเป็นอาณานิคมของอังกฤษ เป็นผู้ค้นพบเกาะฮาวายนอกจากนี้เขายังเป็นผู้คนพบเกาะอีกหลายแห่ง เช่น เกาะนิวซิแลนด์ เป็นต้น เจมส์ คุก ถูกฆ่าตายระหว่างการต่อสู้กับชนพื้นเมืองฮาวาย ที่อ่าวเกียลาคีกัว เกาะฮาวายในปี ค.ศ. 1779ช่วงต้นของชีวิต ช่วงต้นของชีวิต. เจมส์ คุกเกิดในตระกูลที่ต่ำต้อย ที่เมืองมาร์ตัน ในนอร์ท ยอร์คเชียร์ ที่ซึ่งขณะที่กลายเป็นเมืองมิดเดิลสโบร คุกเป็นหนึ่งในบุตรห้าคนของนายเจมส์ ซีเนียร์ และนางเกรซ ที่เป็นคนงานอพยพในฟาร์มของสกอตแลนด์ ในวัยเด็ก คุกได้ย้ายถิ่นฐานตามครอบครัวไปที่เมืองเกรท เอย์ตัน และได้รับการศึกษาในโรงเรียนท้องถิ่น โดยที่มีนายจ้างของบิดาเป็นผู้สนับสนุนเงินทุนการศึกษา เมื่ออายุได้ 13 ปีเขาจึงเริ่มทำงานกับบิดาที่ขณะนั้นเป็นผู้จัดการฟาร์ม ในปีค.ศ. 1745 เมื่อเขามีอายุได้ 16 ปี คุกได้ออกจากบ้านไปเป็นคนงานฝึกหัดที่ร้านค้าของชำในฮาร์เบอร์แดชเชอร์ หมู่บ้านชาวประมงในสเตรทส์ ด้วยทำเลที่ตั้งของหมู่บ้าน นั่นเป็นที่แรกที่คุกได้รับรู้ถึงสภาพของท้องทะเล จากการมองออกมานอกหน้าต่างร้านค้า
| ผู้ค้นพบเกาะฮาวายคือใคร | {
"answer": [
"เจมส์ คุก"
],
"answer_begin_position": [
92
],
"answer_end_position": [
101
]
} |
3,841 | 12,977 | เจมส์ คุก เจมส์ คุก (27 ตุลาคม ค.ศ. 1728 - 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1779) เป็นนักสำรวจและนักเดินเรือชาวอังกฤษ และยังเป็นนักทำแผนที่อีกด้วย เขาได้เดินทางไปยังมหาสมุทรแปซิฟิกสามครั้ง ซึ่งก็ได้ทำแผนที่แนวชายฝั่งไว้ส่วนใหญ่ กัปตัน เจมส์ คุก เป็นบุคคลหนึ่งที่ได้เข้ามาสำรวจประเทศออสเตรเลีย และยึดออสเตรเลียเป็นอาณานิคมของอังกฤษ เป็นผู้ค้นพบเกาะฮาวายนอกจากนี้เขายังเป็นผู้คนพบเกาะอีกหลายแห่ง เช่น เกาะนิวซิแลนด์ เป็นต้น เจมส์ คุก ถูกฆ่าตายระหว่างการต่อสู้กับชนพื้นเมืองฮาวาย ที่อ่าวเกียลาคีกัว เกาะฮาวายในปี ค.ศ. 1779ช่วงต้นของชีวิต ช่วงต้นของชีวิต. เจมส์ คุกเกิดในตระกูลที่ต่ำต้อย ที่เมืองมาร์ตัน ในนอร์ท ยอร์คเชียร์ ที่ซึ่งขณะที่กลายเป็นเมืองมิดเดิลสโบร คุกเป็นหนึ่งในบุตรห้าคนของนายเจมส์ ซีเนียร์ และนางเกรซ ที่เป็นคนงานอพยพในฟาร์มของสกอตแลนด์ ในวัยเด็ก คุกได้ย้ายถิ่นฐานตามครอบครัวไปที่เมืองเกรท เอย์ตัน และได้รับการศึกษาในโรงเรียนท้องถิ่น โดยที่มีนายจ้างของบิดาเป็นผู้สนับสนุนเงินทุนการศึกษา เมื่ออายุได้ 13 ปีเขาจึงเริ่มทำงานกับบิดาที่ขณะนั้นเป็นผู้จัดการฟาร์ม ในปีค.ศ. 1745 เมื่อเขามีอายุได้ 16 ปี คุกได้ออกจากบ้านไปเป็นคนงานฝึกหัดที่ร้านค้าของชำในฮาร์เบอร์แดชเชอร์ หมู่บ้านชาวประมงในสเตรทส์ ด้วยทำเลที่ตั้งของหมู่บ้าน นั่นเป็นที่แรกที่คุกได้รับรู้ถึงสภาพของท้องทะเล จากการมองออกมานอกหน้าต่างร้านค้า
| เจมส์ คุก เป็นนักสำรวจและนักเดินเรือชาวอังกฤษ ถูกฆ่าตายในปี ค.ศ. ใด | {
"answer": [
"1779"
],
"answer_begin_position": [
583
],
"answer_end_position": [
587
]
} |
3,842 | 330,604 | เทือกเขาแอตลาส เทือกเขาแอตลาส () เป็นเทือกเขาในทวีปแอฟริกา อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือและทางเหนือของทวีป เริ่มตั้งแต่แหลมดราทางชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศโมร็อกโก ไปจนจดแหลมบอง ทางชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศตูนิเซีย ยอดสูงสุดคือ ตูบคาล สูง 4,167 เมตร (13,671 ฟุต) ทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศโมร็อกโก
| ยอดสูงสุดของเทือกเขาแอตลาสในทวีปแอฟริกามีชื่อว่าอะไร | {
"answer": [
"ตูบคาล"
],
"answer_begin_position": [
326
],
"answer_end_position": [
332
]
} |
3,843 | 95,749 | สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 8 สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 8 () ทรงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาในปี ค.ศ. 1187 เป็นเวลาประมาณ 2 เดือน
| สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 8 ทรงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาในปี ค.ศ.ใด | {
"answer": [
"1187"
],
"answer_begin_position": [
204
],
"answer_end_position": [
208
]
} |
3,844 | 758,984 | ไช่ อิงเหวิน ไช่ อิงเหวิน (; เกิด 31 สิงหาคม ค.ศ. 1956) เป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) และเป็นสตรีคนแรกที่ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว เธอเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า (民主進步黨) คนปัจจุบัน และเป็นตัวแทนของพรรคเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในการเลือกตั้งเมื่อ ค.ศ. 2016 ตำแหน่งซึ่งเธอพลาดไปในการเลือกตั้งปีเมื่อ ค.ศ. 2012 นอกจากนี้ เธอยังเคยเป็นหัวหน้าพรรคมาแล้วหนึ่งสมัยในช่วง ค.ศ. 2008–2012 เธอศึกษาร่ำเรียนในไต้หวัน สหรัฐอเมริกา และอังกฤษ สำเร็จเป็นนิติศาสตรบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน นิติศาสตรมหาบัณฑิตจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ และดุษฎีบัณฑิตจากวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน แล้วกลับบ้านเกิดเมืองนอนในปี 1984 เพื่อเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยหลายแห่ง ครั้น ค.ศ. 1993 พรรคชาตินิยม (國民黨) ซึ่งเป็นรัฐบาลอยู่ในเวลานั้น ตั้งเธอเป็นข้าราชการหลายตำแหน่ง รวมถึงตำแหน่งประธานกรรมการร่างนโยบายว่าด้วย "หนึ่งชาติหนึ่งแดน" (一邊一國) ในสมัยประธานาธิบดีหลี่ เติงฮุย (李登輝) เมื่อเฉิน ฉุ่ยเปี่ยน (陳水扁) ได้เป็นประธานาธิบดีใน ค.ศ. 2000 เธอในฐานะผู้มิได้สังกัดพรรคการเมืองได้รับเชิญเป็นรัฐมนตรีสภากิจการแผ่นดินใหญ่ (大陸委員會) และอยู่ในตำแหน่งนี้ตราบเท่าวาระแรกของประธานาธิบดีเฉิน ต่อมา เธอจึงเข้าเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าใน ค.ศ. 2004 และในช่วงสั้น ๆ เธอได้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติ (立法院) ประเภทมิได้มาจากเขตเลือกตั้งตามบัญชีรายชื่อของพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า นับจากนั้น เธอได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรีในคราวที่ซู เจินชาง (蘇貞昌) เป็นนายกรัฐมนตรี เธอดำรงตำแหน่งนี้จนกระทั่งคณะรัฐมนตรีลาออกยกคณะใน ค.ศ. 2007 ครั้น ค.ศ. 2008 พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าแพ้พ่ายในการเลือกตั้งประธานาธิบดี เธอจึงได้รับเลือกตั้งเป็นหัวหน้าพรรค แต่เมื่อเธอปราชัยในการเลือกตั้งประธานาธิบดีใน ค.ศ. 2012 เธอก็ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2010 เธอเข้าชิงตำแหน่งนายกเทศมนตรีแห่งนครไทเปใหม่ในการเลือกตั้งเทศมนตรี แต่แพ้จู ลี่หลุน (朱立倫) ซึ่งเคยเป็นรองนายกรัฐมนตรีจากพรรคชาตินิยม ครั้นเดือนเมษายน ค.ศ. 2011 เธอได้รับเลือกเป็นตัวแทนของพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าเพื่อชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในการเลือกตั้งอันจะมีขึ้นใน ค.ศ. 2012 คะแนนที่เธอได้รับเลือกนั้นชนะซู เจินชาง เพื่อนร่วมพรรค ไปฉิวเฉียด ทำให้เธอเป็นสตรีคนแรกที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีของประเทศ กระนั้น ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีประจำ ค.ศ. 2012 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งที่ห้าของประเทศ เธอกลับพ่ายแพ้แก่หม่า อิงจิ่ว (馬英九) จากพรรคชาตินิยม เธอจึงลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในการเลือกตั้งประจำ ค.ศ. 2016 อีก ครั้งนี้ เธอได้รับคะแนนเสียงท่วมท้น และได้เข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 2016
| ประธานาธิบดีหญิงคนแรกแห่งสาธารณรัฐจีนหรือไต้หวันชื่อว่าอะไร | {
"answer": [
"ไช่ อิงเหวิน"
],
"answer_begin_position": [
100
],
"answer_end_position": [
112
]
} |
3,845 | 758,984 | ไช่ อิงเหวิน ไช่ อิงเหวิน (; เกิด 31 สิงหาคม ค.ศ. 1956) เป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) และเป็นสตรีคนแรกที่ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว เธอเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า (民主進步黨) คนปัจจุบัน และเป็นตัวแทนของพรรคเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในการเลือกตั้งเมื่อ ค.ศ. 2016 ตำแหน่งซึ่งเธอพลาดไปในการเลือกตั้งปีเมื่อ ค.ศ. 2012 นอกจากนี้ เธอยังเคยเป็นหัวหน้าพรรคมาแล้วหนึ่งสมัยในช่วง ค.ศ. 2008–2012 เธอศึกษาร่ำเรียนในไต้หวัน สหรัฐอเมริกา และอังกฤษ สำเร็จเป็นนิติศาสตรบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน นิติศาสตรมหาบัณฑิตจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ และดุษฎีบัณฑิตจากวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน แล้วกลับบ้านเกิดเมืองนอนในปี 1984 เพื่อเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยหลายแห่ง ครั้น ค.ศ. 1993 พรรคชาตินิยม (國民黨) ซึ่งเป็นรัฐบาลอยู่ในเวลานั้น ตั้งเธอเป็นข้าราชการหลายตำแหน่ง รวมถึงตำแหน่งประธานกรรมการร่างนโยบายว่าด้วย "หนึ่งชาติหนึ่งแดน" (一邊一國) ในสมัยประธานาธิบดีหลี่ เติงฮุย (李登輝) เมื่อเฉิน ฉุ่ยเปี่ยน (陳水扁) ได้เป็นประธานาธิบดีใน ค.ศ. 2000 เธอในฐานะผู้มิได้สังกัดพรรคการเมืองได้รับเชิญเป็นรัฐมนตรีสภากิจการแผ่นดินใหญ่ (大陸委員會) และอยู่ในตำแหน่งนี้ตราบเท่าวาระแรกของประธานาธิบดีเฉิน ต่อมา เธอจึงเข้าเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าใน ค.ศ. 2004 และในช่วงสั้น ๆ เธอได้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติ (立法院) ประเภทมิได้มาจากเขตเลือกตั้งตามบัญชีรายชื่อของพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า นับจากนั้น เธอได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรีในคราวที่ซู เจินชาง (蘇貞昌) เป็นนายกรัฐมนตรี เธอดำรงตำแหน่งนี้จนกระทั่งคณะรัฐมนตรีลาออกยกคณะใน ค.ศ. 2007 ครั้น ค.ศ. 2008 พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าแพ้พ่ายในการเลือกตั้งประธานาธิบดี เธอจึงได้รับเลือกตั้งเป็นหัวหน้าพรรค แต่เมื่อเธอปราชัยในการเลือกตั้งประธานาธิบดีใน ค.ศ. 2012 เธอก็ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2010 เธอเข้าชิงตำแหน่งนายกเทศมนตรีแห่งนครไทเปใหม่ในการเลือกตั้งเทศมนตรี แต่แพ้จู ลี่หลุน (朱立倫) ซึ่งเคยเป็นรองนายกรัฐมนตรีจากพรรคชาตินิยม ครั้นเดือนเมษายน ค.ศ. 2011 เธอได้รับเลือกเป็นตัวแทนของพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าเพื่อชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในการเลือกตั้งอันจะมีขึ้นใน ค.ศ. 2012 คะแนนที่เธอได้รับเลือกนั้นชนะซู เจินชาง เพื่อนร่วมพรรค ไปฉิวเฉียด ทำให้เธอเป็นสตรีคนแรกที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีของประเทศ กระนั้น ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีประจำ ค.ศ. 2012 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งที่ห้าของประเทศ เธอกลับพ่ายแพ้แก่หม่า อิงจิ่ว (馬英九) จากพรรคชาตินิยม เธอจึงลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในการเลือกตั้งประจำ ค.ศ. 2016 อีก ครั้งนี้ เธอได้รับคะแนนเสียงท่วมท้น และได้เข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 2016
| ไช่ อิงเหวิน เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองใดในไต้หวัน | {
"answer": [
"ประชาธิปไตยก้าวหน้า"
],
"answer_begin_position": [
261
],
"answer_end_position": [
280
]
} |
3,846 | 425,349 | จาง ม่านอวี้ จาง ม่านอวี้ (張曼玉, Zhāng Mànyù) หรือ แมกกี จาง (Maggie Cheung) เป็นนักแสดงหญิงชาวฮ่องกงที่ชื่อเสียงโด่งดังและมากความสามารถคนหนึ่งของวงการบันเทิงฮ่องกง เธอมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติ และมีผลงานในระดับนานาชาติหลายเรื่อง เธอมีผลงานการแสดงมากกว่า 70 เรื่องนับตั้งแต่ปี 1983 อีกทั้งยังเป็นนักแสดงหญิงชาวเอเชียคนแรกที่ได้รับรางวัลนักแสดงหญิงยอดเยี่ยม จากเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ จากเรื่อง Clean (2004) กำกับโดย โอลิเวียร์ อาซซายาส อดีตสามีชาวฝรั่งเศส จาง ม่านอวี้ เริ่มเข้าวงการจากการประกวดนางงามฮ่องกงในปี 1983 ได้ตำแหน่งรองอันดับหนึ่ง และขวัญใจช่างภาพ หลังจบโรงเรียน St. Paul Convent เซนต์พอล คอนเวนต์ และเป็นตัวแทนเข้าประกวดมิสเวิลด์ในปีนั้น จากนั้นได้มีผลงานแสดงภาพยนตร์ในบทตัวประกอบ โดยรับบทเป็น "อาเมย์" แฟนสาวของกูกู๋ ตัวเอกในภาพยนตร์ชุด วิ่งสู้ฟัด (A Police Story) ของเฉินหลง ถึง 3 ภาค เธอเริ่มมีชื่อเสียงจากเรื่อง As Tears Go By (ทะลุกลางอก) ของหว่อง คาไว ในปี 1988 ผลงานที่ทำให้เธอมีชื่อเสียงในต่างประเทศ ได้แก่เรื่อง Centre Stage (1992), Chinese Box (1997) In the Mood for Love (2000), Hero (2002), 2046 (2004) และ Clean (2004) ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเธอสามารถพูดได้ทั้งภาษากวางตุ้ง ภาษาจีนกลาง ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศส
| นักแสดงหญิงชาวเอเชียคนแรกที่ได้รับรางวัลนักแสดงหญิงยอดเยี่ยม จากเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์คือใคร | {
"answer": [
"จาง ม่านอวี้"
],
"answer_begin_position": [
100
],
"answer_end_position": [
112
]
} |
3,847 | 425,349 | จาง ม่านอวี้ จาง ม่านอวี้ (張曼玉, Zhāng Mànyù) หรือ แมกกี จาง (Maggie Cheung) เป็นนักแสดงหญิงชาวฮ่องกงที่ชื่อเสียงโด่งดังและมากความสามารถคนหนึ่งของวงการบันเทิงฮ่องกง เธอมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติ และมีผลงานในระดับนานาชาติหลายเรื่อง เธอมีผลงานการแสดงมากกว่า 70 เรื่องนับตั้งแต่ปี 1983 อีกทั้งยังเป็นนักแสดงหญิงชาวเอเชียคนแรกที่ได้รับรางวัลนักแสดงหญิงยอดเยี่ยม จากเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ จากเรื่อง Clean (2004) กำกับโดย โอลิเวียร์ อาซซายาส อดีตสามีชาวฝรั่งเศส จาง ม่านอวี้ เริ่มเข้าวงการจากการประกวดนางงามฮ่องกงในปี 1983 ได้ตำแหน่งรองอันดับหนึ่ง และขวัญใจช่างภาพ หลังจบโรงเรียน St. Paul Convent เซนต์พอล คอนเวนต์ และเป็นตัวแทนเข้าประกวดมิสเวิลด์ในปีนั้น จากนั้นได้มีผลงานแสดงภาพยนตร์ในบทตัวประกอบ โดยรับบทเป็น "อาเมย์" แฟนสาวของกูกู๋ ตัวเอกในภาพยนตร์ชุด วิ่งสู้ฟัด (A Police Story) ของเฉินหลง ถึง 3 ภาค เธอเริ่มมีชื่อเสียงจากเรื่อง As Tears Go By (ทะลุกลางอก) ของหว่อง คาไว ในปี 1988 ผลงานที่ทำให้เธอมีชื่อเสียงในต่างประเทศ ได้แก่เรื่อง Centre Stage (1992), Chinese Box (1997) In the Mood for Love (2000), Hero (2002), 2046 (2004) และ Clean (2004) ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเธอสามารถพูดได้ทั้งภาษากวางตุ้ง ภาษาจีนกลาง ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศส
| จาง ม่านอวี้ หรือแมกกี จาง ได้รับรางวัลนักแสดงหญิงยอดเยี่ยมของเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์จากภาพยนตร์เรื่องใด | {
"answer": [
"Clean"
],
"answer_begin_position": [
495
],
"answer_end_position": [
500
]
} |
3,848 | 205,822 | อัสซะลามอัลอะมิรี เพลงชาติแห่งรัฐกาตาร์ มีชื่อว่า อัสซะลามอัลอะมิรี (As Salam al Amiri) ทำนองโดย เชคมูบารัก บิน ซาอิฟ อัลตานี (Sheikh Mubarak bin Saïf al-Thani) เนื้อร้องโดย อับดุล อาซิส นัสเซอร์ โอไบดาน (Abdul Aziz Nasser Obaidan) เริ่มใช้เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2539 ในพระราชพิธีราชาภิเษกเชคฮามัด บิน คอลีฟะห์ อัลตานี เจ้าผู้ครองรัฐกาตาร์องค์ปัจจุบันเนื้อร้องคำแปล คำแปล. ขอสาบานต่ออัลลอห์ผู้สร้างฟากฟ้า ขอสาบานต่ออัลลอห์ผู้ก่อเกิดแสงสว่าง กาตาร์จะคงความเสรีเสมอไป สูงส่งด้วยจิดวิญญาณแห่งความจริงใจ ท่านดำเนินไปด้วยธรรมเนียมแห่งผู้ทรงอำนาจ และมุ่งไปข้างหน้าด้วยการชี้นำแห่งศาสดาพยากรณ์ ในใจข้า กาตาร์คือมหากาพย์แห่งความรุ่งเรืองและสูงส่ง กาตาร์คือแผ่นดินของบรรพชน ผู้ปกป้องเราในยามเศร้าหมอง เหล่านกพิราบจงมาในยามแห่งสันติ เหล่านักรบจงมาในยามแห่งการเสียสละ
| เพลงชาติแห่งรัฐกาตาร์ มีชื่อว่าอะไร | {
"answer": [
"อัสซะลามอัลอะมิรี"
],
"answer_begin_position": [
142
],
"answer_end_position": [
159
]
} |
3,849 | 205,822 | อัสซะลามอัลอะมิรี เพลงชาติแห่งรัฐกาตาร์ มีชื่อว่า อัสซะลามอัลอะมิรี (As Salam al Amiri) ทำนองโดย เชคมูบารัก บิน ซาอิฟ อัลตานี (Sheikh Mubarak bin Saïf al-Thani) เนื้อร้องโดย อับดุล อาซิส นัสเซอร์ โอไบดาน (Abdul Aziz Nasser Obaidan) เริ่มใช้เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2539 ในพระราชพิธีราชาภิเษกเชคฮามัด บิน คอลีฟะห์ อัลตานี เจ้าผู้ครองรัฐกาตาร์องค์ปัจจุบันเนื้อร้องคำแปล คำแปล. ขอสาบานต่ออัลลอห์ผู้สร้างฟากฟ้า ขอสาบานต่ออัลลอห์ผู้ก่อเกิดแสงสว่าง กาตาร์จะคงความเสรีเสมอไป สูงส่งด้วยจิดวิญญาณแห่งความจริงใจ ท่านดำเนินไปด้วยธรรมเนียมแห่งผู้ทรงอำนาจ และมุ่งไปข้างหน้าด้วยการชี้นำแห่งศาสดาพยากรณ์ ในใจข้า กาตาร์คือมหากาพย์แห่งความรุ่งเรืองและสูงส่ง กาตาร์คือแผ่นดินของบรรพชน ผู้ปกป้องเราในยามเศร้าหมอง เหล่านกพิราบจงมาในยามแห่งสันติ เหล่านักรบจงมาในยามแห่งการเสียสละ
| ใครคือผู้แต่งเนื้อร้องเพลงอัสซะลามอัลอะมิรีหรือเพลงชาติแห่งรัฐกาตาร์ | {
"answer": [
"อับดุล อาซิส นัสเซอร์ โอไบดาน"
],
"answer_begin_position": [
266
],
"answer_end_position": [
295
]
} |
3,850 | 251,865 | พรรคสมัชชาแห่งชาติแอฟริกา พรรคสมัชชาแห่งชาติแอฟริกา หรือ พรรคเอเอ็นซี (; ANC) เป็นพรรครัฐบาลของประเทศแอฟริกาใต้ซึ่งได้รับการสนับสนุนแบบไตรพันธมิตร คือ สมัชชาสมาพันธ์การค้าแห่งแอฟริกาใต้ (Congress of South African Trade Unions; COSATU) และพรรคคอมมิวนิสต์แห่งแอฟริกาใต้ (South African Communist Party; SACP) นับแต่ครั้งเริ่มการเลือกตั้งแบบไม่แบ่งแยกผิวครั้งแรกของประเทศในเดือนเมษายน ค.ศ. 1994 ในตอนเริ่มแรกก่อตั้ง พรรคนี้มีชื่อว่า สมัชชาชนชาติพื้นเมืองแอฟริกาใต้ (South African Native National Congress; SANNC) ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1912 ที่เมืองบลูมฟอนเทน เพื่อพยายามยกระดับสิทธิของประชาชนชาวแอฟริกาใต้ที่เป็นคนผิวดำ ประธานพรรคคนแรกคือ John Dube นอกจากนี้มี Sol Plaatje ผู้เป็นกวีและนักเขียน ร่วมเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งพรรคด้วย องค์กรได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น ANC ในปี ค.ศ. 1923 และเริ่มมีการจัดตั้งปีกติดอาวุธ ชื่อ อัมกันโต เว ซิซเว (หอกแห่งชาติ) ในปี ค.ศ. 1961 พรรคได้กลายเป็นพรรครัฐบาลนับตั้งแต่การเลือกตั้งหลังสิ้นสุดยุคการแบ่งแยกสีผิว ในปี ค.ศ. 1994 เป็นต้นมา ซึ่งพรรคได้ชนะการเลือกตั้งในปี ค.ศ. 1999, 2004 และ 2009 ซึ่งได้คะแนนโหวตมากกว่า 60% ตลอดทุกครั้ง
| ประธานคนแรกของพรรคสมัชชาแห่งชาติแอฟริกาของประเทศแอฟริกาใต้คือใคร | {
"answer": [
"John Dube"
],
"answer_begin_position": [
747
],
"answer_end_position": [
756
]
} |
3,851 | 87,417 | ฮาร์บิน ฮาร์บิน หรือสำเนียงจีนกลางว่า ฮาเอ่อร์ปิน (; แมนจู: ) เป็นเมืองเอกของมณฑลเฮย์หลงเจียง ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งอยู่ทางฝั่งใต้ของแม่น้ำซงหัว ฮาร์บินเป็นเมืองอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโต และยังเป็นศูนย์กลางทางด้านการปกครอง เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม และการสื่อสารคมนาคมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน จึงถือได้ว่าเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งของจีนและของเอเชียด้านตะวันออกเฉียงเหนือ คำว่า ฮาร์บิน เป็นคำในภาษาแมนจู มีความหมายว่า "สถานที่ตากแห (จับปลา)"- จำนวนประชากร: 9.54 ล้านคน อาศัยอยู่ในเขตเมือง 4.64 ล้านคน - พื้นที่: 53,775 ตารางกิโลเมตร เขตเมืองมีพื้นที่ 7,086 ตารางกิโลเมตร - GDP: 183.04 พันล้านหยวน (22.88 พันล้านเหรีญสหรัฐ) ใน พ.ศ. 2548 ฮาร์บินมีสมญานามว่า 'ไข่มุกบนคอหงส์' เนื่องจากสัญฐานของมณฑลเหยหลงเจียงมีลักษณะคล้ายหงส์ ส่วนสมญานามอื่นๆ คือ 'มอสโกแห่งตะวันออก' หรือ 'ปารีสแห่งตะวันออก' เนื่องจากลักษณะสถาปัตยกรรมของอาคารบ้านเรือนในเมืองคล้ายกับในมอสโกหรือปารีส และฮาร์บินยังเป็นที่รู้จักในชื่อ 'เมืองแห่งน้ำแข็ง' เพราะมีฤดูหนาวที่ยาวนานและหนาวเย็นมากเขตการปกครองย่อย เขตการปกครองย่อย. 8 เขต:- เขตเต้าหลี่ () - เขตหนานกั่ง () - เขตเซียงฟัง () - เขตเต้าว่าย () - เขตซงเป่ย () - เขตฮูหลาน() - เขตอาเฉิง () - เขตต้งหลี้ () 3 เมืองระดับเทศมณฑล:- เมืองซั่งจื้อ () - เมืองชวงเฉิง () - เมืองอู่ฉาง () 7 เทศมณฑล:- ฟางเจิ้ง () - ปิน () - อยีหลาน () - ปาย่าน () - ทงเหอ () - มู่หลาน () - หยานโช่ว ()ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์. ประวัติการตั้งถิ่นฐานในบริเวณเมืองฮาร์บินสามารถย้อนหลังไปได้อย่างน้อยถึง 2,200 ปีก่อนคริสตกาล (ปลายยุคหิน) ในขณะนั้นบริเวณนี้มีชื่อเรียกว่า Pinkiang ในปี พ.ศ. 2441 หมู่บ้านเล็กๆถูกพัฒนาและขยายเป็นเมืองสมัยใหม่ พร้อมกับการเริ่มต้นการสร้างทางรถไฟจีนสายตะวันออก (KWZhD) โดยรัสเซีย และการขยายเส้นทางรถไฟสายทรานส์-ไซบีเรีย ซึ่งช่วยย่นระยะทางไปสู่วลาดีวอสตอคและเชื่อมโตเส้นทางไปสู่เมืองท่า Dairen (Dalnii) และฐานทัพเรือรัสเซีย Port Arthur หลังจากที่รัสเซียพ่ายแพ้ในสงครามกับญี่ปุ่น (2447-2448) อิทธิพลและอำนาจของรัสเซียก็เสื่อมถอยลง ทำให้มีผู้คนหลายพันเชื้อชาติจาก 33 ประเทศ ซึ่งมีสหรัฐอเมริกา เยอรมนี และฝรั่งเศสรวมอยู่ด้วย เดินทางเข้ามายังฮาร์บิน มี 16 ประเทศก่อตั้งสถานกงสุล และสร้างบริษัททางด้านอุตสาหกรรม การพาณิชย์ และการเงินหลายร้อยแห่งขึ้นในฮาร์บิน ทางจีนเองก็ได้ริเริ่มธุรกิจในอุตสาหกรรมด้านการผลิตเหล้า อาหาร และสิ่งทอ การเจริญเติบโตเช่นนี้ทำให้ฮาร์บินมีสถานะเป็นศูนย์กลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน และเป็นเมืองธุรกิจระดับนานาชาติ ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2461 ระหว่างสงครามกลางเมืองรัสเซีย กองกำลัง White Guards ของรัสเซียซึ่งเป็นฝ่ายแพ้ ได้รวมตัวกับผู้ลี้ภัย หลบหนีมายังฮาร์บิน ทำให้ฮาร์บินเป็นศูนย์กลางของผู้ลี้ภัยรัสเซียฝ่ายขาว และกลายเป็นชุมชนชาวรัสเซียที่ใหญ่ที่สุดที่อยู่นอกอาณาเขตรัสเซีย ต่อมาชาวรัสเซียเชื้อสายยิวได้ก่อตั้งชุมชนชาวยิวขึ้นในฮาร์บิน และรับเอาชาวเยอรมันเชื้อสายยิวที่หลบหนีจากนาซีเยอรมันมารวมตัวด้วยเมื่อช่วงปี พ.ศ. 2478-2482 นอกจากนี้ ชาวรัสเซียในฮาร์บินยังได้วางระบบโรงเรียนตามแบบรัสเซียขึ้น และมีการตีพิมพ์หนังสือพิมพ์และนิตยสารภาษารัสเซียวางจำหน่ายอยู่ทั่วไปในเมือง ในปี พ.ศ. 2478 หลังจากที่ทางรถไฟสาย KWZhD ถูกขายให้แก่ญี่ปุ่น ฮาร์บินได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของรัฐ แมนจูกัว ในอาณัติของญี่ปุ่น ต่อมาหลังปี พ.ศ. 2489 ฮาร์บินตกอยู่ภายใต้การควบคุมของสหภาพโซเวียต ซึ่งมีอำนาจเหนือภูมิภาคแถบนั้น ในช่วงปี พ.ศ. 2493-2497 กลุ่มชาวยุโรปที่อาศัยอยู่ในเมือง ซึ่งมีทั้งชาวรัสเซีย เยอรมัน โปแลนด์ กรีก และอื่นๆ ได้อพยพออกจากเมืองไปยังออสเตรเลีย บราซิล และสหรัฐอเมริกา บางส่วนก็ถูกส่งตัวกลับประเทศเดิม ขณะที่ชาวรัสเซียอีกหลายพันคนที่หลบหนีจากกองกำลังคอมมิวนิสต์ก่อนเกิดสงครามได้ถูกสังหารโดยทหารโซเวียต และมีอีกจำนวนมากที่ถูกส่งตัวไปยังสหภาพโซเวียต จนถึงปี พ.ศ. 2531 ชุมชนชาวรัสเซียเดิมมีผู้อาศัยอยู่เพียง 30 คน ซึ่งล้วนแต่เป็นผู้สูงอายุทั้งสิ้นเหตุการณ์สารพิษรั่วไหลที่โรงงานผลิตเบนซีน เหตุการณ์สารพิษรั่วไหลที่โรงงานผลิตเบนซีน. เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 โรงงานผลิตเบนซีนที่ตั้งอยู่ในเมืองจีหลิน ทางด้านต้นน้ำแม่น้ำซงหัว ได้เกิดระเบิดขึ้น ระดับของเบนซีนได้เพิ่มสูงขึ้นเป็น 100 เท่าของระดับปกติ ทำให้ทางหน่วยงานที่รับผิดชอบในฮาร์บินต้องปิดเส้นทางน้ำ ผู้อยู่อาศัยในเมืองบางส่วนได้อพยพออกจากเมือง ขณะที่อีกบางส่วนต้องรีบเร่งไปซื้อน้ำบรรจุขวดเก็บไว้สำหรับดื่ม ต่อมาอีก 2-3 วัน น้ำในแม่น้ำได้รับการชำระสารเคมีเรียบร้อย โดยระหว่างนั้นทางผู้บริหารเมืองฮาร์บินได้ให้เหตุผลในการปิดเส้นทางน้ำว่าเพื่อตรวจสอบระบบการกักเก็บและจ่ายน้ำ และยังได้ปฏิเสธรายงานการรั่วไหลของสารเคมี โดยอ้างว่าเป็นเพียงข่าวลือเท่านั้นลักษณะทางสถาปัตยกรรม ลักษณะทางสถาปัตยกรรม. ฮาร์บินเป็นหนึ่งในเมืองที่สวยงามที่สุดของจีน โดยเฉพาะในด้านสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลมาจากรัสเซียและยุโรป แต่มีลักษณะเด่นเฉพาะตัว ถนนจงหยางเป็นถนนย่านธุรกิจสายหนึ่งในฮาร์บิน มีความยาว 1.4 กิโลเมตร ทอดตัวอยู่ในเขตเต้าหลี่ เป็นเสมือนพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงสถาปัตยกรรมแบบยุโรป ทั้งลวดลายการตกแต่งอาคารแบบบารอคและไบแซนไทน์ อาคารสถาปัตยกรรมแบบยิว ร้านค้าเล็กๆแบบรัสเซีย บ้านเรือนแบบฝรั่งเศส ศูนย์อาหารแบบอเมริกัน และภัตตาคารญี่ปุ่น ในเขตเต้าหลี่นี้ยังเป็นที่ตั้งของวิหารเซนต์โซเฟีย ซึ่งเป็นโบสถ์คริสต์นิกายรัสเซียออร์ธอดอกซ์อีกด้วย วิหารเซนต์โซเฟียใช้เวลาสร้างอยู่ 9 ปี แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2475 ปัจจุบันได้ถูกปรับเปลี่ยนให้เป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อจัดแสดงสถาปัตยกรรมอันหลากหลายของฮาร์บินอิทธิพลของรัสเซีย อิทธิพลของรัสเซีย. ทุกวันนี้ฮาร์บินยังคงมีกลิ่นอายของวัฒนธรรมรัสเซียเหมือนเมื่อครั้งอดีต ในอดีตเคยเป็นเมืองภายใต้การควบคุมของรัสเซีย ปัจจุบันเป็นศูนย์กลางการติดต่อค้าขายกับรัสเซีย อิทธิพลจากวัฒนธรรมของรัสเซียเริ่มเผยแพร่เข้ามาเมื่อครั้งสร้างทางรถไฟสายจีนตะวันออกไกล และการขยายเส้นทางรถไฟสายทรานส์-ไซบีเรียน ในครั้งนั้นฮาร์บินซึ่งเคยเป็นเพียงหมู่บ้านชาวประมง ได้เริ่มพัฒนาขึ้นจนเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการค้าที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือกิจกรรมในฤดูหนาว กิจกรรมในฤดูหนาว. ฮาร์บินเป็นเมืองหนึ่งที่มีวัฒนธรรมเกี่ยวกับหิมะและน้ำแข็ง โดยทางภูมิศาสตร์แล้ว ฮาร์บินตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ในจุดที่ได้รับอิทธิพลจากลมหนาวในฤดูหนาวจากไซบีเรียโดยตรง ในฤดูร้อนจะมีอุณหภูมิเฉลี่ย 21.2 °C และในฤดูหนาวจะอยู่ที่ -16.8 °C บางครั้งอาจลดลงถึง -38.1 °C เทศกาลงานแกะสลักหิมะและน้ำแข็งนานาชาติแห่งเมืองฮาร์บิน จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2528 โดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม มีระยะเวลา 1 เดือน กิจกรรมในช่วงเวลาเทศกาลมีทั้งการแข่งขันสกี Yabuli Alpine การแข่งขันว่ายน้ำในแม่น้ำซงหัว และนิทรรศการโคมน้ำแข็งในสวนเจ้าหลิน
| เมืองใดของมณฑลเฮย์หลงเจียงในประเทศจีนที่มีสมญานามว่า ไข่มุกบนคอหงส์ | {
"answer": [
"ฮาร์บิน"
],
"answer_begin_position": [
88
],
"answer_end_position": [
95
]
} |
3,852 | 481,580 | อะลาอุดดีน อะบูลกอซิม อะลาอุดดีน มุฮัมมัด อัลซัยยิด อะบูลกอซิม (; ; 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1990 — ) เป็นนักฟันดาบสากลชาวอียิปต์ที่ได้รับรางวัลเหรียญเงินในรายการฟอยล์บุคคลชายในโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 เขาเริ่มเล่นฟันดาบตั้งแต่อายุแปดปี และใน ค.ศ. 2008 ก็เริ่มการแข่งขันฟันดาบในระดับสากล โดยได้รับเหรียญรางวัลจากจูเนียร์แชมเปี้ยนชิปทั้งในระดับทวีปแอฟริกาและระดับโลก ตลอดจนจูเนียร์เวิลด์คัป ก่อนที่จะเข้าแข่งขันในระดับอาชีพใน ค.ศ. 2011 และได้รับรางวัลเหรียญเงินที่เฟลอแรเดอเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ในช่วงปลายปีหลังจากนั้น เขาได้รับเหรียญทองจากการแข่งขันแพนอาหรับเกมส์ 2011 ในประเภทฟอยล์บุคคลและทีม ก่อนที่จะก้าวสู่การแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 ที่ซึ่งเขาเป็นผู้ได้รับเหรียญรางวัลฟันดาบสากลโอลิมปิกเป็นคนแรกของทวีปแอฟริกาชีวิตในวัยเด็ก ชีวิตในวัยเด็ก. อะบูลกอซิมเกิดเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1990 ในเซติฟ ประเทศแอลจีเรีย โดยพ่อของเขาเป็นชาวอียิปต์ และแม่ของเขาเป็นชาวแอลจีเรีย โดยได้ย้ายไปยังประเทศอียิปต์เมื่อเขาอายุได้สี่ปี และเติบโตขึ้นมาในอะเล็กซานเดรีย ซึ่งในช่วงแรกเขาได้มีส่วนร่วมในกีฬาว่ายน้ำและคาราเต้ ก่อนที่เขาจะเริ่มฝึกฟันดาบสากลขณะมีอายุได้แปดปีที่สโมสรอัสเซลาฮ์อัสซะกันดะรี หลังจากที่ประสบความสำเร็จในกีฬาเมื่อครั้งยังเป็นวัยรุ่น เขาก็ได้ถูกบังคับให้เข้าสถาบันอาหรับเพื่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและการขนส่งทางทะเล ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มากเกินความต้องการของเขาในการไล่ตามเทคโนโลยีรวมถึงฟันดาบสากล จากนั้นไม่นานเขาก็ได้พบกับมุฮัมมัด อัลซัยยิด ซึ่งเป็นอดีตผู้ฝึกสอนของเขาอีกครั้ง และเป็นผู้เสนอให้เขาเข้าร่วมทีมชาติในสายอาชีพ ในสายอาชีพ. ผลงานในสายอาชีพระดับนานาชาติของอะบูลกอซิม เริ่มใน ค.ศ. 2008 เมื่อเขาได้รับรางวัลเหรียญทองในฟันดาบสากลประเภทฟอยล์ ในรายการแอฟริกันจูเนียร์แชมเปี้ยนชิป และหรียญทองแดงจากรายการเวิลด์จูเนียร์เฟนซิงแชมเปี้ยนชิปในประเทศอิตาลี นอกจากนี้ เขายังเป็นหนึ่งในผู้ชนะอันดับสามในรายการจูเนียร์เฟนซิงเวิลด์คัป ในการแข่งขันจูเนียร์เฟนซิงเวิลด์คัป 2009 เขาได้รับชัยชนะในอันดับสาม และตามมาด้วยเหรียญทองในหนึ่งปีถัดมาจากรายการเวิลด์จูเนียร์เฟนซิงแชมเปี้ยนชิป 2010 เขาได้รับเหรียญรางวัลเวิลด์คัประดับอาวุโสเป็นครั้งแรกโดยเป็นเหรียญทองแดงจากรายการเฟลอแรเดอเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก 2011 และได้รับรางวัลเหรียญทองจากรายการแพนอาหรับเกมส์ 2011 ในประเภทฟอยล์ทั้งบุคคลและทีม อะบูลกอซิมได้รับเลือกเข้าแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 และเข้าสู่การแข่งขันฟอยล์บุคคลชายรอบ 32 คนสุดท้าย โดยเขาเป็นฝ่ายชนะชาวอเมริกันอย่างไมลส์ เชมลีย์-วัตสัน ด้วยคะแนน 15-10 และเขาสามารถชนะเพเทอร์ ยอพพิช จากประเทศเยอรมนี กับอันเดรอา กัสซาระ จากประเทศอิตาลี ในรอบ 16 คนสุดท้ายและรอบควอเตอร์ไฟนอลตามลำดับ ก่อนที่จะเป็นฝ่ายชนะชเว บย็อง-ช็อล จากประเทศเกาหลีใต้ด้วยคะแนน 15-12 ในรอบเซมิไฟนอล อะบูลกอซิม แพ้ในรอบชิงเหรียญทองโดยเป็นฝ่ายแพ้ต่อเหลย เซิง จากประเทศจีนด้วยคะแนน 13-15 แต่เหรียญเงินที่เขาได้รับนั้นถือได้ว่าเป็นเหรียญโอลิมปิกฟันดาบสากลเหรียญแรกสำหรับผู้เข้าแข่งขันฟันดาบจากทวีปแอฟริกา นอกจากนี้ เขายังร่วมการแข่งขันในประเภทฟอยล์ทีมชาย ที่ซึ่งทีมอียิปต์เป็นฝ่ายแพ้ต่อทีมชาติอังกฤษด้วยคะแนน 45-33 ในรอบแรก ช่วง ค.ศ. 2012 อะบูลกอซิมได้รับการฝึกฝนโดยผู้ฝึกสอนพอล แคนทอร์สกี จากประเทศโปแลนด์
| ผู้ใดได้รับเหรียญรางวัลฟันดาบสากลโอลิมปิกเป็นคนแรกของทวีปแอฟริกา | {
"answer": [
"อะลาอุดดีน อะบูลกอซิม"
],
"answer_begin_position": [
96
],
"answer_end_position": [
117
]
} |
3,853 | 202,904 | อัลลอหุ อักบัร (เพลงชาติ) อัลลอหุ อักบัร (ภาษาอาหรับ: الله أكبر), Allahu Akbar; แปลว่า อัลลอหฺ (พระเจ้า) ทรงยิ่งใหญ่ที่สุด) เป็นชื่อเพลงชาติของประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับลิเบีย เพลงนี้เดิมเป็นเพลงปลุกใจเพลงหนึ่งของอียิปต์ ซึ่งเป็นที่นิยมทั่วไปในประเทศอียิปต์และซีเรียในช่วงสงครามคลองสุเอซ พ.ศ. 2499 ประพันธ์ทำนองโดย อับดุลลา ชามส์ เอล-ดิน (Abdalla Shams El-Din) เนื้อร้องโดย มาห์มุด เอล-เชอริฟ (Mahmoud El-Sherif) ประธานาธิบดีมูอัมมาร์ อัล-กัดดาฟี แห่งลิเบีย ได้ประกาศให้เพลงนี้เป็นเพลงชาติอย่างเป็นทางการของลิเบียเมื่อ 1 กันยายน พ.ศ. 2512 เพื่อแสดงจุดยืนที่มุ่งหวังจะเห็นโลกอาหรับมีความเป็นเอกภาพ เมื่อลิเบียตัดความสัมพันธ์กับอียิปต์ในปี พ.ศ. 2522 เพลง "อัลลอหุ อักบัร" ก็ยังคงใช้ในฐานะเพลงชาติลิเบียอยู่เช่นเดิม แต่ไม่มีการกล่าวถึงที่มาของเพลงซึ่งมาจากอียิปต์โดยรัฐบาลลิเบียอีกต่อไปเนื้อร้อง
| เพลงชาติของประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับลิเบียมีชื่อว่าอะไร | {
"answer": [
"อัลลอหุ อักบัร"
],
"answer_begin_position": [
126
],
"answer_end_position": [
140
]
} |
3,854 | 10,490 | ประเทศโปรตุเกส โปรตุเกส ( ปุรตุกาล) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐโปรตุเกส () เป็นสาธารณรัฐซึ่งมีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ตั้งอยู่ในภาคตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้ของคาบสมุทรไอบีเรียทางตอนใต้ของทวีปยุโรป และถือว่าเป็นประเทศที่อยู่ทางทิศตะวันตกมากที่สุดในบรรดาประเทศในทวีปยุโรปทั้งหลาย (ยกเว้นหมู่เกาะบริเตนใหญ่และหมู่เกาะใกล้เคียง) โปรตุเกสมีพรมแดนติดกับประเทศสเปนในทางทิศเหนือและทิศตะวันออก และอยู่ติดกับมหาสมุทรแอตแลนติกในทางทิศตะวันตกและทิศใต้ นอกจากนี้ โปรตุเกสยังประกอบไปด้วยอาณาเขตหมู่เกาะอยู่หลายหมู่เกาะด้วยกันในมหาสมุทรแอตแลนติก อาทิเช่น อะโซร์ส (Azores หรือ Açores) และเกาะมาเดราและโปร์ตูซันตู (รวมถึงหมู่เกาะซาเวจด้วย)ภูมิศาสตร์ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์. โปรตุเกสคือดินแดนที่เป็นต้นกำเนิดของอารยธรรมแตกต่างกันไปอย่างต่อเนื่องในช่วง 3,500 ปีที่ผ่านมา ทั้งอารยธรรมของชาวไอบีเรีย (Iberians) ชาวเคลต์ (Celts) ชาวฟีนีเชีย (Phoenicians) และชาวคาร์เทจ (Carthaginians) ชาวกรีก (Greeks) ชาวโรมัน (Romans) ชาวเผ่าเยอรมัน (Germanic tribespeople) รวมถึงอารยธรรมของชาวอาหรับ (Arabians) ล้วนเคยเหยียบย่ำบนแผ่นดินโปรตุเกสมาแล้วทั้งสิ้น ในชื่อ "โปรตุเกส" นั้นก็บ่งบอกถึงประวัติศาสตร์สมัยโบราณส่วนใหญ่ของประเทศนี้ไปแล้ว เนื่องจากรากศัพท์ของคำว่าโปรตุเกสนั้น คือชื่อที่ชาวโรมันตั้งให้ชื่อว่า "Portus Cale" อาจเป็นไปได้ว่าคำนี้จะมาจากการสมาสคำระหว่างภาษากรีกและภาษาละตินซึ่งมีความหมายว่า "ท่าเรือที่สวยงาม" ในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 15 และ คริสต์ศตวรรษที่ 16 นั้นโปรตุเกสคือประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม โดยจักรวรรดิโปรตุเกสนั้นแผ่ขยายอำนาจของตนไปทั่วโลก เมื่อหลังจากที่ประเทศมหาอำนาจอื่น ๆ พัฒนาขึ้นในด้านการล่าอาณานิคมแล้ว โปรตุเกสจึงเสื่อมถอยลงไป ประเทศโปรตุเกสในปัจจุบันนี้มีรากฐานมาจากการปฏิวัติเรียกร้องประชาธิปไตย ที่ทำการล้มล้างระบอบการปกครองแบบเผด็จการ (หรือการบริหารแบบพรรคเดียว) ซึ่งถูกก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2469 (ค.ศ. 1926) จนถูกโค่นล้มในปี พ.ศ. 2517 (ค.ศ. 1974) จากนั้นในภายหลังจึงเข้ามาเป็นสมาชิกของประชาคมเศรษฐกิจยุโรป หรือ European Economic Community (สหภาพยุโรปในปัจจุบัน) ในปี พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) ประเทศโปรตุเกสพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของตนขึ้นมาอย่างรวดเร็วในช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมาในคริสต์ศตวรรษที่ 20ยุคลูซิทาเนีย ยุคลูซิทาเนีย. ในช่วงต้น ๆ หนึ่งสหัสวรรษก่อนคริสตกาล ชาวเซลต์ได้ทำการรุกรานโปรตุเกสจากภูมิภาคยุโรปตอนกลางอยู่หลายระลอกด้วยกัน รวมถึงแต่งงานข้ามเผ่ากับชาวไอบีเรียซึ่งเป็นประชากรท้องถิ่น ก่อให้เกิดชาวเซลต์ลูกครึ่งไอบีเรียออกมา นักสำรวจชาวกรีกในยุคนั้นตั้งชื่อภูมิภาคนี้ว่า "ออร์ฟิอุสซา" (Orphiussa) (มาจากภาษากรีก หมายความว่า "แดนแห่งพญางู" เนื่องจากชาวพื้นเมืองที่นั่นนับถืองูพิษ ต่อมาพ.ศ. 305 (ก่อนคริสตกาล 238 ปี) ชาวคาร์เทจเข้ามาตั้งถิ่นฐานตามแนวชายฝั่งบนคาบสมุทรไอบีเรีย ในช่วงนี้มีเผ่าย่อยๆ หลายเผ่าอาศัยอยู่กระจัดกระจายกันไป ส่วนใหญ่มักจะเป็นชาวลูซิทาเนีย (Lusitanians) ที่อาศัยอยู่ระหว่างแม่น้ำดูโร (Douro) และแม่น้ำเทโฮ (Tegus หรือ Tejo) และชาวแคลเลไค (Callaeci) ที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของแม่น้ำดูโรรวมอยู่กับเผ่าอื่น ๆ รวมถึงชาวโคนิไอ (Conii) ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ทางตอนใต้ของโปรตุเกสมาเป็นเวลานาน และชาวเซลติไค (Celtici) ชนรุ่นหลังของชาวเซลต์ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐาน พวกเขาอาศัยอยู่ที่อเลนเทโฮ (Alentejo) ก่อนคริสตกาล 219 ปี ทหารชาวโรมันชุดแรกเข้ามาทำการรุกรานคาบสมุทรไอบีเรีย และขับไล่ชาวคาร์เทจออกไประหว่างสงครามพิวนิค (Punic Wars) การพิชิตโปรตุเกสของชาวโรมันเริ่มต้นขึ้นทางตอนใต้ขึ้นมา, ในตอนใต้นี้เอง ที่ทำให้พวกเขาพบกับชาวพื้นเมืองที่เป็นมิตรเผ่าแรกคือเผ่าโคนิไอ หลายทศวรรษต่อมา ชาวโรมันก็ค่อยๆ ขยายวงแหวนแห่งการปกครองออกไป แต่ในที่สุด เมื่อ พ.ศ. 349 (194 ปีก่อนคริสตกาล) เกิดการกบฏขึ้นทางตอนเหนือ โดยชาวลูซิเทเนียที่ในที่สุดก็สามารถตรึงกำลังพวกโรมันเอาไว้ได้ ได้ทำการยึดอาณาเขตคืนมาจากชาวโรมัน และปล้นสดมภ์เมืองโคนิสทอร์จิส (Conistorgis) ซึ่งเป็นเมืองหลวงของเผ่าโคนิไอ ด้วยเหตุผลที่ว่าชาวโคนิไอนี้ผูกมิตรชิดเชื้อกับโรม ผู้นำของชาวลูซิเทเนีย วิเรียธิอุส (Viriathus) เป็นผู้นำการขับไล่ทหารโรมันออกจากคาบสมุทรไอบีเรีย ทำให้โรมต้องส่งกองทหารโรมันมาเป็นจำนวนมาก แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ ต่อมาทางโรมจึงทำการประนีประนอมโดยการเปลี่ยนสัญชาติชาวลูซิเทเนียให้เป็นชาวโรมัน ด้วยการมอบสิทธิ์ละติน (Latinius หรือ Latin Right) ให้กับชาวลูซิเทเนียในปี พ.ศ. 616 (ค.ศ. 73)ยุคอาณาจักร ยุคอาณาจักร. ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5 ชาวเผ่าอนารยชนเยอรมัน (ส่วนใหญ่คือเผ่าซูวี (Suevi) และชาววิสิกอธ) ได้ทำการรุกรานคาบสมุทรไอบีเรีย, ก่อตั้งอาณาจักรของตนเองขึ้น และกลายเป็นชาวพื้นเมืองไอบีเรียในที่สุด มีชาวเผ่ากลุ่มน้อยเช่นชาวแวนดัล (Vandals) เผ่าซิลิงไก (Silingi) และเผ่าฮาสดิงไก (Hasdingi) รวมถึงชาวซาร์มาเทีย (หรือ ชาวอลัน - Alans) อาศัยอยู่ด้วย แต่ต่อมาพวกเขาโดนเนรเทศหรือจำกัดถิ่นที่อยู่โดยชาววิสิกอธ (Visigoths) การรุกรานของชาวมุสลิมเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 1254 (ค.ศ. 711) บรรดาขุนนางที่ถูกขับไล่ออกมาอพยพไปยังทางตอนเหนือที่ยังไม่ได้ทำการยึดครอง ณ ที่ราบสูงแอสทูเรีย (Asturia) จากจุดนั้นพวกเขามีจุดมุ่งหมายในการยึดดินแดนคืนมาจากชาวมัวร์ (Moors) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเบอร์เบอร์ และชาวอาหรับจำนวนหนึ่ง ซึ่งใช้เวลาไม่นานนักในการยึดคืนมาเนื่องมาจากการยึดดินแดนคืนครั้งใหญ่ของชาวคริสต์หรือ Reconquista ในปี พ.ศ. 1411 (ค.ศ. 868) เคานต์วีมารา เปเรช (Count Vímara Peres) เป็นผู้ยึดดินแดนระหว่างแม่น้ำมีโนและดูโรคืนมาได้ ดินแดนดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันได้นามว่า Portucale (ซึ่งก็คือโปรตุเกสในปัจจุบัน)ยุคเสรีนิยมยุคสาธารณรัฐการเมืองการปกครองบริหารนิติบัญญัติตุลาการการแบ่งเขตการปกครอง การแบ่งเขตการปกครอง. สาธารณรัฐโปรตุเกสแบ่งออกเป็น 18 เขต () กับ 2 เขตปกครองตนเอง () ได้แก่นโยบายการต่างประเทศความสัมพันธ์กับสหภาพยุโรปความสัมพันธ์กับประเทศไทยนโยบายการต่างประเทศ. ความสัมพันธ์กับประเทศไทย. - การทูต โปรตุเกสมีความสัมพันธ์กับประเทศไทยเป็นเวลายาวนานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ชาวโปรตุเกสกลุ่มแรกเดินทางถึงประเทศไทยเมื่อ ค.ศ.1511 (พ.ศ. 2054) ซึ่งทำให้เกิดความสัมพันธ์ทางการค้า สังคม การเมืองและการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม สรุปแล้วโปรตุเกสเป็นชาติตะวันตกชาติแรกที่เริ่มเข้ามาติดต่อกับไทย มีการแลกเปลื่ยนการเยือนของบุคคลสำคัญระหว่างกันโดยตลอด- เศรษฐกิจ การค้าระหว่างไทย-โปรตุเกส (2012) มีมูลค่าการค้ารวม 182.7 ล้านดอลล่าร์ฯ ไทยส่งออกมูลค่า 113.73 ล้านดอลล่าร์ฯ และไทยนำเข้า 68.98 ล้านดอลล่าร์ฯ ทำให้ไทยได้เปรียบดุลการค้า 44.75 ล้านดอลล่าร์ฯ สินค้าสำคัญที่ไทยส่งออก ได้แก่ 1.ผลิตภัณฑ์และเม็ดพลาสติก 2.ผลิตภัณฑ์ยาง 3.รองเท้าและชิ้นส่วน 4.รถยนต์และส่วนประกอบ 5.เครื่องรับวิทยุและส่วนประกอบ สินค้าสำคัญที่ไทยนำเข้าจากโปรตุเกส 1.อุปกรณ์ และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ 2.ชิ้นส่วน และอะไหล่รถยนต์ 3.เครื่องนุ่งห่ม 4.เครื่องจักร และส่วนประกอบ 5.กระดาษ และภลิตภัณฑ์กระดาษ- ความร่วมมือทางวิชาการ - การเยือน- ฝ่ายไทย - ฝ่ายโปรตุเกสกองทัพกองกำลังกึ่งทหารเศรษฐกิจโครงสร้างการท่องเที่ยว เศรษฐกิจ. การท่องเที่ยว. โปรตุเกสเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจของชาวยุโรปเหนือ เนื่องจากโปรตุเกสเป็นประเมศที่สวยงาม มีอากาศอบอุ่น ฤดูหนาวไม่หนาว และ ทางภาคใต้ของโปรตุเกสมีอากาศอบอุ่นตลอดปี รวมถึงความสะดวกสบายในการเดินทางทั้ง เครื่องบิน รถยนต์ และ รถไฟ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวจากยุโรป ได้แก่ สเปน อังกฤษ เยอรมนี ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ อิตาลี และ ไอร์แลนด์ ส่วนนักท่องเที่ยวจากนอกทวีปยุโรป ได้แก่ บราซิล สหรัฐอเมริกาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม และ โทรคมนาคมโครงสร้างพื้นฐาน. คมนาคม และ โทรคมนาคม. - เส้นทางคมนาคม - โทรคมนาคมวิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยีการศึกษาสาธารณสุขประชากรศาสตร์ ประชากรศาสตร์. โปรตุเกสมีประชากรประมาณ 10,927,250 คน ในวันที่ 1 มีนาคม 2013 ในจำนวนนี้ 3.13 % เป็นผู้ย้ายถิ่นเข้าประเทศอย่างถูกกฎหมาย ซึ่งส่วนใหญ่มาจาก คาบู แวร์ดึ บราซิล ยูเครน และ อังโกลา โดยส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกมีคนนับถือประมาณ 94 % และยังมีนิกายโปรเตสแตนต์และอื่นๆ รวม 6 % โดยทุกศาสนาอยู่ด้วยกันอย่างสันติเชื้อชาติการย้ายถิ่นเข้าประเทศ การย้ายถิ่นเข้าประเทศ. ในสมัยจักรวรรดิ โปรตุเกสเคยมีอาณานิคมมากมายในทวีปต่าง ๆ จึงทำให้คนจากอาณานิคมเก่า ย้ายถิ่นเข้ามาอยู่ภายในประเทศศาสนา ศาสนา. ศาสนา คริสต์ นิกายโรมันคาธอลิก (ร้อยละ 84.5) โปรแตสแตนท์ (ร้อยละ 2.2) ไม่มีศาสนา (ร้อยละ 3.9) และศาสนาอื่นๆ (ร้อยละ 9.4)ภาษา ภาษา. ภาษาทางการของประเทศโปรตุเกสคือภาษาโปรตุเกส เป็นภาษาที่จัดอยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ ซึ่งในกลุ่มภาษานี้มีภาษาสเปน ฝรั่งเศส และ อิตาลี ด้วย มีผู้พูดภายในประเทศประมาณ 10,000,000 คน (ปี ค.ศ. 2012) และประมาณ 203,349,200 คนทั่วโลกกีฬาฟุตบอล กีฬา. ฟุตบอล. กีฬาฟุตบอลถือว่าเป็นกีฬาที่นิยมที่สุดในโปรตุเกส ทีมที่มีชื่อเสียง เช่น สปอร์ลิชบัวอีไบฟีกา, สโมสรฟุตบอลโปร์ตู และ นักฟุตบอลโปรตุเกสระดับนานาชาติ เช่น ลูอิช ฟีกู คริสเตียโน โรนัลโด ในปี ค.ศ. 2004 โปรตุเกสเคยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดฟุตบอลยูโรเปียนคัพ นอกจากนี้โปรตุเกสยังมีชื่อเสียงเรื่องรักบี้อีกด้วยวัฒนธรรม วัฒนธรรม. โปรตุเกสได้รับอิทธิพลจากหลากหลายอารยธรรมที่เข้ามาปกครองดินแดนโปรตุเกสทำให้เกิดเอกลักษณ์เฉพาะตัวขึ้นสถาปัตยกรรมศิลปะอาหาร อาหาร. อาหารโปรตุเกสมีหลากหลายชนิดและจากเนื้อสัตว์เกือบทุกประเภท นิยมรับประทานซุป และจานหลักที่มีข้าวและมันฝรั่งเป็นส่วนประกอบ นอกจากนี้ยังนำปลาค๊อดตากแห้งมาประกอบอาหารหลากหลายเมนู ทั้งนี้ขนมหวานโปรตุเกสยังมื่อเสียงด้วย โดยเฉพาะ ทาร์ตไข่ และขนมที่ทำจากไข่แดงและน้ำตาล ซึ่งนิยมรับประทานร่วมกับกาแฟ และชาวโปรตุเกสยังดื่มกาแฟมากถึง 5 - 8 แก้วเล็กต่อวันดนตรีสื่อสารมวลชนวันหยุด
| ประเทศใดที่อยู่ทางทิศตะวันตกมากที่สุดในทวีปยุโรป | {
"answer": [
"โปรตุเกส"
],
"answer_begin_position": [
102
],
"answer_end_position": [
110
]
} |
3,855 | 10,490 | ประเทศโปรตุเกส โปรตุเกส ( ปุรตุกาล) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐโปรตุเกส () เป็นสาธารณรัฐซึ่งมีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ตั้งอยู่ในภาคตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้ของคาบสมุทรไอบีเรียทางตอนใต้ของทวีปยุโรป และถือว่าเป็นประเทศที่อยู่ทางทิศตะวันตกมากที่สุดในบรรดาประเทศในทวีปยุโรปทั้งหลาย (ยกเว้นหมู่เกาะบริเตนใหญ่และหมู่เกาะใกล้เคียง) โปรตุเกสมีพรมแดนติดกับประเทศสเปนในทางทิศเหนือและทิศตะวันออก และอยู่ติดกับมหาสมุทรแอตแลนติกในทางทิศตะวันตกและทิศใต้ นอกจากนี้ โปรตุเกสยังประกอบไปด้วยอาณาเขตหมู่เกาะอยู่หลายหมู่เกาะด้วยกันในมหาสมุทรแอตแลนติก อาทิเช่น อะโซร์ส (Azores หรือ Açores) และเกาะมาเดราและโปร์ตูซันตู (รวมถึงหมู่เกาะซาเวจด้วย)ภูมิศาสตร์ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์. โปรตุเกสคือดินแดนที่เป็นต้นกำเนิดของอารยธรรมแตกต่างกันไปอย่างต่อเนื่องในช่วง 3,500 ปีที่ผ่านมา ทั้งอารยธรรมของชาวไอบีเรีย (Iberians) ชาวเคลต์ (Celts) ชาวฟีนีเชีย (Phoenicians) และชาวคาร์เทจ (Carthaginians) ชาวกรีก (Greeks) ชาวโรมัน (Romans) ชาวเผ่าเยอรมัน (Germanic tribespeople) รวมถึงอารยธรรมของชาวอาหรับ (Arabians) ล้วนเคยเหยียบย่ำบนแผ่นดินโปรตุเกสมาแล้วทั้งสิ้น ในชื่อ "โปรตุเกส" นั้นก็บ่งบอกถึงประวัติศาสตร์สมัยโบราณส่วนใหญ่ของประเทศนี้ไปแล้ว เนื่องจากรากศัพท์ของคำว่าโปรตุเกสนั้น คือชื่อที่ชาวโรมันตั้งให้ชื่อว่า "Portus Cale" อาจเป็นไปได้ว่าคำนี้จะมาจากการสมาสคำระหว่างภาษากรีกและภาษาละตินซึ่งมีความหมายว่า "ท่าเรือที่สวยงาม" ในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 15 และ คริสต์ศตวรรษที่ 16 นั้นโปรตุเกสคือประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม โดยจักรวรรดิโปรตุเกสนั้นแผ่ขยายอำนาจของตนไปทั่วโลก เมื่อหลังจากที่ประเทศมหาอำนาจอื่น ๆ พัฒนาขึ้นในด้านการล่าอาณานิคมแล้ว โปรตุเกสจึงเสื่อมถอยลงไป ประเทศโปรตุเกสในปัจจุบันนี้มีรากฐานมาจากการปฏิวัติเรียกร้องประชาธิปไตย ที่ทำการล้มล้างระบอบการปกครองแบบเผด็จการ (หรือการบริหารแบบพรรคเดียว) ซึ่งถูกก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2469 (ค.ศ. 1926) จนถูกโค่นล้มในปี พ.ศ. 2517 (ค.ศ. 1974) จากนั้นในภายหลังจึงเข้ามาเป็นสมาชิกของประชาคมเศรษฐกิจยุโรป หรือ European Economic Community (สหภาพยุโรปในปัจจุบัน) ในปี พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) ประเทศโปรตุเกสพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของตนขึ้นมาอย่างรวดเร็วในช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมาในคริสต์ศตวรรษที่ 20ยุคลูซิทาเนีย ยุคลูซิทาเนีย. ในช่วงต้น ๆ หนึ่งสหัสวรรษก่อนคริสตกาล ชาวเซลต์ได้ทำการรุกรานโปรตุเกสจากภูมิภาคยุโรปตอนกลางอยู่หลายระลอกด้วยกัน รวมถึงแต่งงานข้ามเผ่ากับชาวไอบีเรียซึ่งเป็นประชากรท้องถิ่น ก่อให้เกิดชาวเซลต์ลูกครึ่งไอบีเรียออกมา นักสำรวจชาวกรีกในยุคนั้นตั้งชื่อภูมิภาคนี้ว่า "ออร์ฟิอุสซา" (Orphiussa) (มาจากภาษากรีก หมายความว่า "แดนแห่งพญางู" เนื่องจากชาวพื้นเมืองที่นั่นนับถืองูพิษ ต่อมาพ.ศ. 305 (ก่อนคริสตกาล 238 ปี) ชาวคาร์เทจเข้ามาตั้งถิ่นฐานตามแนวชายฝั่งบนคาบสมุทรไอบีเรีย ในช่วงนี้มีเผ่าย่อยๆ หลายเผ่าอาศัยอยู่กระจัดกระจายกันไป ส่วนใหญ่มักจะเป็นชาวลูซิทาเนีย (Lusitanians) ที่อาศัยอยู่ระหว่างแม่น้ำดูโร (Douro) และแม่น้ำเทโฮ (Tegus หรือ Tejo) และชาวแคลเลไค (Callaeci) ที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของแม่น้ำดูโรรวมอยู่กับเผ่าอื่น ๆ รวมถึงชาวโคนิไอ (Conii) ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ทางตอนใต้ของโปรตุเกสมาเป็นเวลานาน และชาวเซลติไค (Celtici) ชนรุ่นหลังของชาวเซลต์ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐาน พวกเขาอาศัยอยู่ที่อเลนเทโฮ (Alentejo) ก่อนคริสตกาล 219 ปี ทหารชาวโรมันชุดแรกเข้ามาทำการรุกรานคาบสมุทรไอบีเรีย และขับไล่ชาวคาร์เทจออกไประหว่างสงครามพิวนิค (Punic Wars) การพิชิตโปรตุเกสของชาวโรมันเริ่มต้นขึ้นทางตอนใต้ขึ้นมา, ในตอนใต้นี้เอง ที่ทำให้พวกเขาพบกับชาวพื้นเมืองที่เป็นมิตรเผ่าแรกคือเผ่าโคนิไอ หลายทศวรรษต่อมา ชาวโรมันก็ค่อยๆ ขยายวงแหวนแห่งการปกครองออกไป แต่ในที่สุด เมื่อ พ.ศ. 349 (194 ปีก่อนคริสตกาล) เกิดการกบฏขึ้นทางตอนเหนือ โดยชาวลูซิเทเนียที่ในที่สุดก็สามารถตรึงกำลังพวกโรมันเอาไว้ได้ ได้ทำการยึดอาณาเขตคืนมาจากชาวโรมัน และปล้นสดมภ์เมืองโคนิสทอร์จิส (Conistorgis) ซึ่งเป็นเมืองหลวงของเผ่าโคนิไอ ด้วยเหตุผลที่ว่าชาวโคนิไอนี้ผูกมิตรชิดเชื้อกับโรม ผู้นำของชาวลูซิเทเนีย วิเรียธิอุส (Viriathus) เป็นผู้นำการขับไล่ทหารโรมันออกจากคาบสมุทรไอบีเรีย ทำให้โรมต้องส่งกองทหารโรมันมาเป็นจำนวนมาก แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ ต่อมาทางโรมจึงทำการประนีประนอมโดยการเปลี่ยนสัญชาติชาวลูซิเทเนียให้เป็นชาวโรมัน ด้วยการมอบสิทธิ์ละติน (Latinius หรือ Latin Right) ให้กับชาวลูซิเทเนียในปี พ.ศ. 616 (ค.ศ. 73)ยุคอาณาจักร ยุคอาณาจักร. ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5 ชาวเผ่าอนารยชนเยอรมัน (ส่วนใหญ่คือเผ่าซูวี (Suevi) และชาววิสิกอธ) ได้ทำการรุกรานคาบสมุทรไอบีเรีย, ก่อตั้งอาณาจักรของตนเองขึ้น และกลายเป็นชาวพื้นเมืองไอบีเรียในที่สุด มีชาวเผ่ากลุ่มน้อยเช่นชาวแวนดัล (Vandals) เผ่าซิลิงไก (Silingi) และเผ่าฮาสดิงไก (Hasdingi) รวมถึงชาวซาร์มาเทีย (หรือ ชาวอลัน - Alans) อาศัยอยู่ด้วย แต่ต่อมาพวกเขาโดนเนรเทศหรือจำกัดถิ่นที่อยู่โดยชาววิสิกอธ (Visigoths) การรุกรานของชาวมุสลิมเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 1254 (ค.ศ. 711) บรรดาขุนนางที่ถูกขับไล่ออกมาอพยพไปยังทางตอนเหนือที่ยังไม่ได้ทำการยึดครอง ณ ที่ราบสูงแอสทูเรีย (Asturia) จากจุดนั้นพวกเขามีจุดมุ่งหมายในการยึดดินแดนคืนมาจากชาวมัวร์ (Moors) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเบอร์เบอร์ และชาวอาหรับจำนวนหนึ่ง ซึ่งใช้เวลาไม่นานนักในการยึดคืนมาเนื่องมาจากการยึดดินแดนคืนครั้งใหญ่ของชาวคริสต์หรือ Reconquista ในปี พ.ศ. 1411 (ค.ศ. 868) เคานต์วีมารา เปเรช (Count Vímara Peres) เป็นผู้ยึดดินแดนระหว่างแม่น้ำมีโนและดูโรคืนมาได้ ดินแดนดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันได้นามว่า Portucale (ซึ่งก็คือโปรตุเกสในปัจจุบัน)ยุคเสรีนิยมยุคสาธารณรัฐการเมืองการปกครองบริหารนิติบัญญัติตุลาการการแบ่งเขตการปกครอง การแบ่งเขตการปกครอง. สาธารณรัฐโปรตุเกสแบ่งออกเป็น 18 เขต () กับ 2 เขตปกครองตนเอง () ได้แก่นโยบายการต่างประเทศความสัมพันธ์กับสหภาพยุโรปความสัมพันธ์กับประเทศไทยนโยบายการต่างประเทศ. ความสัมพันธ์กับประเทศไทย. - การทูต โปรตุเกสมีความสัมพันธ์กับประเทศไทยเป็นเวลายาวนานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ชาวโปรตุเกสกลุ่มแรกเดินทางถึงประเทศไทยเมื่อ ค.ศ.1511 (พ.ศ. 2054) ซึ่งทำให้เกิดความสัมพันธ์ทางการค้า สังคม การเมืองและการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม สรุปแล้วโปรตุเกสเป็นชาติตะวันตกชาติแรกที่เริ่มเข้ามาติดต่อกับไทย มีการแลกเปลื่ยนการเยือนของบุคคลสำคัญระหว่างกันโดยตลอด- เศรษฐกิจ การค้าระหว่างไทย-โปรตุเกส (2012) มีมูลค่าการค้ารวม 182.7 ล้านดอลล่าร์ฯ ไทยส่งออกมูลค่า 113.73 ล้านดอลล่าร์ฯ และไทยนำเข้า 68.98 ล้านดอลล่าร์ฯ ทำให้ไทยได้เปรียบดุลการค้า 44.75 ล้านดอลล่าร์ฯ สินค้าสำคัญที่ไทยส่งออก ได้แก่ 1.ผลิตภัณฑ์และเม็ดพลาสติก 2.ผลิตภัณฑ์ยาง 3.รองเท้าและชิ้นส่วน 4.รถยนต์และส่วนประกอบ 5.เครื่องรับวิทยุและส่วนประกอบ สินค้าสำคัญที่ไทยนำเข้าจากโปรตุเกส 1.อุปกรณ์ และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ 2.ชิ้นส่วน และอะไหล่รถยนต์ 3.เครื่องนุ่งห่ม 4.เครื่องจักร และส่วนประกอบ 5.กระดาษ และภลิตภัณฑ์กระดาษ- ความร่วมมือทางวิชาการ - การเยือน- ฝ่ายไทย - ฝ่ายโปรตุเกสกองทัพกองกำลังกึ่งทหารเศรษฐกิจโครงสร้างการท่องเที่ยว เศรษฐกิจ. การท่องเที่ยว. โปรตุเกสเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจของชาวยุโรปเหนือ เนื่องจากโปรตุเกสเป็นประเมศที่สวยงาม มีอากาศอบอุ่น ฤดูหนาวไม่หนาว และ ทางภาคใต้ของโปรตุเกสมีอากาศอบอุ่นตลอดปี รวมถึงความสะดวกสบายในการเดินทางทั้ง เครื่องบิน รถยนต์ และ รถไฟ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวจากยุโรป ได้แก่ สเปน อังกฤษ เยอรมนี ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ อิตาลี และ ไอร์แลนด์ ส่วนนักท่องเที่ยวจากนอกทวีปยุโรป ได้แก่ บราซิล สหรัฐอเมริกาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม และ โทรคมนาคมโครงสร้างพื้นฐาน. คมนาคม และ โทรคมนาคม. - เส้นทางคมนาคม - โทรคมนาคมวิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยีการศึกษาสาธารณสุขประชากรศาสตร์ ประชากรศาสตร์. โปรตุเกสมีประชากรประมาณ 10,927,250 คน ในวันที่ 1 มีนาคม 2013 ในจำนวนนี้ 3.13 % เป็นผู้ย้ายถิ่นเข้าประเทศอย่างถูกกฎหมาย ซึ่งส่วนใหญ่มาจาก คาบู แวร์ดึ บราซิล ยูเครน และ อังโกลา โดยส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกมีคนนับถือประมาณ 94 % และยังมีนิกายโปรเตสแตนต์และอื่นๆ รวม 6 % โดยทุกศาสนาอยู่ด้วยกันอย่างสันติเชื้อชาติการย้ายถิ่นเข้าประเทศ การย้ายถิ่นเข้าประเทศ. ในสมัยจักรวรรดิ โปรตุเกสเคยมีอาณานิคมมากมายในทวีปต่าง ๆ จึงทำให้คนจากอาณานิคมเก่า ย้ายถิ่นเข้ามาอยู่ภายในประเทศศาสนา ศาสนา. ศาสนา คริสต์ นิกายโรมันคาธอลิก (ร้อยละ 84.5) โปรแตสแตนท์ (ร้อยละ 2.2) ไม่มีศาสนา (ร้อยละ 3.9) และศาสนาอื่นๆ (ร้อยละ 9.4)ภาษา ภาษา. ภาษาทางการของประเทศโปรตุเกสคือภาษาโปรตุเกส เป็นภาษาที่จัดอยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ ซึ่งในกลุ่มภาษานี้มีภาษาสเปน ฝรั่งเศส และ อิตาลี ด้วย มีผู้พูดภายในประเทศประมาณ 10,000,000 คน (ปี ค.ศ. 2012) และประมาณ 203,349,200 คนทั่วโลกกีฬาฟุตบอล กีฬา. ฟุตบอล. กีฬาฟุตบอลถือว่าเป็นกีฬาที่นิยมที่สุดในโปรตุเกส ทีมที่มีชื่อเสียง เช่น สปอร์ลิชบัวอีไบฟีกา, สโมสรฟุตบอลโปร์ตู และ นักฟุตบอลโปรตุเกสระดับนานาชาติ เช่น ลูอิช ฟีกู คริสเตียโน โรนัลโด ในปี ค.ศ. 2004 โปรตุเกสเคยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดฟุตบอลยูโรเปียนคัพ นอกจากนี้โปรตุเกสยังมีชื่อเสียงเรื่องรักบี้อีกด้วยวัฒนธรรม วัฒนธรรม. โปรตุเกสได้รับอิทธิพลจากหลากหลายอารยธรรมที่เข้ามาปกครองดินแดนโปรตุเกสทำให้เกิดเอกลักษณ์เฉพาะตัวขึ้นสถาปัตยกรรมศิลปะอาหาร อาหาร. อาหารโปรตุเกสมีหลากหลายชนิดและจากเนื้อสัตว์เกือบทุกประเภท นิยมรับประทานซุป และจานหลักที่มีข้าวและมันฝรั่งเป็นส่วนประกอบ นอกจากนี้ยังนำปลาค๊อดตากแห้งมาประกอบอาหารหลากหลายเมนู ทั้งนี้ขนมหวานโปรตุเกสยังมื่อเสียงด้วย โดยเฉพาะ ทาร์ตไข่ และขนมที่ทำจากไข่แดงและน้ำตาล ซึ่งนิยมรับประทานร่วมกับกาแฟ และชาวโปรตุเกสยังดื่มกาแฟมากถึง 5 - 8 แก้วเล็กต่อวันดนตรีสื่อสารมวลชนวันหยุด
| ภาษาทางการของประเทศโปรตุเกสคือภาษาใด | {
"answer": [
"โปรตุเกส"
],
"answer_begin_position": [
7517
],
"answer_end_position": [
7525
]
} |
3,856 | 312,945 | ภัสสร บุณยเกียรติ ภัสสร เหลียวรักวงศ์ หรือ ภัสสร บุณยเกียรติ (8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512) ประกวดนางสาวไทยได้รางวัลขวัญใจช่างภาพนางสาวไทยปี 2531และได้เป็นตัวแทนสาวไทยไปประกวดนางงามนานาชาติ ปี 1988 ที่ญี่ปุ่นได้รางวัลขวัญใจช่างภาพ เมื่อเธอก้าวลงมาจากเวทีนางงาม สู่การเป็นนักแสดงภาพยนตร์และละครหลายเรื่อง แต่งานที่โด่งดังสุดขีด ทำให้ชาวบ้านเรียกฮันนี่ได้สนิทปาก ก็เห็นจะเป็นงานเพลงชุดแรกในชีวิตในมาดนางเสือสาว ที่ตั้งชื่ออัลบั้มยืดยาวมากกว่าอัลบั้มเพลงยุคนั้น "ดวงตาข้างขวาของฉันคล้ายเป็นเนื้อเยื่อพิเศษ" ภายใต้สังกัด "คีตาเรคคอร์ด" แม้ว่าประสบการณ์การเป็นนักร้องยังอยู่ในระดับที่ยังไม่ถึงที่สุด แต่ตัวเพลงต่างๆ ก็สามารถวางภาพลักษณ์ของเธอได้ดีสมน้ำสมเนื้อไม่น่าเกลียด แต่ที่ยิ่งรักและยิ่งเกลียดที่สุดก็คือ การแสดงคอนเสิร์ตครั้งใหญ่ของเธอ ที่ชาวบ้านเรียกว่า "คอนเสิร์ตเรทอาร์" จนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์จากหลายๆ ฝ่าย ถึงขั้นมีการจัดอภิปรายและเสวนาเกี่ยวกับความแรงของเธอตามสถาบันชั้นนำต่างๆ เรียกว่าเธอสมเป็นเสือปืนไวจริงๆ ความแรงของงานเพ ลงชุดแรกที่ขายดีมาก บวกกับกระแส จนมีต้องเพิ่มปกพิเศษ "ไม่อยากจะบอกว่าดวงตาข้างซ้ายของฉันก็มีเนื้อเยื่อพิเศษ" ตามออกมาด้วยการเอาบทเพลง "เสือ" มารีมิกซ์ดนตรีใหม่ให้คึกคักกว่าเดิม ฮันนี่ประสบความสำเร็จสูงสุดในช่วงสั้น ๆ เมื่อจู่ๆ เธอทิ้งงานเพลงชุดที่ 2 ที่จะต่อยอดให้เธอกลายเป็นซุปเปอร์สตาร์ ซึ่งทางทีมงานได้เตรียมชื่ออัลบั้มไว้แล้วว่า "น้ำผึ้งร้อนดั่งไฟ ใครโดนมันหลอมละลายทันที" และได้บันทึกเสียงเพลง "จูบสุดท้าย" ที่เป็นซิงเกิ้ลแรกเอาไวเรียบร้อย แต่ฮันนี่ทิ้งทุกอย่าง เพื่อไปใช้ชีวิตครอบครัว และต่อมาในปี 2539 ฮันนี่กกลับมาร้องเพลงอีกครั้งในชุด "ไม่กัดหรอก" โดยภาพลักษณ์ยังยึดคอนเซปท์เดิม แต่ด้วยวัยที่เพิ่มขึ้นจึงสวนทางกับภาพเซ็กซี่ในแบบเก่า จึงทำให้เธอต้องถอยหลัง และกลับไปตั้งหลักกับงานแสดงเป็นงานหลัก ด้านบทบาทการแสดง เริ่มแสดงละครโทรทัศน์เรื่อง ช่อปาริชาต ทางช่อง 7 สี และแสดงภาพยนตร์เรื่อง นักเลง และ แม่เบี้ย ในปี พ.ศ. 2532 จนได้รับรางวัลตุ๊กตาทอง 2 ตัวในปีเดียวกันคือ สาขาผู้แสดงนำหญิงยอดเยี่ยม จากเรื่อง แม่เบี้ย และรางวัลดาวรุ่งหญิงยอดเยี่ยมจากเรื่อง นักเลง ฮันนี่จบจากเซ็นต์โยเซฟแล้วเข้าเรียนต่อที่พระนครธุรกิจ ก้าวเข้าสู่วงการบันเทิงด้วยหลากหลายบทบาททั้งแสดงภาพยนตร์ และถ่ายแบบ ในภาพลักษณ์ที่เน้นความเซ็กซี่ ชีวิตส่วนตัวสมรสกับธีรพงษ์ เหลียวรักวงศ์ ช่างภาพนู้ด มีบุตรชาย 1 คน ชื่อ อินทัช เหลียวรักวงศ์ ปัจจุบันได้เป็นนักแสดงแล้ว จากนั้นหายจากวงการไปพักใหญ่ จนกลับมาแสดงละครให้กับช่องต่าง ๆ อีกครั้ง โดยในปี 2550 ได้รับรางวัล ok!award : sexy foever จากนิตยสาร ok!ผลงานละครเวทีผลงาน. ละครเวที. - ละครเวทีมณเฑียรทองเธียเตอร์ พรายน้ำ (2532) ภัสสร, แสงระวี, ทรงสิทธิ์ - ละครเพลง เธอคือดวงใจ (2549) จักพรรณ, เข็มอัปสร,ภัสสรภาพยนตร์ภาพยนตร์. - 2532 นักเลง ...ตำรวจหญิง คู่กับ สามารถ พยัคฆ์อรุณ - 2532 แม่เบี้ย ...เมขลา คู่กับ ลิขิต เอกมงคล - 2533 หัวใจห้องที่ 5 ...คุณใหญ่ คู่กับ ยุรนันท์ ภมรมนตรี - 2533 น้องเมีย ...ปรางค์ คู่กับ ฉัตรชัย เปล่งพานิช - 2533 หลงไฟ ...ก้านแก้ว คู่กับ สันติสุข พรหมศิริ - 2533 แรงฤทธิ์พิษสวาท ... เจนจิรา คู่กับ ยุรนันท์ ภมรมนตรี - 2533 ก่อนจะสิ้นแสงตะวัน ...ส่องหล้า คู่กับ ลิขิต เอกมงคล - 2553 สมานฉัน - 2553 ผู้ชายลั้นลา ...เจ๊จุ๋ม คู่กับ เกลือ เป็นต่อละครละคร. - 2529 กุหลาบไร้หนาม ช่อง 3 - 2530 หมู่บ้านหุบกะพง - 2530 ความดีที่ต้องรักษา - 2531 ช่อปาริชาต ช่อง 7 - 2532 ปริศนาของเวตาล ช่อง 7 - 2532 เจ้าสาวในชุดสีดำ ช่อง 7 - 2533 อุ้มบุญ ช่อง 7 - 2536 โสดยกกำลังสาม ช่อง 3 - 2538 เติมรักให้เต็ม ช่อง 7 - 2539 บันทึกรักหน้าเหลือง / ดอกเอื้อง - 2539 อำพรางอำยวน / แค้นของคนตาย ช่อง 7 - 2539 แผ่นดินของเรา ช่อง 5 - 2540 หุบเขากินคน ช่อง 7 (รับเชิญ) - 2540 กุหลาบที่ไร้หนาม ช่อง 7 - 2541 ซอยปรารถนา ๒๕๐๐ ช่อง 7 - 2542 ตาเบบูญ่า ช่อง 5 - 2542 รักไร้พรมแดน ช่อง 7 - 2542 ลูกแม่ ช่อง 7 - 2542 เพชรตาแมว ช่อง 5 - 2542 ละครเทิดพระเกียรติชุดใต้แสงตะวัน ตอน แผ่นดินของเรา ช่อง 7 - 2543 มิติใหม่หัวใจเดิม ช่อง 7 (รับเชิญ) - 2543 โสนบานเช้าคัดเค้าบานเย็น ช่อง 7 - 2544 คาวน้ำค้าง ไอทีวี - 2544 เศรษฐีตีนเปล่า ช่อง 7 - 2545 นางมาร ช่อง 7 - 2545 ล่าสุดขอบฟ้า ช่อง 7 - 2545 ใครกำหนด ช่อง 7 - 2545 มหัศจรรย์แห่งรัก ช่อง 7 - 2545 เฮี้ยวนักรักซะเลย ช่อง 3 - 2546 โซ่เสน่หา ช่อง 7 - 2546 ทีเด็ดครูพันธุ์ใหม่จิตพิสัยเดือด ช่อง 3 (รับเชิญ) - 2547 มาทาดอร์ ช่อง 7 - 2547 ขอพลิกฟ้าตามล่าเธอ ช่อง 3 - 2547 หลงทางรัก ช่อง 7 - 2547 เรือนไม้สีเบจ ช่อง 3 - 2547 เล็กใหญ่ไม่เกี่ยวขอเอี่ยวด้วยคน ช่อง 7 - 2547 กลับบ้านเรานะ รักรออยู่ ช่อง 7 (รับเชิญ) - 2547 พี่น้อง 2 เลือด ช่อง 9 - 2548 รักนิดๆ ต้องซิทอัพ ช่อง 7 - 2548 อยู่กับก๋ง ช่อง 5 - 2548 อังกอร์ ๒ ช่อง 7 - 2548 กลิ่นแก้วตำหนักขาว ช่อง 3 - 2548 บ้านร้อยดอกไม้ ช่อง 7 - 2548 นางสาวส้มหล่น ช่อง 7 - 2548 ใต้ร่มเงารัก ช่อง 3 - 2548 ลูกไม้หลากสี ช่อง 7 - 2548 รักของนายดอกไม้ ช่อง 3 - 2549 กุหลาบตัดเพชร ช่อง 3 - 2549 เขยใหญ่ สะใภ้เล็ก ช่อง 3 - 2549 สาวน้อยร้อยล้าน ช่อง 7 - 2549 เธอคือดวงใจ ช่อง 3 - 2549 ขิงก็รา ข่าก็แรง ช่อง 7 - 2550 รักไร้พรมแดน ช่อง ITV - 2550 เงื่อนริษยา ช่อง 7 - 2550 ฝนเหนือ ช่อง 7 (รับเชิญ) - 2550 ยอดกตัญูญู ช่อง 3 - 2550 สุดแต่ฟ้ากำหนด ช่อง 3 - 2550 บุพเพเล่ห์รัก ช่อง 7 - 2550 มายาพิศวาส ช่อง 5 (รับเชิญ) - 2550 คู่ปั่นคู่ป่วน ช่อง 7 - 2551 หน่วยเปิ่นเกินพิกัด ช่อง 7 - 2551 คู่ป่วนอลวน ช่อง 7 (รับเชิญ) - 2551 สงครามนางฟ้า ช่อง 5 - 2551 มนตราแห่งรัก ช่อง 7 - 2552 หัวใจสองภาค ช่อง 3 - 2552 ปอบผีฟ้า ช่อง 7 - 2552 บริษัทบำบัดแค้น ช่อง 3 (รับเชิญ) - 2552 ชิงชัง ช่อง 5 - 2552 ดำขำ ช่อง 7 - 2552 นางกรี๊ด ช่อง 7 - 2553 บ้านนาคาเฟ่ ช่อง 7 - 2553 โรงแรมผี ช่อง 5 - 2553 วิวาห์ว้าวุ่น ช่อง 3 - 2553 นักฆ่าขนตางอน ช่อง 7 - 2553 หัวใจพลอยโจร ช่อง 5 - 2554 รหัสทรชน ช่อง 3 - 2554 ค่าของคน ช่อง 7 - 2554 ล้างรถตัดขนหมา ช่อง 7 - 2554 เรือนแพ ช่อง 5 - 2554 เมียแต่ง ช่อง 3 - 2554 บันทึกรักซุปตาร์ ช่อง 8 - 2554 หมวดโอภาส ตอน จอนนี่ที่รัก ช่อง 9 (รับเชิญ) - 2555 ก่อนบ่ายคลายเครียด ช่อง 3 (รับเชิญ) - 2555 มุกเหลี่ยมเพชร ช่อง 3 - 2555 ลิขิตฟ้าชะตาดิน ช่อง 5 - 2555 รักสุดปลายฟ้า ช่อง 3 - 2555 มารยาริษยา ช่อง 5 - 2555 แม่ยายคงกะพัน ช่อง 3 - 2556 เงาะแท้แซ่ฮีโร่ ช่อง 3 - 2556 มัจจุราชสีน้ำผึ้ง ช่อง 3 - 2556 โดมทอง ช่อง 7 - 2556 สาปพระเพ็ง ช่อง 3 (รับเชิญ) - 2556 ซิทคอม รักจัดเต็ม ช่อง 3 - 2556 วุ่นนักรักหรือหลอก ช่อง 5 - 2556 ดอกอ้อสายขวัญ ช่อง 3 - 2557 นางร้ายซัมเมอร์ ช่อง 3 - 2557 รักออกฤทธิ์ ช่อง 3 - 2557 เรือนริษยา ช่อง 3 (รับเชิญ) - 2557 ผัวชั่วคราว ช่อง 8 - 2558 แม้เลือกเกิดได้ ช่อง 8 - 2558 กระตุกหนวดเสือ ช่อง 3 - 2558 ไม่สิ้นไร้ไฟสวาท ช่อง 7 - 2558 เลือดตัดเลือด ช่อง 7 - 2558 เจ้าสาวเฉพาะกิจ ช่อง 8 - 2559 เจ้าเวหา ตอน ฝั่งน้ำจรดฝั่งฟ้า ช่อง ทรูโฟร์ยู - 2559 ลูกไม้ไกลต้น ช่อง 7 - 2559 นางฟ้าเปื้อนฝุ่น ช่อง 7 - 2560 กามเทพซ้อนกล ช่อง 3 - 2560 เรือนพะยอม ช่อง 7 - 2560 เพลิงรักไฟมาร ช่อง 8 - 2561 คู่ซี้ผีมือปราบ ช่องเวิร์คพอยท์ - 2561 ลิขิตรัก ช่อง 3 (รับเชิญ) - 2561 เงา ช่อง จีเอ็มเอ็ม 25 - 2561 ไร้เสน่หา ช่อง จีเอ็มเอ็ม 25 - 2561 ริมฝั่งน้ำ ช่อง 3 - 2561 สวยซ่อนคม ช่อง 7 - 2561 ลิขิตรักข้ามดวงดาว ช่อง 3 - 2561 บุญหล่นทับ ช่อง 3ผลงานเพลงผลงานเพลง. - นางเอกมิวสิควีดีโอเพลง แคนลำโขง คู่กับ เฮนรี่ ปรีชาพานิช ของเจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์วัลยลักษณ์ - นางเอกมิวสิควีดีโอเพลง ฉากสุดท้าย ของ พัณนิดา เศวตาสัย - นางเอกมิวสิควีดีโอเพลง เธอคนเดียว ของ ฟอร์เอฟเวอร์ - อัลบั้ม ดวงตาข้างขวาของฉันคล้ายมีเนื้อเยื่อพิเศษ (2533) - อัลบั้ม ไม่กัดหรอก (2540) - เพลงประกอบละคร ผู้ชายไม้ประดับ (2538) - เพลงประกอบละคร เติมรักให้เต็ม คอนเสิร์ต- คอนเสิร์ต เรทอาร์ 2533 - คอนเสิรต บานฉ่ำ 2535 - คอนเสิร์ต ขอเป็นพระเอก (นีโน่) 2534 (ฮันนี่ถูกวางตัวเป็นแขกรับเชิญแต่ป่วยจนขึ้นเวทีไม่ได้) - คอนเสิร์ต Kita Back to The Future 2550 - กรีนคอนเสิร์ตครั้งที่ 18 The Lost Love Song ร้อยเพลงรักที่หายไป 2558 - ทัวร์ทั่วประเทศคอนเสิร์ตเรทอาร์ 2533 - 2535รางวัลที่ได้รับรางวัลที่ได้รับ. - รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ครั้งที่ 13 ประจำปี พ.ศ. 2532 สาขารางวัลพิเศษตุกตาเงินดาวรุ่งฝ่ายหญิง จากภาพยนตร์เรื่อง นักเลง - รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ครั้งที่ 13 ประจำปี พ.ศ. 2532 สาขาผู้แสดงนำฝ่ายหญิงยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง แม่เบี้ย - รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ครั้งที่ 14 ประจำปี พ.ศ. 2533 สาขาผู้แสดงนำฝ่ายหญิงยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง หลงไฟ - รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ครั้งที่ 15 ประจำปี พ.ศ. 2534 มีรายชื่อติด 1ใน5เข้าชิงรางวัลผู้แสดงนำฝ่ายหญิงยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง น้องเมีย
| ภัสสร บุณยเกียรติได้รับรางวัลใดจากการประกวดนางสาวไทยในปีพ.ศ. 2531 | {
"answer": [
"ขวัญใจช่างภาพ"
],
"answer_begin_position": [
202
],
"answer_end_position": [
215
]
} |