Datasets:

Modalities:
Text
Formats:
parquet
Languages:
Thai
Libraries:
Datasets
Dask
License:
title
stringlengths
1
182
text
stringlengths
1
45.8M
source
stringclasses
5 values
__index_level_0__
int64
0
197k
ดาราศาสตร์
ดาราศาสตร์ คือวิชาวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวัตถุในท้องฟ้า (เช่น ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ ดาวหาง ดาราจักร) รวมทั้งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนอกชั้นบรรยากาศของโลก โดยศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการ ลักษณะทางกายภาพ ทางเคมี ทางอุตุนิยมวิทยา และการเคลื่อนที่ของวัตถุท้องฟ้า ตลอดจนถึงการกำเนิดและวิวัฒนาการของเอกภพ ดาราศาสตร์เป็นหนึ่งในสาขาของวิทยาศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุด นักดาราศาสตร์ในวัฒนธรรมโบราณสังเกตการณ์ดวงดาวบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน และวัตถุทางดาราศาสตร์หลายอย่างก็ได้ถูกค้นพบเรื่อยมาตามยุคสมัย อย่างไรก็ตาม กล้องโทรทรรศน์เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่จำเป็นก่อนที่จะมีการพัฒนามาเป็นวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ตั้งแต่อดีตกาล ดาราศาสตร์ประกอบไปด้วสาขาที่หลากหลายเช่น การวัดตำแหน่งดาว การเดินเรือดาราศาสตร์ ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ การสร้างปฏิทิน และรวมทั้งโหราศาสตร์ แต่ดาราศาสตร์ทุกวันนี้ถูกจัดว่ามีความหมายเหมือนกับฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ดาราศาสตร์ได้แบ่งออกเป็นสองสาขาได้แก่ ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ และดาราศาสตร์เชิงทฤษฎี ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์จะให้ความสำคัญไปที่การเก็บและการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการใช้ความรู้ทางกายภาพเบื้องต้นเป็นหลัก ส่วนดาราศาสตร์เชิงทฤษฎีให้ความสำคัญไปที่การพัฒนาคอมพิวเตอร์หรือแบบจำลองเชิงวิเคราะห์ เพื่ออธิบายวัตถุท้องฟ้าและปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทั้งสองสาขานี้เป็นองค์ประกอบซึ่งกันและกัน กล่าวคือ ดาราศาสตร์เชิงทฤษฎีใช้อธิบายผลจากการสังเกตการณ์ และดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ใช้ในการรับรองผลจากทางทฤษฎี การค้นพบสิ่งต่าง ๆ ในเรื่องของดาราศาสตร์ที่เผยแพร่โดยนักดาราศาสตร์สมัครเล่นนั้นมีความสำคัญมาก และดาราศาสตร์ก็เป็นหนึ่งในวิทยาศาสตร์จำนวนน้อยสาขาที่นักดาราศาสตร์สมัครเล่นยังคงมีบทบาท โดยเฉพาะการค้นพบหรือการสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว ไม่ควรสับสนระหว่างดาราศาสตร์โบราณกับโหราศาสตร์ ซึ่งเป็นความเชื่อที่นำเอาเหตุการณ์และพฤติกรรมของมนุษย์ไปเกี่ยวโยงกับตำแหน่งของวัตถุท้องฟ้า แม้ว่าทั้งดาราศาสตร์และโหราศาสตร์เกิดมาจากจุดร่วมเดียวกัน และมีส่วนหนึ่งของวิธีการศึกษาที่เหมือนกัน เช่นการบันทึกตำแหน่งดาว (ephemeris) แต่ทั้งสองอย่างก็แตกต่างกัน ในปี ค.ศ. 2019 เป็นการครบรอบ 410 ปีของการพิสูจน์แนวคิดเรื่องดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล ของ นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส อันเป็นการพลิกคติและโค่นความเชื่อเก่าแก่เรื่องโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาลของอริสโตเติลที่มีมาเนิ่นนาน โดยการใช้กล้องโทรทรรศน์สังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ของกาลิเลโอซึ่งช่วยยืนยันแนวคิดของโคเปอร์นิคัส องค์การสหประชาชาติจึงได้ประกาศให้ปี ค.ศ.2019 เป็นปีดาราศาสตร์สากล มีเป้าหมายเพื่อให้สาธารณชนได้มีส่วนร่วมและทำความเข้าใจกับดาราศาสตร์มากยิ่งขึ้น == ประวัติ == ดาราศาสตร์นับเป็นวิชาที่เก่าแก่ที่สุดวิชาหนึ่ง เพราะนับตั้งแต่มีมนุษย์อยู่บนโลก เพราะมนุษย์ได้เห็นและได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติเสมอมา แล้วก็เริ่มสังเกตจดจำและเล่าต่อ ๆ กัน เช่น เมื่อมองออกไปรอบตัวเห็นพื้นดินราบ ดูออกไปไกล ๆ ก็ยังเห็นว่าพื้นผิวของโลกแบน จึงคิดกันว่าโลกแบน มองฟ้าเห็นโค้งคล้ายฝาชีหรือโดม มีดาวให้เห็นเคลื่อนข้ามศีรษะไปทุกคืน กลางวันมีลูกกลมแสงจ้า ให้แสง สี ความร้อน ซึ่งก็คือ ดวงอาทิตย์ ที่เคลื่อนขึ้นมาแล้วก็ลับขอบฟ้าไป ดวงอาทิตย์จึงมีความสำคัญกับเรามาก การศึกษาดาราศาสตร์ในยุคแรก ๆ เป็นการเฝ้าดูและคาดเดาการเคลื่อนที่ของวัตถุท้องฟ้าเหล่านั้นที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ก่อนยุคสมัยที่กล้องโทรทรรศน์จะถูกประดิษฐ์ขึ้น มีสิ่งปลูกสร้างโบราณหลายแห่งที่เชื่อว่าเป็นสถานที่สำหรับการเฝ้าศึกษาทางดาราศาสตร์ เช่น สโตนเฮนจ์ นอกจากนี้การเฝ้าศึกษาดวงดาวยังมีความสำคัญต่อพิธีกรรม ความเชื่อ และเป็นการบ่งบอกถึงการเปลี่ยนฤดูกาล ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อสังคมเกษตรกรรมการเพาะปลูก รวมถึงเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงระยะเวลา วัน เดือน ปี เมื่อสังคมมีวิวัฒนาการขึ้นในดินแดนต่าง ๆ การสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ก็ซับซ้อนมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน เมโสโปเตเมีย กรีก จีน อียิปต์ อินเดีย และ มายา เริ่มมีแนวคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของธรรมชาติแห่งจักรวาลกว้างขวางขึ้น ผลการศึกษาดาราศาสตร์ในยุคแรก ๆ จะเป็นการบันทึกแผนที่ตำแหน่งของดวงดาวต่าง ๆ อันเป็นศาสตร์ที่ปัจจุบันเรียกกันว่า การวัดตำแหน่งดาว (astrometry) ผลจากการเฝ้าสังเกตการณ์ทำให้แนวคิดเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของดวงดาวต่าง ๆ เริ่มก่อตัวเป็นรูปร่างขึ้น ธรรมชาติการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก นำไปสู่แนวคิดเชิงปรัชญาเพื่อพยายามอธิบายปรากฏการณ์เหล่านั้น ความเชื่อดั้งเดิมคือโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล โดยมีดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาวต่าง ๆ เคลื่อนที่ไปโดยรอบ แนวคิดนี้เรียกว่า แบบจำลองแบบโลกเป็นศูนย์กลางจักรวาล (geocentric model) มีการค้นพบทางดาราศาสตร์ที่สำคัญไม่มากนักก่อนการประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ ตัวอย่างการค้นพบเช่น ชาวจีนสามารถประเมินความเอียงของแกนโลกได้ประมาณหนึ่งพันปีก่อนคริสตกาล ชาวบาบิโลนค้นพบว่าปรากฏการณ์จันทรคราสจะเกิดขึ้นซ้ำเป็นช่วงเวลา เรียกว่า วงรอบซารอส และช่วงสองร้อยปีก่อนคริสตกาล ฮิปปาร์คัส นักดาราศาสตร์ชาวกรีก สามารถคำนวณขนาดและระยะห่างของดวงจันทร์ได้ ตลอดช่วงยุคกลาง การค้นพบทางดาราศาสตร์ในยุโรปกลางมีน้อยมากจนกระทั่งถึงคริสต์ศตวรรษที่ 13 แต่มีการค้นพบใหม่ ๆ มากมายในโลกอาหรับและภูมิภาคอื่นของโลก มีนักดาราศาสตร์ชาวอาหรับหลายคนที่มีชื่อเสียงและสร้างผลงานสำคัญแก่วิทยาการด้านนี้ เช่น Al-Battani และ Thebit รวมถึงคนอื่น ๆ ที่ค้นพบและตั้งชื่อให้แก่ดวงดาวด้วยภาษาอารบิก ชื่อดวงดาวเหล่านี้ยังคงมีที่ใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน === การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ === ในยุคเรอเนซองส์ นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส ได้นำเสนอแนวคิดแบบจำลองดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง ซึ่งถูกต่อต้านอย่างมากจากศาสนจักร ทว่าได้รับการยืนยันรับรองจากงานศึกษาของกาลิเลโอ กาลิเลอี และ โยฮันเนิส เค็พเพลอร์ โดยที่กาลิเลโอได้ประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์หักเหแสงแบบใหม่ขึ้นในปี ค.ศ. 1609 ทำให้สามารถเฝ้าสังเกตดวงดาวและนำผลจากการสังเกตมาช่วยยืนยันแนวคิดนี้ เค็พเพลอร์ได้คิดค้นระบบแบบใหม่ขึ้นโดยปรับปรุงจากแบบจำลองเดิมของโคเปอร์นิคัส ทำให้รายละเอียดการโคจรต่าง ๆ ของดาวเคราะห์และดวงอาทิตย์ที่ศูนย์กลางสมบูรณ์ถูกต้องมากยิ่งขึ้น แต่เค็พเพลอร์ก็ไม่ประสบความสำเร็จในการนำเสนอทฤษฎีนี้เนื่องจากกฎหมายในยุคสมัยนั้น จนกระทั่งต่อมาถึงยุคสมัยของเซอร์ ไอแซค นิวตัน ผู้คิดค้นหลักกลศาสตร์ท้องฟ้าและกฎแรงโน้มถ่วงซึ่งสามารถอธิบายการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ได้อย่างสมบูรณ์ นิวตันยังได้คิดค้นกล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสงขึ้นด้วย การค้นพบใหม่ ๆ เกิดขึ้นเรื่อย ๆ พร้อมไปกับการพัฒนาขนาดและคุณภาพของกล้องโทรทรรศน์ที่ดียิ่งขึ้น มีการจัดทำรายชื่อดาวอย่างละเอียดเป็นครั้งแรกโดย ลาซายล์ ต่อมานักดาราศาสตร์ชื่อ วิลเลียม เฮอร์เชล ได้จัดทำรายการโดยละเอียดของเนบิวลาและกระจุกดาว ค.ศ. 1781 มีการค้นพบดาวยูเรนัส ซึ่งเป็นการค้นพบดาวเคราะห์ดวงใหม่เป็นครั้งแรก ค.ศ. 1838 มีการประกาศระยะทางระหว่างดาวเป็นครั้งแรกโดยฟรีดดริค เบสเซล หลังจากตรวจพบพารัลแลกซ์ของดาว 61 Cygni ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 ออยเลอร์ คลาเราต์ และดาเลมเบิร์ต ได้คิดค้นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับปัญหาสามวัตถุ (three-body problem หรือ n-body problem) ทำให้การประมาณการเคลื่อนที่ของดวงจันทร์และดาวเคราะห์สามารถทำได้แม่นยำขึ้น งานชิ้นนี้ได้รับการปรับปรุงต่อมาโดย ลากร็องฌ์ และ ลาปลัส ทำให้สามารถประเมินมวลของดาวเคราะห์และดวงจันทร์ได้ การค้นพบสำคัญทางดาราศาสตร์ประสบความสำเร็จมากขึ้นเมื่อมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น การถ่ายภาพ และสเปกโตรสโคป เราทราบว่าดวงดาวต่าง ๆ ที่แท้เป็นดาวฤกษ์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับดวงอาทิตย์ของเรานั่นเอง แต่มีอุณหภูมิ มวล และขนาดที่แตกต่างกันไป การค้นพบว่า ดาราจักรของเราหรือดาราจักรทางช้างเผือกนี้ เป็นกลุ่มของดาวฤกษ์ที่รวมตัวอยู่ด้วยกัน เพิ่งเกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 20 นี้เอง พร้อมกับการค้นพบการมีอยู่ของดาราจักรอื่น ๆ ต่อมาจึงมีการค้นพบว่า เอกภพกำลังขยายตัว โดยดาราจักรต่าง ๆ กำลังเคลื่อนที่ห่างออกจากเรา การศึกษาดาราศาสตร์ยุคใหม่ยังค้นพบวัตถุท้องฟ้าใหม่ ๆ อีกหลายชนิด เช่น เควซาร์ พัลซาร์ เบลซาร์ และดาราจักรวิทยุ ผลจากการค้นพบเหล่านี้นำไปสู่การพัฒนาทฤษฎีทางฟิสิกส์เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ของวัตถุเหล่านี้เปรียบเทียบกับวัตถุประหลาดอื่น ๆ เช่น หลุมดำ และดาวนิวตรอน ศาสตร์ทางด้านฟิสิกส์จักรวาลวิทยามีความก้าวหน้าอย่างมากตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 20 แบบจำลองบิกแบงได้รับการสนับสนุนจากหลักฐานต่าง ๆ ที่ค้นพบโดยนักดาราศาสตร์และนักฟิสิกส์ เช่น การแผ่รังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาล กฎของฮับเบิล และการที่มีธาตุต่าง ๆ มากมายอย่างไม่คาดคิดในจักรวาลภายนอก == ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ == ในทางดาราศาสตร์ สารสนเทศส่วนใหญ่ได้จากการตรวจหาและวิเคราะห์โฟตอนซึ่งเป็นการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้า แต่อาจได้จากข้อมูลที่มากับรังสีคอสมิก นิวตริโน ดาวตก และในอนาคตอันใกล้อาจได้จากคลื่นความโน้มถ่วง การแบ่งหมวดของดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์สามารถแบ่งได้ตามการสังเกตการณ์สเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้าในย่านต่าง ๆ โดยการสังเกตการณ์บางย่านสเปกตรัมสามารถกระทำได้บนพื้นผิวโลก แต่บางย่านจะสามารถทำได้ในชั้นบรรยากาศสูงหรือในอวกาศเท่านั้น การสังเกตการณ์ดาราศาสตร์ในย่านสเปกตรัมต่าง ๆ แสดงดังรายละเอียดต่อไปนี้ === ดาราศาสตร์วิทยุ === ดาราศาสตร์วิทยุเป็นการตรวจหาการแผ่รังสีในความยาวคลื่นที่ยาวกว่า 1 มิลลิเมตร (ระดับมิลลิเมตรถึงเดคาเมตร) เป็นการศึกษาดาราศาสตร์ที่แตกต่างจากการศึกษาดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์รูปแบบอื่น ๆ เพราะเป็นการศึกษาคลื่นวิทยุซึ่งถือว่าเป็นคลื่นจริง ๆ มากกว่าเป็นการศึกษาอนุภาคโฟตอน จึงสามารถตรวจวัดได้ทั้งแอมปลิจูดและเฟสของคลื่นวิทยุซึ่งจะทำได้ยากกว่ากับคลื่นที่มีความยาวคลื่นต่ำกว่านี้ คลื่นวิทยุที่แผ่จากวัตถุดาราศาสตร์จำนวนหนึ่งอาจอยู่ในรูปของการแผ่รังสีความร้อน โดยมากแล้วการแผ่คลื่นวิทยุที่ตรวจจับได้บนโลกมักอยู่ในรูปแบบของการแผ่รังสีซิงโครตรอน ซึ่งเกิดจากการที่อิเล็กตรอนเคลื่อนที่เป็นคาบรอบเส้นแรงสนามแม่เหล็ก นอกจากนี้สเปกตรัมที่เกิดจากแก๊สระหว่างดาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเส้นสเปกตรัมของไฮโดรเจนที่ 21 เซนติเมตร จะสามารถสังเกตได้ในช่วงคลื่นวิทยุ วัตถุดาราศาสตร์ที่สามารถสังเกตได้ในช่วงคลื่นวิทยุมีมากมาย รวมไปถึงซูเปอร์โนวา แก๊สระหว่างดาว พัลซาร์ และนิวเคลียสดาราจักรกัมมันต์ === ดาราศาสตร์เชิงแสง === การสังเกตการณ์ดาราศาสตร์เชิงแสงเป็นการศึกษาดาราศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุด คือการสังเกตการณ์ท้องฟ้าด้วยดวงตามนุษย์ โดยอาศัยเครื่องมือช่วยบ้างเช่น กล้องโทรทรรศน์ ภาพที่มองเห็นถูกบันทึกเอาไว้โดยการวาด จนกระทั่งช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 20 จึงมีการบันทึกภาพสังเกตการณ์ด้วยเครื่องมือถ่ายภาพ ภาพสังเกตการณ์ยุคใหม่มักใช้อุปกรณ์ตรวจจับแบบดิจิตอล ที่นิยมอย่างมากคืออุปกรณ์จับภาพแบบซีซีดี แม้ว่าแสงที่ตามองเห็นจะมีความยาวคลื่นอยู่ระหว่าง 4000 Å ถึง 7000 Å (400-700 nm) แต่อุปกรณ์ตรวจจับเหล่านี้ก็มักจะมีความสามารถสังเกตภาพที่มีการแผ่รังสีแบบใกล้อัลตราไวโอเลต และใกล้อินฟราเรดได้ด้วย === ดาราศาสตร์อินฟราเรด === ดาราศาสตร์อินฟราเรด เป็นการตรวจหาและวิเคราะห์การแผ่รังสีในช่วงคลื่นอินฟราเรด (คือช่วงความยาวคลื่นที่ยาวกว่าแสงสีแดง) ยกเว้นในช่วงคลื่นที่ใกล้เคียงกับแสงที่ตามองเห็น การแผ่รังสีอินฟราเรดจะถูกชั้นบรรยากาศของโลกดูดซับไปมากแล้วชั้นบรรยากาศจะปลดปล่อยรังสีอินฟราเรดออกมาแทน ดังนั้นการสังเกตการณ์ในช่วงคลื่นอินฟราเรดจึงจำเป็นต้องทำที่ระดับบรรยากาศที่สูงและแห้ง หรือออกไปสังเกตการณ์ในอวกาศ การศึกษาดาราศาสตร์ในช่วงคลื่นอินฟราเรดมีประโยชน์มากในการศึกษาวัตถุที่เย็นเกินกว่าจะแผ่รังสีคลื่นแสงที่ตามองเห็นออกมาได้ เช่น ดาวเคราะห์ และแผ่นจานดาวฤกษ์ (circumstellar disk) ยิ่งคลื่นอินฟราเรดมีความยาวคลื่นมาก จะสามารถเดินทางผ่านกลุ่มเมฆฝุ่นได้ดีกว่าแสงที่ตามองเห็นมาก ทำให้เราสามารถเฝ้าสังเกตดาวฤกษ์เกิดใหม่ในเมฆโมเลกุลและในใจกลางของดาราจักรต่าง ๆ ได้ โมเลกุลบางชนิดปลดปล่อยคลื่นอินฟราเรดออกมาแรงมาก ซึ่งทำให้เราสามารถศึกษาลักษณะทางเคมีในอวกาศได้ เช่น การตรวจพบน้ำบนดาวหาง เป็นต้น === ดาราศาสตร์พลังงานสูง === ==== ดาราศาสตร์รังสีอัลตราไวโอเลต ==== ดาราศาสตร์รังสีอัลตราไวโอเลตเป็นการศึกษาวัตถุทางดาราศาสตร์ในช่วงความยาวคลื่นสั้นกว่าแสงม่วง คือประมาณ 10-3200 Å (10-320 นาโนเมตร) แสงที่ความยาวคลื่นนี้จะถูกชั้นบรรยากาศของโลกดูดซับไป ดังนั้นการสังเกตการณ์จึงต้องกระทำที่ชั้นบรรยากาศรอบนอก หรือในห้วงอวกาศ การศึกษาดาราศาสตร์รังสีอัลตราไวโอเลตจะใช้ในการศึกษาการแผ่รังสีความร้อนและเส้นการกระจายตัวของสเปกตรัมจากดาวฤกษ์สีน้ำเงินร้อนจัด (ดาวโอบี) ที่ส่องสว่างมากในช่วงคลื่นนี้u รวมไปถึงดาวฤกษ์สีน้ำเงินในดาราจักรอื่นที่เป็นเป้าหมายสำคัญในการสำรวจระดับอัลตราไวโอเลต วัตถุอื่น ๆ ที่มีการศึกษาแสงอัลตราไวโอเลตได้แก่ เนบิวลาดาวเคราะห์ ซากซูเปอร์โนวา และนิวเคลียสดาราจักรกัมมันต์ อย่างไรก็ดี แสงอัลตราไวโอเลตจะถูกฝุ่นระหว่างดวงดาวดูดซับหายไปได้ง่าย ดังนั้นการตรวจวัดแสงอัลตราไวโอเลตจากวัตถุจึงต้องนำมาปรับปรุงค่าให้ถูกต้องด้วย ==== ดาราศาสตร์รังสีเอ็กซ์ ==== ดาราศาสตร์รังสีเอ็กซ์ คือการศึกษาวัตถุทางดาราศาสตร์ในช่วงความยาวคลื่นของรังสีเอ็กซ์ โดยทั่วไปวัตถุจะแผ่รังสีเอ็กซ์ออกมาจากการแผ่รังสีซิงโครตรอน (เกิดจากอิเล็กตรอนแกว่งตัวเป็นคาบรอบเส้นแรงสนามแม่เหล็ก) จากการแผ่ความร้อนของแก๊สเบาบางที่อุณหภูมิสูงกว่า 107 เคลวิน (เรียกว่า การแผ่รังสี bremsstrahlung) และจากการแผ่ความร้อนของแก๊สหนาแน่นที่อุณหภูมิสูงกว่า 107 เคลวิน (เรียกว่า การแผ่รังสีของวัตถุดำ) คลื่นรังสีเอ็กซ์มักถูกชั้นบรรยากาศของโลกดูดซับไป ดังนั้นการสังเกตการณ์ในช่วงความยาวคลื่นของรังสีเอ็กซ์จึงทำได้โดยอาศัยบัลลูนที่ลอยตัวสูงมาก ๆ หรือจากจรวด หรือจากยานสำรวจอวกาศเท่านั้น แหล่งกำเนิดรังสีเอ็กซ์ที่สำคัญได้แก่ ระบบดาวคู่รังสีเอ็กซ์ พัลซาร์ ซากซูเปอร์โนวา ดาราจักรชนิดรี กระจุกดาราจักร และแกนกลางดาราจักรกัมมันต์ ==== ดาราศาสตร์รังสีแกมมา ==== ดาราศาสตร์รังสีแกมมาเป็นการศึกษาวัตถุทางดาราศาสตร์ในช่วงความยาวคลื่นที่สั้นที่สุดของสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า เราสามารถสังเกตการณ์รังสีแกมมาโดยตรงได้จากดาวเทียมรอบโลก เช่น หอดูดาวรังสีแกมมาคอมป์ตัน หรือกล้องโทรทรรศน์เชเรนคอฟ กล้องเชเรนคอฟไม่ได้ตรวจจับรังสีแกมมาโดยตรง แต่ตรวจจับแสงวาบจากแสงที่ตามองเห็นอันเกิดจากการที่รังสีแกมมาถูกชั้นบรรยากาศของโลกดูดซับไป แหล่งกำเนิดรังสีแกมมาโดยมากมาจากการเกิดแสงวาบรังสีแกมมา ซึ่งเป็นรังสีแกมมาที่แผ่ออกจากวัตถุเพียงชั่วไม่กี่มิลลิวินาทีหรืออาจนานหลายพันวินาทีก่อนที่มันจะสลายตัวไป แหล่งกำเนิดรังสีแกมมาชั่วคราวเช่นนี้มีจำนวนกว่า 90% ของแหล่งกำเนิดรังสีแกมมาทั้งหมด มีแหล่งกำเนิดรังสีแกมมาเพียง 10% เท่านั้นที่เป็นแหล่งกำเนิดแบบถาวร ได้แก่ พัลซาร์ ดาวนิวตรอน และวัตถุที่อาจกลายไปเป็นหลุมดำได้ เช่น นิวเคลียสดาราจักรกัมมันต์ === การสังเกตการณ์อื่นนอกเหนือจากสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า === นอกเหนือจากการสังเกตการณ์ดาราศาสตร์โดยการแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแล้ว ยังมีการสังเกตการณ์อื่น ๆ ที่ทำได้บนโลกเพื่อศึกษาวัตถุในระยะไกลมาก ๆ ในการศึกษาดาราศาสตร์นิวตริโน นักดาราศาสตร์จะใช้ห้องทดลองใต้ดินพิเศษเช่น SAGE, GALLEX, และ Kamioka II/III เพื่อทำการตรวจจับนิวตริโน ซึ่งเป็นอนุภาคที่เกิดจากดวงอาทิตย์ แต่ก็อาจพบจากซูเปอร์โนวาด้วย เราสามารถตรวจหารังสีคอสมิกซึ่งประกอบด้วยอนุภาคพลังงานสูงได้ขณะที่มันปะทะกับชั้นบรรยากาศของโลก เครื่องมือตรวจจับนิวตริโนในอนาคตอาจมีความสามารถพอจะตรวจจับนิวตริโนที่เกิดจากรังสีคอสมิกในลักษณะนี้ได้ การเฝ้าสังเกตการณ์อีกแบบหนึ่งคือการสังเกตการณ์คลื่นความโน้มถ่วง ตัวอย่างหอสังเกตการณ์ลักษณะนี้ เช่น Laser Interferometer Gravitational Observatory (LIGO) แต่การตรวจหาคลื่นความโน้มถ่วงยังเป็นไปได้ยากอยู่ นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาดาราศาสตร์ดาวเคราะห์ ซึ่งทำได้โดยการสังเกตการณ์โดยตรงผ่านยานอวกาศ รวมถึงการเก็บข้อมูลระหว่างที่ยานเดินทางผ่านวัตถุท้องฟ้าต่าง ๆ โดยใช้เซ็นเซอร์ระยะไกล ใช้ยานสำรวจเล็กลงจอดบนวัตถุเป้าหมายเพื่อทำการศึกษาพื้นผิว หรือศึกษาจากตัวอย่างวัตถุที่เก็บมาจากปฏิบัติการอวกาศบางรายการที่สามารถนำชิ้นส่วนตัวอย่างกลับมาทำการวิจัยต่อได้ == ดาราศาสตร์เชิงทฤษฎี == ในการศึกษาดาราศาสตร์เชิงทฤษฎี มีการใช้เครื่องมือหลากหลายชนิดรวมถึงแบบจำลองการวิเคราะห์ต่าง ๆ รวมถึงการจำลองแบบคำนวณทางคณิตศาสตร์ในคอมพิวเตอร์ เครื่องมือแต่ละชนิดล้วนมีประโยชน์แตกต่างกันไป แบบจำลองการวิเคราะห์ของกระบวนการจะเหมาะสำหรับใช้ศึกษาถึงสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นอันสามารถสังเกตได้ ส่วนแบบจำลองคณิตศาสตร์สามารถแสดงถึงการมีอยู่จริงของปรากฏการณ์และผลกระทบต่าง ๆ ที่เราอาจจะมองไม่เห็น. นักดาราศาสตร์ทฤษฎีล้วนกระตือรือร้นที่จะสร้างแบบจำลองทฤษฎีเพื่อระบุถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปจากผลสังเกตการณ์ที่ได้รับ เพื่อช่วยให้ผู้สังเกตการณ์สามารถเลือกใช้หรือปฏิเสธแบบจำลองแต่ละชนิดได้ตามที่เหมาะสมกับข้อมูล นักดาราศาสตร์ทฤษฎียังพยายามสร้างหรือปรับปรุงแบบจำลองให้เข้ากับข้อมูลใหม่ ๆ ในกรณีที่เกิดความไม่สอดคล้องกัน ก็มีแนวโน้มที่จะปรับปรุงแบบจำลองเล็กน้อยเพื่อให้เข้ากันกับข้อมูล ในบางกรณีถ้าพบข้อมูลที่ขัดแย้งกับแบบจำลองอย่างมากเมื่อเวลาผ่านไปนาน ๆ ก็อาจจะต้องล้มเลิกแบบจำลองนั้นไปก็ได้ หัวข้อต่าง ๆ ที่นักดาราศาสตร์ทฤษฎีสนใจศึกษาได้แก่ วิวัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงของดาวฤกษ์ การก่อตัวของดาราจักร โครงสร้างขนาดใหญ่ของวัตถุในเอกภพ กำเนิดของรังสีคอสมิก ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป และฟิสิกส์จักรวาลวิทยา รวมถึงฟิสิกส์อนุภาคในทางดาราศาสตร์ด้วย การศึกษาฟิสิกส์ดาราศาสตร์เป็นเสมือนเครื่องมือสำคัญที่ใช้ตรวจวัดคุณสมบัติของโครงสร้างขนาดใหญ่ในเอกภพ ที่ซึ่งแรงโน้มถ่วงมีบทบาทสำคัญต่อปรากฏการณ์ทางกายภาพต่าง ๆ และเป็นพื้นฐานของการศึกษาฟิสิกส์หลุมดำ และการศึกษาคลื่นแรงโน้มถ่วง ยังมีทฤษฎีกับแบบจำลองอื่น ๆ อีกซึ่งเป็นที่ยอมรับและร่วมศึกษากันโดยทั่วไป ในจำนวนนี้รวมถึงแบบจำลองแลมบ์ดา-ซีดีเอ็ม ทฤษฎีบิกแบง การพองตัวของจักรวาล สสารมืด และ พลังงานมืด ซึ่งกำลังเป็นหัวข้อสำคัญในการศึกษาดาราศาสตร์ในปัจจุบัน ตัวอย่างหัวข้อการศึกษาดาราศาสตร์เชิงทฤษฎี มีดังนี้ {| |- || กระบวนการทางฟิสิกส์ || เครื่องมือทางดาราศาสตร์ || แบบจำลองทางทฤษฎี || การทำนายปรากฏการณ์ |- || ความโน้มถ่วง || กล้องโทรทรรศน์วิทยุ || วิวัฒนาการของดาวฤกษ์ || การสิ้นอายุขัยของดาวฤกษ์ |- || นิวเคลียร์ฟิวชั่น || กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล || การขยายตัวของเอกภพ || อายุของเอกภพ |- || บิกแบง || สเปกโทรสโกปี || การพองตัวของจักรวาล || ความแบนของเอกภพ |- || ความผันผวนควอนตัม || ดาราศาสตร์รังสีเอ็กซ์ || ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป || หลุมดำที่ใจกลางดาราจักรแอนดรอเมดา |- || การยุบตัวของความโน้มถ่วง || || || การเกิดของธาตุต่าง ๆ |- || || || || |- |} == สาขาวิชาหลักของดาราศาสตร์ == === ดาราศาสตร์สุริยะ === ดวงอาทิตย์ เป็นเป้าหมายการศึกษาทางดาราศาสตร์ยอดนิยมแห่งหนึ่ง อยู่ห่างจากโลกไปประมาณ 8 นาทีแสง เป็นดาวฤกษ์ซึ่งอยู่ในแถบลำดับหลักโดยเป็นดาวแคระประเภท G2 V มีอายุประมาณ 4.6 พันล้านปี ดวงอาทิตย์ของเรานี้ไม่นับว่าเป็นดาวแปรแสง แต่มีความเปลี่ยนแปลงในการส่องสว่างอยู่เป็นระยะอันเนื่องจากจากรอบปรากฏของจุดดับบนดวงอาทิตย์ อันเป็นบริเวณที่พื้นผิวดวงอาทิตย์มีอุณหภูมิต่ำกว่าพื้นผิวอื่น ๆ อันเนื่องมาจากผลของความเข้มข้นสนามแม่เหล็ก ดวงอาทิตย์ส่องแสงสว่างมากขึ้นเรื่อย ๆ ตลอดอายุของมัน นับแต่เข้าสู่แถบลำดับหลักก็ได้ส่องสว่างมากขึ้นถึง 40% แล้ว ความเปลี่ยนแปลงการส่องสว่างของดวงอาทิตย์ตามระยะเวลานี้มีผลกระทบอย่างสำคัญต่อโลกด้วย ตัวอย่างเช่นการเกิดปรากฏการณ์ยุคน้ำแข็งสั้น ๆ ช่วงหนึ่ง (Little Ice Age) ระหว่างช่วงยุคกลาง ก็เชื่อว่าเป็นผลมาจาก Maunder Minimum พื้นผิวรอบนอกของดวงอาทิตย์ที่เรามองเห็นเรียกว่า โฟโตสเฟียร์ เหนือพื้นผิวนี้เป็นชั้นบาง ๆ เรียกชื่อว่า โครโมสเฟียร์ จากนั้นเป็นชั้นเปลี่ยนผ่านซึ่งมีอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ชั้นนอกสุดมีอุณหภูมิสูงที่สุด เรียกว่า โคโรนา ใจกลางของดวงอาทิตย์เรียกว่าย่านแกนกลาง เป็นเขตที่มีอุณหภูมิและความดันมากพอจะทำให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น เหนือจากย่านแกนกลางเรียกว่าย่านแผ่รังสี (radiation zone) เป็นที่ซึ่งพลาสมาแผ่คลื่นพลังงานออกมาในรูปของรังสี ชั้นนอกออกมาเป็นย่านพาความร้อน (convection zone) ซึ่งสสารแก๊สจะเปลี่ยนพลังงานกลายไปเป็นแก๊ส เชื่อว่าย่านพาความร้อนนี้เป็นกำเนิดของสนามแม่เหล็กที่ทำให้เกิดจุดดับบนดวงอาทิตย์ ลมสุริยะเกิดจากอนุภาคของพลาสมาที่ไหลออกจากดวงอาทิตย์ ซึ่งจะแผ่ออกไปจนกระทั่งถึงแนว heliopause เมื่อลมสุริยะทำปฏิกิริยากับสนามแม่เหล็กของโลก ทำให้เกิดแนวการแผ่รังสีแวนอัลเลนและออโรร่า ในตำแหน่งที่เส้นแรงสนามแม่เหล็กโลกไหลเวียนในชั้นบรรยากาศ === วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ === วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับองค์ประกอบของดาวเคราะห์ ดวงจันทร์ ดาวเคราะห์แคระ ดาวหาง ดาวเคราะห์น้อย และวัตถุท้องฟ้าอื่น ๆ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ตลอดจนถึงบรรดาดาวเคราะห์นอกระบบด้วย วัตถุในระบบสุริยะจะเป็นที่นิยมศึกษาค้นคว้ามากกว่า ในช่วงแรกสามารถสังเกตการณ์ได้ผ่านกล้องโทรทรรศน์ ต่อมาจึงใช้การสังเกตการณ์โดยยานอวกาศมาช่วย การศึกษาสาขานี้ทำให้เราเข้าใจการเกิดและวิวัฒนาการของระบบดาวเคราะห์ได้ดีขึ้น แม้จะมีการค้นพบใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลาก็ตาม วัตถุในระบบสุริยะสามารถแบ่งออกได้เป็น ดาวเคราะห์รอบใน แถบดาวเคราะห์น้อย และดาวเคราะห์รอบนอก ในกลุ่มดาวเคราะห์รอบในประกอบด้วย ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และดาวอังคาร ส่วนในกลุ่มดาวเคราะห์รอบนอกเป็นดาวแก๊สยักษ์ ได้แก่ ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน และดาวเคราะห์หินขนาดเล็ก พลูโต พ้นจากดาวเนปจูนไปจะมีแถบไคเปอร์ และกลุ่มเมฆออร์ต ซึ่งแผ่กว้างเป็นระยะทางถึงหนึ่งปีแสง ดาวเคราะห์ก่อตัวขึ้นจากแผ่นจานฝุ่นที่หมุนวนรอบ ๆ ดวงอาทิตย์ เมื่อผ่านกระบวนการต่าง ๆ นานาเช่น การดึงดูดของแรงโน้มถ่วง การปะทะ การแตกสลาย และการรวมตัวกัน แผ่นจานฝุ่นเหล่านั้นก็ก่อตัวเป็นรูปร่างที่เรียกว่า ดาวเคราะห์ก่อนเกิด (protoplanet) แรงดันการแผ่รังสีของลมสุริยะจะพัดพาเอาสสารที่ไม่สามารถรวมตัวกันติดให้กระจายหายไป คงเหลือแต่ส่วนของดาวเคราะห์ที่มีมวลมากพอจะดึงดูดบรรยากาศชั้นแก๊สของตัวเอาไว้ได้ ดาวเคราะห์ใหม่เหล่านี้ยังมีการดึงดูดและปลดปล่อยสสารในตัวตลอดช่วงเวลาที่ถูกเศษสะเก็ดดาวย่อย ๆ ปะทะตลอดเวลา การปะทะเหล่านี้ทำให้เกิดหลุมบ่อบนพื้นผิวดาวเคราะห์ดั่งเช่นที่ปรากฏบนพื้นผิวดวงจันทร์ ผลจากการปะทะนี้ส่วนหนึ่งอาจทำให้ดาวเคราะห์ก่อนเกิดแตกชิ้นส่วนออกมาและกลายไปเป็นดวงจันทร์ของมันก็ได้ เมื่อดาวเคราะห์เหล่านี้มีมวลมากพอ โดยรวมเอาสสารที่มีความหนาแน่นแบบต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกัน กระบวนการนี้ทำให้ดาวเคราะห์ก่อตัวเป็นดาวแบบต่าง ๆ คือแกนกลางเป็นหิน หรือโลหะ ล้อมรอบด้วยชั้นเปลือก และพื้นผิวภายนอก แกนกลางของดาวเคราะห์อาจเป็นของแข็งหรือของเหลวก็ได้ แกนกลางของดาวเคราะห์บางดวงสามารถสร้างสนามแม่เหล็กของตัวเองขึ้นมาได้ ซึ่งช่วยปกป้องชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ดวงนั้น ๆ จากผลกระทบของลมสุริยะ ความร้อนภายในของดาวเคราะห์หรือดวงจันทร์เป็นผลจากการปะทะกันที่ทำให้เกิดโครงร่างและสารกัมมันตรังสี (เช่น ยูเรเนียม ธอเรียม และ 26Al ดาวเคราะห์และดวงจันทร์บางดวงสะสมความร้อนไว้มากพอจะทำให้เกิดกระบวนการทางธรณีวิทยาเช่น ภูเขาไฟและแผ่นดินไหว ส่วนพวกที่สามารถสะสมชั้นบรรยากาศของตัวเองได้ ก็จะมีกระบวนการกัดกร่อนของลมและน้ำ ดาวเคราะห์ที่เล็กกว่าจะเย็นตัวลงเร็วกว่า และปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาจะหยุดลงเว้นแต่หลุมบ่อจากการถูกชนเท่านั้น === ดาราศาสตร์ดาวฤกษ์ === การศึกษาเกี่ยวกับดาวฤกษ์และวิวัฒนาการของดาวฤกษ์เป็นพื้นฐานสำคัญในการทำความเข้าใจกับเอกภพ วิทยาการฟิสิกส์ดาราศาสตร์ของดวงดาวเกิดขึ้นมาจากการสังเกตการณ์และการพยายามสร้างทฤษฎีเพื่อทำความเข้าใจ รวมถึงการสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์เพื่อศึกษาผลที่เกิดขึ้นภายในดวงดาว ดาวฤกษ์ถือกำเนิดขึ้นในย่านอวกาศที่มีฝุ่นและแก๊สอยู่หนาแน่น เรียกชื่อว่าเมฆโมเลกุลขนาดยักษ์ เมื่อเกิดภาวะที่ไม่เสถียร ส่วนประกอบของเมฆอาจแตกสลายไปภายใต้แรงโน้มถ่วง และทำให้เกิดเป็นดาวฤกษ์ก่อนเกิดขึ้น บริเวณที่มีความหนาแน่นของแก๊สและฝุ่นสูงมากพอ และร้อนมากพอ จะเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น ซึ่งทำให้เกิดดาวฤกษ์ในแถบลำดับหลักขึ้น ธาตุที่กำเนิดขึ้นในแกนกลางของดาวฤกษ์โดยมากเป็นธาตุที่หนักกว่าไฮโดรเจนและฮีเลียมทั้งสิ้น คุณลักษณะต่าง ๆ ของดาวฤกษ์ขึ้นอยู่กับมวลเริ่มต้นของดาวฤกษ์นั้น ๆ ดาวฤกษ์ที่มีมวลมากจะมีความส่องสว่างสูง และจะใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนจากแกนกลางของมันเองไปอย่างรวดเร็ว เมื่อเวลาผ่านไป เชื้อเพลิงไฮโดรเจนเหล่านี้จะค่อย ๆ แปรเปลี่ยนกลายไปเป็นฮีเลียม ดาวฤกษ์ก็จะวิวัฒนาการไป การเกิดฟิวชั่นของฮีเลียมจะต้องใช้อุณหภูมิแกนกลางที่สูงกว่า ดังนั้นดาวฤกษ์นั้นก็จะขยายตัวใหญ่ขึ้น ขณะเดียวกันก็เพิ่มความหนาแน่นแกนกลางของตัวเองด้วย ดาวแดงยักษ์จะมีช่วงอายุที่สั้นก่อนที่เชื้อเพลิงฮีเลียมจะถูกเผาผลาญหมดไป ดาวฤกษ์ที่มีมวลมากกว่าจะผ่านกระบวนการวิวัฒนาการได้มากกว่า โดยที่มีธาตุหนักหลอมรวมอยู่ในตัวเพิ่มมากขึ้น การสิ้นสุดชะตากรรมของดาวฤกษ์ก็ขึ้นอยู่กับมวลของมันเช่นกัน ดาวฤกษ์ที่มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ของเรามากกว่า 8 เท่าจะแตกสลายกลายไปเป็นซูเปอร์โนวา ขณะที่ดาวฤกษ์ที่เล็กกว่าจะกลายไปเป็นเนบิวลาดาวเคราะห์ และวิวัฒนาการต่อไปเป็นดาวแคระขาว ซากของซูเปอร์โนวาคือดาวนิวตรอนที่หนาแน่น หรือในกรณีที่ดาวฤกษ์นั้นมีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ของเรากว่า 3 เท่า มันจะกลายไปเป็นหลุมดำ สำหรับดาวฤกษ์ที่เป็นระบบดาวคู่อาจมีวิวัฒนาการที่แตกต่างออกไป เช่นอาจมีการถ่ายเทมวลแก่กันแล้วกลายเป็นดาวแคระขาวแบบคู่ซึ่งสามารถจะกลายไปเป็นซูเปอร์โนวาได้ การเกิดเนบิวลาดาวเคราะห์และซูเปอร์โนวาเป็นการกระจายสสารธาตุออกไปสู่สสารระหว่างดาว หากไม่มีกระบวนการนี้แล้ว ดาวฤกษ์ใหม่ ๆ (และระบบดาวเคราะห์ของมัน) ก็จะก่อตัวขึ้นมาจากเพียงไฮโดรเจนกับฮีเลียมเท่านั้น === ดาราศาสตร์ดาราจักร === ระบบสุริยะของเราโคจรอยู่ภายในดาราจักรทางช้างเผือก ซึ่งเป็นดาราจักรชนิดก้นหอยมีคาน และเป็นดาราจักรสมาชิกแห่งหนึ่งในกลุ่มท้องถิ่น ดาราจักรนี้เป็นกลุ่มแก๊ส ฝุ่น ดาวฤกษ์ และวัตถุอื่น ๆ อีกจำนวนมากที่หมุนวนไปรอบกัน โดยมีแรงโน้มถ่วงกระทำต่อกันทำให้ดึงดูดกันไว้ ตำแหน่งของโลกอยู่ที่แขนฝุ่นกังหันด้านนอกข้างหนึ่งของดาราจักร ดังนั้นจึงมีบางส่วนของทางช้างเผือกที่ถูกบังไว้และไม่สามารถมองเห็นได้ ที่ใจกลางของทางช้างเผือกมีลักษณะคล้ายดุมกังหันขนาดใหญ่ ซึ่งเชื่อว่าเป็นที่ตั้งของหลุมดำมวลยวดยิ่ง รอบ ๆ ดุมกังหันเป็นแขนก้นหอยชั้นต้นมี 4 ปลายหมุนอยู่รอบ ๆ แกน เป็นย่านที่มีการเกิดใหม่ของดาวฤกษ์ดำเนินอยู่ มีดาวฤกษ์แบบดารากร 1 ที่อายุเยาว์อยู่ในย่านนี้เป็นจำนวนมาก ส่วนจานของก้นหอยประกอบด้วยทรงกลมฮาโล อันประกอบด้วยดาวฤกษ์แบบดารากร 2 ที่มีอายุมากกว่า ทั้งยังเป็นที่ตั้งของกลุ่มดาวฤกษ์หนาแน่นที่เรียกกันว่า กระจุกดาวทรงกลม ที่ว่างระหว่างดวงดาวมีสสารระหว่างดาวบรรจุอยู่ เป็นย่านที่มีวัตถุต่าง ๆ อยู่อย่างเบาบางมาก บริเวณที่หนาแน่นที่สุดคือเมฆโมเลกุล ซึ่งประกอบด้วยโมเลกุลของไฮโดรเจนและธาตุอื่น ๆ ที่เป็นย่านกำเนิดของดาวฤกษ์ ในช่วงแรกจะมีการก่อตัวเป็นเนบิวลามืดรูปร่างประหลาดก่อน จากนั้นเมื่อมีความหนาแน่นเพิ่มขึ้นมาก ๆ ก็จะเกิดการแตกสลายแล้วก่อตัวใหม่เป็นดาวฤกษ์ก่อนเกิด เมื่อมีดาวฤกษ์มวลมากปรากฏขึ้นมากเข้า มันจะเปลี่ยนเมฆโมเลกุลให้กลายเป็นบริเวณเอชทูซึ่งเป็นย่านเรืองแสงเต็มไปด้วยแก๊สและพลาสมา ลมดาวฤกษ์กับการระเบิดซูเปอร์โนวาของดาวเหล่านี้จะทำให้กลุ่มเมฆกระจายตัวกันออกไป แล้วเหลือแต่เพียงกลุ่มของดาวฤกษ์จำนวนหนึ่งที่เกาะกลุ่มกันเป็นกระจุกดาวเปิดอายุน้อย ๆ เมื่อเวลาผ่านไปกระจุกดาวเหล่านี้ก็จะค่อย ๆ กระจายห่างกันออกไป แล้วกลายไปเป็นประชากรดาวดวงหนึ่งในทางช้างเผือก การศึกษาจลนศาสตร์ของมวลสารในทางช้างเผือกและดาราจักรต่าง ๆ ทำให้เราทราบว่า มวลที่มีอยู่ในดาราจักรนั้นแท้จริงมีมากกว่าสิ่งที่เรามองเห็น ทฤษฎีเกี่ยวกับสสารมืดจึงเกิดขึ้นเพื่ออธิบายปรากฏการณ์นี้ แม้ว่าธรรมชาติของสสารมืดยังคงเป็นสิ่งลึกลับไม่มีใครอธิบายได้ === ดาราศาสตร์ดาราจักรนอกระบบ === การศึกษาวัตถุที่อยู่ในห้วงอวกาศอื่นนอกเหนือจากดาราจักรของเรา เป็นการศึกษาเกี่ยวกับกำเนิดและวิวัฒนาการของดาราจักร การศึกษารูปร่างลักษณะและการจัดประเภทของดาราจักร การสำรวจดาราจักรกัมมันต์ การศึกษาการจัดกลุ่มและกระจุกดาราจักร ซึ่งในหัวข้อหลังนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในการทำความเข้าใจกับโครงสร้างขนาดใหญ่ของจักรวาล ดาราจักรส่วนใหญ่จะถูกจัดกลุ่มตามรูปร่างลักษณะที่ปรากฏ เข้าตามหลักเกณฑ์ของการจัดประเภทดาราจักร ซึ่งมีกลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่ ดาราจักรชนิดก้นหอย ดาราจักรชนิดรี และดาราจักรไร้รูปแบบ ลักษณะของดาราจักรคล้ายคลึงกับชื่อประเภทที่กำหนด ดาราจักรชนิดรีจะมีรูปร่างในภาคตัดขวางคล้ายคลึงกับรูปวงรี ดาวฤกษ์จะโคจรไปแบบสุ่มโดยไม่มีทิศทางที่แน่ชัด ดาราจักรประเภทนี้มักไม่ค่อยมีฝุ่นระหว่างดวงดาวหลงเหลือแล้ว ย่านกำเนิดดาวใหม่ก็ไม่มี และดาวฤกษ์ส่วนใหญ่จะมีอายุมาก เรามักพบดาราจักรชนิดรีที่บริเวณใจกลางของกระจุกดาราจักร หรืออาจเกิดขึ้นจากการที่ดาราจักรขนาดใหญ่สองแห่งปะทะแล้วรวมตัวเข้าด้วยกันก็ได้ ดาราจักรชนิดก้นหอยมักมีรูปทรงค่อนข้างแบน เหมือนแผ่นจานหมุน และส่วนใหญ่จะมีหลุมดำมวลยวดยิ่งเป็นดุมหรือมีแกนรูปร่างคล้ายคานที่บริเวณใจกลาง พร้อมกับแขนก้นหอยสว่างแผ่ออกไปเป็นวง แขนก้นหอยนี้เป็นย่านของฝุ่นที่เป็นต้นกำเนิดของดาวฤกษ์ ดาวฤกษ์อายุน้อยมวลมากจะทำให้แขนนี้ส่องสว่างเป็นสีฟ้า ส่วนที่รอบนอกของดาราจักรมักเป็นกลุ่มของดาวฤกษ์อายุมาก ดาราจักรทางช้างเผือกของเราและดาราจักรแอนดรอเมดาก็เป็นดาราจักรชนิดก้นหอย ดาราจักรไร้รูปแบบมักมีรูปร่างปรากฏไม่แน่ไม่นอน ไม่ใช่ทั้งดาราจักรชนิดรีหรือชนิดก้นหอย ประมาณหนึ่งในสี่ของจำนวนดาราจักรทั้งหมดที่พบเป็นดาราจักรชนิดไร้รูปแบบนี้ รูปร่างอันแปลกประหลาดของดาราจักรมักทำให้เกิดปฏิกิริยาแรงโน้มถ่วงแปลก ๆ ขึ้นด้วย ดาราจักรกัมมันต์คือดาราจักรที่มีการเปล่งสัญญาณพลังงานจำนวนมากออกมาจากแหล่งกำเนิดอื่นนอกเหนือจากดาวฤกษ์ ฝุ่น และแก๊ส แหล่งพลังงานนี้เป็นย่านเล็ก ๆ แต่หนาแน่นมากซึ่งอยู่ในแกนกลางดาราจักร โดยทั่วไปเชื่อกันว่ามีหลุมดำมวลยวดยิ่งอยู่ที่นั่นซึ่งเปล่งพลังงานรังสีออกมาเมื่อมีวัตถุใด ๆ ตกลงไปในนั้น ดาราจักรวิทยุคือดาราจักรกัมมันต์ชนิดหนึ่งที่ส่องสว่างมากในช่วงสเปกตรัมของคลื่นวิทยุ มันจะเปล่งลอนของแก๊สออกมาเป็นจำนวนมาก ดาราจักรกัมมันต์ที่แผ่รังสีพลังงานสูงออกมาได้แก่ ดาราจักรเซย์เฟิร์ต เควซาร์ และเบลซาร์ เชื่อว่าเควซาร์เป็นวัตถุที่ส่องแสงสว่างมากที่สุดเท่าที่เป็นที่รู้จักในเอกภพ โครงสร้างขนาดใหญ่ของจักรวาลประกอบด้วยกลุ่มและกระจุกดาราจักรจำนวนมาก โครงสร้างนี้มีการจัดลำดับชั้นโดยที่ระดับชั้นที่ใหญ่ที่สุดคือ มหากระจุกของดาราจักร เหนือกว่านั้นมวลสารจะมีการโยงใยกันในลักษณะของใยเอกภพและกำแพงเอกภพ ส่วนที่ว่างระหว่างนั้นมีแต่สุญญากาศ === จักรวาลวิทยา === จักรวาลวิทยา (cosmology; มาจากคำในภาษากรีกว่า κοσμος "cosmos" หมายถึง เอกภพ และ λογος หมายถึง การศึกษา) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับเอกภพทั้งหมดในภาพรวม การสังเกตการณ์โครงสร้างขนาดใหญ่ของเอกภพ เป็นสาขาวิชาหนึ่งที่เรียกว่า จักรวาลวิทยาเชิงกายภาพ ช่วยให้เรามีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับการกำเนิดและวิวัฒนาการของจักรวาล ทฤษฎีที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปสำหรับพื้นฐานของจักรวาลวิทยาสมัยใหม่ ได้แก่ ทฤษฎีบิกแบง ซึ่งกล่าวว่าเอกภพของเรากำเนิดมาจากจุดเพียงจุดเดียว หลังจากนั้นจึงขยายตัวขึ้นเป็นเวลากว่า 13.7 พันล้านปีมาแล้ว หลักการของทฤษฎีบิกแบงเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่การค้นพบรังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาล ในปี ค.ศ. 1965 ตลอดช่วงเวลาการขยายตัวของเอกภพนี้ เอกภพได้ผ่านขั้นตอนของวิวัฒนาการมามากมายหลายครั้ง ในช่วงแรก ทฤษฎีคาดการณ์ว่าเอกภพน่าจะผ่านช่วงเวลาการพองตัวของจักรวาลที่รวดเร็วมหาศาล ซึ่งเป็นหนึ่งเดียวกันและเสมอกันในทุกทิศทางในสภาวะเริ่มต้น หลังจากนั้น นิวคลีโอซินทีสิสจึงทำให้เกิดธาตุต่าง ๆ ขึ้นมากมายในเอกภพยุคแรก เมื่อมีอะตอมแรกเกิดขึ้น จึงมีการแผ่รังสีผ่านอวกาศ ปลดปล่อยพลังงานออกมาดั่งที่ทุกวันนี้เรามองเห็นเป็นรังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาล เอกภพขยายตัวผ่านช่วงเวลาของยุคมืดเพราะไม่ค่อยมีแหล่งกำเนิดพลังงานของดาวฤกษ์ เริ่มมีการจัดโครงสร้างลำดับชั้นของสสารขึ้นนับแต่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นของสสาร สสารที่รวมกลุ่มกันอยู่เป็นบริเวณหนาแน่นที่สุดกลายไปเป็นกลุ่มเมฆแก๊สและดาวฤกษ์ยุคแรกสุด ดาวฤกษ์มวลมากเหล่านี้เป็นจุดกำเนิดของกระบวนการแตกตัวทางไฟฟ้าซึ่งเชื่อว่าเป็นต้นกำเนิดของธาตุหนักมากมายที่อยู่ในเอกภพยุคเริ่มต้น ผลจากแรงโน้มถ่วงทำให้มีการดึงดูดรวมกลุ่มกันเกิดเป็นใยเอกภพ มีช่องสุญญากาศเป็นพื้นที่ว่าง หลังจากนั้นโครงสร้างของแก๊สและฝุ่นก็ค่อย ๆ รวมตัวกันเกิดเป็นดาราจักรยุคแรกเริ่ม เมื่อเวลาผ่านไป มันดึงดูดสสารต่าง ๆ เข้ามารวมกันมากขึ้น และมีการจัดกลุ่มโครงสร้างเข้าด้วยกันเป็นกลุ่มและกระจุกดาราจักร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในโครงสร้างขนาดใหญ่คือมหากระจุกดาราจักร โครงสร้างพื้นฐานที่สุดของจักรวาลคือการมีอยู่ของสสารมืดและพลังงานมืด ในปัจจุบันเราเชื่อกันว่าทั้งสองสิ่งนี้มีอยู่จริง และเป็นส่วนประกอบถึงกว่า 96% ของความหนาแน่นทั้งหมดของเอกภพ เหตุนี้การศึกษาฟิสิกส์ในยุคใหม่จึงเป็นความพยายามทำความเข้าใจกับองค์ประกอบเหล่านี้ == ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสาขาอื่น == การศึกษาดาราศาสตร์และฟิสิกส์ดาราศาสตร์ที่ก้าวหน้ามากขึ้น ทำให้มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์สาขาอื่นมากยิ่งขึ้น ดังนี้ โบราณดาราศาสตร์ (Archaeoastronomy) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับวิทยาการดาราศาสตร์ในยุคโบราณหรือยุคดั้งเดิม โดยพิจารณาถึงสภาพสังคมและวัฒนธรรม อาศัยหลักฐานในทางโบราณคดีและมานุษยวิทยาเข้ามาช่วย ชีววิทยาดาราศาสตร์ (Astrobiology) เป็นการศึกษาการมาถึงและวิวัฒนาการของระบบชีววิทยาในเอกภพ ที่สำคัญคือการศึกษาและตรวจหาความเป็นไปได้ของสิ่งมีชีวิตในโลกอื่น เคมีดาราศาสตร์ (Astrochemistry) เป็นการศึกษาลักษณะทางเคมีที่พบในอวกาศ นับแต่การก่อตัว การเกิดปฏิกิริยา และการสูญสลาย มักใช้ในการศึกษาเมฆโมเลกุล รวมถึงดาวฤกษ์อุณหภูมิต่ำต่าง ๆ เช่น ดาวแคระน้ำตาลและดาวเคราะห์ ส่วน เคมีจักรวาล (Cosmochemistry) เป็นการศึกษาลักษณะทางเคมีที่พบในระบบสุริยะ รวมถึงกำเนิดของธาตุและการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนของไอโซโทป ทั้งสองสาขานี้คาบเกี่ยวกันระหว่างศาสตร์ทางเคมีและดาราศาสตร์ นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาเกี่ยวกับ การวัดตำแหน่งดาว (Astrometry) และกลศาสตร์ท้องฟ้า (Celestial Mechanics) ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับตำแหน่งและการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของวัตถุท้องฟ้า การระบุพิกัดและจลนศาสตร์ของวัตถุท้องฟ้า ลักษณะของวงโคจร ความโน้มถ่วง และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิชากลศาสตร์และฟิสิกส์ == ดาราศาสตร์สมัครเล่น == ดาราศาสตร์ เป็นสาขาวิชาหนึ่งทางวิทยาศาสตร์ที่บุคคลทั่วไปสามารถมีส่วนร่วมได้อย่างมากที่สุด นับแต่อดีตมา นักดาราศาสตร์สมัครเล่นได้สังเกตพบวัตถุท้องฟ้าและปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่สำคัญมากมายด้วยเครื่องมือที่พวกเขาสร้างขึ้นมาเอง เป้าหมายในการสังเกตการณ์ของนักดาราศาสตร์สมัครเล่นโดยมากได้แก่ ดวงจันทร์ ดาวเคราะห์ ดาวฤกษ์ ดาวหาง ฝนดาวตก และวัตถุในห้วงอวกาศลึกอีกจำนวนหนึ่งเช่น กระจุกดาว กระจุกดาราจักร หรือเนบิวลา สาขาวิชาย่อยสาขาหนึ่งของดาราศาสตร์สมัครเล่น คือการถ่ายภาพทางดาราศาสตร์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับวิธีการถ่ายภาพในท้องฟ้ายามราตรี นักดาราศาสตร์สมัครเล่นส่วนมากจะเจาะจงเฝ้าสังเกตวัตถุท้องฟ้าหรือปรากฏการณ์บางอย่างที่พวกเขาสนใจเป็นพิเศษ ส่วนใหญ่แล้วนักดาราศาสตร์สมัครเล่นจะสังเกตการณ์ดาราศาสตร์ในคลื่นที่ตามองเห็น แต่ก็มีการทดลองเล็ก ๆ อยู่บ้างที่กระทำในช่วงคลื่นอื่นนอกจากคลื่นที่ตามองเห็น เช่นการใช้ฟิลเตอร์แบบอินฟราเรดติดบนกล้องโทรทรรศน์ หรือการใช้กล้องโทรทรรศน์วิทยุ เป็นต้น นักดาราศาสตร์สมัครเล่นผู้บุกเบิกในการสังเกตการณ์ดาราศาสตร์วิทยุ คือ คาร์ล แจนสกี (Karl Jansky) ผู้เริ่มเฝ้าสังเกตท้องฟ้าในช่วงคลื่นวิทยุตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1930 ยังมีนักดาราศาสตร์สมัครเล่นอีกจำนวนหนึ่งที่ใช้กล้องโทรทรรศน์ประดิษฐ์เองที่บ้าน หรือใช้กล้องโทรทรรศน์วิทยุที่แต่เดิมสร้างมาเพื่องานวิจัยทางดาราศาสตร์ แต่ปัจจุบันได้เปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าไปใช้งานได้ด้วย มีบทความทางดาราศาสตร์มากมายที่ส่งมาจากนักดาราศาสตร์สมัครเล่น อันที่จริงแล้ว นี่เป็นหนึ่งในไม่กี่สาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์ที่มือสมัครเล่นก็สามารถมีส่วนร่วมหรือเขียนบทความสำคัญ ๆ ขึ้นมาได้ นักดาราศาสตร์สมัครเล่นสามารถตรวจวัดวงโคจรโดยละเอียดของดาวเคราะห์ขนาดเล็กได้ พวกเขาค้นพบดาวหาง และทำการเฝ้าสังเกตดาวแปรแสง ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิตอลทำให้นักดาราศาสตร์สมัครเล่นมีความสามารถในการถ่ายภาพทางดาราศาสตร์ได้ดียิ่งขึ้น และหลาย ๆ ภาพก็เป็นภาพปรากฏการณ์อันสำคัญทางดาราศาสตร์ด้วย == ปีดาราศาสตร์สากล 2009 == ปี ค.ศ. 2009 เป็นปีที่ครบรอบ 400 ปี นับจากกาลิเลโอได้ประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ขึ้นเพื่อทำการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ และพบหลักฐานยืนยันแนวคิดดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางจักรวาลที่นำเสนอโดย นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส ไม่นานก่อนหน้านั้น การค้นพบนี้ถือเป็นการปฏิวัติแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับจักรวาล และเป็นการบุกเบิกการศึกษาดาราศาสตร์ยุคใหม่โดยอาศัยกล้องโทรทรรศน์ ซึ่งมีความก้าวหน้ายิ่งขึ้นตามที่เทคโนโลยีของกล้องโทรทรรศน์พัฒนาขึ้น องค์การสหประชาชาติจึงได้ประกาศให้ปี ค.ศ. 2009 เป็นปีดาราศาสตร์สากล โดยได้ประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม ค.ศ. 2008 กิจกรรมต่าง ๆ ดำเนินการโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล และได้รับการสนับสนุนจากองค์การยูเนสโก ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของสหประชาชาติที่รับผิดชอบงานด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการที่กรุงปารีส ในวันที่ 15-16 มกราคม ค.ศ. 2009 == ดูเพิ่ม == ปีดาราศาสตร์สากล นักดาราศาสตร์ กลุ่มดาว บันไดระยะห่างของจักรวาล ระบบสุริยะ กล้องโทรทรรศน์ การสำรวจอวกาศ สมาคมดาราศาสตร์ไทย == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ "ปีดาราศาสตร์สากล 2009" สมาคมดาราศาสตร์ไทย สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ โครงการเครือข่ายสารสนเทศดาราศาสตร์สำหรับโรงเรียน ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ) โครงการลีซ่า โครงการเรียนรู้เรื่องวิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ โดยหอดูดาวเกิดแก้ว สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ดาราศาสตร์ดอตคอม ดูดาวดอตคอม องค์การนาซา วารสารดาราศาสตร์ Astronomy.com เว็บไซต์ทางการ กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล
thaiwikipedia
0
ภูมิศาสตร์
ภูมิศาสตร์ (geography, γεωγραφία แปลว่า "การพรรณนาเกี่ยวกับโลก") เป็นสาขาทางวิทยาศาสตร์ที่มุ่งเน้นถึงการศึกษาเกี่ยวกับพื้นดิน ภูมิประเทศ ประชากร และปรากฏการณ์บนโลก บุคคลแรกที่ใช้คำว่า γεωγραφία คือเอราทอสเทนีส (276–194 ปีก่อน ค.ศ.) ภูมิศาสตร์ครอบคลุมสาขาต่าง ๆ ที่มุ่งเน้นความเข้าใจเกี่ยวกับโลกและความซับซ้อนระหว่างมนุษย์และธรรมชาติที่เกิดขึ้นซึ่งไม่เฉพาะแต่ในรูปธรรมแต่ยังรวมถึงความเป็นมาและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยทั่วไปภูมิศาสตร์มักถูกแบ่งออกเป็นสองสาขาหลักคือภูมิศาสตร์มนุษย์และภูมิศาสตร์กายภาพ ภูมิศาสตร์มนุษย์เกี่ยวข้องกับการศึกษาถึงผู้คน ชุมชน วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ด้วยการศึกษาความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ บนพื้นที่และสถานที่ ขณะที่ภูมิศาสตร์กายภาพเกี่ยวข้องกับการศึกษาถึงกระบวนการและแบบรูปในสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติอันประกอบด้วย บรรยากาศภาค อุทกภาค ชีวภาค และธรณีภาค สี่ขนบธรรมเนียมทางประวัติศาสตร์ในการวิจัยทางภูมิศาสตร์ประกอบด้วย การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ของปรากฏการณ์ธรรมชาติและมนุษย์ การศึกษาพื้นที่ของสถานที่และภูมิภาค การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพื้นดินกับมนุษย์ และวิทยาศาสตร์โลก ภูมิศาสตร์ได้รับการกล่าวขานว่าเป็น "สาขาวิชาแห่งโลก" และ "ตัวเชื่อมระหว่างมนุษย์และวิทยาศาสตร์กายภาพ" == บทนำ == นักภูมิศาสตร์ได้รับการจัดให้อยู่ในกลุ่มเดียวกับนักทำแผนที่และผู้ที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับลำดับและชื่อของสถานที่ต่าง ๆ แม้ว่านักภูมิศาสตร์จะได้รับการฝึกฝนเกี่ยวกับภูมินามวิทยาและการทำแผนที่แต่ก็ไม่ถือว่าเป็นหน้าที่หลักของนักภูมิศาสตร์ นักภูมิศาสตร์เป็นผู้ศึกษาเกี่ยวกับพื้นที่และการกระจายของฐานข้อมูลเชิงเวลาจากปรากฏการณ์ กระบวนการ คุณลักษณะ ตลอดจนปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม เนื่องจากพื้นที่และสถานที่ส่งผลต่อความหลากหลายของสิ่งต่าง ๆ เช่น เศรษฐศาสตร์ สุขภาพ ภูมิอากาศ พืช และสัตว์ ทำให้ภูมิศาสตร์มีความเป็นสหวิทยาการสูง ลักษณะการเป็นสหวิทยาการของวิธีการทางภูมิศาสตร์ขึ้นอยู่กับความสนใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์ทางกายภาพและมนุษย์รวมถึงแบบรูปเชิงพื้นที่ที่เกิดขึ้น ภูมิศาสตร์สามารถแบ่งสาขาออกกว้าง ๆ ได้ออกเป็นสองสาขา คือ ภูมิศาสตร์มนุษย์และภูมิศาสตร์กายภาพ ซึ่งในอดีตส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นถึงสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างว่ามนุษย์สามารถรังสรรค์ จัดการ มีมุมมองและอิทธิพลต่อพื้นที่นั้นอย่างไร ในภายหลังได้มีการมุ่งเน้นถึงสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติว่าสิ่งมีชีวิต ภูมิอากาศ ดิน น้ำ และธรณีสัณฐานมีผลและปฏิสัมพันธ์อย่างไร ความแตกต่างระหว่างวิธีการศึกษาเหล่านี้นำไปสู่การเกิดสาขาที่สามซึ่งผสานกันระหว่างภูมิศาสตร์กายภาพและภูมิศาสตร์มนุษย์คือ ภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมและมนุษย์ == แขนงวิชา == === ภูมิศาสตร์กายภาพ === ภูมิศาสตร์กายภาพเป็นสาขาที่มุ่งเน้นการศึกษาถึงสภาพทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์โลก เพื่อเข้าใจลักษณะและปัญหาของธรณีภาค อุทกภาค บรรยากาศ และชีวภาค ไฟล์:Línea de Wallace.jpg|ชีวภูมิศาสตร์ ไฟล์:Cyclone Catarina from the ISS on March 26 2004.JPG|ภูมิอากาศวิทยา บรรยากาศศาสตร์และอุตุนิยมวิทยา ไฟล์:90 mile beach.jpg|ภูมิศาสตร์ชายฝั่ง ไฟล์:Gavin Plant.JPG|การจัดการสิ่งแวดล้อมและการจัดการภัยพิบัติ ไฟล์:Meridian convergence and spehrical excess.png|ภูมิมาตรศาสตร์ ไฟล์:Delicate Arch LaSalle.jpg|ธรณีวิทยา บรรพชีวินวิทยาและธรณีสัณฐานวิทยา ไฟล์:Receding glacier-en.svg|วิทยาธารน้ำแข็ง ไฟล์:Meander.svg|อุทกวิทยา ชลธารวิทยาและอุทกศาสตร์ ไฟล์:Khajuraho-landscape.jpg|นิเวศวิทยาภูมิทัศน์ ไฟล์:World11.jpg|สมุทรศาสตร์ ไฟล์:Soil profile.jpg|ปฐพีวิทยา ไฟล์:Pangea animation 03.gif|ภูมิศาสตร์บรรพกาล ไฟล์:Milankovitch Variations sv.png|วิทยาศาสตร์ควอเทอร์นารี === ภูมิศาสตร์มนุษย์ === ภูมิศาสตร์มนุษย์เป็นสาขาที่มุ่งเน้นถึงการศึกษาการศึกษาแบบรูปและกระบวนการอันเกิดจากสังคมมนุษย์ ซึ่งครอบคลุมทั้งมนุษย์ การเมือง วัฒนธรรม สังคม และเศรษฐกิจ ไฟล์:Qichwa conchucos 01.jpg|ภูมิศาสตร์วัฒนธรรม ไฟล์:Pepsi in India.jpg|ภูมิศาสตร์การพัฒนา ไฟล์:Christaller model 1.jpg|ภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ ไฟล์:Star of life.svg|ภูมิศาสตร์สุขภาพ ไฟล์:British Empire 1897.jpg|ภูมิศาสตร์เชิงประวัติและภูมิศาสตร์เชิงเวลา ไฟล์:UN General Assembly.jpg|ภูมิศาสตร์การเมืองและภูมิรัฐศาสตร์ ไฟล์:Pyramide Comores.PNG|ภูมิศาสตร์ประชากรหรือประชากรศาสตร์ ไฟล์:ReligionSymbol.svg|ภูมิศาสตร์ศาสนา ไฟล์:US-hoosier-family.jpg|ภูมิศาสตร์สังคม ไฟล์:Gare du Nord USFRT (Paris Metro).png|ภูมิศาสตร์การขนส่ง ไฟล์:Niagara_Falls_4_db.jpg|ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว ไฟล์:New-York-Jan2005.jpg|ภูมิศาสตร์เมือง แนวทางต่าง ๆ ในการศึกษาภูมิศาสตร์มนุษย์ที่เกิดขึ้นใหม่และรวมถึง: ภูมิศาสตร์พฤติกรรม ภูมิศาสตร์สตรีนิยม ทฤษฎีทางวัฒนธรรม ภูมิปรัชญา === ภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อม === ภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อมเป็นสาขาหนึ่งของภูมิศาสตร์ที่อธิบายถึงลักษณะเชิงพื้นที่ของการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และธรรมชาติของโลก การศึกษาภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อมจำเป็นที่จะต้องเข้าใจถึงลักษณะดั้งเดิมของภูมิศาสตร์กายภาพและภูมิศาสตร์มนุษย์ตลอดจนวิธีการที่สังคมมนุษย์กำหนดกรอบความคิดให้กับสิ่งแวดล้อมด้วย ภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อมได้กลายเป็นตัวเชื่อมระหว่างภูมิศาสตร์กายภาพและภูมิศาสตร์มนุษย์อันเนื่องมาจากความเชี่ยวชาญของทั้งสองสาขาที่เพิ่มขึ้น รวมถึงความสัมพันธ์ของมนุษย์กับการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมซึ่งมีผลมาจากกระแสโลกาภิวัตน์และการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี จึงจำเป็นที่ต้องมีวิธีแบบใหม่ในการเข้าใจความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงและพลวัต ตัวอย่างของการศึกษาเกี่ยวกับภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อม ได้แก่ การจัดการภาวะฉุกเฉิน การจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ความยั่งยืน นิเวศวิทยาการเมือง === ภูมิสารสนเทศ === ภูมิสารสนเทศเป็นสาขาหนึ่งของภูมิศาสตร์ที่เกิดขึ้นจากการใช้เทคนิคเชิงพื้นที่แบบดั้งเดิมในการทำแผนที่และศึกษาภูมิประเทศร่วมกับการนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1950 เทคนิคต่าง ๆ ของภูมิสารสนเทศเป็นที่แพร่หลายในสาขาวิชาอื่นมากมาย เช่น จีไอเอส และการรับรู้จากระยะไกล นอกจากนี้ภูมิสารสนเทศยังส่งผลต่อการฟื้นฟูหน่วยงานทางภูมิศาสตร์บางส่วนซึ่งถูกลดสถานะลงในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950 โดยเฉพาะในอเมริกาเหนือ ภูมิสารสนเทศมีความครอบคลุมกับสาขาที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์เชิงพื้นที่อย่างมาก เช่น การทำแผนที่ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) การรับรู้จากระยะไกล และระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (GPS) === ภูมิศาสตร์ภูมิภาค === ภูมิศาสตร์ภูมิภาคเป็นสาขาหนึ่งของภูมิศาสตร์ที่ศึกษาถึงทุกภูมิภาคของโลกซึ่งแต่ละภูมิภาคมีความแตกต่างเฉพาะตัว หลักสำคัญของภูมิศาสตร์ภูมิภาคคือเพื่อเข้าใจถึงเอกลักษณ์และลักษณะเฉพาะตัวของภูมิภาคนั้น ๆ ว่าเป็นอย่างไรทั้งในเรื่องของสภาพแวดล้อมและมนุษย์ที่อยู่อาศัยในภูมิภาคนั้นด้วย ภูมิศาสตร์ภูมิภาคยังมีผลต่อภูมิภาคาภิวัตน์ซึ่งครอบคลุมถึงการใช้วิธีที่เหมาะสมในการแบ่งพื้นที่ออกเป็นภูมิภาคต่าง ๆ ด้วย ภูมิศาสตร์ภูมิภาคถือว่าเป็นหนึ่งในวิธีการหนึ่งสำหรับการศึกษาองค์ความรู้ต่าง ๆ ทางภูมิศาสตร์ (คล้ายคลึงกับการปฏิวัติเชิงปริมาณ หรือภูมิศาสตร์เชิงวิพากษ์) === สาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง === การผังเมือง การวางแผนภาค และการวางแผนเชิงพื้นที่ เป็นการใช้องค์ความรู้ทางภูมิศาสตร์ช่วยในการกำหนดแนวทางในการพัฒนา (หรือไม่พัฒนา) ที่ดินให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด เช่น ความปลอดภัย ความสวยงาม โอกาสทางเศรษฐกิจ การอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมทางธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างขึ้น เป็นต้น การวางแผนพื้นที่ของเมือง นคร และชนบทโดยส่วนมากจะประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางภูมิศาสตร์ วิทยาศาสตร์ภูมิภาค ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950 วอลเตอร์ ไอสาร์ดได้นำเสนอเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ภูมิภาคเพื่อเป็นพื้นฐานหาคำตอบทางภูมิศาสตร์โดยเน้นเชิงปริมาณมากขึ้น ตรงข้ามกับการใช้แนวโน้มเชิงพรรณนาที่อยู่ในแบบแผนดั้งเดิม วิทยาศาสตร์ภูมิภาคประกอบด้วยองค์ความรู้ซึ่งในมิติเชิงพื้นที่ใช้เป็นบทบาทพื้นฐาน เช่น การจัดการทรัพยากร ทฤษฎีทำเลที่ตั้ง การวางแผนภาคและเมือง การขนส่งและการสื่อสาร ภูมิศาสตร์มนุษย์ การกระจายของประชากร นิเวศวิทยาภูมิทัศน์ และสิ่งแวดล้อมเชิงคุณภาพ วิทยาดาวเคราะห์ โดยทั่วไปภูมิศาสตร์จะมีความเกี่ยวข้องเฉพาะกับโลก อย่างไรก็ตามภูมิศาสตร์ก็สามารถนำมาใช้ในการศึกษาถึงโลกอื่น ๆ ได้เช่นกัน เช่น ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะและนอกเหนือไปจากระบบสุริยะ วิทยาดาวเคราะห์เป็นการศึกษาระบบที่มีขนาดใหญ่กว่าโลกซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นสาขาหนึ่งของดาราศาสตร์หรือจักรวาลวิทยา ตัวอย่างอื่น ๆ เช่น อังคารวิทยา (การศึกษาเกี่ยวกับดาวอังคาร) ได้รับการเสนอแต่ยังไม่ได้ใช้กันอย่างแพร่หลาย วิทยาศาสตร์ดาวเทียม โดยศึกษาเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากดาวเทียมในการเป็นเครื่องมือศึกษาทางภูมิศาสตร์ วิทยาศาสตร์โลก หรือ โลกศาสตร์ นำวิทยาศาสตร์มาใช้ในการศึกษาโลกในด้านที่เป็นประโยชน์ต่อภูมิศาสตร์ วิศวกรรมสำรวจ ใช้หลักทางวิศวกรรมมาใช้ในการช่วยศึกษาทางภูมิศาสตร์ โดยครอบคลุมรวมไปถึง วิศวกรรมปิโตรเลียม วิศวกรรมเหมืองแร่ วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม วิศวกรรมธรณี วิศวกรรมชลศาสตร์ วิศวกรรมทรัพยากรธรณี วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมไฟฟ้า และ วิชาการทำแผนที่ == เทคนิค == แผนที่เป็นเครื่องมือหลักสำคัญขององค์ความรู้ทางภูมิศาสตร์ถึงความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ต่าง ๆ ซึ่งการทำแผนที่แบบดั้งเดิมได้รับการพัฒนาให้ทันสมัยมากขึ้นสำหรับการวิเคราะห์ทางภูมิศาสตร์และการใช้คอมพิวเตอร์ได้กลายเป็นรากฐานของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ในปัจจุบัน ในการศึกษานักภูมิศาสตร์จะคำนึงถึงสี่ปัจจัย ประกอบด้วย เป็นระบบ (Systematic) — องค์ความรู้ต่าง ๆ ทางภูมิศาสตร์ในแต่ละประเภทสามารถใช้ได้สำหรับทุกพื้นที่ ภูมิภาค (Regional) — การวิเคราะห์ความสัมพันธ์อย่างเป็นระบบสำหรับภูมิภาคที่เจาะจงหรือที่ตั้งบนโลกในแต่ละประเภท พรรณนา (Descriptive) — ระบุคุณสมบัติและลักษณะของประชากรในแหล่งที่ตั้ง วิเคราะห์ (Analytical) — ว่า ทำไม (why) เราจึงพบคุณสมบัติและลักษณะของประชากรในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่เจาะจงนั้น === การทำแผนที่ === การทำแผนที่เป็นการศึกษาถึงการแสดงลักษณะพื้นผิวโลกด้วยสัญลักษณ์แบบนามธรรมซึ่งมีการเติบโตมาช้านานอันเป็นผลจากเทคนิคการเขียนถึงสภาพความเป็นจริงที่พัฒนามากขึ้น และแม้ว่าภูมิศาสตร์สาขาต่าง ๆ จะใช้แผนที่เป็นส่วนหนึ่งของการนำเสนอผลการวิเคราะห์ แต่ความจริงแล้วองค์ความรู้ของการทำแผนที่นั้นมีมากพอที่จะแยกออกมาเป็นสาขาต่างหาก นักทำแผนที่ต้องเรียนรู้ถึงจิตวิทยาการรู้คิดและการยศาสตร์เพื่อเข้าใจถึงการสื่อข้อมูลสัญลักษณ์เกี่ยวกับโลกให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด รวมถึงพฤติกรรมทางจิตวิทยาเพื่อให้ผู้อ่านแผนที่เข้าใจข้อมูลได้ ตลอดจนภูมิมาตรศาสตร์และคณิตศาสตร์ขั้นสูงเพื่อเข้าใจว่ารูปร่างของโลกส่งผลต่อการผิดเพี้ยนของตำแหน่งสัญลักษณ์บนแผนที่ซึ่งฉายไปยังวัสดุพื้นผิวราบเรียบได้อย่างไร จึงกล่าวได้โดยไม่มีข้อขัดแย้งว่าการทำแผนที่กำเนิดจากการที่สาขาวิชาทางภูมิศาสตร์มีการเติบโตที่ใหญ่ขึ้น นักภูมิศาสตร์ส่วนใหญ่จะยกตัวอย่างว่าแผนที่เป็นจุดเริ่มต้นของความสนใจทางภูมิศาสตร์ในวัยเด็กของพวกเขา === ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ === ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์หรือจีไอเอส (GIS) เป็นการจัดการถึงการจัดเก็บและการเรียกคืนข้อมูลเกี่ยวกับโลกด้วยคอมพิวเตอร์โดยอัตโนมัติซึ่งมีความถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของข้อมูล ผู้เชี่ยวชาญด้านจีไอเอสต้องเข้าใจถึงวิทยาการคอมพิวเตอร์และระบบฐานข้อมูลนอกเหนือไปจากสาขาอื่น ๆ ทางภูมิศาสตร์ด้วย จีไอเอสเป็นการปฏิวัติสาขาวิชาการทำแผนที่โดยนำซอฟต์แวร์จีไอเอสมาช่วยในการทำแผนที่เกือบทั้งหมดในปัจจุบัน จีไอเอสยังหมายถึงการใช้ซอฟต์แวร์และเทคนิคทางจีไอเอสเพื่อทดแทน วิเคราะห์ และคาดการณ์ความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ ในบริบทนี้จีไอเอสเป็นตัวแทนสำหรับภูมิสารสนเทศศาสตร์ === การรับรู้จากระยะไกล === การรับรู้จากระยะไกลเป็นศาสตร์เกี่ยวกับการรับข้อมูลของลักษณะพื้นผิวโลกจากระยะไกล ข้อมูลจากการรับรู้จากระยะไกลมีการได้มาหลายรูปแบบ เช่น ภาพถ่ายดาวเทียม ภาพถ่ายทางอากาศ รวมถึงข้อมูลที่ได้รับจากเครื่องรับรู้แบบพกพา (hand-held sensors) นักภูมิศาสตร์จำนวนมากใช้การรับรู้จากระยะไกลเพื่อได้ข้อมูลเกี่ยวกับภูมิประเทศ ทะเล และบรรยากาศของโลก เนื่องจากการรับรู้จากระยะไกลสามารถ ค้นหาข้อมูลตามวัตถุประสงค์ซึ่งมีความหลากหลายของพื้นที่หลายระดับ (ตั้งแต่ท้องถิ่นจนถึงทั่วโลก) ทำให้สรุปจากมุมมองของพื้นที่ที่สนใจได้ง่ายขึ้น ช่วยให้สามารถเข้าถึงพื้นที่ห่างไกลและไม่สามารถเข้าถึงได้ แสดงข้อมูลเชิงคลื่นนอกเหนือจากส่วนที่มองเห็นได้จากสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า อำนวยความสะดวกในการศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะหรือพื้นที่ในช่วงเวลาต่าง ๆ ว่าเป็นอย่างไร ข้อมูลจากการรับรู้จากระยะไกลอาจถูกใช้ร่วมในการวิเคราะห์ร่วมกับชั้นข้อมูลเชิงดิจิทัลอื่น ๆ (เช่นในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์) === วิธีเชิงปริมาณ === ธรณีสถิติจัดการกับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยเฉพาะการประยุกต์กับระเบียบวิธีทางสถิติเพื่อสำรวจปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทางภูมิศาสตร์ ธรณีสถิติถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในหลากหลายสาขา ตลอดจนอุทกวิทยา ธรณีวิทยา การสำรวจปิโตรเลียม การวิเคราะห์ลมฟ้าอากาศ การผังเมือง โลจิสติกส์ และวิทยาการระบาด พื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับธรณีสถิติได้มาจากการวิเคราะห์การกระจุก การวิเคราะห์การจำแนกเชิงเส้น สถิติไร้พารามิเตอร์ และความหลากหลายของสาขาวิชาอื่น ๆ การประยุกต์ของธรณีสถิติถูกใช้อย่างมากบนระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการประมาณค่าในช่วง นักภูมิศาสตร์เป็นผู้มีส่วนร่วมอย่างโดดเด่นในกระบวนการของเทคนิคเชิงปริมาณ === วิธีเชิงคุณภาพ === วิธีเชิงคุณภาพทางภูมิศาสตร์หรือเทคนิคการวิจัยทางชาติพันธุ์วิทยาถูกใช้โดยนักภูมิศาสตร์มนุษย์ ในภูมิศาสตร์วัฒนธรรมมีแบบแผนของการใช้เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพและยังใช้ในสาขามานุษยวิทยาและสังคมวิทยา การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์เชิงลึกถูกใช้โดยนักภูมิศาสตร์มนุษย์นำมาซึ่งข้อมูลเชิงคุณภาพ ==ดูเพิ่ม== ห้าแก่นเรื่องทางภูมิศาสตร์ == อ้างอิง == วิทยาศาสตร์โลก สังคมศาสตร์
thaiwikipedia
1
พันทิป.คอม
พันทิป.คอม หรือพันทิป ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2539 เป็นเว็บไซต์ไทยที่ให้บริการเว็บบอร์ดของไทยที่มีชื่อเสียง มีห้องสนทนาหลายเรื่อง ปัจจุบันพันทิปเป็นเว็บไซต์ที่มีผู้เข้าชมจากประเทศไทยมากเป็นอันดับที่ 5 (13 ตุลาคม 2559) จากการจัดอันดับโดย Alexa เป็นรองเพียง Google.co.th Youtube.com Google.com และ Facebook.com โดยพันทิปถือเป็นเว็บไซต์สัญชาติไทยที่มีผู้เข้าชมสูงสุด == ประวัติ == พันทิป.คอม ก่อตั้งโดยวันฉัตร ผดุงรัตน์ แรกเริ่มเพื่อทำนิตยสารคอมพิวเตอร์ออนไลน์โดยใช้ชื่อว่า พันทิป ซึ่งเป็นการผสมคำจากคำว่า พัน (หนึ่งพัน) และคำว่า ทิป (ข้อแนะนำพิเศษ,เคล็ดลับ) แต่ผลตอบรับจากผู้เยี่ยมชมกลับชื่นชอบที่จะใช้กระดานข่าวสาธารณะในการออกความคิดเห็นในด้านต่าง ๆ มากกว่ารูปแบบนิตยสาร จึงทำให้พันทิป.คอมเปลี่ยนเป้าหมายทางธุรกิจเป็นการดำเนินงานทางด้านกระดานข่าว โดยหารายได้จากการโฆษณาเป็นหลัก และขยายรูปแบบการทำงานเป็นกระดานข่าวเป็นหมวดต่าง ๆ == เนื้อหาและบริการ == บริการหลักของเว็บพันทิปคือเว็บบอร์ดที่สมาชิกสามารถตั้งกระทู้เพื่อให้สมาชิกคนอื่นเข้ามาตอบกระทู้ได้ โดยในยุคแรกมีเพียงเว็บบอร์ดเดียวคือ Technical Chat สำหรับตั้งกระทู้พูดคุยเรื่องคอมพิวเตอร์เป็นหลัก ต่อมาสมาชิกเริ่มพูดคุยในเรื่องทั่วไปที่ไม่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ทางพันทิปจึงเปิดเว็บบอร์ดใหม่ชื่อสภากาแฟ โดยมีการแบ่งเป็นห้องสนทนาทั้งหมด 8 ห้องได้แก่ BluePlanet เฉลิมไทย โทรโข่ง รัชดา ราชดำเนิน ไร้สังกัด ศุภชลาศัย และสยามสแควร์ พันทิปในยุคต่อมา มีการเปลี่ยนชื่อเว็บบอร์ด Technical Chat เป็น Technical Exchange และเปลี่ยนชื่อเว็บบอร์ดสภากาแฟเป็น Pantip Cafe โดยในแต่ละห้องที่อยู่ในเว็บบอร์ดมีการแบ่งเป็นกลุ่มย่อยและคลับ เช่น ห้องเฉลิมไทย มีกลุ่มย่อยภาพยนตร์และหนังไทย มีคลับ The X-Files และเพชรพระอุมา เป็นต้น โดยที่กระทู้ในกลุ่มย่อยจะถูกแสดงในหน้ารวมกระทู้ของห้อง แต่กระทู้ในคลับจะไม่ถูกแสดงในหน้ารวม ผู้ใช้จะต้องคลิกเข้าคลับก่อนถึงจะเห็นกระทู้ ในยุคนี้มีการแยกห้องโทรโข่งออกไปเป็นเว็บ Torakhong.org ซึ่งมีลุงเปี๊ยกเป็นผู้ดูแล และยุติการให้บริการในวันที่ 31 สิงหาคม 2552 เนื่องจากขาดเงินทุนและบุคลากร พันทิปในยุคปัจจุบันมีการยุบรวมเว็บบอร์ด Technical Exchange และ Pantip Cafe เข้าด้วยกัน โดย Technical Exchange ถูกเปลี่ยนเป็นห้องซิลิคอนวัลเลย์ ในแต่ละห้องประกอบด้วยแท็ก เช่น ห้องเฉลิมไทย มีแท็กภาพยนตร์ โรงภาพยนตร์ ค่ายหนัง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีแท็กรองที่ไม่สังกัดในห้องไหน เช่น ชื่อดารา ชื่อละคร ชื่อสถานที่ท่องเที่ยว เป็นต้น === บริการอื่น === รักแม่ให้โลกรู้ - บริการส่งการ์ดวันแม่ถึงคุณแม่ฟรี จัดขึ้นในช่วงก่อนถึงวันแม่ของทุกปี ผู้ใช้เพียงเลือกแบบการ์ด พิมพ์ข้อความ ระบุชื่อและที่อยู่ของคุณแม่ ทางพันทิปจะจัดพิมพ์การ์ดและส่งไปรษณีย์ถึงมือคุณแม่ให้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทายผลบอล - เกมทายผลฟุตบอลที่จัดขึ้นในช่วงเทศกาลฟุตบอลโลกและฟุตบอลยูโร โดยพันทิปมีเครดิตให้สมาชิกใช้ทายผลการแข่งขันของแต่ละคู่ได้ ถ้าทายถูกจะได้รับเครดิตเพิ่ม แต่ถ้าทายผิดก็จะเสียเครดิต โดยมีการจัดอันดับสมาชิกที่ทายผลถูกเป็นจำนวนครั้งมากที่สุด และอันดับสมาชิกที่มีเครดิตสูงสุด === บริการในอดีต === Technical Exchange - เว็บบอร์ดที่พูดคุยเรื่องคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นห้องซิลิคอนวัลเลย์ LiveChat ให้บริการห้องสนทนาสด (แชตรูม) Game Room ให้บริการเกมกระดานออนไลน์ E-Card ให้บริการส่งบัตรอวยพรอิเล็กทรอนิกส์ เสียงพันทิป เป็นจดหมายข่าวของเว็บไซต์ Pantip Music station ให้บริการฟังเพลงออนไลน์ === ระบบสมาชิก === เว็บพันทิปมีสมาชิกทั้งหมด 4 ประเภท โดยแต่ละประเภทมีสิทธิ์ในการใช้งานที่แตกต่างกันดังนี้ สมาชิกที่สมัครด้วยอีเมล หรือล็อกอินด้วย Facebook หรือ Google+ - สามารถตั้งกระทู้คำถามได้เพียงวันละ 1 กระทู้ และสามารถตอบกระทู้ได้เฉพาะกระทู้คำถามเท่านั้น สมาชิกประเภทนี้จะมีชื่อสมาชิกว่า "สมาชิกหมายเลข ..." โดยไม่สามารถเปลี่ยนชื่อได้ และไม่มีสัญลักษณ์ใดๆ แสดงด้านหลังชื่อ สมาชิกที่ยืนยันตัวตนด้วย SMS - โดยสมาชิกแบบที่ 1 สามารถส่งข้อความทาง SMS เพื่อยืนยันตัวตนและรับสิทธิ์ในการใช้งานที่มากขึ้น เช่น สามารถตั้งกระทู้คำถาม กระทู้สนทนา กระทู้โพล กระทู้รีวิว หรือกระทู้ข่าว ได้วันละไม่เกิน 4 กระทู้ สามารถตอบกระทู้ได้ทุกประเภท สามารถอัปโหลดรูปภาพประกอบในกระทู้ได้ และสามารถตั้งชื่อนามแฝงของตัวเองได้ สมาชิกประเภทนี้จะมีสัญลักษณ์รูปโทรศัพท์มือถือแสดงอยู่ด้านหลังชื่อ สมาชิกที่ยืนยันตัวตนด้วยบัตรประชาชน - โดยสมาชิกแบบที่ 1 หรือ 2 สามารถยืนยันตัวตนด้วยการส่งภาพถ่ายบัตรประชาชนและภาพถ่ายหน้าตัวเองคู่กับบัตร หลังจากยืนยันตัวตนแล้วจะได้รับสิทธิ์ในการใช้งานที่มากขึ้น เช่น ตั้งกระทู้ขายของได้ และโหวตกระทู้ให้ติดกระทู้แนะนำได้ สมาชิกประเภทนี้จะมีสัญลักษณ์รูปหน้ายิ้มแสดงอยู่ด้านหลังชื่อ สมาชิกองค์กร - บริษัทและองค์กรต่างๆ สามารถสมัครใช้สมาชิกองค์กรได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย โดยชื่อสมาชิกจะเป็นชื่อยี่ห้อสินค้าหรือบริการที่ผู้บริโภครู้จักกันดี และมีสัญลักษณ์รูปหน้ายิ้มใส่หูฟังแสดงอยู่ด้านหลังชื่อ สมาชิกองค์กรสามารถตอบกระทู้ที่มีคนตั้งกระทู้สอบถามหรือร้องเรียน แต่ไม่สามารถตั้งกระทู้ได้ == ระบบเซิร์ฟเวอร์ == ในอดีตเซิร์ฟเวอร์ของพันทิปใช้ระบบปฏิบัติการ FreeBSD โดยใช้ซอฟต์แวร์เว็บเซิร์ฟเวอร์ Apache HTTP Server ระบบฐานข้อมูล MySQL และโปรแกรมเว็บบอร์ดถูกเขียนขึ้นด้วยภาษา PHP โดยปัจจุบันมีการเปลี่ยนมาใช้ระบบฐานข้อมูล MongoDB ระบบเซิร์ฟเวอร์ของพันทิปเคยมีปัญหาขัดข้องจนไม่สามารถให้บริการได้อย่างราบรื่นในบางเหตุการณ์สำคัญๆ เช่น การแถลงข่าวแต่งงานของ เจนี่ เทียนโพธิ์สุวรรณ์ และ ชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม == การเซ็นเซอร์ในประเทศไทย == วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2550 นายสิทธิชัย โภไคยอุดม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้สั่งการให้ปิดห้องราชดำเนิน เว็บบอร์ดสนทนาเรื่องการเมืองในเว็บไซต์พันทิป โดยได้ให้เหตุผลว่ามีกระทู้ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ จึงส่งผลให้เว็บไซต์พันทิปงดให้บริการห้องราชดำเนิน พร้อมทั้งยังแจ้งเตือนไม่ให้ตั้งกระทู้การเมืองในห้องอื่น ๆ ไม่อย่างนั้นกระทรวงไอซีทีจะสั่งปิดเว็บไซต์พันทิป อย่างไรก็ตาม วันต่อมา นายสิทธิชัย โภไคยอุดม กล่าวว่าไม่ได้เป็นคนสั่งปิด แต่ทางผู้ดูแลเว็บไซต์ระบุว่าไม่สามารถคัดเลือกและตรวจสอบผู้ที่เข้ามาแสดงความคิดเห็นได้ จึงขอปิดตัวเองและอ้างคำสั่งไอซีที ก่อนหน้านี้ห้องราชดำเนินได้เคยปิดตัวเองลงเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ภายหลังจากการก่อรัฐประหาร จากนั้นจึงเปิดขึ้นมาใหม่โดยเริ่มจากให้สมาชิกเข้าถึงได้เท่านั้น และจึงเปิดให้ผู้ใช้ทั่วไปเข้าอ่านได้ในเวลาต่อมา หลังจากนั้นห้องราชดำเนินก็ปิดบริการอีกครั้งเมื่อวันที่15 พฤษภาคม พ.ศ. 2553โดยในเว็บไซต์ระบุส่วนหนึ่งของเหตุผลในการปิดให้บริการว่า "เรารู้สึกไม่สบายใจอย่างมากที่ต้องรับรู้อยู่ทุกวันว่าเราเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คนไทยรู้สึกแตกแยก และหลังจากนั้นไม่นานห้องราชดำเนินก็ถูกเปิดใช้งานตามปกติจนถึงปัจจุบัน" == ประเด็นทางสังคม == เหตุการณ์การตรวจสอบความจริงของผู้ใช้จากพันทิป ที่โดดเด่น ที่เปิดเผยต่อสาธารณชน และมักจะถูกสื่อระดับประเทศนำไปอ้างอิงอยู่บ่อยครั้ง ทางผู้จัดการออนไลน์ ก็ระบุว่า "นักข่าวและสื่อหลายต่อหลายสื่อได้นำเอาข้อมูล ต่าง ๆ ที่มีการโพสต์ไว้เหล่านี้มากล่าวอ้างถึงเพื่อเป็นข้อมูลและแนวทางในการนำ เสนอข่าวออกไป" ในบางครั้งก็เป็นการตีแสกให้กับสื่อในเรื่องของการตรวจสอบข้อมูลก่อนนำเสนอ ประเด็นที่สำคัญอย่างเช่น กรณีอุ้มเมืองคานส์ ที่สื่อนำเสนอข้อมูลว่าได้รับรางวัลในเทศกาลประกวดภาพยนตร์เมืองคานส์ 2009 ประเทศฝรั่งเศส ในสาขา Best Student Film และ Official Selection แต่หลังจากนั้นผู้ใช้ในพันทิปห้องเฉลิมไทยต่างตั้งข้อสังเกต นำไปสู่การค้นหาความจริงว่าไม่ได้รับรางวัลตามที่อ้าง หรือในกรณีนาธาน โอมาน ที่อ้างว่าแสดงภาพยนตร์ฮอลลีวูด ที่นำไปสู่การค้นหาความจริงเรื่องภาพยนตร์ รวมถึงการขุดคุ้ยประวัติของนาธาน จากกรณีนักสืบออนไลน์จากพันทิป ผศ.ดร.ณรงค์ ขำวิจิตร์ นักวิชาการ อาจารย์สาขาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่าเป็น "ตัวอย่างของคน ยุคเว็บ 3.0" == พันทิปกับฟิชชิง == มีผู้ทำเว็บไซต์ลอกเลียนพันทิปชื่อ panrip.com โดยมีเนื้อหาและหน้าตาคล้ายเว็บต้นฉบับอย่างมาก รวมไปถึงระบบอีเมลตอบรับ เว็บไซต์นี้อาจเป็นฟิชชิงด้วยจุดประสงค์เพื่อขโมยรหัสผ่านของสมาชิกพันทิปหากเหยื่อล็อกอิน เพราะปุ่ม r กับปุ่ม t อยู่ใกล้กันอาจทำให้เข้าผิดเว็บ ปัจจุบันเว็บไซต์ panrip.com ถูกบล็อกแล้ว == เว็บไซต์ในเครือ == พันทิปมีเว็บไซต์ในเครือได้แก่ PantipMarket.com - เว็บให้บริการลงประกาศขายสินค้าทั้งมือหนึ่งและมือสอง รวมถึงประกาศรับสมัครงาน BlogGang.com - เว็บให้บริการพื้นที่สำหรับเขียนบล็อก Pantown.com - บริการเว็บสำเร็จรูป ผู้ใช้สามารถสร้างเว็บบอร์ด ห้องสนทนา อัลบั้ม โดยไม่ต้องมีความรู้ด้านการเขียนโปรแกรม MagGang.com - แพลตฟอร์มสร้างรายได้ให้นักเขียน จากการจ้างรีวิวสินค้าและบริการให้กับผู้สนับสนุน หรือสปอนเซอร์ == ดูเพิ่ม == เฉลิมไทยอวอร์ด รางวัลภาพยนตร์จากเว็บบอร์ดพันทิป เฉลิมกรุงอวอร์ด รางวัลดนตรีจากเว็บบอร์ดพันทิป เฉลิมไทย จอแก้ว อวอร์ด รางวัลด้านละครโทรทัศน์จากเว็บบอร์ดพันทิป บล็อกแก๊ง บริการเว็บบล็อกของพันทิป แม็กแก๊งค์ อ่านนิยายฟรีออนไลน์ รีวิวท่องเที่ยว รีวิวเครื่องสำอาง == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == Pantip PantipMarket BlogGang Pantown MagGang เว็บไซต์ในประเทศไทย กระดานข่าว
thaiwikipedia
2
พันธุ์ทิพย์พลาซ่า
พันธุ์ทิพย์พลาซ่า (Pantip Plaza) เป็นศูนย์การค้าเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโทรคมนาคมแห่งแรกและขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีสาขาแรกสุด ตั้งอยู่บนถนนเพชรบุรี แขวงถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร บริหารงานโดย บริษัท แอสเสท เวิร์ด รีเทล จำกัด ในเครือบริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) == ประวัติ == พันธุ์ทิพย์พลาซ่า เปิดดำเนินการเมื่อ 22 กันยายน พ.ศ. 2527 เดิมใช้ชื่อว่า "เอ็กซ์เซล" โดยนำลิฟท์แก้วมาติดตั้งเป็นแห่งที่สองของประเทศไทย และใช้ระบบการอ่านรหัสแท่ง (Bar Code) เพื่อตรวจสอบราคาจากตัวสินค้า เป็นอันดับต้นๆ ของประเทศไทยอีกด้วย ซึ่งภายในมี โรงภาพยนตร์พันธุ์ทิพย์ และ พันธุ์ทิพย์ภัตตาคาร ซึ่งจำหน่ายอาหารจีน ในระยะต่อมา จำนวนลูกค้าที่เข้าใช้บริการเริ่มลดน้อยลงเรื่อยๆ เนื่องจากมีห้างสรรพสินค้าเปิดตัวขึ้นหลายแห่งในละแวกนั้น อาทิเมโทรประตูน้ำ พาต้าอินทรา ซิตี้พลาซ่าประตูน้ำ แพลตินั่มประตูน้ำ เป็นผลให้ร้านค้าที่มีอยู่ทยอยปิดตัวลง จึงเปิดให้ทางห้างเอ็กเซลเช่าพื้นที่ภายในส่วนหนึ่ง พร้อมกันนั้นก็จัดร้านค้าเฉพาะกลุ่มเข้าเป็นสัดส่วน อาทิ ศูนย์เช่าพระเครื่อง ร้านจำหน่ายสินค้ามือสอง เป็นต้น หลังจากนั้น เป็นช่วงอสังหาริมทรัพย์เฟื่องฟู จึงกลายเป็นศูนย์รวมสำนักงานโครงการคอนโดมิเนียมต่างๆ โดยแบ่งอยู่กับศูนย์เช่าพระเครื่อง ส่วนภัตตาคารที่ปิดกิจการไป ก็ปรับปรุงเป็นห้างไอทีซิตี้ และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 ก็ปรับปรุงเป็นศูนย์รวมร้านค้าคอมพิวเตอร์แห่งแรกประเทศไทย ในขณะเดียวกัน และพันธุ์ทิพย์เป็นที่รู้จักวงกว้างมากขึ้น ในปี 2544 วงโลโซ ร้องเพลง “พันธุ์ทิพย์” ในอัลบั้มปกแดง ซึ่งขณะนั้นพันธุ์ทิพย์เป็นที่รู้จักเรื่องแผ่นผี ของผิดลิขสิทธิ์ อย่างไรก็ตาม ใน พ.ศ. 2560 การค้าขายสินค้าไอทีเกิดความเสื่อมถอยลงอย่างรวดเร็ว มีห้างไอทีเกิดขึ้นใหม่ในทำเลที่ตรงกลุ่มเป้าหมายเป็นจำนวนมาก และผู้คนหันไปซื้อสินค้าแบรนด์เนมมากกว่า ทำให้จำนวนผู้ใช้บริการเริ่มลดลง เป็นผลให้บริษัท แอสเซท เวิร์ด คอร์ป ดำเนินการปรับปรุงครั้งใหญ่ เปลี่ยนรูปแบบศูนย์การค้าจากห้างไอทีมาเป็นศูนย์การใช้ชีวิตและศูนย์กีฬาอีสปอร์ตใจกลางเมือง แต่หลังการปรับปรุงใหญ่จำนวนผู้ใช้บริการกลับไม่เติบโตขึ้นตามที่คาดการณ์ไว้ ทำให้ใน พ.ศ. 2563 บริษัท แอสเซท เวิร์ด คอร์ป ตัดสินใจยุติการดำเนินการห้างพันธุ์ทิพย์พลาซ่า ประตูน้ำ ลงถาวร โดยจะเปลี่ยนรูปแบบของอาคารไปเป็นสาขาย่อยของโครงการ เออีซี เทรด เซ็นเตอร์ เพื่อสร้างจุดมุ่งหมายให้ที่นี่กลายเป็นศูนย์ค้าส่งระดับโลกแห่งแรกใจกลางเมือง ส่วนที่ตั้งเดิม ย้ายสาขาใหม่ ไปที่พันธุ์ทิพย์พลาซ่า สาขามอเตอร์เวย์ บางพระ-หนองมน พร้อมเปิดให้บริการ 22 กันยายน พ.ศ. 2571 ผู้ใช้บริการเติบโตขึ้นตามที่คาดการณ์ไว้ == สาขา == ประตูน้ำ ถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงเป็นศูนย์การค้า เออีซี เทรด เซ็นเตอร์-พันธุ์ทิพย์ โฮลเซลล์ เดสติเนชัน) บางกะปิ ซอยลาดพร้าว 127 แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร งามวงศ์วาน ตำบลบางเขน อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี เชียงใหม่ ตำบลช้างคลาน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ==อ้างอิง== == แหล่งข้อมูลอื่น == ห้างสรรพสินค้าในประเทศไทย ศูนย์การค้าในประเทศไทย กลุ่มทีซีซี
thaiwikipedia
3
วิทยาการคอมพิวเตอร์
"วิทยาการคอมพิวเตอร์ศึกษาเกี่ยวกับ(...TRUNCATED)
thaiwikipedia
4
คณิตศาสตร์
"คณิตศาสตร์ (Mathematics) เป็นศาสตร์ที่ครอบค(...TRUNCATED)
thaiwikipedia
5
การประมวลสารสนเทศ
"การประมวลสารสนเทศ (information processing) โดยทั่ว(...TRUNCATED)
thaiwikipedia
6
การเมือง
"การเมือง (politics) คือ กระบวนการและวิธีก(...TRUNCATED)
thaiwikipedia
7
ดิมมูบอร์เกียร์
"ดิมมูบอร์เกียร์ (Dimmu Borgir แปลว่า เมืองแ(...TRUNCATED)
thaiwikipedia
8
เกษตรศาสตร์
"เกษตรศาสตร์ (กะ-เสด-ตฺระ-สาด) (agricultural science) (...TRUNCATED)
thaiwikipedia
9

Dataset Card for "thai-wiki-dataset-v3"

This dataset collects all Thai Wikimedia project that cleaned all text for Thai language. Example: Wikipedia, Wikiquote, Wikibooks, Wikisource, and Wiktionary.

Use cause: RAG, and pretraining model.

License: cc-by-sa-3.0

Downloads last month
103

Collection including pythainlp/thai-wiki-dataset-v3