buddhist-theology / 11 /110023.csv
uisp's picture
initial upload
6bd72a3
Book,Page,LineNumber,Text
11,0023,001,ปรุงอาขยาต คือ วิภัตติ วาจก และปัจจัย ถ้าจะต้องการเป็นกัตตุรูป
11,0023,002,"ก็ต้องใช้เครื่องปรุงของกัตตุวาจก หรือเหตุกัตตุวาจก, กัมมรูปก็ใช้"
11,0023,003,"เครื่องปรุงของกัมมวาจก หรือเหตุกัมมวาจก, ภาวรูปก็ใช้เครื่องปรุง"
11,0023,004,"ของภาววาจก, เช่นเห็นศัพท์ว่า <B>สิกฺขโก</B> (ผู้ศึกษา) ถ้าค้นดูธาตุก็จะเห็น"
11,0023,005,ว่าเป็น สิกฺข ธาตุ และเป็นกัตตุรูป กัตตุสาธนะ เพราะบ่งผู้ทำเอง ฉะนั้น
11,0023,006,เวลาตั้งวิเคราะห์ก็ต้องตั้งเป็นกัตตุวาจก ได้รูปเป็น <B>สิกฺขติ</B> แล้วเติม
11,0023,007,<B>อิติ </B>(เพราะเหตุนั้น) มาต่อเข้าสนธิกับ <B>สิกฺขติ</B> ได้รูปเป็น<B> สิกฺขตี-ติ</B>
11,0023,008,บทแปลงซึ่งเป็นตัวสาธนะก็คือ <B>สิกฺขโก</B> ส่วนรูปวิเคราะห์อื่น ก็พึงสังเกต
11,0023,009,ตามนัยที่ได้อธิบายมาแล้วในสาธนะนั้น ๆ เถิด แต่มีข้อแปลกอีกอย่าง
11,0023,010,หนึ่ง คือ สำหรับรูปวิเคราะห์ ที่เป็นเหตุกัตตุวาจก ซึ่งท่านรวมเข้ากับ
11,0023,011,กัตตุวาจกเรียงว่ากัตตุรูปนั้น มีที่ใช้บ้างห่าง ๆ ต้องสังเกตตามคำแปล
11,0023,012,จึงจะรู้ได้ เช่นศัพท์ว่า <B>อาตาโป</B> (ความเพียรซึ่งยังกิเลสให้ร้อนทั่ว)
11,0023,013,<B>หตฺถิมารโก</B> (นายพรานผู้ยังช้างให้ตาย) เป็นต้น ตามคำแปลก็บ่งว่า
11,0023,014,"เป็นรูปเหตุกัตตุวาจก เพราะมีคำว่า <B>""ยัง""</B> ซึ่งหมายถึงตัวการัต"
11,0023,015,(ตัวที่ถูกใช้ให้ทำ) บ่งปรากฏอยู่ ฉะนั้นเวลาจะตั้งวิเคราะห์ ต้องนำ
11,0023,016,ธาตุไปปรุงให้เป็นเหตุกัตตุวาจก เช่น <B>อาตาโป</B> เป็น อา บทหน้า
11,0023,017,ตปฺ ธาตุ นำไปประกอบเป็นเหตุกัตตุวาจก ได้รูปเป็น อาตาเปติ
11,0023,018,(ยัง-ให้ร้อนทั่ว) ตั้งเป็นรูป วิ. ว่า <B>อาตาเปตี-ติ อาตาโป</B>
11,0023,019,(วายาโม ความเพียร) (กิเลสํ ยังกิเลส) ย่อมให้ร้อนทั่ว เหตุนั้น
11,0023,020,(โส วายาโม ความเพียรนั้น) ชื่อว่า <B>อาตาโป</B> (ยังกิเลสให้ร้อนทั่ว).