บทนำ
ในบทที่ 3 คุณได้เรียนเกี่ยวกับการ fine-tune โมเดลเพื่อนำไปใช้ในงานที่คุณต้องการ ตอนนั้นเราใช้ตัวตัดคำ(tokenizer)แบบเดียวกับตัวที่มากับโมเดล แต่หากคุณอยากจะเทรนโมเดลตั้งแต่เริ่มต้นเลย คุณควรจะเลือกใช้ตัวตัดคำแบบไหนดี ในกรณีนี้ถ้าคุณใช้ตัวตัดคำที่เทรนจากคลังข้อมูล(corpus)ที่ไม่ใช่ภาษาเดียวกับโมเดลหรือคลังข้อมูลที่มาจากโดเมนอื่น(แปลว่าเนื้อหาของข้อมูลที่ใช้เทรนตัวตัดคำและใช้เทรนโมเดลมีความแตกต่างกันมาก)ก็จะไม่เหมาะสมนัก ตัวอย่างเช่น ตัวตัดคำที่เทรนมาสำหรับตัดคำภาษาอังกฤษ เมื่อนำมาใช้เพื่อตัดคำภาษาญี่ปุ่นก็จะได้ผลลัพธ์ที่ไม่ดี เพราะว่าทั้งสองภาษามีการใช้ช่องว่าง(space)และเครื่องหมายวรรคตอน(punctuation)ที่ต่างกันมาก
ในบทนี้คุณจะได้เรียนเกี่ยวกับการเทรนตัวตัดคำจากคลังข้อความ(corpus of texts) เพื่อให้ได้ตัวตัดคำที่เหมาะสมกับ language model ที่คุณต้องการจะเทรน เราจะใช้ library ที่ชื่อว่า 🤗 Tokenizers ซึ่งมีตัวตัดคำแบบ “เร็ว” ให้ผู้ใช้เลือกได้ ใน 🤗 Transformers library เราจะมาดู features ต่างๆของ library นี้กันและมาเรียนรู้ว่าตัวตัดคำแบบเร็วและแบบช้านั้นต่างกันอย่างไร
หัวข้อที่เราจะเรียนกันในบทนี้:
- การสร้างตัวตัดคำขึ้นมาใหม่ให้คล้ายกับตัวที่ใช้ใน checkpoint โดนใช้ชุดข้อมูลใหม่ในการเทรน
- feature พิเศษของตัวตัดคำแบบเร็ว
- ความแตกต่างระหว่างอัลกอริทึม 3 แบบที่ใช้ในการสร้างตัวตัดคำประเภท subword ที่ใช้ใน NLP ทุกวันนี้
- การสร้างและเทรนตัวตัดคำตั้งแต่เริ่มต้นด้วย 🤗 Tokenizers library
เทคนิคต่างๆที่คุณจะได้เรียนในบทนี้จะเป็นเตรียมให้คุณพร้อมสำหรับบทที่ 7 ซึ่งคุณจะได้เรียนเกี่ยวกับการสร้าง language model ด้วย Python เรามาเริ่มกันที่ความหมายของการ “เทรน” ตัวตัดคำ
< > Update on GitHub