NLP Course documentation

Normalization และ pre-tokenization

Hugging Face's logo
Join the Hugging Face community

and get access to the augmented documentation experience

to get started

Normalization และ pre-tokenization

Ask a Question Open In Colab Open In Studio Lab

ก่อนที่เราจะเจาะลึกเกี่ยวกับอัลกอริทึม 3 แบบ ของ subword tokenization ที่ใช้กับโมเดล Transformer (Byte-Pair Encoding [BPE], WordPiece, และ Unigram) อันดับแรก เราจะมาเรียนเกี่ยวกับขั้นตอน preprocessing ที่ tokenizer ใช้เพื่อจัดแต่งข้อความก่อนการ tokenize หลักกันก่อน

บทนี้จะเป็นภาพรวมระดับสูงของขั้นตอนต่างๆในไปป์ไลน์ tokenization:

The tokenization pipeline.

ก่อนแยกข้อความออกเป็น subtokens ตัว tokenizer จะดำเนินการสองขั้นตอน คือ normalization และ pre-tokenization

Normalization

ขั้นตอน normalization เกี่ยวข้องกับทำความสะอาดข้อมูลทั่วไป เช่น การลบช่องว่างที่ไม่จำเป็นแปลงข้อความเป็นตัวพิมพ์เล็ก และ/หรือ การลบเครื่องหมายเน้นเสียงออก (accents) หากคุณคุ้นเคยกับ Unicode normalization (เช่น NFC หรือ NFKC) นี่ก็เป็นสิ่งที่ tokenizer อาจใช้เช่นกัน

🤗 Transformers tokenizer มี attribute ที่เรียกว่า backend_tokenizer ที่เราสามารถเรียกใช้ได้ เพื่อเข้าถึง tokenizer พื้นฐานของ 🤗 Tokenizers library:

from transformers import AutoTokenizer

tokenizer = AutoTokenizer.from_pretrained("bert-base-uncased")
print(type(tokenizer.backend_tokenizer))
<class 'tokenizers.Tokenizer'>

attribute ชื่อ normalizer ของ tokenizer object มี method ชื่อ normalize_str() ที่เราสามารถใช้เพื่อดูผลลัพธ์ของการ normalization ได้:

print(tokenizer.backend_tokenizer.normalizer.normalize_str("Héllò hôw are ü?"))
'hello how are u?'

ในตัวอย่างนี้ เนื่องจากเราเลือกใช้ checkpoint bert-base-uncased การ normalization จึงแปลงข้อความเป็นตัวพิมพ์เล็กและลบเครื่องหมายเน้นเสียงออก

✏️ ลองดูสิ! โหลด tokenizer จาก checkpoint bert-base-cased และใช้มันกับ input เดียวกันกับข้างบนนี้ แล้วดูว่าผลลัพธ์ต่างกันอย่างไร ระหว่าง tokenizer เวอร์ชัน cased และ uncased

Pre-tokenization

ในหัวข้อถัดไปคุณจะได้เรียนรู้ว่า เราไม่สามารถเทรน tokenizer จาก raw text โดยตรงได้ ก่อนอื่นเราจะต้องแยกข้อความเป็น entity เล็กๆ เช่นแยกออกเป็น คำ ขั้นตอนพวกนี้คือการ pre-tokenization ดังที่คุณเห็นในบทที่ 2 tokenizer แบบ word-based จะแบ่งข้อความเป็นคำ โดยการแบ่งตรงช่องว่าง และ เครื่องหมายวรรคตอน คำที่ได้จะถูกนำมาใช้เป็นขอบเขตของ subtokens ที่ tokenizer เอาไว้ใช้ในการเทรน

สำหรับ fast tokenizer ถ้าหากเราอยากจะดูว่ามันทำอะไรบ้างในขั้นตอน pre-tokenization เราจะใช้ method ชื่อ pre_tokenize_str() ของ attribute ชื่อ pre_tokenizer จาก tokenizer object:

tokenizer.backend_tokenizer.pre_tokenizer.pre_tokenize_str("Hello, how are  you?")
[('Hello', (0, 5)), (',', (5, 6)), ('how', (7, 10)), ('are', (11, 14)), ('you', (16, 19)), ('?', (19, 20))]

คุณจะเห็นว่าตัว tokenizer มีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับ offsets ด้วย ซึ่งทำให้มันสามารถสร้าง offsets mapping ให้เราได้อย่างที่เห็นในบทที่แล้ว สำหรับข้อความ input ในตัวอย่างนี้ ช่องว่างสองช่อง(หลังคำว่า are) ถูกแทนที่ด้วยหนึ่งช่องว่างเท่านั้น แต่เราจะเห็นว่าค่า offsets ยังนับช่องว่างพวกนี้อยู่ สังเกตค่า offsets ตรง are และ you

เนื่องจากเราใช้ BERT tokenizer ขั้นตอน pre-tokenization คือการตัดข้อความตรงช่องว่างและเครื่องหมายวรรคตอนเท่านั้น ส่วน tokenizer อื่นๆ อาจจะมีการหลักการตัดคำแบบอื่นได้ ตัวอย่างเช่น ถ้าเราใช้ tokenizer ของ GPT-2:

tokenizer = AutoTokenizer.from_pretrained("gpt2")
tokenizer.backend_tokenizer.pre_tokenizer.pre_tokenize_str("Hello, how are  you?")

มันจะแบ่งข้อความตรงช่องว่างและเครื่องหมายวรรคตอนเช่นเดียวกัน แต่มันจะยังเก็บข้อมูลเกี่ยวกับช่องว่างไว้และใช้เครื่องหมาย Ġ เพื่อแทนช่องว่างพวกนี้ การทำแบบนี้ทำให้เราสามารถกู้คืนช่องว่างพวกนี้ได้ตอนที่เรา decode token เหล่านี้

[('Hello', (0, 5)), (',', (5, 6)), ('Ġhow', (6, 10)), ('Ġare', (10, 14)), ('Ġ', (14, 15)), ('Ġyou', (15, 19)),
 ('?', (19, 20))]

สังเกตว่า ช่องว่างสองช่องจะไม่ถูกรวมเป็นหนึ่งช่องแบบใน BERT tokenizer

ในตัวอย่างสุดท้ายนี้ เราจะมาดู T5 tokenizer กัน ซึ่งใช้อัลกอริทึมที่ชื่อ SentencePiece :

tokenizer = AutoTokenizer.from_pretrained("t5-small")
tokenizer.backend_tokenizer.pre_tokenizer.pre_tokenize_str("Hello, how are  you?")
[('▁Hello,', (0, 6)), ('▁how', (7, 10)), ('▁are', (11, 14)), ('▁you?', (16, 20))]

คล้ายกับใน GPT-2 tokenizer T5 tokenizer จะเก็บข้อมูลเกี่ยวกับช่องว่าง และแทนที่พวกมันด้วยเครื่องหมายพิเศษ (_) แต่มันจะแบ่งตรงช่องว่างเท่านั้น และจะไม่แบ่งตรงเครื่องหมายวรรคตอน สังเกตว่า มันจะเพิ่มช่องว่างตรงต้นประโยคด้วย (ก่อนคำว่า Hello) และมันจะไม่นับช่องว่างสองช่องที่อยู่ระหว่าง are และ you

คุณได้เห็นแล้วว่า tokenizers ต่างๆ ประมวลผลข้อความอย่างไร ตอนนี้เราจะมาดูอัลกอริทึมต่างๆกัน เริ่มที่ SentencePiece ซึ่งเป็นอัลกอริทึมที่ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวาง จากนั้นในอีกสามหัวข้อต่อไป เราจะมาดูเกี่ยวกับอัลกอริทึม 3 แบบ ของ subword tokenization

SentencePiece

SentencePiece คืออัลกอริทึมสำหรับการ preprocessing ข้อความ เพื่อนำข้อความพวกนี้ไปใช้ในโมเดลต่างๆที่คุณจะได้เรียนในอีกสามบทถัดจากนี้ จะมันมองข้อความเป็นอักขระ Unicode และแทนที่ช่องว่างด้วยสัญลักษณ์พิเศษ ถ้าใช้งานร่วมกับ Unigram algorithm (ดูบทที่ 7) มันจะไม่จำเป็นต้องทำขั้นตอน pre-tokenization เลยด้วย ซึ่งมีประโยชน์สำหรับภาษาที่ไม่ได้ใช้ช่องว่างในการแบ่งคำเช่น ภาษาจีนหรือญี่ปุ่น

ความสามารถหลักอีกอย่างของ SentencePiece คือ reversible tokenization (การตัดคำที่แปลงกลับได้): เนื่องจากมันไม่ได้ treat พวกช่องว่างแบบพิเศษ เวลา decode ประโยคที่ตัดแล้วกลับคืน เราสามารถเชื่อม (concatenate)แต่ละ token ได้เลยและ และแทนที่ _ ด้วยช่องว่าง ผลลัพธ์ก็คือ ข้อความที่ ถูก normalized

อย่างที่คุณได้เห็นก่อนหน้านี้ BERT tokenizer จะลบช่องว่างที่ต่อกันออก ทำให้ตอนรวม token กลับ เราจะไม่ได้ข้อความแบบเดิม

ภาพรวมของแต่ละอัลกอริทึม

ในบทถัดไป เราจะมาเรียนรู้อย่างละเอียด เกี่ยวกับอัลกอริทึมสามแบบ สำหรับ subword tokenization ได้แก่ BPE (ใช้กับ GPT-2 และ โมเดลอื่นๆ), WordPiece (ใช้กับ BERT), และ Unigram (ใช้กับ T5 และโมเดลอื่นๆ) ก่อนที่จะไปเริ่มกัน เรามาดูภาพรวมของแต่ละอัลกอริทึมกันก่อน คุณสามารถกลับมาดูตารางนี้ใหม่ได้หลังจากที่อ่านบทถัดไปแล้ว เพื่อจะได้เข้าใจมากขึ้น

โมเดล BPE WordPiece Unigram
การเทรน เริ่มจาก vocabulary ขนาดเล็ก และเรียนกฎในการรวม token เข้าด้วยกัน เริ่มจาก vocabulary ขนาดเล็ก และเรียนกฎในการรวม token เข้าด้วยกัน เริ่มจาก vocabulary ขนาดใหญ่ เรียนกฎเพื่อลบ token ออกจาก vocabulary
ขั้นตอนการเทรน รวม token ถ้ามันเป็นคู่ที่พบบ่อย รวม token ถ้ามันเป็นคู่ที่มี score ที่ดีที่สุด โดย score คำนวณจากความถี่ของคู่ token นั้น และให้คะแนนสูงถ้าแต่ละ token มีความถี่ต่ำ ลบ token ออกจาก vocabulary เพื่อทำให้ค่า loss ลดลง โดยที่ค่า loss คำนวณจาก training corpus
สิ่งที่เรียน กฎในการรวม token (merge rules) และ vocabulary เรียนแค่ vocabulary เรียน vocabulary และ score ของแต่ละ token
Encoding แยกคำออกเป็นตัวอักษร และทำการรวมโดยใช้กฎที่เรียนระหว่างการเทรน หาคำย่อยที่ยาวที่สุดที่อยู่ใน vocabulary เริ่มจากต้นคำและทำต่อไปเรื่อยๆจนหมดคำ หาการแบ่งคำที่เหมาะสมที่สุดโดยใช้ score ที่เรียนระหว่างการเทรน

ในบทต่อไปเรามาเรียนเกี่ยวกับ BPE อย่างละเอียดกัน!

< > Update on GitHub